ตามมาดู! เกณฑ์การเลือก "เอก" ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สวัสดีค่ะน้องๆ ถ้าพูดถึงการยื่นสมัครเข้าคณะที่มีมากกว่า 1 สาขาวิชา ก็จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะหลักๆ คือ ยื่นสมัครแบบตรงสาขาวิชาเลยตั้งแต่ต้น กับยื่นสมัครแบบรวมสาขาวิชาก่อน แล้วไปเลือกสาขาวิชากันภายหลัง ซึ่งลักษณะที่ 2 นี่แหละค่ะ ที่ทำให้หลายๆ คนมีข้อสงสัยต่ออีกว่า จะสามารถเลือกสาขาวิชากันยังไง แล้วมีวิธีในการเลือกสาขาวิชาอย่างไร  วันนี้ Dream Campus เลยจะพาน้องๆ ไปดูเกณฑ์การเลือกเอก ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกัน

จะยื่นแต่ละ "เอก" ของอักษรฯ จุฬาฯ ได้ยังไง
จะยื่นแต่ละ "เอก" ของอักษรฯ จุฬาฯ ได้ยังไง

ตามมาดู! เกณฑ์การเลือก "เอก" ของคณะอักษรฯ จุฬาฯ

ในการรับสมัครเข้าคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ผ่านระบบ TCAS  ก็มีทั้งรอบที่เปิดรับเข้าตรงตามสาขาวิชาตั้งแต่แรก อย่างรอบ Portfolio และรอบ Quota และรอบที่เปิดรับเข้าสาขาวิชาอักษรศาสตร์  หรือแบบเอกรวมด้วย อย่างบางโครงการในรอบ Portfolio และรอบ Admission โดยจำนวนที่เปิดรับเข้าแบบเอกรวมมีมากกว่า

อ้างการรับสมัครจาก TCAS64
 

การเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตทุกคน ไม่ว่าจะยื่นสมัครเข้ามารูปแบบใด รอบใด ก็จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกัน  แต่พอเข้าชั้นปีที่ 2 น้องๆ ที่สมัครเข้าไปแบบเอกรวม ก็จะได้เลือกเอก หรือสาขาวิชาที่จะเรียนนั่นเอง ซึ่งจุฬาฯ จะมีเปิดสอนทั้งหมด 16 สาขาวิชา และแต่ละสาขาวิชาก็มีการข้อกำหนด หรือเกณฑ์ขั้นต่ำเอาไว้ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

สาขาวิชาภาษาไทย

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า  3.00
    • การใช้ภาษาไทย (The Use of the Thai Language)
    • วรรณคดีไทย (Thai Literature)

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า  3.00
    • ภาษาอังกฤษ 2 (English II )
    • แปลอังกฤษขั้นต้น( Introduction to Translation)

สาขาวิชาภาษาจีน

แบ่งออกเป็น 2 กลุุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่สอบเข้าด้วย PAT 7.4 และมีคะแนนตั้งแต่ 180 คะแนนขึ้นไป

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา รวมไม่ต่ำกว่า  2.50
  • เรียนทั้ง 2 รายวิชาในปีการศึกษาแรกเท่านั้น
    • เข้าใจภาษาจีน (Understanding Chinese)
    • การฟังภาษาจีนเบื้องต้น (Basic Chinese Listening)

กลุ่มที่คะแนน PAT 7.4 ต่ำกว่า 180 คะแนน และกลุ่มที่ไม่ได้สอบเข้าด้วย PAT 7.4 

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา รวมไม่ต่ำกว่า  3.00
  • เรียนทั้ง 2 รายวิชาในปีการศึกษาแรกเท่านั้น
    • ภาษาจีนกลางสำหรับผู้เริ่มเรียน 1 (Chinese for Beginners I)
    • ภาษาจีนกลางสำหรับผู้เริ่มเรียน 2 (Chinese for Beginners II)

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

  • ยื่นสมัครเข้ามาด้วยคะแนน PAT 7.3  หรือ ม่ีคะแนนการสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น ระดับ N3 ขึ้นไป
    • แต่ถ้ามีคะแนนต่ำกว่า N3 ก็สามารถปรึกษาอาจารย์ก่อนได้
  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชาทักษะเขียน – ไวยกรณ์    รวมไม่ต่ำกว่า  3.00
    • ภาษาญี่ปุ่น 1 (Japanese  I)
    • ภาษาญี่ปุ่น 2 (Japanese  II)
  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชาทักษะสนทนา รวมไม่ต่ำกว่า  3.00
    • การสนทนาภาษาญี่ปุ่น 1   (Japanese Conversation  I)
    • การสนทนาภาษาญี่ปุ่น 1   (Japanese Conversation  II)

สาขาวิชาภาษาเกาหลี

แบ่งออกเป็น 2 กลุุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่สอบเข้าด้วย PAT 7.7  หรือ ม่ีคะแนนการสอบวัดระดับความรู้ภาษาเกาหลี (TOPIK) ระดับ 2 ขึ้นไป

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา รวมไม่ต่ำกว่า 3.00
  • เรียนทั้ง 2 รายวิชาในปีการศึกษาแรกเท่านั้น
    • การอ่านภาษาเกาหลี 1 (Korean Reading I)
    • การเขียนภาษาเกาหลี 1 (Korean Writing I)

กลุ่มที่ไม่ได้พื้นฐานภาษาเกาหลี

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา รวมไม่ต่ำกว่า  3.00
  • เรียนทั้ง 2 รายวิชาในปีการศึกษาแรกเท่านั้น
    • ภาษาเกาหลี 1 (Korean I)
    • ภาษาเกาหลี 2 (Korean II)

สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า  2.50
    • ภาษาฝรั่งเศส 1 (French I)
    • ภาษาฝรั่งเศส 2 (French II)

สาขาวิชาภาษาเยอรมัน

  • ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ตั้งแต่ระดับ A2 ขึ้นไป
  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา รวมไม่ต่ำกว่า  2.75
    • ภาษาเยอรมันระดับกลาง 1 (Upper Intermediate German I)
    • ภาษาเยอรมันระดับกลาง 2 (Upper Intermediate German II)

สาขาวิชาภาษาสเปน

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า  3.00
    • ภาษาสเปน 1 (Spanish I)
      • เรียนในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษาแรกเท่านั้น
    • ภาษาสเปน 2 (Spanish II)

ภาษาอิตาเลียน

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า  3.00
    • ภาษาอิตาเลียน 1 (Italian I)
    • ภาษาอิตาเลียน 2 (Italian II)

สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้

  • ไม่มีกำหนดไว้

สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

  • เลือกเข้าสาขาวิชานี้ตั้งแต่สอบเข้า
    หรือ
  • มี GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00 
    *ถ้าไม่ถึง จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

สาขาวิชาปรัชญา

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ย  2 รายวิชา ไม่ต่ำกว่า  2.50
    • การใช้เหตุผล (Reasoning)
    • ปรัชญาทั่วไป (General Philosophy) หรือ มนุษย์กับศาสนา (Man and Religion)

สาขาวิชาศิลปการละคร

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ยแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่า  3.00
  • เรียนทั้ง 2 รายวิชาในปีการศึกษาแรกเท่านั้น
    • ปฏิบัติงานละคร (Theatre Workshop)
    • หลักของการแสดง (Principal of Acting)

สาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ

  • ต้องได้เกรดเฉลี่ยรายวิชาใดวิชาหนึ่งไม่ต่ำกว่า  3.00
    • ภาษาทัศนา (Introduction to Language)
    • ทักษะการค้นคว้าและการใช้คอมพิวเตอร์ (Research  and Computer Skills)
    • ทักษะการค้นคว้าและการค้นคืนสารสนเทศ (Research and Information Retrieval Skills)

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ไม่มีกำหนดไว้

สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา

ไม่มีกำหนดไว้
 

ถ้าเปิดดูแผนการศึกษาของคณะจะพบว่า บางรายวิชาที่เป็นข้อกำหนด หรือเกณฑ์ในการยื่นเข้าเอก ก็เป็นรายวิชาพื้นฐานของคณะที่นิสิตทุกคนจะต้องศึกษาอยู่แล้วในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 1  อยู่แล้ว แต่บางรายวิชาจะต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติม ดังนั้นน้องๆ จะต้องวางแผนจัดตารางเรียน และเก็บคะแนนให้ดีตั้งแต่ภาคเรียนแรกกันเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก
นายภูริศ จิระพรชัย บิณฑิตรหัส 60
น.ส.ปาริชา เลาหะมณฑลกุล นิสิตชั้นปีที่ 4 
https://www.arts.chula.ac.th/
 

สำหรับ #dek65 คนไหนที่สนใจจะยื่น TCAS ในกลุ่มคณะอักษรศาสตร์-ศิลปศาสตร์-มนุษยศาสตร์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ส่วนรุ่นพี่นิสิตที่กำลังเรียนอยู่ หรือเรียนจบจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถมาแชร์ประสบการณ์การเรียนการยื่นเข้าสาขาวิชาของตัวเองได้ที่คอมเมนท์ด้านล่างเลยค่ะ

พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น