สวัสดีน้อง ๆ dek68 ทุกคนค่ะ อีกไม่กี่เดือน dek68 ต้องเริ่มลงสนามสอบกันแล้ว น้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่มีแพลนอ่านหนังสือหรือมีแพลนไม่ชัดเจนไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะวันนี้พี่ ๆ Dek-D ขอเสนอ “How to วางแผนอ่านหนังสือให้พร้อมลุยทุกสนามสอบ” อยากวางแผนให้ดีต้องเริ่มจากตรงไหน แล้วต้องทำอะไรบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กันค่ะ
ตามมาดู! วางแผนอ่านหนังสือยังไงให้พร้อมลุยทุกสนามสอบ TCAS
1. เริ่มต้นที่ “การค้นหาตัวเอง”
ก่อนจะอ่านหนังสือเตรียมสอบ ต้องรู้ตัวเองก่อนว่า “เราต้องการอะไร” จะทำให้น้อง ๆ สามารถเลือกเส้นทางชีวิตมหา'ลัยที่เหมาะสมกับตัวเองได้ อีกทั้งช่วยกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
สำหรับน้อง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร แนะนำให้ลองค้นหาตัวเองจากปัจจัยด้านล่างนี้ค่ะ แล้วลองคิดพิจารณาดูว่ามีอะไรที่พอตอบโจทย์ความต้องการของเราได้บ้าง
ค้นหาความชอบและความสนใจ
- งานอดิเรกหรือสิ่งที่น้อง ๆ ชอบทำในเวลาว่าง เช่น อ่านหนังสือ วาดรูป เล่นกีฬา ฯลฯ
- บางคนอาจดูหนัง/ซีรีส์แล้วเกิดแรงบันดาลใจ อยากทำอาชีพเหมือนตัวละครในเรื่องก็ได้
ค้นหาความถนัดและความสามารถ
- วิชาที่น้อง ๆ ทำได้ดีในโรงเรียน กิจกรรมที่ได้รับคำชมจากคนรอบข้าง การแข่งขันที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ (อาจเป็นแค่ระดับโรงเรียนก็ได้)
- ถ้าน้อง ๆ ไม่รู้ว่าตัวเองเก่งอะไร ลองถามคนใกล้ตัวก็ได้ จะช่วยให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับตัวเอง
ค้นหาอาชีพที่สนใจ
- ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ เช่น มีหน้าที่อะไรบ้าง เนื้องานเหมาะกับตัวเองไหม ต้องเรียนจบอะไร
- อาจมองถึงเงินเดือน แนวโน้มตลาดแรงงาน ฯลฯ
2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
น้อง ๆ ที่ค้นหาตัวเองเจอแล้วว่าต้องการอะไร ขั้นตอนต่อไปคือ “ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน” จะทำให้น้อง ๆ พอเห็นเส้นทางมหา'ลัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังเพิ่มแรงจูงใจในการอ่านหนังสือสอบด้วย
กำหนดมหาวิทยาลัยและคณะ
- ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เช่น หลักสูตร ค่าเทอม จบไปทำอาชีพอะไรบ้าง ฯลฯ
- คณะเดียวกันแต่ต่างมหาวิทยาลัย อาจคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ชื่อเสียง ที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม ฯลฯ
กำหนดคะแนน
- แนะนำให้ยึดคะแนนสูงสุด-ต่ำสุดของ TCAS ปีก่อนมากำหนดเป้าหมายในการทำคะแนน จะได้รู้ว่าเรามีโอกาสติดคณะนี้มากน้อยแค่ไหนด้วย
3. เรื่องการสอบก็ต้องรู้
การสอบ
- จะยื่นคณะนี้ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง แต่ละวิชาใช้สัดส่วนคะแนนเท่าไหร่
- เช็กรายละเอียด ได้ที่ คลิก
- ต้องรู้เนื้อหาที่ออกสอบ รวมถึงโครงสร้างสอบข้อสอบด้วย (สอบกี่นาที มีกี่ข้อ มีกี่พาร์ท)
- เช็ก “โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ” ได้ที่ คลิก
หมายเหตุ อ้างอิงจาก TCAS67 ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติม วิธีอ่านหนังสือเตรียมสอบ น้อง ๆ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
- ศึกษาด้วยตนเอง เช่น หาหนังสือมาอ่านเอง ติวฟรีออนไลน์ ทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่า ฯลฯ
- ไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม ลงคอร์สออนไลน์ (ถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นจริง ๆ)
- น้อง ๆ คนไหนยังลังเลว่าเรียนพิเศษดีไหม คลิก
4. จัดตารางอ่านหนังสือให้เหมาะสม
จัดลำดับความสำคัญแต่ละวิชา
- สำคัญ เริ่มอ่านวิชา TGAT/TPAT (สอบธันวาคม 2567) ก่อน แล้วค่อยเก็บวิชา A-Level ทีหลัง (สอบมีนาคม 2568)
- เริ่มอ่านวิชาที่เนื้อหาเยอะ ต้องทบทวนบ่อย ๆ ก่อน
- เริ่มอ่านวิชาที่น้อง ๆ คิดว่าเนื้อหายาก แล้วค่อยเก็บวิชาที่ตนเองถนัดทีหลัง
- หมายเหตุ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมแต่ละคน
แบ่งเวลาให้เป็น
- กำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่า วันนี้อ่านกี่ชม. อ่านตอนไหน (เช้า/กลางวัน/เย็น/กลางคืน) อ่านวิชาอะไรบ้าง
- ไม่ควรอ่านติดกันนาน ๆ เป็นชม. ควรแบ่งเวลาอ่านออกเป็นช่วงสั้น ๆ (25-30 นาที) และควรมีพักเบรกด้วย
เคล็ดไม่ลับ! อยากอ่านหนังสือแบบสมองเฟรช ต้องลอง “Pomodoro Technique”
- อ่านจนครบ 25 นาที (1 Pomodoro =25 นาที)
- พักเบรก 5 นาที แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ เล่นมือถือ ฯลฯ
- ทำซ้ำจนครบ 4 ครั้ง (รวมเป็น 4 Pomodoro) ให้พักเบรกยาว 15–30 นาที
- วนกลับไปที่ข้อ 1 ใหม่ (เปลี่ยนไปอ่านอีกวิชาก็ได้)
เพิ่มเติม แนะนำให้ปิดมือถือ/อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้เราได้โฟกัสมากขึ้น
5. อย่าลืมทบทวนเนื้อหาด้วย
อ่านซ้ำ
- อ่านบ่อย ๆ จะช่วยกระตุ้นให้สมองจดจำได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยเก็บตกส่วนที่เราไม่เข้าใจด้วย
- ช่วยเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ทำให้เราเห็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดมากขึ้น
ทำแบบฝึกหัด/ข้อสอบ
- อ่านหนังสืออย่างเดียวอาจไม่เวิร์คพอ ลองหาแบบฝึกหัดมาทำเพื่อเช็กความเข้าใจในเนื้อหา
- ก่อนวันสอบจริง ควรลองทำข้อสอบเก่าแล้วจับเวลาตอนทำด้วย เป็นการสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อให้น้อง ๆ เกิดความคุ้นเคยก่อนไปสอบจริง
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากสัมผัสบรรยากาศการสอบจริง ๆ ต้องมาสนามสอบจำลองที่
Dek-D's Pre-Admission TCAS'68 (รอบพฤศจิกายน 2567) คลิก
6. คำแนะนำเพิ่มเติม
ติดตามข่าวสาร จากทางทปอ.และมหาวิทยาลัยอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลสำคัญ
ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 3 มีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ควรเตรียมเงินให้พร้อม
- TPAT1 (กสพท.) ค่าสมัครสอบ 800 บาท
- TGAT/TPAT 2–5 ค่าสมัครสอบ 140 บาท/วิชา
- A–Level ค่าสมัครสอบ 100 บาท/วิชา
- วิชาเฉพาะ มหาวิทยาลัยกำหนด
- TCAS รอบ Admission ต้องรอติดตามว่า TCAS68 จะฟรีค่าสมัครหรือไม่ หากไม่ฟรี ค่าสมัครรอบนี้อยู่ที่ 150-900 บาท
หมายเหตุ อ้างอิงจาก TCAS67 ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ขอบคุณข้อมูลจากhttps://medium.com/@kachiraya/pomodoro-technique-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-9157388d68cfอย่าลืมว่าเวลาไม่เคยรอใคร ทางที่ดีน้อง ๆ ควรเริ่มอ่านหนังสือเตรียมสอบไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยค่ะ ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งดี จะได้มีเวลาเพียงพอในการทบทวนเนื้อหาก่อนสอบ รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องอ่านไม่ทันด้วยค่ะ
พี่ ๆ Dek-D ขอเป็นกำลังใจให้ dek68 ทุกคนนะคะ
0 ความคิดเห็น