Teen Coach EP.35 : สงสัยมั้ย? ทำไมบางคนชอบ "โทษคนอื่น"

Spoil

  • Self-Serving Bias เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองจนเกิดเป็นความมั่นใจ
  • แต่บางครั้งความมั่นใจนี้ก็ทำให้เรามองข้ามความผิดของตัวเองไป แล้วเฝ้าแต่จะโทษคนอื่น หรือโทษปัจจัยรอบข้าง
  • ควร balance ให้ดี ระหว่างความมั่นใจ และการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นคนหลงตัวเองได้

 เคยเจอกันไหมคะ? คนประเภทที่เวลาเขาทำอะไรผิดก็ตาม จะไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดเด็ดขาด แต่เที่ยวโทษว่าเป็นความผิดของคนอื่นบ้าง หรือโทษปัจจัยรอบข้างบ้าง พูดง่ายๆ ว่าเป็นคนประเภท “เอาดีเข้าตัว เอาชั่วเข้าคนอื่น”

แต่มาคิดดูอีกที เราเองก็อาจจะเคยเป็นแบบนั้นเหมือนกันนะ ที่เมื่อทำอะไรสำเร็จก็มองว่าเป็นเพราะความสามารถของเรา แต่พอเกิดความผิดพลาดขึ้นกลับมองว่าเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เวลาสอบได้คะแนนดีก็เพราะเราอ่านหนังสือมาอย่างหนัก แต่ถ้าได้คะแนนไม่ดี บางทีเราก็แอบคิดว่าเพราะครูออกข้อสอบไม่ตรงเนื้อหารึเปล่า หรือเพราะวันนั้นเราอ่อนเพลีย สุขภาพไม่เต็ม 100% แน่ๆ และยังมีข้ออ้างอีกมากมายที่เราจะนำมาใช้

จริงๆ แล้วเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสมองและระบบความคิดของเรา ซึ่งอธิบายได้ตามหลักจิตวิทยาค่ะ มันเป็นยังไงเดี๋ยวพี่นักเก็ตจะเล่าให้ฟัง

ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า Self-Serving Bias หรือ อคติจากการคิดเข้าข้างตัวเอง เป็นการรับรู้รูปแบบหนึ่งที่เกิดจากความลำเอียงทางความคิด (cognitive bias) ทำให้เรารู้สึกดีหรือรู้สึกในทางบวกกับตัวเอง และทำให้เกิดการรับรู้คุณค่าในตัวเอง (self-esteem) รวมถึงมีความมั่นใจในตัวเอง (self-confidence) เพิ่มมากขึ้น

แล้วมันไม่ดียังไงล่ะ ในเมื่อคนเราก็ควรมั่นใจในตัวเองไม่ใช่เหรอ?

ใช่แล้วค่ะ การมั่นใจในตัวเองเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่หากมันสุดโต่งเกินไป ก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยเฉพาะความมั่นใจที่เกิดจาก Self-Serving Bias หรือ อคติจากการคิดเข้าข้างตัวเอง มักทำให้เราประเมินสิ่งต่างๆ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จนมองข้ามความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งปรากฎการณ์นี้เป็นหนึ่งในกระบวนการของสมองที่สามารถเกิดได้ในมนุษย์ทุกคนโดยไม่รู้ตัว ข้อดีคือมันทำให้เรามองตัวเองในทางบวกมากขึ้น แต่ก็ยังมีผลกระทบในทางลบเช่นกัน

ลองนึกภาพเวลาทำงานกลุ่มกับเพื่อนที่มี Self-Serving Bias มากๆ สิคะ เขาจะคอยโทษแต่สิ่งอื่น คนอื่น โดยมองข้ามปัญหาที่เกิดขึ้นจากตนเอง ส่งผลให้กลายเป็นคนขาดความรับผิดชอบ ยิ่งในการทำงานกลุ่มหรืองานที่ต้องร่วมมือกันเป็น teamwork เรายิ่งต้องสำรวจความผิดพลาดของตนเองและเพื่อนร่วมทีมเพื่อรีบแก้ไข เพราะถ้าปล่อยไว้ยิ่งมีแต่จะทำให้เกิดปัญหาระยะยาว ซ้ำร้ายในบางครั้ง Self-Serving Bias อาจนำไปสู่อาการหลงตัวเอง (narcissism) ได้อีกด้วย

ถ้ามองในทางกลับกัน คนที่มี Self-Serving Bias หรือ อคติทางความคิดเข้าข้างตนเอง จะตรงข้ามกับบุคคลที่ขาดความมั่นใจในตนเองโดยเส้นเชิง เพราะบุคคลที่มีความมั่นใจหรือความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ (low self-esteem) จะมองว่าความผิดพลาดทุกอย่างเป็นเพราะตนเอง ไม่ว่าทำงานพลาดหรือสอบตก ก็จะมองว่าเป็นความผิดของตนเอง ตนเองไม่เก่ง และขาดความมั่นใจ หรือต่อให้ประสบความสำเร็จก็จะถ่อมตัว มองว่าโชคช่วย ไม่ใช่เพราะความสามารถของตัวเอง

แน่นอนว่าในสังคมเอเชีย โดยเฉพาะสังคมไทยเรา เป็นสังคมที่ถูกสอนให้ถ่อมตัว อย่าโอ้อวด และไม่ค่อยได้รับคำชื่นชมเมื่อเราเก่งหรือทำได้ดี จึงทำให้คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะอยู่ในภาวะความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ (low self-esteem)

อย่างไรก็ตาม เราควรจะ balance ให้ดีค่ะ การมั่นใจในตนเอง หรือภาคภูมิใจในความสามารถของเราเป็นเรื่องที่ดีและนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนความเป็นจริง อย่าเอาแต่โทษคนอื่น หรือโทษแต่ตัวเองมากเกินไป ที่ถูกต้องคือควรมองที่ต้นตอของปัญหาและหาทางแก้ไขค่ะ

 

รายการอ้างอิงhttps://www.simplypsychology.orghttps://www.verywellmind.com/
โค้ชพี่นักเก็ต

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

3 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
หลอกความสบายใจจุง 11 เม.ย. 66 08:36 น. 3

สังคมเอเซีย สอนเป็นคนถ่อมตัว พ่องซิ กุโตที่เมกา เค้าก็สอน ในไบเบิล ก็สอน บทความโง่ๆ อย่างนี้ คนเขียนไม่ได้ทำการอ่านห่าเหวอะไรเลย เขียนมาจากมันสมองน้อย พวกคนไทยขี้อวดแล้วโง่ Self-esteem สูงก็มีเยอะแยะ อยาง โค้ชพี่นักเก็ตนี่ก็ตัวอย่างนึง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด