สรุป! หลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมศัพท์ออกสอบบ่อย

สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ชาว Dek-D มีใครเคยสังเกตกันบ้างว่าคำต่างๆ ที่เราใช้สื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน และเขียน มักจะมีคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศปะปนอยู่ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่เจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งมักจะเรียกคำนี้ว่า ‘คำทับศัพท์’ นั่นเอง ในวันนี้คอลัมน์ ‘รู้ไว้เผื่อออกสอบ’ จะพาทุกคนไปรู้จักวิธีสะกดคำทับศัพท์ที่ถูกต้องตามหลัก เพื่อใช้เตรียมสอบ A-Level รวมถึงรวบรวมคำทับศัพท์ที่ออกสอบบ่อย พร้อมข้อสอบจริงมาให้ทุกคนลองทำ ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยค่ะ

สรุป! หลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมศัพท์ออกสอบบ่อย
สรุป! หลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมศัพท์ออกสอบบ่อย

ความแตกต่างของคำทับศัพท์และคำศัพท์บัญญัติ

ก่อนเริ่มเนื้อหาเรื่องหลักการเขียนคำทับศัพท์ อยากน้องๆ ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างคำทับศัพท์และคำศัพท์บัญญัติ กันก่อน เพราะทั้งคู่เป็นลักษณะการยืมคำจากภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความต่างกันดังนี้ 

คำทับศัพท์ เป็นคำที่ถ่ายเสียงมาจากรูปคำในภาษาอื่น และนำมาเขียนโดยใช้ตัวอักษรและหลักการเขียนตามภาษาไทย เพื่อให้สามารถอ่านคำภาษาต่างประเทศได้ใกล้เคียงกับเสียงเดิม เช่น บุฟเฟต์ มาจากคำว่า Buffet

ส่วนคำศัพท์บัญญัติ เป็นการสร้างคำขึ้นมาใหม่ และมีความหมายตรงตามคำศัพท์เดิม ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการประสมคำภาษาไทย หรือใช้คำบาลี สันสกฤตมาสมาสกัน เช่น ดาวเทียม มาจากคำว่า Satellite  

Note : สรุปง่ายๆ คือ คำทับศัพท์ สามารถถ่ายเสียงและถอดอักษรจากภาษาต่างประเทศได้โดยตรง แต่คำศัพท์บัญญัติ จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานก่อน  

 

แต่ในบางครั้งคำศัพท์บัญญัติที่ถูกสร้างขึ้นอาจไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันมากเท่ากับคำทับศัพท์ เช่น คำว่า Metaverse ที่มีศัพท์บัญญัติว่า จักรวาลนฤมิต แต่เรามักจะเห็นคนนิยมใช้คำทับศัพท์ว่า เมตาเวิร์ส มากกว่า

หลักการใช้คำทับศัพท์ให้ถูกต้อง

สำหรับหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษให้ถูกต้องนั้นมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์หลายอย่างมาก แต่พี่แป้งได้สรุปหลักการง่ายๆ ที่ควรจำ เพื่อนำไปใช้ทำข้อสอบ A-Level ภาษาไทยให้น้องๆ ทุกคนแล้วค่ะ  

1. ต้องรู้สระ และพยัญชนะเทียบก่อน

  • สระเทียบเสียงตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษได้เลย เช่น a เป็น อะ อา เอ แอ หรือ u เป็น อุ อู
  • พยัญชนะก็ถอดตามหลักเกณฑ์ภาษาไทย เช่น d เป็น ด f เป็น ฟ

แต่เนื่องจากการถ่ายเสียงพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีเยอะมาก และแน่นอนว่าก็ยังมีหลายคนเผลอใช้พยัญชนะแบบผิดๆ อยู่ พี่แป้งเลยรวบรวมพยัญชนะที่หลายคนสับสน และใช้กันผิดมาให้ น้อง ๆ รู้ไว้จะได้ใช้งานอย่างถูกต้อง และช่วยทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นค่ะ

พยัญชนะ
ภาษาอังกฤษ
พยัญชนะต้นตัวอย่างตัวสะกด/
ตัวการันต์
ตัวอย่าง
kคีย์เวิร์ด 
(Keyword)
ลิงก์
(Link)
pโพรเจกต์
(Project)
แอปพลิเคชัน
(Application)
tไทเทเนียม
(Titanium)
แพลตฟอร์ม
(Platform)
s+สระซิลิคอน
(Silicon)



เลนส์
(Lens)
s+พยัญชนะสวีเดน 
(Sweden)
ce--เฟซบุ๊ก 
(Facebook)

Note : พยัญชนะ c ถ้าถอดอักษรเป็นตัวสะกดในภาษาไทยจะใช้เป็น ก  เช่น Graphic = กราฟิก

ถ้าน้องๆ อยากรู้ว่าการเทียบพยัญชนะตัวอื่นๆ รวมถึงสระจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอย่างไร ก็สามารถดูตารางเทียบพยัญชนะไทยกับอังกฤษ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนด  ในตารางด้านล่างได้เลยค่ะ

ตารางเทียบพยัญชนะภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ โดยราชบัณฑิตยสถาน
ตารางเทียบพยัญชนะภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ โดยราชบัณฑิตยสถาน
ตารางเทียบสระภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ โดยราชบัณฑิตยสถาน
ตารางเทียบสระภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ โดยราชบัณฑิตยสถาน

2. ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต (   ์) บนพยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียง

สำหรับหลักการใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต  ( ์) จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่

  • กรณีที่ 1  ใช้บนพยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียง
    เช่น คำว่า strawberry ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น สตรอเบอรี โดยคำนี้ไม่ได้ออกเสียง ว และ ร ที่ขีดเส้นใต้ในภาษาไทย จึงต้องใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต (  ์) ลงไป เขียนทับศัพท์เป็น สตรอว์เบอร์รี  
     
  • กรณีที่ 2 คำหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่ไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้ายเพียงที่เดียว  
    เช่น  คำว่า Okhotsk ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น โอคอตสก โดยคำนี้ไม่ได้ออกเสียง ส และ ก ที่ขีดเส้นใต้ ดังนั้น ตามหลักแล้วจึงต้องใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต (  ์) ไว้ที่พยัญชนะตัวสุดท้าย คำนี้จึงเขียนทับศัพท์เป็น โอค็อตสก์
     
  • กรณีที่ 3 คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย
    เช่น คำว่า First ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น เฟิต โดยคำนี้ไม่ได้ออกเสียง ร ซึ่งเป็นพยัญชนะหน้าตัวสะกดอย่าง ส ดังนั้น ตามหลักแล้วจึงต้องตัด ร ออก แล้วใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต (  ์) ไว้ที่พยัญชนะตัวสุดท้ายแทน คำนี้จึงเขียนทับศัพท์เป็น เฟิสต์  

3. การเขียนคำทับศัพท์ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์

เช่น คำว่า Admission แม้ว่าจะมีการอ่านออกเสียงวรรณยุกต์โท แต่เราจะไม่ใส่วรรณยุกต์ และเขียนทับศัพท์ว่า แอดมิชชัน

ยกเว้น! ในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย อาจใส่เครื่องหมายเพื่อป้องกันความสับสน เช่น

  • อาการ Coma เขียนทับศัพท์เป็น โคม่า (ถ้าเขียน โคมา จะสับสนกับ โค ที่เป็นสัตว์ ซึ่งภาพรวมมคำนี้หมายถึง วัวมา)
  • เครื่องดื่ม Coke เขียนทับศัพท์เป็น โค้ก (ถ้าไม่เติมไม้โทจะซ้ำกับ โคก ซึ่งหมายถึง ที่ดินที่เป็นเนิน)

4 . ใช้ไม้ไต่คู้ (   ็) ไม่ให้ซ้ำคำไทย และแบ่งพยางค์

สำหรับการใช้ไม้ไต่คู้ (   ็) จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

  • กรณีที่ 1 ใช้เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ไม่ซ้ำกับคำไทย  
    เช่น คำว่า lock เขียนทับศัพท์เป็น ล็อก (ถ้าไม่เติมไม้ไต่คู้จะซ้ำกับ ลอก ซึ่งมีอยู่ในคำไทยแล้ว)  
     
  • กรณีที่ 2 ใช้เพื่อช่วยแยกพยางค์ได้อย่างถูกต้อง  
    เช่น คำว่า Okhotsk ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น โอคอตสก โดยคำนี้จะอ่านออกเสียงคำว่า โอ-คอตสก ดังนั้นจึงต้องใส่ไม้ไต่คู้ในพยางต์ที่ขีดเส้นใต้ เพื่อแยกพยางค์ให้ชัดเจน จึงเขียนทับศัพท์เป็น โอค็อตสก์ หากไม่ใส่ไม้ไต่คู้อาจจะทำให้อ่านเป็น โอค ได้

5. พยัญชนะซ้อน (double letter) ศัพท์ทั่วไปตัดออก ศัพท์เฉพาะเก็บไว้

สำหรับการเขียนทับศัพท์จากคำที่มีพยัญชนะซ้อน จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่

  • กรณที่ 1 คําที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไปให้ตัดออกหนึ่งตัว
    เช่น คำว่า Football  ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น ฟุตบอลล ซึ่งคำนี้ถือเป็นคำศัพท์ทั่วไป ดังนั้นตามหลักจึงต้องตัดตัว ล ทิ้ง และเขียนทับศัพท์เป็น ฟุตบอ นั่นเอง
     
  • กรณีที่ 2 ศัพท์ทางวิชาการหรือชื่อเฉพาะ ให้เก็บไว้ทั้ง 2 ตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย  
    เช่น คำว่า Cell ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น เซลล โดยคำนี้ถือว่าเป็นคำศัพท์ทางวิชาการ ตามหลักจึงต้องใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต (  ์ ) ไว้ที่พยัญชนะตัวสุดท้าย จึงเขียนทับศัพท์เป็น เซลล์
     
  • กรณีที่ 3 ถ้าพยัญชนะซ้อนอยู่กลางศัพท์ให้ถือว่า พยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า และพยัญชนะซ้อนตัวหลังเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป
    เช่น คำว่า Pattern ที่มีตัว t ซ้อนกันอยู่กลางคำศัพท์ โดย t ตัวแรกจึงเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า เขียนว่า ‘แพ’ ส่วน t ตัวหลังใช้เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เขียนว่า ‘เทิร์น’ ดังนั้นจึงเขียนทับศัพท์เป็น แพทิร์น

6. คําประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ (-) หรือคำที่เขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกัน

  • cross-stitch เขียนทับศัพท์เป็น ครอสสติตช์
  • calcium carbonate เขียนทับศัพท์เป็น แคลเซียมคารบอเน็ต
    ยกเว้น! ศัพท์ทางวิชาการหรือชื่อเฉพาะ เช่น cobalt-60 เขียนทับศัพท์เป็น โคบอลต์-60

7.ตัวสะกดพยางค์หน้า ออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป

สำหรับหลักการข้อนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่

  • กรณีที่ 1 ถ้าสระพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ เมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดพยางค์หน้าเข้าอีกตัว เพื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป  
    เช่น คำว่า double มีการอ่านออกเสียงเป็นสระอะ ดังนั้นจึงต้องมีการซ้อนพยัญชนะ บ อีกตัวให้กับพยางค์หลัง จึงเขียนทับศัพท์เป็น ดับิล  
     
  • กรณีที่ 2 ถ้าสระพยางค์หน้าเป็นสระอื่นที่ไม่ใช่สระอะ ให้ทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ
    เช่น คำว่า California มีการอ่านออกเสียงเป็นสระแอ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการซ้อนพยัญชนะถอดอักษรตามรูปพยัญชนะได้เลย คำนี้จึงเขียนทับศัพท์เป็น แคลิฟอร์เนีย  
     
  • กรณีที่ 3  ถ้าเป็นคําที่เกิดจากการเติม -er, -ing, -ic, -y การทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะ แบบกรณีที่ 2 อาจทำให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ดังนั้นให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกหนึ่งตัว เพื่อให้เห็นเค้าคําเดิม
    เช่น คำว่า sweater เป็นคำที่มีการตาม -er เมื่อเราลองถอดอักษรออกมาจะได้ สเวตเอร์ ซึ่งพออ่านออกเสียงแล้วทำให้เสียงดูผิดเพี้ยนไป ดังนั้นจึงต้องเติม ต อีกตัวในพยางค์หลังอีกตัว เพื่อให้เสียงมีเค้าคำเดิมมากที่สุด คำนี้จึงเขียนทับศัพท์เป็น สเวอร์
คู่มือเขียนคำทับศัพท์  ฉบับพื้นฐาน
คู่มือเขียนคำทับศัพท์  ฉบับพื้นฐาน

รวม 20 คำทับศัพท์ ออกสอบบ่อย!

AnimationแอนิเมชันInternetอินเทอร์เน็ต
ApplicationแอปพลิเคชันLikeไลก์
ClickคลิกPackageแพ็กเกจ
ClinicคลินิกPrintพรินต์
Commentคอมเมนต์Promotionโพรโมชัน
DigitalดิจิทัลQuotaโควตา
EmailอีเมลScriptสคริปต์
Facebookเฟซบุ๊กSizeไซซ์
Functionฟังก์ชันUploadอัปโหลด
GraphicกราฟิกWalletวอลเล็ต

สามารถเช็กคำทับศัพท์อื่นๆ ได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา https://transliteration.orst.go.th/search   

ทริคทำโจทย์คำทับศัพท์

สำหรับโจทย์เรื่องคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในข้อสอบ A-Level ภาษาไทย แม้จะมีแค่ 1-2 ข้อ แต่ก็เป็นเรื่องที่ออกสอบทุกปี ที่สำคัญก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากมาก น้องๆ สามารถเก็บคะแนนในพาร์ตนี้ได้ง่ายๆ เลย โดยใช้หลักการที่พี่แป้งสรุปมาให้ด้านบนได้เลย

อย่างไรก็ตาม โจทย์บางข้อก็อาจจะไม่ได้ถามเราโดยตรงว่า “ข้อไหนใช้คำทับศัพท์ไม่ถูกต้อง” ผู้ออกข้อสอบอาจจะมีการพลิกแพลงคำถาม แต่ตัวเลือกคำตอบยังคงให้คำทับศัพท์มาอยู่ ซึ่งคำถามที่เจอได้บ่อยก็คือ “คำภาษาอังกฤษในข้อใดมีคำไทยใช้แทนได้ทุกคำ” ข้อสอบแนวนี้จะให้น้อง ๆ หาว่าคำใดที่เราสามารถใช้คำไทยแทนได้  

เทคนิคทำโจทย์ข้อนี้คือ ถ้าคำตอบข้อไหนที่หาคำไทยมาแทนไม่ได้ทุกคำก็ตัดตัวเลือกนั้นทิ้งได้เลย เช่น เซลล์แมน สามารถใช้คำไทยว่า พนักงานขาย / ดีไซน์ สามารถใช้คำไทยว่า ออกแบบ  


ส่วนคำทับศัพท์ที่ไม่สามารถหาคำไทยมาแทนได้เราจะเรียกว่า “ศัพท์เฉพาะ” เช่น กราฟิก, นิโคติน, อะครีลิก, คลอรีน, พลาสติก ฯลฯ  

***สำหรับเรื่องคำทับศัพท์นอกจากจะต้องรู้หลักการเขียนทับศัพท์ที่ถูกต้องแล้ว น้องๆ ก็จำเป็นต้องรู้ว่าคำนั้นมีความหมาย หรือใช้คำไทยแทนคำทับศัพท์ได้หรือเปล่าด้วยนะคะ***

มาทดสอบความรู้กัน!

รู้หลักการไปแล้วหวังว่าน้องๆ จะเข้าใจและใช้ให้ถูกกันนะคะ อย่างน้อยถ้าเราใช้คำทับศัพท์อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวันก็จะทำให้เราคุ้นเคยกับคำเหล่านั้น และสามารถนำไปปรับใช้กับการทำข้อสอบ A-Level ได้อีกด้วย แต่ถ้าจะให้จำได้แม่นก็ต้องหมั่นฝึกทำโจทย์ควบคู่กันไปด้วยค่ะ สำหรับโจทย์ที่นำมาให้น้องๆ ฝึกทำกันในวันนี้มี 2 ข้อด้วยกันค่ะ เป็นข้อสอบ A-Level วิชาภาษาไทย ปี 2566 และข้อสอบ 9 วิชาสามัญ จากโครงการ Dek-D’s Pre Admission รอบธันวาคม 2563


1.ข้อใดเขียนไม่ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษทุกคำ (A-Level 66)

1) ลิฟท์  อัลบั้ม  อะพาร์ตเมนต์

2) เฟซบุ๊ค อินเตอร์เน็ต ดิจิตอล

3) บล๊อค ไลก์  กราฟิก

4) คลิ๊ก  การ์ด  ชอล์ก

5) ปริ๊นท์ อะนิเมชัน คลาสสิก
____________________________________________________

2.คำภาษาอังกฤษในข้อใดมีคำไทยใช้แทนได้ทุกคำ (Dek-D’s Pre Admission รอบธันวาคม 2563)

1) แคมปัส  ออกซิเจน

2) ดีไซน์  ฟิสิกส์

3) แอร์โฮสเตส  โค้ช  

4) เซลล์  โมเลกุล

5) เปอร์เซ็นต์  เซนติเมตร


น้อง ๆ คิดว่าทั้ง 2 ข้อ ตอบข้อไหนบ้าง รู้แล้วมาคอมเมนต์ด้านล่างได้เลยค่ะ!

 

สำหรับคอลัมน์ ‘รู้ไว้เผื่อออกสอบ’ วิชาภาษาไทย บทความต่อไปจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ฝากติดตามกันด้วยนะคะ หรือถ้าน้องๆ มีเรื่องราวน่าสนใจเรื่องไหน ที่อยากให้นำมาเล่า หรือแจกทริคการจำ ก็สามารถคอมเมนต์เอาไว้ด้านล่างได้เลย!

 

พี่แป้ง

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น