How to รับมือน้ำท่วม ติดตามสถานการณ์น้ำ เตรียมตัวรับมือน้ำท่วมอย่างไรให้สูญเสียน้อยที่สุด!

How to รับมือน้ำท่วม ติดตามสถานการณ์น้ำ เตรียมตัวรับมือน้ำท่วมอย่างไรให้สูญเสียน้อยที่สุด!

ขณะนี้กำลังเกิดเหตุน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือ ซึ่งตามคาดการณ์ภูมิภาคที่กำลังจะเจอน้ำท่วมในลำดับต่อไปคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการเตือนภัยในหลายช่องทาง ความยากลำบากคือในสองภูมิภาคดังกล่าวเป็นพื้นที่ภูเขาสูง ที่ราบสูง ซึ่งทำให้เกิดน้ำป่ารุนแรงไหลเข้าท่วมในพื้นที่ในเวลารวดเร็วทำให้อพยพผู้คนไม่ทัน เกิดการสูญเสียมากมายตามมา 

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่น้ำจะมาถึงหน้าบ้านเรา วันนี้ Dek-D จึงรวบรวมช่องทางการติดตามข่าวน้ำท่วม วิธีเก็บของหนีน้ำ และเบอร์ติดต่อฉุกเฉินต่างๆ มาฝากกันค่ะ 

ติดตามข่าวน้ำท่วม ทิศทางน้ำ ได้จากที่ไหน

สถานการณ์น้ำประเทศไทย โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ 
สถานการณ์น้ำประเทศไทย โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ 

สถานการณ์น้ำประเทศไทย โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ 

  • แสดงปริมาณฝน ระดับน้ำ แหล่งน้ำ และคุณภาพน้ำ
  • แสดงการคาดการณ์พายุ ฝน คลื่น น้ำท่วมฉับพลัน ความเค็ม และภัยแล้ง
  • Infographic ติดตามสถานการณ์ลุ่มน้ำ 
  • ประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
THAIWATER สถานการณ์น้ำ และระดับน้ำ โดยคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ
THAIWATER สถานการณ์น้ำ และระดับน้ำ โดยคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ

THAIWATER สถานการณ์น้ำ และระดับน้ำ โดยคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ

  • แสดงสถานการณ์น้ำและระดับน้ำทั่วประเทศ 
  • เลือกดูระดับน้ำที่สถานีน้ำแต่ละพื้นที่ในทุกจังหวัด
  • สามารถติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาได้ตั้งแต่ต้นน้ำจากทางตอนเหนือของประเทศสู่อ่าวไทยซึ่งอัปเดตเรียลไทม์ได้ด้วย
  • มีแอปพลิเคชัน THAIWATER   ดาวน์โหลดได้ที่ iOS , Android
THAIWATER
Thaiflood monitoring system โดย GistDa 
Thaiflood monitoring system โดย GistDa 

Thaiflood monitoring system โดย GistDa 

  • รายงานพื้นที่ภัยพิบัติ จำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเสียหาย 
  • และปริมาณความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม
Thaiflood monitoring 
กรมอุตุนิยมวิทยา 
กรมอุตุนิยมวิทยา 

กรมอุตุนิยมวิทยา 

  • แสดงพยากรณ์อากาศ 
  • แผนที่สภาพอากาศ 
  • เส้นทางพายุ 
  • และประกาศเตือนภัย
กรมอุตุนิยมวิทยา 
DPM Reporter เตือนสาธารณภัย
DPM Reporter เตือนสาธารณภัย

DPM Reporter เตือนสาธารณภัย

  • เตือนสาธารณภัยทุกรูปแบบ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย ภัยบนถนน เป็นต้น
  • มีแอปพลิเคชัน DPM Reporter ดาวน์โหลดได้ที่  iOS , Android
DPM Reporter

เก็บของหนีน้ำ เตรียมรับมือน้ำท่วม อย่างไร

กรณีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องอพยพกะทันหัน

หากมีประกาศเตือนภัยฉุกเฉินให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ หรือฝนตกหนักในพื้นที่และมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วมฉับพลัน เช่น น้ำมีสีขุ่นและไหลเร็วกว่าปกติ ควรปฏิบัติดังนี้ 

  1. อย่าเสียเวลาเก็บของหนีน้ำ หรือพกสัมภาระติดตัวเกินความจำเป็น
  2. ปิดระบบไฟฟ้า แก๊ส และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยควรปิดเบรกเกอร์ไฟเพื่อลดความเสี่ยงไฟฟ้ารั่วและอุบัติเหตุต่างๆ 
  3. สวมเสื้อผ้าทะมัดทะแมงที่มีโทนสีสว่าง เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและสังเกตเห็นได้ง่าย
  4. ไม่เข้าใกล้สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า และเลี่ยงเส้นทางน้ำไหลแรง
  5. หากเส้นทางอพยพไม่ปลอดภัย ให้อยู่ที่เดิม เตรียมอุปกรณ์จำเป็นติดตัว เช่น ไฟฉาย ยา น้ำดื่ม อาหารแห้ง เสื้อผ้าแห้ง หนีขึ้นที่สูง และรีบแจ้งขอความช่วยเหลือ 

กรณีรู้สถานการณ์น้ำล่วงหน้า ประเมินสถานการณ์น้ำแล้วมีเวลาเตรียมตัวเก็บของหนีน้ำ

หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าแต่เสี่ยงน้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่ง และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมแล้วพบว่ายังพอมีเวลาเตรียมตัว ให้ปฏิบัติดังนี้

  1. ย้ายตำแหน่งปลั๊กไฟและสวิตช์ไฟต่างๆ ให้สูงขึ้น รวมถึงสำรวจมิเตอร์ไฟฟ้า หากมีโอกาสถูกน้ำท่วมถึงให้แจ้งการไฟฟ้ามาย้ายให้สูงขึ้น 
  2. ย้ายเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ทีวี คอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันไฟดูด ลัดวงจร และป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วม
  3. เก็บของที่อาจถูกน้ำท่วมแล้วเสียหายขึ้นที่สูง โดยใส่กล่องหรือลังหรือถุงที่สามารถขนย้ายหรือวางซ้อนได้ง่าย หรือหนุนฐานรองให้สูงขึ้น
  4. สำรวจพื้นที่ในบ้าน รอยแตกร้าว ใช้วัสดุยาแนว ซิลิโคน หรือปูนซีเมนต์ปิดรอยป้องกันน้ำรั่วซึม และเตรียมกระสอบทรายเพื่อทำกำแพงกันน้ำเข้าตัวบ้านและปิดท่อน้ำทิ้ง เช่น เมื่อน้ำเริ่มเข้าตัวบ้าน ให้นำทรายใส่ถุงเท้าหรือถุงผ้าปิดฝาท่อระบายน้ำห้องน้ำ และโถชักโครก 
  5. ย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็กเล็ก และสัตว์เลี้ยง ออกไปพักยังพื้นที่อื่นที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือชั้นสองของตัวบ้าน หรือพื้นที่ที่สามารถรอรับการช่วยเหลือได้สะดวก 
  6. เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น สมุดบัญชีธนาคาร เอกสารการเงิน โฉนดที่ดิน ใบรับรอง เป็นต้น ใส่ซองพลาสติกหรือถุงกันน้ำ เก็บยังที่ปลอดภัย 
  7. เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินที่มีของใช้จำเป็น เช่น บัตรประชาชน เงินสด ยาประจำตัว อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ไฟฉาย กระดาษ ปากกา แบตเตอรี่สำรอง และเสื้อผ้าแห้งโทนสีสว่าง
  8. สำรองอาหารแห้ง น้ำดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยง ภาชนะสำหรับใส่น้ำดื่ม ภาชนะใส่ของที่ลอยน้ำได้ เช่น กะละมัง ถุงขยะ และภาชนะสำหรับขับถ่าย
  9. สำรวจเส้นทางอพยพและจุดหมายปลายทาง เช่น ศูนย์อพยพ บ้านญาติ พร้อมนัดหมายกับคนในครอบครัวให้ชัดเจน และเตรียมแพ็กกระเป๋าฉุกเฉินของตนเอง 
  10. หากมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ให้สำรวจพื้นที่ที่สามารถนำรถไปจอดได้
  11. ชาร์จแบตเตอรี่โทรศ้พท์ให้เต็มไว้เสมอ
  12. ติดตามข่าวสารตลอดเวลา เตรียมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน หากสถานการณ์รุนแรงควรรีบขอความช่วยเหลือทันที

น้ำท่วมบ้าน ติดต่อขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหน

  • ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784
  • ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ICT) สายด่วนข้อมูลภัยพิบัติ โทร. 192
  • ร่วมด้วยช่วยกัน ประสานความช่วยเหลือ โทร. 1677
  • ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ โทร. 1199 
  • สภากาชาดไทย สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ช่วยเหลือสาธารณภัย โทร. 1664
  • อุบัติเหตุทางน้ำ โทร. 1196 
  • ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669
  • กรมอุตุนิยมวิทยา สายด่วนข้อมูลสภาพอากาศ โทร. 1182
  • กรมชลประทาน สายด่วนข้อมูลสถานการณ์น้ำ-เขื่อน โทร. 1460
  • ตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1193
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1146
  • สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
  • บขส. 1490
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โทร. 1416
 
ที่มา 
http://number.nbtc.go.th/uploadfiles/hotline.htm

 

 

พี่จูน
พี่จูน - Columnist บ.ก.บันเทิง/ไลฟ์สไตล์ ใจดีกว่าหน้าตา รักสัตว์ รักเด็ก อยากเป็นนางเอกและนางงาม

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น