เดินเรื่องอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ?

 

          เมื่อสัปดาห์ก่อนมีน้องนักเขียนชาว Dek-d.com ขอเคล็ดลับ

การดำเนินเรื่องให้น่าสนใจ วันนี้พี่นัทเลยจัดให้ตามคำเรียกร้องจ้ะ


          ในการเขียนนิยาย ในส่วนของการเดินเรื่องนั้น ว่าไปแล้วก็อาจแบ่งออกได้ตามจุดประสงค์หลัก ชนิด 

 

          1. การเปิด...  ได้แก่ การเปิดเรื่อง การเปิดเหตุการณ์ เปิดปม.. การเปิดตัวละคร...  หัวใจหลักสำคัญในการเปิดก็อยู่ที่จุดประสงค์ของคนเขียนต่อตัวละคร หรือปมนั้นๆของเรื่อง นั่นคือ...

               - เปิดให้น่าสนใจ.. คนอ่านพออ่านปั๊บก็บอกกับตนเอง.. ตัวละครตัวนี้คงสำคัญแน่ๆ.. ตรงนี้ต้องเป็นปมอะไรสักอย่างของเรื่องเป็นต้น
               - เปิดให้ประทับใจ.. คือคนอ่านแล้วพอเจอตัวละครตัวนี้ ก็ปิ๊งขึ้นมา หรือสะดุดใจกับปมที่เราเปิดขึ้น
              
-เปิดให้ชวนติดตาม.. เมื่อเกิดความสนใจ คนอ่านก็จะคอยติดตาม ว่าตัวละครตัวนี้เป็นอย่างไร เหตุการณ์ตรงนี้จะดำเนินอย่างไร
               - เปิดเพื่อเสริม.. คือ เปิดเพื่อให้เข้ามาเสริมคำอธิบาย หรือความเป็นเหตุเป็นผลของเนื้อเรื่อง


          2. การปู... ได้แก่  ปูความเป็นมาของตัวละคร  การขยายความถึงปมที่เราเปิดไว้ เช่น.. ตัวละครตัวหนึ่งโกรธแค้นตัวละครอีกตัว   ตรงนี้จะเป็นการอธิบายเหตุผล  สร้างฐานของเหตุการณ์ให้มันแน่นขึ้น ว่าทำไมถึงจึงเกิดปมนั้นขึ้นมาได้...

ในการปู... เราอาจจะมีการเปิดเหตุการณ์รอง  หรือเปิดตัวละครที่อื่นเข้ามา เพื่อทำให้สิ่งที่เรานำเสนอ มันอ่านแล้วสมจริงสมจัง  หนักแน่น..น่าเชื่อถือ  ในนิยายแต่ละเรื่อง..มักมีเหตุการณ์การหลายเหตุการณ์ มีปมหลายปม ที่มาเกี่ยวพันกันเหมือนลูกโซ่ที่คล้องกัน ไปโยงไปสู่อีกจุดของเหตุการณ์ที่เป็นจุดหลักของเรื่อง


 



          3.  การปิด...  เมื่อเราเปิดเราก็ต้องมีการปิด.. นั่นคือการสรุปของปม ของเหตุการณ์ หรือของตัวละครนั้นๆ  การปิดในบางครั้ง ก็อาจเป็นการเปิดไปสู่อีกเรื่องราว อีกปม อีกเหตุการณ์ของในเรื่องนั้นๆก็ได้

สำหรับการปิด.. เราไม่จำเป็นต้องนำทุกอย่างไปปิดในตอนท้ายของเรื่อง  แต่เราอาจจะทะยอยปิดเป็นช่วงๆ โดยใช้เทคนิค  ปิดเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อนำไปสู่การเปิดของอีกอย่าง.. การทำแบบนี้จะทำให้เรื่องดำเนินไปชวนน่าติดตาม กระตุ้นความสนใจของคนอ่านในแต่ละฉากแต่ละตอนที่เราเขียนขึ้น


          ดังนั้นพี่จึงอยากแนะนำ.. ให้เรานำเทคนิคการดำเนินเรื่อง โดยการใช้
การ เปิด ปู และปิด..  ไปทุกบทที่เราเขียนขึ้น กล่าวคือ ให้เราวางพล็อตกว้างๆของเรื่องเอาไว้  จากนั้น ก็กำหนดพล็อตคร่าวๆของแต่ละบทเอาไว้เลย ว่าเราจะจบบทนั้นอย่างไร  (โดยอาจไม่ต้อง กำหนดไว้ล่วงหน้าทุกบทก่อน แต่ปล่อยให้เป็นไปตามเหตุการณ์ เพื่อที่จะไม่กดดันเวลาเราเขียน และทำให้คนเขียนรู้สึกตื่นเต้น และสนุกไปกับการเขียน เพราะว่าคนเขียนเอง บางครั้งก็ไม่รู้ว่าตอนจบของเรื่องจะเป็นอย่างไร เพียงแต่เราวางไว้คร่าวๆ แล้วเป็นคนถือหางเสือของเรือ เพื่อให้มันทรงตัวลอยไม่ล่ม เพียงแต่การพายเรือ.. มันก็ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ  ให้เรารู้แค่ว่า เราจะพาเรือไปจอดเทียบที่ท่าไหน ก็พอแล้ว )


คำคมนักเขียน


นวนิยายมิใช่ความฝัน มิใช่งานที่ทำโดยการเดา


แต่มันเป็นจินตนาการที่มีพื้นฐานบนความจริง


และความจริงนั้นมีความแน่นอนละเอียดอ่อน


มิฉะนั้นจินตนาการนั้นจะไม่ปรากฎโลดเต้นมีชีวิตได้


(มาร์กาเรต แบนนิ่ง)

 



 

น้องๆ นักเขียนชาว Dek-d.com อย่าลืมนำเคล็ดลับดีๆไปปรับใช้กับงานเขียนของตัวเองนะจ๊ะ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้าจ้า แวะเข้าไปทักทายกันใน My Id พี่นัทได้จ้า 


 {pic-desc}


 พี่นัทขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก jj-book.com , A dictionary of Contemparary Quotations by Jonathon Green , Panbooks London Sydeney , 1982 และภาพประกอบจาก nipic.com



พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

36 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Yu-i Member 27 พ.ย. 52 21:26 น. 20

ชอบมากเลยค่ะ 
เพราะว่ามันจริงแท้แน่นอน เคยเป็นแต่นักอ่าน พอเริ่มมาแต่งเองเลยเข้าใจเลยค่ะ เวลาแต่งคนแต่งเองก็ยังไม่รู้ตอนจบเลยคะ มันเลยสนุก บางครั้งว่าพล็อตของแต่ละตอนเอาไว้ แต่พอเอาเข้าใจจริงระหว่างแต่งอยู่มันก็มีไอเดียแทรกตลอดเลยค่ะ แบบว่าไหลไปตามน้ำ แต่ก็อยากให้เรือไปออกเส้นทางไปมากหนัก เอาให้พายกลับเข้าสู่เส้นทางเดิมให้ได้ ก็เป็นงานที่ท้าทายอีกอย่างหนึ่งเช่นกันค่ะ

ขอบคุณมากเลย 
ยุ้ย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด