เจาะทุกขั้นตอน สอนเขียนนิยายธีมดิสโทเปีย

        พี่น้องเคยพาน้องๆ ไปทำความรู้จักกับนิยายธีมดิสโทเปียบ้างแล้ว (ในบทความนี้ คลิก) เรียกว่าเป็นนิยายที่กำลังฮิตอยู่ในหมู่วัยรุ่นต่างประเทศตอนนี้เลย และหลายๆ เรื่องตั้งแต่ยุคเก่ายันยุคใหม่ก็ได้เอามาทำเป็นภาพยนตร์หมด ไม่ว่าจะเป็น The Hunger Games, Divergent, The Giver
        วันนี้พี่น้องก็เลยจะมาแนะนำแนวทางการคิดพล็อต และองค์ประกอบต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเขียนนิยายธีมนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้บ้านเรามีนิยายธีมนี้เกิดใหม่บ้าง และอีกส่วนก็เพื่อการประกวดเรื่องสั้นปลายปี ที่พวกเราจะใช้ธีมนี้เขียนเรื่องสั้นกัน
 

1. เข้าใจดิสโทเปีย


        ดิสโทเปีย (Dystopia) มาจากคำว่า dys (ไม่) กับ topia (สถานที่สำหรับอาศัย) พอมารวมกันเลยเป็นสถานที่ที่ไม่น่าอยู่อาศัย
        มันไม่น่าอยู่เพราะอะไร?
  • สภาพแวดล้อม (ขยะล้นโลก, สงคราม, คนไม่ดี, โรคระบาด ฯลฯ)
  • ระบบการปกครอง (รัฐบาลเผด็จการ, จำกัดความคิด, จำกัดสิทธิเสรีภาพในการเลือก ฯล)
        ดิสโทเปียมันมีขั้วตรงข้ามของมันอยู่ คือ ยูโทเปีย (Utopia) สถานที่ที่เหมาะแก่การอาศัย เป็นนิยายโลกสวยที่พูดถึงอนาคตอันสดใส โลกที่เราทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อากาศสดชื่น ฯลฯ

 
แล้วนิยายธีมดิสโทเปียพูดอะไร
        นิยายดิสโทเปียมีขึ้นเพื่อ "เตือนสติ" คนอ่านเกี่ยวกับการพยายามทำให้สังคมมันดี สมบูรณ์แบบ แต่ผลลัพธ์กลับออกมาตรงกันข้าม (ทำนองว่าออกมาต้านความคิดเรื่องยูโทเปียก็ว่าได้)
        พูดแบบนี้แล้วอาจจะไม่เห็นภาพ พี่น้องจะยกตัวอย่างสังคมดิสโทเปียของเรื่อง The Giver นะคะ เรื่องนี้สมมติให้เป็นโลกในอนาคตค่ะ ผู้นำของชุมชนหนึ่งตัดสินใจว่าโลกเรามันมีความขัดแย้งเยอะนะ เดี๋ยวมีคนตาย เดี๋ยวมีความเจ็บป่วย เดี๋ยวมีความทุกข์ เรามาหาวิธีทำให้สิ่งเหล่านี้มันหายไปกันเถอะ
        แล้วสิ่งที่ผู้นำของชุมชนทำก็คือ
  • เอา "สี" ออก: ทำให้คนในชุมชนไม่เห็นสีสัน จะได้ไม่ต้องเกิดความแตกต่าง เราทุกคนผิวสีเดียวกัน มีบ้านสีเดียวกัน รถสีเดียวกัน ไม่มีสีที่ชอบ ไม่มีสีที่เกลียด ทุกคนลืม "สี" ไปจนหมด
  • กำจัด "สัตว์" ทิ้ง: มีสัตว์อยู่ก็อาจทำให้คนบาดเจ็บ หรือคนอาจทำให้มันบาดเจ็บ มีแต่เสียกับเสีย ให้มีแค่มนุษย์เท่านั้นบนโลกนี้ดีกว่า
  • เอา "ฤดูกาล" ออก: ไม่มีหิมะ ไม่มีฝน ไม่มีอากาศร้อนอบอ้าว เพื่อให้ปลูกพืชพรรณได้ตลอดปีและคนไม่เจ็บป่วย
  • เอา "ดนตรี" ออก: เพราะดนตรีทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ทั้งสุขและทุกข์
        ถ้าอ่านไปเรื่อยๆ เราคงรู้สึกว่าสังคมนี้ก็ไม่เลวนะ เราไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ไม่มีน้ำตา ไม่มีความทุกข์ ไม่ต้องเลือกด้วยว่าจะทำอาชีพอะไร มีคนเลือกมาให้เองเสร็จสรรพ
        แต่คนเขียนก็จะทำให้เราเห็นว่าสังคมนี้มันไม่ได้มีดีจริงๆ หรอก อะไรที่เขาพยายามกำจัดออกไปมันคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเราต่างหาก ถ้าไม่มีก็เหมือนใช้ชีวิตไม่เต็มร้อย
 

2. หาไอเดีย


        พอจะเข้าใจภาพนิยายแนวนี้คร่าวๆ แล้ว ก็มาเริ่มวางแผนกันค่ะ ขั้นตอนนี้ห้ามข้ามนะ ถ้าไม่วางแผนจะเขียนไม่ได้เลย
        ก่อนอื่นเราต้องดูว่ามีอะไรในสังคมที่เรารู้สึกขัดหูขัดตาบ้างไหม อะไรที่เราคิดว่ามันน่าจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น แต่ผลลัพธ์กลับแย่ลง พี่น้องจะลองยกตัวอย่างให้เป็นไอเดียว่าเราคิดถึงอะไรได้บ้าง
 
ข้อดี ข้อเสีย
การใช้สมาร์ทโฟน สะดวกรวดเร็ว ทำให้เราเอาแต่ก้มหน้า
ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
สอบวัดระดับคุณธรรม ??? ตัดสินคุณธรรมคนด้วยคะแนน
อาจไม่ได้ผลลัพธ์จริง
และเป็นการด่วนสรุปเกินไป
ระบบสั่งการไฟฟ้าภายในบ้าน
ด้วยคอมพิวเตอร์
สะดวกรวดเร็ว
ประหยัดพลังงาน
แพง
ระบบรวนอาจเป็นอันตราย
โซเชียล เน็ตเวิร์ค รู้จักคนมากขึ้น
รับข่าวสารไวขึ้น
ติดต่อสื่อสารรวดเร็วขึ้น
มีบุคคลอันตรายเยอะ
ข่าวสารต้องกรองดีๆ
ศาลเตี้ย

        เมื่อเราได้ประเด็นที่เราจะเอามาเป็นแก่นหลักของเรื่องแล้ว ได้ข้อดี ข้อเสียแล้ว ทีนี้ก็ไปขั้นตอนต่อไปกันค่ะ
 

3. ทำไอเดียให้กลายเป็นเรื่องราว


        เลือกมาสักประเด็นหนึ่ง เอาประเด็นที่เรารู้ปัญหาของมันดีที่สุด มาขยายให้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะข้อเสียที่เราเห็นเหล่านี้มันยังเป็นอะไรที่คนทั่วไปในสังคมรับได้ (ไม่งั้นก็คงเลิกทำ เลิกใช้กันไปแล้ว) เราต้องทำให้มันเด็ดขาดกว่านี้
        พี่น้องเลือกเลยแล้วกันว่าจะเอาประเด็นสอบวัดระดับคุณธรรมดานี่แหละ มาคิดดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสังคมเราตัดสินใจวัดความดีความเลวของคนด้วยแบบทดสอบ และใช้มันเป็นเกณฑ์ในการจำกัดสิทธิคน
        เริ่มเครียดกันแล้วใช่ไหมคะ เริ่มคิดกันแล้วใช่ไหมว่า "บ้าหรือเปล่า ระดับคุณธรรม จะเอาอะไรมาวัดได้"
        เอาไอเดียนี้ไปเล่าให้เพื่อนฟัง ถ้าเพื่อนเริ่มเครียดแสดงว่ามาถูกทางแล้วค่ะ ไปข้อต่อไปเลย
 
อะไรที่น่ากลัวสำหรับเราอาจไม่น่ากลัวสำหรับคนอื่น
        บางทีเพื่อนอาจไม่รู้สึกอะไรกับประเด็นที่เราเลือกมา เช่น ถ้าเราจะพูดถึงสังคมที่ไม่มีตัวหนังสือ มีแต่ภาพและเสียง ถ้าเพื่อนไม่ได้เป็นคนชื่นชอบการอ่านการเขียน อาจจะบอกว่า "แล้วไง?" แต่ลองถามเพื่อนว่าถ้าโลกนี้ไม่มีอินเทอร์เน็ตแล้วจะอยู่ได้ไหม
        เมื่อคนอ่านไม่รู้สึกแย่ไปกับโลกที่เราสร้าง มันก็ทำให้เขาชอบเรื่องเรายาก เวลาเลือกประเด็นจึงควรเลือกที่คนส่วนใหญ่คิดว่าไม่ดีกับเขาจริงๆ
 
 

4. เริ่มใส่รายละเอียด


        พี่น้องจะเริ่มจากการสร้างสังคมใหม่ขึ้นมาก่อนค่ะ เป็นสังคมไทยในปีพ.ศ. 2600 แล้วกัน สังคมกำลังวุ่นวายเลย เพราะมีแต่คนไม่ดีแต่ดันหัวแหลมนัก ผู้ใหญ่ในบ้านเราก็เลยประชุมกันแล้วก็ตัดสินว่า "เพราะเราปล่อยให้คนไม่ดีได้รับการศึกษานี่สิ เหมือนติดอาวุธให้คนพวกนี้กลับมาทำร้ายเราเองเลย"
        ร้อนไปถึงกระทรวงมันสมองแห่งชาติ (ขอตั้งชื่อใหม่ เดี๋ยวกระทบ) ต้องคิดหามาตรการควบคุมตามคำสั่งรัฐบาล เลยออกกฎใหม่สำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นต้นไป ทุกคนต้องเข้ารับการทดสอบระดับคุณธรรมทุกปีเพื่อนำมาใช้คู่กับผลการสอบวัดความรู้ทั่วไป
        การทดสอบนั้นจะไม่ใช่แค่การตอบคำถามทางจิตวิทยาอย่างเดียวกัน นักเรียนทุกคนต้องเข้าห้อง "ทดสอบ" ซึ่งจะมีทั้งสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ โดยรัฐบาลช่วยกันระดมสมองคัดแบบทดสอบมาให้แล้วว่าแบบนี้แหละ วัดความดีงามของแต่ละคนได้จริง (มั้ง)
        คนที่สอบได้ระดับคุณธรรมต่ำเพียงครั้งเดียวจะถูกส่งไปยัง "เขตสีดำ" แม้ว่าคนๆ นั้นจะยังไม่เคยมีประวัติทำผิดเลยก็ตาม ไม่มีสิทธิเรียนต่อ ไม่มีสิทธิทำงานตำแหน่งสำคัญในสังคม
 
เรื่องที่ต้องระวัง
  • เหตุการณ์ในเรื่องต้องเป็น "อนาคต" เราจะไม่เขียนถึงสังคมปัจจุบันหรือสังคมในอดีตค่ะ ไม่งั้นคนอ่านจะรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่สมจริง ก็สังคมปัจจุบันเราเป็นแบบนี้ที่ไหน เราต้องเขียนถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม จากตอนนี้ไปอนาคตมันจะเป็นอย่างไร
  • คนในสังคมจะไม่รู้ว่ามันไม่ดี ไม่ว่าจะไม่รู้เพราะไม่รู้จริงๆ หรือไม่รู้เพราะหูตามืดบอด โดนรัฐบาลใช้โฆษณาชวนเชื่อ ใช้ยา หรือใช้กำลัง ฯลฯ ทำให้คนในสังคมเชื่อว่าการวัดระดับคุณธรรมนี่ควรมีไว้จริงๆ และแบบทดสอบที่เอามาใช้ก็น่าเชื่อถือยิ่ง
     

 
        สำหรับเรื่องของพี่น้อง พี่น้องขอเขียนให้คนในสังคม "เชื่อมั่น" ในรัฐบาลนี้มากเกินไป พูดอะไรเชื่อหมด ทำอะไรทำหมด
 
 

5. เลือกตัวละคร


        ตัวเอกของนิยายธีมดิสโทเปียมักเป็นคนพิเศษค่ะ พิเศษตรงที่เขาจะเป็นคนเดียวที่รู้ว่าสังคมนี้มันผิดปกติ แล้วลุกขึ้นมาต่อต้าน หรือสถานการณ์บีบให้ต้องต่อต้าน บางเรื่องอาจให้ตัวเอกมีพลังพิเศษไปเลยก็ได้
        ตัวเอกอาจเป็นได้ทั้งประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจอะไรในสังคม กับเป็นคนที่มีอำนาจ เช่น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ คนที่คิดแบบทดสอบวัดระดับคุณธรรมขึ้นมา
        สำหรับเรื่องของพี่น้อง ให้ตัวเอกเป็นวัยรุ่นชื่อนายเจตนา ซึ่งเป็นคนจิตใจดี ไม่เคยคิดร้ายกับใคร แต่ตอนอายุ 16 ดันสอบวัดระดับคุณธรรมไม่ผ่าน เพราะการตัดสินใจบางอย่างของเขาซึ่งไม่เข้ากับมาตรฐานที่รัฐบาลวางไว้ นายเจตนาก็เลยต้องไปอยู่ที่ "เขตสีดำ" ไม่มีโอกาสได้พบหน้าครอบครัวของเขาอีกเลยตลอดชีวิตที่เหลือ และครอบครัวเขาก็เข้ามาในเขตนี้ไม่ได้เหมือนกัน
        ทว่านายเจตนายังเด็ก ก็เลยไม่รู้ว่า "ความชั่ว" แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เนื่องจากตั้งแต่เล็กจนโตเขาก็อยู่ใน "เขตสีขาว" มาตลอด คนในเขตนี้ก็ได้รับการรับรองจากรัฐบาลแล้วว่าเป็นคนดีแน่นอน พอเข้าไปในเขตนั้นตอนแรกก็กลัว แต่กลับได้พบกับคนที่เขารู้สึกว่าไม่ต่างอะไรกับเขตสีขาวเลยสักนิด
        พี่น้องจะวางตัวละครสำคัญเพิ่มอีกตัวด้วย คือเจ้าหน้าที่รัฐที่แม้จะเชื่อในคำพูดของรัฐบาลกับผู้บังคับบัญชา แต่ตลอดเวลาที่คอยควบคุมคนในเขตสีดำและทำบันทึกพฤติกรรม เขากลับพบว่าหลายคนในนี้ไม่แสดงท่าทีว่าจะมีอันตรายใดๆ เลย
 

6. แต่งเลย


        อย่ามัวแต่รอให้รายละเอียดสมบูรณ์ แต่งเลย!
        สังเกตว่านิยายธีมดิสโทเปียมันจะผสมไซไฟหรือแฟนตาซีนิดๆ ดังนั้นมันจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับโลกใหม่ สังคมใหม่อยู่เยอะมาก อย่าพยายามทำให้มันสมบูรณ์ ค่อยๆ แต่งไปแล้วเติมช่องว่างทีละนิดดีกว่า
        เมื่อแต่งไปเรื่อยๆ ฐานมันจะเริ่มแน่น ทีนี้เราก็แต่งยาวไปได้สบายๆ ที่เหลือก็เหมือนนิยายทั่วไปเลยค่ะ มีปมขัดแย้ง มีเหตุการณ์ให้ลุ้นระทึก มีไคลแมกซ์ และมีตอนจบ
 
ปมขัดแย้ง ไคลแมกซ์ และจุดจบ
        สำหรับนิยายธีมดิสโทเปีย ตัวร้ายก็คือคนที่สร้างสังคมแบบนี้ขึ้นมา (รัฐบาล, เจ้าหน้าที่ ฯลฯ) และอาจรวมไปถึงประชาชนคนอื่นที่หูตามืดบอดด้วย หน้าที่ของตัวเอกมี 2 อย่าง คือ ทำให้คนในสังคมตาสว่าง และโค่นล้มสังคมจอมปลอมนี้
        แต่ว่า...จะทำแบบนั้นได้เราต้องวางพล็อตมาดีมาก เพราะมันยากที่คนๆ เดียวจะโค่นอำนาจรัฐบาลได้ (ยกเว้นแต่มีพลังพิเศษ ปล่อยคลื่นเต่าสะท้านฟ้าได้ อะไรแบบนี้) ดังนั้น นิยายธีมนี้หลายเรื่องก็มักจบไม่สวย หรือจบแค่ตัวเอกหลุดออกไปจากสังคมนี้ได้ อาจเนรเทศตัวเองหรือถูกเนรเทศก็ตาม อาจมีบางคนตาสว่าง หรือยังงมงายยึดติด แต่สุดท้ายสังคมนี้ก็ยังอยู่ต่อไป และทิ้งท้ายเป็นคำถามให้กับคนอ่านว่าถ้าเป็นคุณจะจัดการอย่างไรกับสังคมแบบนี้
 
 

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่สังคมดิสโทเปีย
แต่เป็นการที่เราอยู่ในสังคมแบบนี้แต่เราไม่รู้ตัวมากกว่า


        ทั้ง 6 ขั้นตอนนี้อาจฟังดูยาก แต่พี่น้องเชื่อว่าไม่มีอะไรเกินความสามารถพวกเรานักเขียนชาวเด็กดีอยู่แล้ว
        ใครมีคำถามหรือมีอะไรจะมาแลกเปลี่ยนก็จัดไปที่กล่องคอมเม้นต์ด้านล่างเลย
        ส่วนคนที่สนใจประกวดเรื่องสั้นปลายปี เดี๋ยวรอฟังประกาศอีกทีช่วงต้นเดือนธันวาคมนะว่ากติกามีอะไรยังไง ตอนนี้ศึกษานิยายธีมนี้ให้แตกฉานไปก่อน
 
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
Blueprint to Write a Hit YA Dystopic Novel
International Titles - Dystopian Literature for Young Adults
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

zelen Member 14 พ.ย. 57 20:30 น. 7

ประโยคนี้แหละที่ทำให้เราอยากแต่งนิยายแนวนี้ขึ้นมาเลย รักเลยเยี่ยม

แอบคิดเหมือนกันว่าเราอาจจะอยู่ในสังคมดิสโทเปียโดยที่เราไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้ตกใจ

1
editor_nong Member 17 พ.ย. 57 09:34 น. 7-1
ใช่ค่ะ ส่วนใหญ่แล้วนักเขียนที่เขียนแนวนี้ก็มองจากสังคมที่ตัวเองอยู่ ว่ามันมีอะไรผิดปกติไปหรือเปล่า ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหามันเจอไหม เพราะบางเรื่องมันกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในสังคมไปแล้ว
0
กำลังโหลด
Blue-Sere Member 1 ธ.ค. 57 11:43 น. 19

เรื่องแนว Dystopia ที่ดีมากๆ อีกเรื่องชื่อว่า Fahrenheit 451 ค่ะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคตที่หนังสือเป็นสิ่งต้องห้าม รัฐบาลปกปิดความจริงทุกอย่างกับประชาชน และประชาชนทุกคนก็ถูกสื่อบันเทิงครอบงำจนคิดไม่เป็น ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ภรรยาของตัวเอกใช้ชีวิตอยู่กับสื่อบันเทิงทุกวินาทีของชีวิตจนทำให้กลายเป็นคนว่างเปล่าไปค่ะ อ่านแล้วคล้ายๆ กับสังคมสมัยนี้ (50 กว่าปีแล้วมั้งเรื่องนี้)

อีกเรื่องก็ There will come soft rain เป็นเรื่องสั้น ถ้ามนุษย์หายไปจะเกิดอะไรขึ้น

เรื่องที่น่าจะรู้จักมากกว่าก็ Shinsekai Yori (From the New World) ลักษณะเป็นบันทึกที่จะส่งต่อไปยังคนอีกพันปีข้างหน้า ตอนแรกคิดว่าอยู่ในสังคมแบบยูโทเปีย แต่พอไปเรื่อยๆ สังคมของนางเอกกลับเผยธาตุแท้ออกมา มีแบบอนิเมะด้วยน้า (เรื่องนี้วางปมวางอะไรได้สุดยอดมากจริงๆ)

แล้วก็ Harrison Bergeron เรื่องสั้นแค่ 2 หน้าเอง ถ้าทุกคนบนโลกเท่าเทียมกันจะเกิดอะไรขึ้น? อันนี้เข้าใจง่ายมาก ลองหาเวลาอ่านดูนะคะ :D 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

21 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Ciel En Roseジン Member 14 พ.ย. 57 16:24 น. 2

กำลังเล็งๆว่าอาจจะแต่งดิสโทเปียสักเรื่อง พอดีเคยอ่านเจอบทความเกี่ยวกับโลกอนาคตที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ในอีกหลาย10ปีข้างหน้า สิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปมาก ขอบคุณมากค่ะ:)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Dark of days Member 14 พ.ย. 57 20:24 น. 6

เป็นพวกมีความคิดแนวนี้อยู่แล้วค่ะ ชอบที่จะแต่งแนวนี้ ถ้าเก้บรวบรวมข้อมูลได้มากพอ ก็จะลงมือแล้ว ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ ><

0
กำลังโหลด
zelen Member 14 พ.ย. 57 20:30 น. 7

ประโยคนี้แหละที่ทำให้เราอยากแต่งนิยายแนวนี้ขึ้นมาเลย รักเลยเยี่ยม

แอบคิดเหมือนกันว่าเราอาจจะอยู่ในสังคมดิสโทเปียโดยที่เราไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้ตกใจ

1
editor_nong Member 17 พ.ย. 57 09:34 น. 7-1
ใช่ค่ะ ส่วนใหญ่แล้วนักเขียนที่เขียนแนวนี้ก็มองจากสังคมที่ตัวเองอยู่ ว่ามันมีอะไรผิดปกติไปหรือเปล่า ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหามันเจอไหม เพราะบางเรื่องมันกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในสังคมไปแล้ว
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
โดจิม่าจอมซน 15 พ.ย. 57 21:19 น. 11
ขอบคุณมากคร้าบบบบ กำลังเขียนอยู่เลย รู้สึกว่าอะไรยังขาดๆหายไป ต้องการกระทู้นี้มากกกกกกกก ถ้ามีอีกอย่าลืมเล่าสู่กันฟังนะครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
e-ram Member 16 พ.ย. 57 00:26 น. 13

ดิสโทเปียเป็นอย่างนี้นี่เอง

อืม...แนวนี้อาจจะเหมาะกับนักเขียนที่มองโลกในแง่ร้ายดีนะเนี่ย

เก็บไว้เป็นข้อมูลก่อนดีกว่า

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
editor_nong Member 19 พ.ย. 57 09:56 น. 18-1
พี่น้องยังไม่เคยอ่าน แต่เท่าที่อ่านเรื่องย่อและรีวิวแล้วไม่น่าใช่นะคะ แม้เมืองที่ปรากฏใน casual vacancy จะเป็นเมืองที่ดูผิดปกติ แต่มันไม่ได้มีกติกาของสังคมที่ต่างออกไปแบบดิสโทเปีย เป็นหมู่บ้านที่จิตใจของคนต่ำทรามมากๆ และหวาดระแวงเท่านั้นเอง casual vacancy น่าจะจัดเป็นแนว ดาร์ค เสมือนจริง (realistic) มากกว่า อ่านหนังสือ
0
กำลังโหลด
Blue-Sere Member 1 ธ.ค. 57 11:43 น. 19

เรื่องแนว Dystopia ที่ดีมากๆ อีกเรื่องชื่อว่า Fahrenheit 451 ค่ะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคตที่หนังสือเป็นสิ่งต้องห้าม รัฐบาลปกปิดความจริงทุกอย่างกับประชาชน และประชาชนทุกคนก็ถูกสื่อบันเทิงครอบงำจนคิดไม่เป็น ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ภรรยาของตัวเอกใช้ชีวิตอยู่กับสื่อบันเทิงทุกวินาทีของชีวิตจนทำให้กลายเป็นคนว่างเปล่าไปค่ะ อ่านแล้วคล้ายๆ กับสังคมสมัยนี้ (50 กว่าปีแล้วมั้งเรื่องนี้)

อีกเรื่องก็ There will come soft rain เป็นเรื่องสั้น ถ้ามนุษย์หายไปจะเกิดอะไรขึ้น

เรื่องที่น่าจะรู้จักมากกว่าก็ Shinsekai Yori (From the New World) ลักษณะเป็นบันทึกที่จะส่งต่อไปยังคนอีกพันปีข้างหน้า ตอนแรกคิดว่าอยู่ในสังคมแบบยูโทเปีย แต่พอไปเรื่อยๆ สังคมของนางเอกกลับเผยธาตุแท้ออกมา มีแบบอนิเมะด้วยน้า (เรื่องนี้วางปมวางอะไรได้สุดยอดมากจริงๆ)

แล้วก็ Harrison Bergeron เรื่องสั้นแค่ 2 หน้าเอง ถ้าทุกคนบนโลกเท่าเทียมกันจะเกิดอะไรขึ้น? อันนี้เข้าใจง่ายมาก ลองหาเวลาอ่านดูนะคะ :D 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด