ดราม่าไปอีก!! เคยสังเกตไหม... นางเอกในเทพนิยาย ส่วนใหญ่ไม่มีแม่!

 

ดราม่าไปอีก!!
เคยสังเกตไหม...
นางเอกในเทพนิยาย ส่วนใหญ่ไม่มีแม่!

 

เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ แอดมินก็เลยอยากหันมาเล่นใหญ่กับบทความเกี่ยวกับ ‘แม่’ ในตอนแรก ก็ตั้งใจว่าจะทำบทความแม่ในเทพนิยาย แต่หลังจากค้นหาดูแล้ว กลับได้พบความจริงที่ทำให้แอบช็อกเบาๆ นั่นเพราะ ตัวละครเอกในเทพนิยายที่ดิสนี่ย์นำมาสร้าง ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีแม่! (รวมไปถึงไม่มีพ่อ และไม่มีครอบครัวด้วย!!) เออ นึกๆ ดูแล้ว เป็นอย่างนั้นจริงเสียด้วย เราลืมประเด็นนี้ไปได้ยังไงเนี่ย
 
ถามว่ารู้แล้วแอดมินทำยังไงต่อ แน่นอน ก็หาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ เปลี่ยนประเด็นทันที จากที่ตั้งใจจะทำเรื่องราวของตัวละครแม่ที่รักลูกมาก แสนดีมาก บทความนี้จึงกลายเป็นการตั้งข้อสังเกตและหาคำตอบว่า เพราะอะไร นางเอกในเทพนิยายส่วนใหญ่ถึงไม่มีแม่ มันมีเบื้องลึกเบื้องหลังอะไรหรือเปล่า และ ‘ความเป็นแม่’ นั้นสำคัญมากแค่ไหน อย่างไร
 

เทพนิยายกริมม์ ต้นฉบับหลักของภาพยนตร์ดิสนี่ย์ 

ตลอดช่วง 80 ปีที่ผ่านมา หนังของดิสนี่ย์ มักสร้างมาจากวรรณกรรมชื่อดัง และพล็อตเรื่องส่วนใหญ่แล้ว ตัวละครมักต้องประสบเคราะห์ร้าย สูญเสียครอบครัว ไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ หรือมีแม่เลี้ยง นักวิจารณ์สรุปว่า... ตัวละครเอกของดิสนี่ย์ส่วนใหญ่แล้ว จะต้องมีชีวิตวัยเด็กที่โหดร้าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรค ต้องผ่านความเจ็บปวดจากหลายๆ อย่าง แต่ถ้าจะพูดกันตรงๆ แล้ว จะโทษดิสนี่ย์อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะต้นฉบับของเรื่องที่เลือกมานั้น ก็มีความดราม่าไม่เบาในตัว ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึง เทพนิยายกริมม์ 
 
สโนไวท์มาอยู่บ้านคนแคระ แต่ก็ต้องทำงานรับใช้และทำอาหาร
เครดิตภาพ : mentalfloss.com 

 
หลังจากพิจารณาดูแล้ว พบว่าต้นฉบับหลักของภาพยนตร์ดิสนี่ย์ มักจะได้มาจากเทพนิยายกริมม์ ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เรื่องสโนไวท์ ซึ่งตามประวัติแล้ว ราชินีผู้เป็นมารดา เสียชีวิตเพราะคลอดบุตร ทำให้พระราชาต้องมีภรรยาใหม่ และนั่นก็คือแม่เลี้ยงใจร้าย เจ้าของประโยคติดหู ‘กระจกวิเศษ บอกข้าเถิด ใครงามเลิศในปฐพี’ ทั้งนี้ทั้งนั้น เราสามารถวิเคราะห์ได้อีกแง่ นั่นคือสมัยยุคกลาง ผู้คนอายุไม่ยืนยาวมากนัก โดยเฉพาะผู้หญิง มักเสียชีวิตจากการคลอดลูก เพราะการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าที่ควร ดังนั้น จึงไม่แปลกที่แม่ของตัวละครในเทพนิยายจะตายไปเสียก่อน มันคือความจริงที่เกิดขึ้นในยุคนั้น นอกจากสโนไวท์แล้ว ซินเดอเรลล่าเองก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน เมื่อแม่เสียชีวิต พ่อของสองสาวก็มีภรรยาใหม่ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตของคนยุคกลาง ที่เมื่อภรรยาเสียชีวิต ผู้ชายมักจะมีภรรยาใหม่ทันที ไม่ค่อยอยู่เป็นพ่อม่ายกัน
 
ส่วนเรื่องของแม่เลี้ยงใจร้ายนั้น นักประวัติศาสตร์บอกว่ามีความเป็นไปได้สูงมาก “เรื่องของแม่เลี้ยงลูกเลี้ยงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ปัจจุบันก็ยังมีปัญหานี้ ยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 19 ผู้หญิงต้องอดทนมาก ทำงานตรากตรำเหน็ดเหนื่อย จึงไม่แปลกที่ผู้เป็นแม่มักจะเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหลายอย่าง จนเสียชีวิตไปเสียก่อน แม่เลี้ยงเองมักจะมีอายุน้อย และยังสาวสวย จึงกระทบกระทั่งกับลูกเลี้ยงได้ง่าย” 
 
นอกจากนี้ ผู้หญิงในอดีต แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย จึงไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียงในครอบครัว อำนาจการตัดสินใจตกเป็นของฝ่ายชาย พวกเธอต้องฝากชีวิตไว้กับสามี ซึ่งน้อยคนมากที่จะปกครองภรรยาอย่างยุติธรรม นอกจากต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสามี ก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของแม่สามี (หรือก็คือแม่ผัว!) แต่งงานเข้าบ้าน ก็ต้องไปช่วยทำงานบ้าน พูดง่ายๆ ก็คือ กลายเป็นคนใช้จำเป็นดีๆ นี่เอง และนี่แหละ ทำให้ผู้หญิงในอดีต มีชีวิตที่ไม่แตกต่างจากซินเดอเรลล่า สาวน้อยก้นครัว
 
จากบทสรุปด้านบน จะเห็นได้ว่า... เทพนิยายนั้นเขียนขึ้นจากชีวิตจริงเป็นหลัก และในสมัยนั้น เป็นช่วงเวลาของ ‘ปิตาธิปไตย’ หรือ ‘ผู้ชายเป็นใหญ่’ เมื่อภรรยาเสียชีวิตไปก่อน พวกเขาก็ต้องมีภรรยาใหม่ ก็เลยเป็นที่มาของปัญหาในครอบครัว และยังเป็นที่มาของการได้พบชีวิตใหม่ๆ ได้ผจญภัย ได้เผชิญอะไรที่ไม่เคยเจอด้วย บางทีเหตุผลที่นักเขียนและทางดิสนี่ย์เลือกเรื่องราวของหญิงสาวพวกนี้มาเขียนหรือสร้างเป็นภาพยนตร์ อาจจะเป็นเพราะชีวิตของพวกเธอมีสีสัน มีความน่าสนใจ มีเรื่องราวที่ดึงดูดคนอ่านอยากรู้ต่อ การที่คนคนหนึ่งต้องต่อสู้ ได้บทเรียนใหม่ๆ ได้ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ และต้องเอาตัวรอดในชีวิตประจำวันให้ได้นั้น เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
 

บทบาทของตัวละครผู้หญิงในเทพนิยายดิสนี่ย์

นักวิจารณ์ต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะมองว่าภาพยนตร์ดิสนี่ย์มีปัญหาเรื่องบทบาทของตัวละครเพศหญิง ตัวละครผู้หญิงในดิสนี่ย์ส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อเป็นประโยชน์ทางเพศ เช่น เป็นแม่ เป็นภรรยา เป็นผู้หญิงที่รอการช่วยเหลือจากผู้ชาย ถูกข่มขืน (อันนี้เกิดขึ้นในต้นฉบับที่แท้จริง เช่น เจ้าหญิงนิทรา เมื่อเจ้าหญิงนิทรา ถูกเจ้าชายข่มขืนทั้งๆ ยังนอนหลับ (บางตำนานก็ว่า... เจ้าชายองค์นั้นคือพระบิดาของเธอเอง) จนมีลูกถึงสองคน และเมื่อฟื้นขึ้นมา เธอยังถูกภรรยาใหม่ของเจ้าชายตามจองล้างจองผลาญ ด้วยความอิจฉาริษยา ต้องหนีเอาชีวิตรอดอีก (ชีวิตช่างอาภัพจริงๆ)) ตัวละครหญิงในเทพนิยายส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีโอกาสได้แสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองออกมา ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ต้องพึ่งพาผู้ชายเป็นหลัก
 
เจ้าหญิงนิทรา ถูกข่มขืนโดยพ่อของเธอเอง
เครดิตภาพ : en.wikipedia.org 

 
และอีกประเด็นที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ นักเขียนเทพนิยายส่วนใหญ่ เป็นผู้ชาย! ไม่ว่าจะเป็น ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน, พี่น้องกริมม์, ชาร์ลส์ แปร์โรลต์ ฯลฯ ดังนั้นในเมื่อนักเขียนเป็นเพศชาย จึงไม่แปลกที่พวกเขาไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับผู้หญิงเท่าที่ควร ถึงกับมีคำคมที่บอกไว้ว่า “ยิ่งอ่านเทพนิยายให้ละเอียดลึกซึ้ง จะรู้สึกว่ามันคือบันทึกความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ความงดงามอย่างที่เราใฝ่ฝัน” กริมม์ได้นำชีวิตจริงของผู้คนในอดีต และสิ่งที่นางเอกทุกคนต้องเผชิญ มาตีแผ่ไว้ในเทพนิยายของเขา และส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
 
และแอดมินขอพูดต่ออีกนิดค่ะ... วอลท์ ดิสนี่ย์ เอง ก็เป็นผู้ชายเช่นกัน และยังเป็นผู้ชายที่มีบทบาทแบบ ‘ผู้ชายเป็นใหญ่’ ในครอบครัวเสียด้วย เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่ได้เอะใจหรือเอาใจใส่กับประเด็นนี้ ที่สำคัญ ในช่วงที่วอลท์ เริ่มสร้างการ์ตูนดิสนี่ย์ขึ้น เป็นช่วงที่อัตราการหย่าร้างในสหรัฐฯ เพิ่มสูงมาก คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เลยกลายเป็นว่า การที่ตัวละครไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ เป็นเรื่องปกติ
 

ทำไมต้องแม่เลี้ยงใจร้าย...

ปมหลักๆ ที่ปรากฎในเทพนิยาย มักจบลงที่ ผู้หญิงเป็นตัวร้าย! จะเห็นได้ว่า พวกแม่ที่ดีมักจะตายตั้งแต่ต้นเรื่อง และเทพนิยายก็จะเล่าเรื่องความเจ็บปวดที่ลูกสาวของพวกเธอต้องเผชิญ บทวิเคราะห์จากหลากหลายสถาบันระบุว่า.. การที่แม่เสียชีวิต และต้องเผชิญกับแม่เลี้ยงใจร้าย ก็เหมือนอารมณ์ที่แตกต่างสองชนิด ความสัมพันธ์อันซับซ้อน และตัวแทนของความรู้สึกอันตรงกันข้าม นั่นคือความรักและการปฏิเสธ 
 
หลังพ่อตาย ซินเดอเรลล่าต้องทำงานอย่างหนักเพื่อแลกที่อยู่อาศัย
เครดิตภาพ : childhoodreading.com 

 
การที่เทพนิยายและดิสนี่ย์แยกความเป็นแม่ที่ดี (ตายแล้ว) กับแม่ที่เลว (แม่เลี้ยง) ออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราได้เห็นอารมณ์ของตัวละครเอกที่ต้องเผชิญกับบุคคลทั้งสองแบบ มีเรื่องของการจัดการอารมณ์ที่ตรงกันข้ามให้ลงตัวและเด็ดขาด บางทีการสร้างความร้ายกาจให้กับแม่เลี้ยง อาจเพื่อเป็นการหาทางลงให้กับนางเอก เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกผิดให้กับเธอ เพราะแม่เลี้ยงร้าย ฉันเลยไม่ต้องรัก และเราจะได้ไม่รู้สึกผิดจนเกินไปที่สาปแช่งการกระทำของคนเป็นแม่เลี้ยง (จะเห็นได้ว่าเทพนิยายดิสนี่ย์ยุคหลังๆ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คงเพราะแนวคิดที่เปลี่ยนไปในยุคหลังๆ ที่นิยมให้คนเรามองต่างมุม ดิสนี่ย์จึงได้ลองสร้างภาพยนตร์ที่แสดงถึงมุมมองทางฝั่งแม่เลี้ยงให้มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความสมดุลให้กับตัวละครทุกตัว ไม่ให้มีใครเลวเกินไป หรือดีเกินไป เป็นอีกการตีความและเป็นนิยามใหม่ๆ ของเทพนิยายในยุคหลัง) 
 
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้านำเทพนิยายมาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน และลองมาคิดให้รอบด้านอย่างที่ได้มีการตีความใหม่ เราจะเห็นว่า... ในอดีต อำนาจของผู้หญิงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพวกเธอมีลูก ถ้าหากว่าไม่มี พวกเธอก็แทบไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียงอะไรในครอบครัวเลย ถามว่าแปลกไหมที่แม่เลี้ยงสาวสวย (แต่ไม่มีลูก) จะอิจฉาลูกเลี้ยงสาวสวยที่เป็นทายาทโดยตรงของพระราชา และมีโอกาสได้รับมรดก รวมไปถึงครองบัลลังก์ เมื่อมองจากในความเป็นจริงแล้ว การที่แม่เลี้ยงพยายามฆ่าและรังเกียจเดียดฉันท์สโนไวท์จึงเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับแม่เลี้ยงของซินเดอเรลล่า ที่ขาดความมั่นคงและคงกังวลว่าซินเดอเรลล่าจะลุกมาประกาศสิทธิของตัวเอง เพื่อแย่งชิงทุกอย่างไปจากเธอ
 
ถามว่าอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ทั้งหมดบอกอะไรเราได้บ้าง คำตอบน่าจะจบลงที่ว่า “เทพนิยายคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เป็นบันทึก เป็นเรื่องราว และเป็นพัฒนาการของเพศหญิง เพศแห่งแม่ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมในทุกยุคทุกสมัย”
 
สุดท้ายนี้ สุขสันต์วันแม่นะคะ รักแม่มากๆ น้า นักเขียนนักอ่านเด็กดีทุกคน ^_________________^  

รวมรายชื่อตัวละครดิสนี่ย์ที่มีปัญหาครอบครัว (คร่าวๆ)

ไม่มีพ่อแม่
พิน็อคคิโอ เด็กน้อยหุ่นไม้ ที่ไม่มีแม่ เก็ปเป็ตโต้ ช่างชราเหมือนพ่อของเขา และนางฟ้าเปรียบเหมือนตัวแทนของแม่
ปีเตอร์แพน ไม่มีแม่ แต่ก็มีเวนดี้ ที่เหมือนเป็นแม่ของเขาและแม่ของเด็กๆ หลงทางในทีม
เงือกน้อย แอเรียลมีพี่สาวหกคนและพ่อ แต่ไม่มีแม่ ในเทพนิยายแม่ของเธอถูกโจรสลัดฆ่าตาย
โฉมงานกับอสูร บิวตี้ในเทพนิยายหรือเบลล์ในภาพยนตร์การ์ตูน ไม่มีแม่ มีแต่พ่อ และพี่สาวสองคน
อะลาดินกับตะเกียงวิเศษ จัสมินไม่มีแม่ ส่วนอะลาดินไม่มีทั้งพ่อและแม่
โพคาฮอนทัส ไม่มีแม่ มีแต่พ่อซึ่งเป็นหัวหน้าเผ่า ตามเนื้อเรื่องระบุว่าแม่ของเธอตายไปนานหลายปีแล้ว
 
แม่เลี้ยงใจร้าย
สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด มีพระราชินีใจร้ายเป็นแม่เลี้ยง คอยอิจฉาความงามของเธอ
ซินเดอเรลล่า มีเลดี้ทรีเมน และพี่สาวสองคน แม่ของซินเดอเรลล่าตายไปก่อน และพ่อก็มาตายตามไป
 
แม่ตายแต่เด็ก
เมาคลีลูกหมาป่า พ่อและแม่ตัวจริงของเมาคลีตายไปก่อน แต่แม่อีกคนคือ รัคชา หมาป่าสาว ถูกแชร์คานฆ่าตาย
ทาร์ซาน เช่นเดียวกับเมาคลี พ่อและแม่ตัวจริงถูกฆ่าตายไปแล้ว แต่แม่อีกคนของเขา คือ คาร่า กอริลล่าใจดี ถูกมนุษย์ฆ่าตาย
โฟรเซ่น เอลซ่าและอันนา เป็นกำพร้า พ่อแม่ตายแต่เด็ก คริสตอฟพระเอกของเรื่องก็เป็นกำพร้า
 
ทีมงานนักเขียนเด็กดี

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Roles_of_mothers_in_Disney_media
ทีมงาน writer

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

aurora fantasy Member 12 ส.ค. 59 04:13 น. 5

สมัยนั้นมันก็เป็นแบบนี้หมดแหละ ผู้ชายมองว่าตนเองมีสิทธิเหนือผู้หญิง แต่ก็ดูอย่างเรื่องเจ้าชายกบของดิสนีย์ดิ มีทั้งการแสดงความเท่าเทียมกันโดยให้นางเอกและตัวละครเป็นคนผิวดำ(ซึ่งดีมากๆ) แล้วก็เขียนบทให้นางเอกเป็นหญิงสาวเด็ดเดี่ยวที่ไม่สนใจผู้ชายและพยายามทำตามความฝันโดยไม่พึ่งพาผู้ชาย(แต่แต่งงานกับเจ้าชายตอนจบ เพราะมันคือเรื่องเจ้าหญิงกบไง) เดี่ยวนี้ดิสนีย์มันพยายามสร้างความเท่าเทียมกันของสังคม ดูสิ เจ้าหญิงผิวสีมีเยอะขึ้นเรื่อยๆ แล้วนางเอกก็มักจะไม่ให้ผู้ชายมาช่วยตนเองแล้ว(แกร่งขึ้นเรื่อยๆ) เพราะงั้นก็อย่าไปคิดมากกะงานของดิสนีย์ในอดีตหรอก เพราะมันอยู่ในยุคนั้นไงแต่นี่มันเปลี่ยนแล้ว.

0
กำลังโหลด
libbyScorpion Member 11 ส.ค. 59 21:41 น. 4

ในนิยายที่ต้องการให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างเข้มข้น หรืออยากให้มีเหตุการณ์เร้าระทึกเยอะๆ การที่ตัวเอกมีพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อแอคชั่นค่ะ

.

เพราะพ่อแม่จะต้องทำหน้าที่ปกป้องตัวละครหลักของเรา ทำให้ตัวเอกนั้นมีบทบาทที่น้อยลงเพราะไม่จำเป็นต้องทำเองไปเสียทุกอย่าง เกิดพบเจอปัญหา ตัวละครที่เป็นพ่อแม่นั้นจะต้องได้รับบทให้เข้ามาปกป้อง เขียนไปเขียนมา ตัวเอกของเราก็ไม่ได้แสดงความสามารถ ไม่ได้แสดงความคิดอ่านออกมาอย่างเต็มที่

.

ดังนั้นพ่อแม่ของตัวเอกจึงมักถูกกำหนดให้ตาย หรือลดบทบาทลงให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้มาเบียดบังเนื้อเรื่องที่ตัวเอกจะต้องเป็นคนดำเนินเรื่อง ถ้าจำเป็นต้องโผล่มา ก็แค่เพื่อปักจุดหลักที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินเรื่อง ชี้ปมสำคัญ หรือสร้างจุดหักเห 

.

อย่างเช่นในเรื่อง The Kane Chronicles พ่อแม่ตัวเอกนั้นเก่งแสนเก่ง เป็นเชื้อสายเทพเจ้า รู้ทุกอย่าง พลังล้นเหลือ  ถ้าพ่อแม่ตัวเอกยังอยู่ทั้งคู่ พล็อตเรื่องนี้คงไม่มีช่องให้ลูกๆได้ออกมาโลดแล่นแน่ค่ะ....แบบนี้จะไม่กำหนดให้ตายได้เหรอคะ 555555 เพราะงั้นก็ตายไปอยู่ในโลกเทพซะทั้งคู่ค่ะ โผล่มาเป็นวิญญาณเทพวับๆแวมๆพอ 55555555555

.

นักเขียนบางคนเป็นสายโหด เลยเขียนให้พ่อแม่กลายมาเป็นศัตรูของตัวเอกมันซะเลยก็มี ในละครไทยก็เยอะแยะไปค่ะที่พ่อแม่สร้างความลำบากให้กับลูก เรื่องที่พี่เคนเล่นหรือเรื่องที่ลิเดียเล่นก็มาแนวคุณแม่สายโหด 555 (ไปหาชื่อเรื่องกันเอาเองเน้อ) เรียกได้ว่ามีศัตรูรอบตัวยังไม่สะใจ กลับเข้าบ้านมีพ่อแม่เป็นศัตรูเพิ่มอีก ถถถ ชีวิตตัวเอกก็ต้องโหดมันฮาแบบนี้ละนะคะ 555

0
กำลังโหลด
Disneyfan(คนเดิม) 12 ส.ค. 59 15:14 น. 8
เติมๆ:: น่าจะลองพูดถึงเรื่อง The Hunchback of Notre Dame ด้วยนะคะ เรื่องนี้คือการ์ตูนดิสนีย์ที่เราชอบที่สุด. เรื่องนี้อาจจะคล้ายๆกับธีม พ่อเลี้ยงใจร้าย ในเวอร์ชั่นดิสนีย์ ผู้พิพากษาโฟรลโล่(antagonist ของเรื่อง) ไล่ตามจับพวกคนยิปซีที่แอบลักลอบเข้าปารีสโดยไม่ได้รับอนุญาต และเขาก็ฆ่าผู้หญิงยิปซีคนนึงโดยการเตะตกบันไดของโบสถ์นอเทรอดาม และเมื่อเขาเจอว่าผู้หญิงคนนั้นเอาเด็กมาด้วย เด็กทารกคนนั้นคือโควสิโมโตที่หลังค่อมและพิการ, โฟรลโล่คิดว่าเขาเป็นปีศาจเลยจะจับไปถ่วงน้ำแต่ archdeacon ของนอเทรอดามมาช่วยทันและสั่งให้โฟรลโล่เอาเด็กทารกไปเลี้ยงเหมือนลูกตัวเองเพื่อชดใช้บาป โฟรลโล่เลยเอาควอสิโมโด ไปเลี้ยงในหอระฆังแห่งนอเทรอดามและให้เป็นคนตีระฆังตั้งแต่เล็กจนโต โฟรลโล่เลี้ยงควอสิโมโดในทางที่โหดร้าย คอยซ้ำเติมและสอนอยู่เสมอว่าควอสิโมโดเป็นแค่ปีศาจพิการที่จะถูกทุกคนรังเกียจ. และยังสอนคำต่างๆที่มีความหมายน่ากลัวเหมือนเป็นการซ้ำเติมลูกเลี้ยงของตัวเองเสมอ ตอนที่ควอสิโมโดถูกชาวบ้านรุมทำร้ายโฟรลโล่ก็ไม่ช่วยและสั่งให้ทุกคนดูจนกระทั่งมีคนมาช่วยควอสิโมโด และตอนจบโฟรลโล่ก็พยายามจะฆ่าควอสิโมโด และบอกว่าเขาน่าจะทำมาตั้งแต่วันนั้นยี่สิบปีก่อน. ขอไม่สปอยละกันว่าเกิดอะไรขึ้นต่อเพราะเรื่องนี้สุดยอดมาก เราขอแนะนำเพลงเพราะ, ภาพสวยและก็เนื้อเรื่องดีมากๆด้วย (แต่พากย์ภาษาอังกฤษจะดีกว่าภาษาไทยมากๆนะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
libbyScorpion Member 11 ส.ค. 59 21:41 น. 4

ในนิยายที่ต้องการให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างเข้มข้น หรืออยากให้มีเหตุการณ์เร้าระทึกเยอะๆ การที่ตัวเอกมีพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อแอคชั่นค่ะ

.

เพราะพ่อแม่จะต้องทำหน้าที่ปกป้องตัวละครหลักของเรา ทำให้ตัวเอกนั้นมีบทบาทที่น้อยลงเพราะไม่จำเป็นต้องทำเองไปเสียทุกอย่าง เกิดพบเจอปัญหา ตัวละครที่เป็นพ่อแม่นั้นจะต้องได้รับบทให้เข้ามาปกป้อง เขียนไปเขียนมา ตัวเอกของเราก็ไม่ได้แสดงความสามารถ ไม่ได้แสดงความคิดอ่านออกมาอย่างเต็มที่

.

ดังนั้นพ่อแม่ของตัวเอกจึงมักถูกกำหนดให้ตาย หรือลดบทบาทลงให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้มาเบียดบังเนื้อเรื่องที่ตัวเอกจะต้องเป็นคนดำเนินเรื่อง ถ้าจำเป็นต้องโผล่มา ก็แค่เพื่อปักจุดหลักที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินเรื่อง ชี้ปมสำคัญ หรือสร้างจุดหักเห 

.

อย่างเช่นในเรื่อง The Kane Chronicles พ่อแม่ตัวเอกนั้นเก่งแสนเก่ง เป็นเชื้อสายเทพเจ้า รู้ทุกอย่าง พลังล้นเหลือ  ถ้าพ่อแม่ตัวเอกยังอยู่ทั้งคู่ พล็อตเรื่องนี้คงไม่มีช่องให้ลูกๆได้ออกมาโลดแล่นแน่ค่ะ....แบบนี้จะไม่กำหนดให้ตายได้เหรอคะ 555555 เพราะงั้นก็ตายไปอยู่ในโลกเทพซะทั้งคู่ค่ะ โผล่มาเป็นวิญญาณเทพวับๆแวมๆพอ 55555555555

.

นักเขียนบางคนเป็นสายโหด เลยเขียนให้พ่อแม่กลายมาเป็นศัตรูของตัวเอกมันซะเลยก็มี ในละครไทยก็เยอะแยะไปค่ะที่พ่อแม่สร้างความลำบากให้กับลูก เรื่องที่พี่เคนเล่นหรือเรื่องที่ลิเดียเล่นก็มาแนวคุณแม่สายโหด 555 (ไปหาชื่อเรื่องกันเอาเองเน้อ) เรียกได้ว่ามีศัตรูรอบตัวยังไม่สะใจ กลับเข้าบ้านมีพ่อแม่เป็นศัตรูเพิ่มอีก ถถถ ชีวิตตัวเอกก็ต้องโหดมันฮาแบบนี้ละนะคะ 555

0
กำลังโหลด
aurora fantasy Member 12 ส.ค. 59 04:13 น. 5

สมัยนั้นมันก็เป็นแบบนี้หมดแหละ ผู้ชายมองว่าตนเองมีสิทธิเหนือผู้หญิง แต่ก็ดูอย่างเรื่องเจ้าชายกบของดิสนีย์ดิ มีทั้งการแสดงความเท่าเทียมกันโดยให้นางเอกและตัวละครเป็นคนผิวดำ(ซึ่งดีมากๆ) แล้วก็เขียนบทให้นางเอกเป็นหญิงสาวเด็ดเดี่ยวที่ไม่สนใจผู้ชายและพยายามทำตามความฝันโดยไม่พึ่งพาผู้ชาย(แต่แต่งงานกับเจ้าชายตอนจบ เพราะมันคือเรื่องเจ้าหญิงกบไง) เดี่ยวนี้ดิสนีย์มันพยายามสร้างความเท่าเทียมกันของสังคม ดูสิ เจ้าหญิงผิวสีมีเยอะขึ้นเรื่อยๆ แล้วนางเอกก็มักจะไม่ให้ผู้ชายมาช่วยตนเองแล้ว(แกร่งขึ้นเรื่อยๆ) เพราะงั้นก็อย่าไปคิดมากกะงานของดิสนีย์ในอดีตหรอก เพราะมันอยู่ในยุคนั้นไงแต่นี่มันเปลี่ยนแล้ว.

0
กำลังโหลด
Rabbit (\_(\ Member 12 ส.ค. 59 06:28 น. 6
จริงๆ อลาดิน มีพ่อน่ะค่ะ แต่ทิ้งไปสมัยยังเด็ก จนมาเจอก่อนจะแต่งงานกับจัสมิน ถึงได้รู้ว่าพ่อของตัวเองจริงๆเป็นมหาโจรที่ร่ำรวยมากๆ แล้วก็พยายามทำให้อลาดินมาอยู่ด้วย
0
กำลังโหลด
DisneyFan 12 ส.ค. 59 15:03 น. 7
ความจริงอาละดินมีพ่อแม่นะคะ แม่ของอาละดินควรจะอยู่ในหนังแต่เพราะเนื้อเรื่องยาวเกินไปเขาเลยตัดออก แต่เราก็ยังสามารถเจอแม่ของอาละดินในเวอร์ชั่นละครเวทีและใน story reel. ส่วนพ่อของอาละดินถึงจะไม่มีการกล่าวถึงอย่างเป็นทางการ แต่ในเวอร์ชั่นดิสนีย์พ่อของอาละดินโผล่มาในอะลาดิน ภาค 3 เป็นหัวหน้าโจรค่ะ #disney fan
0
กำลังโหลด
Disneyfan(คนเดิม) 12 ส.ค. 59 15:14 น. 8
เติมๆ:: น่าจะลองพูดถึงเรื่อง The Hunchback of Notre Dame ด้วยนะคะ เรื่องนี้คือการ์ตูนดิสนีย์ที่เราชอบที่สุด. เรื่องนี้อาจจะคล้ายๆกับธีม พ่อเลี้ยงใจร้าย ในเวอร์ชั่นดิสนีย์ ผู้พิพากษาโฟรลโล่(antagonist ของเรื่อง) ไล่ตามจับพวกคนยิปซีที่แอบลักลอบเข้าปารีสโดยไม่ได้รับอนุญาต และเขาก็ฆ่าผู้หญิงยิปซีคนนึงโดยการเตะตกบันไดของโบสถ์นอเทรอดาม และเมื่อเขาเจอว่าผู้หญิงคนนั้นเอาเด็กมาด้วย เด็กทารกคนนั้นคือโควสิโมโตที่หลังค่อมและพิการ, โฟรลโล่คิดว่าเขาเป็นปีศาจเลยจะจับไปถ่วงน้ำแต่ archdeacon ของนอเทรอดามมาช่วยทันและสั่งให้โฟรลโล่เอาเด็กทารกไปเลี้ยงเหมือนลูกตัวเองเพื่อชดใช้บาป โฟรลโล่เลยเอาควอสิโมโด ไปเลี้ยงในหอระฆังแห่งนอเทรอดามและให้เป็นคนตีระฆังตั้งแต่เล็กจนโต โฟรลโล่เลี้ยงควอสิโมโดในทางที่โหดร้าย คอยซ้ำเติมและสอนอยู่เสมอว่าควอสิโมโดเป็นแค่ปีศาจพิการที่จะถูกทุกคนรังเกียจ. และยังสอนคำต่างๆที่มีความหมายน่ากลัวเหมือนเป็นการซ้ำเติมลูกเลี้ยงของตัวเองเสมอ ตอนที่ควอสิโมโดถูกชาวบ้านรุมทำร้ายโฟรลโล่ก็ไม่ช่วยและสั่งให้ทุกคนดูจนกระทั่งมีคนมาช่วยควอสิโมโด และตอนจบโฟรลโล่ก็พยายามจะฆ่าควอสิโมโด และบอกว่าเขาน่าจะทำมาตั้งแต่วันนั้นยี่สิบปีก่อน. ขอไม่สปอยละกันว่าเกิดอะไรขึ้นต่อเพราะเรื่องนี้สุดยอดมาก เราขอแนะนำเพลงเพราะ, ภาพสวยและก็เนื้อเรื่องดีมากๆด้วย (แต่พากย์ภาษาอังกฤษจะดีกว่าภาษาไทยมากๆนะ)
0
กำลังโหลด
นานา 13 ส.ค. 59 18:13 น. 9
เท่าที่นึกออกน่าจะเป็นมู่หลานที่มีพ่อแม่อยู่ครบค่ะ ก็ไม่เคยเอะใจจริง ๆ ด้วยแฮะว่าส่วนใหญ่แล้วจะเหลือแค่พ่อ ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทั้งคู่เลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Yin & Yang Member 17 ส.ค. 60 17:49 น. 11

ถ้าอ้างอิงจากดิสนี่ย์ล่ะก็ อาละดินมีพ่อ ไม่มีแม่ เพียงแต่เขาเพ่ิงจะได้เจอพ่อครั้งแรกในภาคสาม อาละดินกับราชันย์ขุมโจร

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด