เทพนิยายกริมม์กับการเปลี่ยนแปลง 5 ขั้น หลังจากการตีพิมพ์ครั้งแรก!
น้องๆ นักอ่านที่ติดตามบทความในหมวดสาระวรรณกรรมกันมาโดยตลอด คงจะได้เคยอ่านบทความเกี่ยวกับเทพนิยายกริมม์กันมาก็ไม่ใช่น้อย และเราก็คงจะพอทราบความจริงที่ว่า แท้จริงแล้ว เทพนิยายกริมม์ที่เรารู้จักกันนั้นไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาแบบนี้ตั้งแต่แรก หรือจะให้พูดในภาษาที่เข้าใจง่าย เราอาจจะพูดได้ว่า มันไม่มีความเหมือนกับต้นฉบับที่เขียนโดยสองพี่น้องกริมม์เลยด้วยซ้ำ! ซึ่งบทความของเราในวันนี้จะพาน้องๆ นักอ่านทุกคนไปค้นพบความจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง 5 ขั้นของเทพนิยายกริมม์กันจ้ะ
จุดเริ่มต้นของเทพนิยายกริมม์นั้นได้เริ่มต้นมาจากการจดบันทึกและการเล่าต่อๆ กันในลักษณะปากต่อปากของ ยาคอบ ลุดวิก คาร์ล กริมม์ กับวิลเฮมล์ คาร์ล กริมม์ และเมื่อเวลาผ่านไปดูเหมือนว่าเรื่องราวตามแบบฉบับดั้งเดิมนั้นค่อยๆ ห่างไกลจากความเป็นจริงขึ้นทุกที โดยในปี 2014 สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันได้ริเริ่มจัดพิมพ์นิทานพื้นบ้านและเทพนิยายดั้งเดิมของสองพี่น้องกริมม์ขึ้นมาใหม่ โดยทางมหาวิทยาลัยได้ให้ข้อมูลว่า หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวตามต้นฉบับดั้งเดิมของสองพี่น้องกริมม์ และนอกจากเราจะได้ทราบความเป็นไปของเทพนิยายต่างๆ เหล่านี้แล้ว ผลงานตามต้นฉบับดั้งเดิมนั้น ยังแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนเยอรมันในอดีตอีกด้วย
ทางสำนักพิมพ์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงสาเหตุของการหยิบเอาต้นฉบับของเทพนิยายเรื่องนี้มาดัดแปลงว่า อาจจะมาจากการที่มันจะสามารถดึงดูดนักอ่านได้มากกว่าเดิม ด้วยการใช้ความรุนแรง และด้านมืดมาเป็นตัวดึงดูดความสนใจ ซึ่งนับได้ว่าความตั้งใจนั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะนอกจากชื่อเสียงของเทพนิยายเรื่องนี้จะโด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกแล้ว มันยังทำให้สื่อที่เรียกว่า ‘นิทาน’ เป็นที่สนใจและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย
ทางสำนักพิมพ์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงสาเหตุของการหยิบเอาต้นฉบับของเทพนิยายเรื่องนี้มาดัดแปลงว่า อาจจะมาจากการที่มันจะสามารถดึงดูดนักอ่านได้มากกว่าเดิม ด้วยการใช้ความรุนแรง และด้านมืดมาเป็นตัวดึงดูดความสนใจ ซึ่งนับได้ว่าความตั้งใจนั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะนอกจากชื่อเสียงของเทพนิยายเรื่องนี้จะโด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกแล้ว มันยังทำให้สื่อที่เรียกว่า ‘นิทาน’ เป็นที่สนใจและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงของเทพนิยายกริมม์ขั้นที่ 1 : เนื้อหาที่ยาวขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เนื้อหายาวขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมีผลมาจากการผสมผสานเอาข้อมูลที่ได้รับจากคนหลายๆ คน หลายๆ วัฒนธรรมมารวมไว้เข้าด้วยกัน ซึ่งมันอาจจะทำให้เนื้อหามีรายละเอียดยิบย่อยจนกลายเป็นยาวขึ้นมาได้ เพราะเทพนิยายกริมม์ฉบับพิมพ์ครั้งแรกนั้นมีรูปแบบที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์แล้ว แต่พอไปเจอเข้ากับการรับรู้ของคนอื่นๆ อาจจะทำให้เทพนิยายนั้นได้รับการเสริมเติมแต่ง ยกตัวอย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่าแนวคิด หรือโครงสร้างทางความคิดอะไรบางอย่างที่ถูกใส่เข้าไปในเนื้อหาจนทำให้มีความแตกต่างไปจากเดิม เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของเทพนิยายกริมม์ขั้นที่ 2 : จากมารดาผู้ให้กำเนิดสู่การเป็นแม่เลี้ยง
หากเราโตขึ้นมากับภาพยนตร์ของดิสนีย์ เราจะรู้กันได้เลยว่า แม่เลี้ยงนั้นมักจะเป็นตัวละครที่มีนิสัยไม่ดี ที่ชอบอิจฉาและไม่พอใจลูกนอกไส้ของตัวเอง ที่อาจจะดีกว่า สวยกว่า หรือมีความรู้มากกว่าตนและลูก ซึ่งบทบาทของตัวละครแม่เลี้ยงนั้น ส่วนหนึ่งล้วนได้รับอิทธิพลมาจากเทพนิยายของกริมม์นี่แหละ แต่สำหรับเรื่องราวในเทพนิยายกริมม์นั้นไม่มีหรอกนะ แม่เลี้ยงน่ะ เพราะถ้ามีก็มีแต่แม่ผู้ให้กำเนิดจริงๆ มากกว่า แต่เหตุผลที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวละครของแม่ผู้ให้กำเนิดนั้นอาจจะเป็นเพราะว่า คนส่วนใหญ่นั้นเห็นว่าแม่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นคนที่ไม่ควรจะทำเรื่องแย่ๆ ที่ทำให้คนอ่านที่เป็นเด็กรู้สึกไม่ดีกับแม่ของตัวเอง ทั้งหมดนี้ก็เพียงเพราะความกลัวเท่านั้นเอง ดังนั้นเพียงเพราะความกลัวนี้เลยส่งผลทำให้ตัวละครของแม่ถูกเปลี่ยนมาเป็นแม่เลี้ยง และแม่เลี้ยงนั้นมักจะถูกสื่อออกมาในด้านที่ไม่ดี (แล้วแบบนี้พวกเขาจะไม่กลัวเด็กมองแม่เลี้ยงที่ความจริงแล้วอาจจะไม่มีอะไร กลายเป็นแม่มดใจร้ายกันหรอกเหรอ?)
การเปลี่ยนแปลงของเทพนิยายกริมม์ขั้นที่ 3 : ราพันเซลไม่ได้ท้องนะ!
ในเนื้อหาของราพันเซลตามต้นฉบับนั้น มีบางตอนของบทสนทนาที่ทำให้กลุ่มนักอ่านเกิดความเข้าใจผิด คิดกันไปเองว่ามีฉาก ‘อย่างว่า’ เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดความเข้าใจผิด เลยทำให้มีการตัดฉากดังกล่าวออกไปสำหรับราพันเซลเวอร์ชั่นปี 1857 เป็นต้นไป เพียงเพราะข้อความที่ดูสุ่มเสี่ยงและอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของนักอ่านนั่นเองจ้ะ
การเปลี่ยนแปลงของเทพนิยายกริมม์ขั้นที่ 4 : บทของนางฟ้าถูกเติมแต่งขึ้นใหม่
เมื่อพูดถึงเรื่องของเวทมนตร์ เรามักจะพบกันว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบ่อยมากในนิทานรวมถึงเรื่องเล่า ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ ซึ่งในนิทานตามแบบฉบับดั้งเดิมของสองพี่น้องกริมม์ก็ได้มีการหยิบเอา ‘นางฟ้า’ มาพูดถึงเช่นกัน แต่คำว่านางฟ้านี้ได้ถูกแต่งเติมขึ้นมาใหม่หลังจากเกิดสงครามนโปเลียนขึ้น โดยได้มีการประกาศยกเลิกการใช้คำว่า ‘นางฟ้า’ หรือ fairy ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส และด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้เลยได้ทำให้เกิดการแทนที่ด้วยตัวละครอื่นๆ แทนการใช้คำว่านางฟ้า ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราพันเซลที่จากเดิมนั้นมีนางฟ้า แต่นางฟ้าก็ได้ถูกเปลี่ยนให้กลายมาเป็นแม่มดแทน เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของเทพนิยายกริมม์ขั้นที่ 5 : รายละเอียดสำคัญบางอย่างได้ถูกตัดออกไป
ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกของเทพนิยายกริมม์นั้นได้ประกอบไปด้วยนิทานทั้งหมด 156 เรื่อง ส่วนฉบับสุดท้ายนั้นมี 210 เรื่อง ซึ่งนอกจากจะมีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นแล้ว นิทานบางเรื่องยังได้ถูกทำการแก้ไข แต่ก็ยังมีฉากไม่เหมาะสมปรากฎอยู่ในเล่มหลงเหลืออยู่ ยกตัวอย่างเช่น นิทานเรื่องหนึ่งที่มีฉากของเด็กๆ กำลังเล่นกันอยู่ในโรงฆ่าสัตว์ หนึ่งในเด็กสองคนนั้นได้เล่นเป็นหมู ส่วนอีกคนที่เหลือเล่นเป็นคนขายเนื้อ ซึ่งในเนื้อหานั้นเด็กคนที่เล่นเป็นคนขายเนื้อได้ทำการกรีดคอน้องชายของตนเองจนตาย พอแม่มาเห็นเข้าเธอจึงโกรธมากจนเผลอลงมือฆ่าเด็กชายที่เล่นเป็นคนขายเนื้อตาม แถมในตอนท้ายแม่ได้ทำการแขวนคอตัวเองให้ตายตามไปอีกต่างหาก ถึงแม้ว่าจะมีวิธีในการแก้ไขเรื่องราวให้ดูเหมาะสมขึ้น แต่ก็ยังเป็นที่ไม่พอใจอยู่ดีสำหรับเนื้อหาอันน่ากลัวนี้
และทั้งหมดนี้ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับเทพนิยายกริมม์ หวังว่าน้องๆ ทุกคนคงจะสนุกสนานกับการอ่านบทความนี้กัน และไว้เรามาพบกันใหม่ในบทความหน้า สำหรับวันนี้พี่ต้องไปแล้ว บ๊ายบายจ้า
พี่นัทตี้ :)
ขอบคุณแหล่งที่มาดีๆ จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88:%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B9%8C
https://www.csmonitor.com/Technology/Tech-Culture/2012/1220/Brothers-Grimm-saved-classic-fairy-tales-by-changing-them-forever
http://mentalfloss.com/article/63113/5-ways-grimms-fairy-tales-changed-after-first-edition
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88:%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B9%8C
https://www.csmonitor.com/Technology/Tech-Culture/2012/1220/Brothers-Grimm-saved-classic-fairy-tales-by-changing-them-forever
http://mentalfloss.com/article/63113/5-ways-grimms-fairy-tales-changed-after-first-edition
1 ความคิดเห็น
ขอบคุณ