แท็กทีมเลย! 'EDC Pitching Season 2' เวทีประกวดไอเดียแคมเปญ 'Digital Wellness Lifestyle' ส่งเสริมการใช้ออนไลน์แบบพอดีและมีสติ

รายละเอียดและหลักเกณฑ์ตัดสิน (สำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน)
กิจกรรม EDC PITCHING Season 2 ประจำปี 2567

 

1. หลักการและเหตุผล

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีภารกิจสำคัญคือการเป็นหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัล ควบคู่ไปกับการพัฒนาและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานสำหรับทุกภาคส่วน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล การช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความตระหนักและรู้เท่าทันการใช้สื่อดิจิทัล ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญสู่การพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศให้เติบโตและแข็งแรงมากขึ้น 

ETDA ได้เผยแพร่ความรู้และทักษะพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพผ่านหลักสูตร EDC (ETDA Digital Citizen) หรือ สร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต ให้กับกลุ่มเยาวชน Gen Z เครือข่ายนักศึกษา ครู บุคลากรภาครัฐ ในทุกภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มขึ้นในทุกปี 

โดยในปีที่ผ่านมาได้จัดประกวด  “EDC Pitching : Digital in Hand จุดแคมเปญ เค้นไอเดีย ศิลปะการป้องกันตัวจากภัยออนไลน์” เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนร่วมประกวดไอเดียสร้างสรรค์และออกแบบแคมเปญรณรงค์ที่ตอบโจทย์การสร้างความตระหนักรู้ในมุมของการป้องกันภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากโลกออนไลน์  กิจกรรมดังกล่าวได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี และมีการนำผลงานของผู้ชนะรางวัลไปต่อยอดไอเดียร่วมกับ ETDA เกิดเป็นผลงานจริง และเตรียมนำเสนอต่อสาธารณชนในรูปแบบนิทรรศการ DGT2024 : Digital Momentum for the Future ในวันที่ 29–30 พ.ค. 2567 นี้ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน

จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา EDC Pitching ได้กลับมาอีกครั้ง สำหรับธีม EDC Pitching Season 2  ในครั้งนี้คือ "DIGITAL Wellness Lifestyle"  เน้นเชิญชวนนิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ เข้าร่วมแข่งขันออกแบบสื่อหรือกิจกรรมเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ให้พอเหมาะและมีสติ ร่วมสร้างสุขภาพสังคมที่ดี ใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์  ชิงรางวัลและโอกาสต่อยอดสู่การทำงานจริงมากขึ้น  ในครั้งนี้ประกอบด้วย 3 โจทย์ย่อย ได้แก่  Screen Time Management, Digital Detox และ Digital Mindfulness ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกโจทย์เพื่อออกแบบแคมเปญ 1 โจทย์หรือมากกว่า เพื่อจุดประกายให้ทุกคนสนใจและร่วมมือกันสร้างสังคมและชีวิตดิจิทัลที่ดีไปพร้อมกัน

2. วัตถุประสงค์  

เพื่อให้เกิดกระบวนการในรูปแบบที่น่าสนใจ ต่อยอดแนวคิดจากหลักสูตร EDC  นำไปสู่การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยที่นำไปใช้ได้จริง และเข้ากับบริบทของคนไทยในกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด เพื่อนำไปสู่การขยายผลไปทั่วประเทศ

3. คุณสมบัติผู้สมัคร

  • นิสิต-นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
  • หรือ นักการตลาด นักออกแบบ ครีเอทีฟ นักสื่อสาร Content Creator
  • หรือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เริ่มทำงาน (First Jobber) 
  • หรือ ผู้ที่สนใจพัฒนาความรู้และประสบการณ์
  • สมัครเป็นทีม ทีมละ 2-5 คน (1 ทีม สามารถส่งได้ 1 ผลงานเท่านั้น)
  • ผู้สมัครสามารถมีรายชื่อได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น

4. รูปแบบการประกวดแข่งขัน 

EDC Pitching Season 2 เป็นการประกวดแข่งขัน แคมเปญรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการใช้งานออนไลน์แบบเหมาะสมพอดีและมีสติ ร่วมสร้างสังคมให้มีสุขภาพดี ใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้ธีม “Digital Wellness lifestyle” โดยให้เลือกโจทย์ย่อยจากทั้งหมด 3 โจทย์ แล้วนำมาออกแบบสื่อ
หรือกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อใช้สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายภายใต้แคมเปญ

โจทย์ย่อยการแข่งขันภายใต้ธีม “Digital Wellness Lifestyle” (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)

  • Screen Time Management : ตัวช่วยเพื่อบริหารจัดการหรือจัดสรรเวลาในโลกออนไลน์ ทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดในการใช้ทำงาน ธุระส่วนตัวหรือการพักผ่อน และส่งผลบวกต่อสุขภาพกายไปพร้อมกัน
  • Digital Detox : ตัวช่วยเพื่อสร้างสมดุลระหว่างชีวิตจริงและชีวิตออนไลน์ ลดหรือหยุดพักการใช้งานอย่างไรให้ส่งผลบวกต่อสุขภาพจิตใจ?
  • Digital Mindfulness : ตัวช่วยเพื่อใช้งานออนไลน์อย่างมีสติ รู้เท่าทัน ตระหนักถึงสิ่งที่กำลังทำ และควบคุมให้เหมาะสมส่งผลบวกต่อความสัมพันธ์
    ที่ดีในสังคม

5. รายละเอียดการเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน

รับสมัครเข้าประกวดแข่งขันตั้งแต่วันที่  18 มี.ค. 67 – 7 มิ.ย. 67  โดยผู้สนใจเข้าร่วมการประกวดสามารถ สมัครออนไลน์ได้ที่  https://bit.ly/48L1Bjv
กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและถูกต้อง พร้อมทั้งจัดทำแผนรณรงค์หรือแคมเปญภายใต้แนวคิด “Digital Wellness Lifestyle” โดยมีขอบเขตดังต่อไปนี้

  1. ชื่อแคมเปญ
  2. โจทย์ที่เลือก / กลุ่มเป้าหมายของกิจกรรม
  3. ปัญหาหรือพฤติกรรมที่มีของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแก้ไขด้วยแคมเปญ
  4. กลยุทธ์ในการสื่อสารแคมเปญ
  5. แผนการดำเนินงานของแคมเปญ
  6. แนวทางในการต่อยอดสำหรับระยะยาว 1 ปี
  7. กำหนดรูปแบบการวัดผลกิจกรรม และวิธีการให้ชัดเจน
  8. แนบไฟล์เอกสารรายละเอียดของแคมเปญ ความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 ขนาดตัวอักษร 16 pt สามารถมีภาพประกอบได้
    *ทั้งนี้หากมีสื่อหรือกิจกรรมที่ใช้ในแคมเปญ ซึ่งอาจเป็นชิ้นงานจริงหรือเดโม (DEMO) เช่น Infographic โปสเตอร์ บทความ  แผนภาพ  เกม  นิทรรศการ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์สั้น หรืออื่นๆ รวมถึงร่างแนวคิดที่จะใช้ผลิตสื่อหรือกิจกรรม เช่น แบบร่างสำหรับการออกแบบ  สตอรี่บอร์ด บทละคร บทภาพยนตร์ เป็นต้น  สามารถแนบไฟล์ดังกล่าวเข้าไปในฟอร์มการรับสมัครได้

6. กติกาและข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกวด

  • ผู้สมัครจะต้องสร้างสรรค์ผลงานขึ้นด้วยตนเอง โดยไม่ทำซ้ำ คัดลอก เลียนแบบ หรือ ดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากตรวจพบว่าผลงานดังกล่าวเกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการระงับหรือยกเลิกการเข้าร่วมการแข่งขันของผู้สมัครได้ตลอดเวลา โดยมีผลทันทีและไม่ต้องแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้สมัครต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการประกาศผลผู้ชนะและมอบรางวัลแก่ผู้แข่งขันที่ทำผิดเงื่อนไขตามข้อนี้ไปแล้ว ผู้จัดงานสามารถเรียกของรางวัลคืนได้
  • เนื้อหาในแผนรณรงค์ ต้องไม่มีการพาดพิงเรื่องการเมือง/ก่อให้เกิดความขัดแย้งใด ๆ และต้องไม่ลบหลู่ ต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูก ดูหมิ่น เสียดสี และก่อให้เกิด ความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรม จริยธรรม หรือหลักศาสนาใด
  • ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 1 และรองชนะเลิศ อันดับ 2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. 
    โดย สพธอ. ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ตลอดจนนำไปปรับปรุงเพื่อประโยชน์ต่อการสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ในการทำธุรกรรมทางออนไลน์ให้กับประชาชน ในการพัฒนาความรู้และทักษะตามหลักสูตรการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต 
    หรือ ETDA Digital Citizen (EDC)
  • ผู้สมัครถือว่าได้รับทราบ และยอมรับในเงื่อนไขการเข้าร่วมการประกวดเรียบร้อยแล้ว
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

7. กำหนดการ

วันที่ 

กิจกรรม
 

18 มี.ค. – 7 มิ.ย. 67รับสมัครทีมเข้าแข่งขันพร้อมผลงาน
21 มิ.ย. 67ประกาศรายชื่อ 10 ทีมที่เข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ
30 มิ.ย. 67Workshop สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
1 - 29 ก.ค. 67พัฒนาผลงานให้สมบูรณ์ขึ้น และเตรียมการนำเสนอในวัน Pitching Day 
 (เปิดโอกาสให้ปรึกษารับคำแนะนำในการพัฒนาผลงานกับผู้เชี่ยวชาญ)
30 ก.ค. 67ส่งผลงานชิ้นสมบูรณ์เพื่อใช้ในการนำเสนอในวัน Pitching Day (รอบชิงชนะเลิศ)
7 ส.ค. 67การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและพิธีมอบรางวัล : นำเสนอผลงานในรูปแบบ Pitching
พร้อมการพิจารณาและตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และร่วมพิธีมอบรางวัล
*หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

8. การตัดสิน

รอบคัดเลือก

  • พิจารณาจากแผนรณรงค์ โดยคัดเลือกแผนรณรงค์ที่ส่งเข้าประกวดตามหลักเกณฑ์การตัดสินที่กำหนด 
    เพื่อให้ได้แผนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจากแผนที่มีคะแนนสูงสุดลดหลั่นกันลงมา จำนวน 10 ผลงาน
  • ประกาศผลทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 10 ทีม ภายในวันที่ 21 มิถุนายน 2567
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเนื้อหาจากแผนรณรงค์ที่นำเสนอ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ลำดับเกณฑ์การตัดสินคะแนน
1ความเข้าใจปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย20
2ความคิดสร้างสรรค์ของผลงานที่ตอบโจทย์การแข่งขันแผนงานในการใช้สื่อหรือกิจกรรม สื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมาย30
3แผนงานในการใช้สื่อหรือกิจกรรม สื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมาย20
4ตัวอย่างสื่อหรือกิจกรรมที่ใช้ในแผนงาน เช่น  อินโฟกราฟิก, คลิปวิดีโอ,  นิทรรศการ,  แอปพลิเคชัน หรือ กิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์  เป็นต้น20
5ความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ได้จริงและประเมินผลได้10

รอบชิงชนะเลิศ

  • พิจารณาจากแผนรณรงค์ และการนำเสนอในรูปแบบ Pitching
  • ทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 10 ทีม จะต้องนำเสนอแผนรณรงค์ในรูปแบบโปรแกรมนำเสนอ PowerPoint ประกอบสื่อ วีดีโอคลิป หรือสื่ออื่นๆ ตามความเหมาะสม (ในกรณีนำเสนอด้วยโปรแกรมอื่น ให้ประสานผู้จัดกิจกรรมเพื่อหารือความเหมาะสมด้านเทคนิค ก่อนวันนำเสนอ)
  • นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ  โดยให้ระยะเวลานำเสนอทีมละไม่เกิน 7 นาที หลังจากนั้นคณะกรรมการจะมีการซักถามและให้คำแนะนำ 3 นาที
  • การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จะทำการแข่งขันในวันที่ 7 สิงหาคม 2567
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาจากผลงานและการนำเสนอ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ลำดับเกณฑ์การตัดสินคะแนน
1ความเข้าใจปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย10
2ความคิดสร้างสรรค์ของผลงานที่ตอบโจทย์การแข่งขันแผนงานในการใช้สื่อหรือกิจกรรม สื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมาย30
3แผนงานในการใช้สื่อหรือกิจกรรม สื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมาย10
4ตัวอย่างสื่อหรือกิจกรรมที่ใช้ในแผนงาน เช่น  อินโฟกราฟิก, คลิปวิดีโอ,  นิทรรศการ,  แอปพลิเคชัน หรือ กิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์  เป็นต้น20
5การนำเสนอน่าสนใจ ชัดเจน20
6ความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ได้จริงและประเมินผลได้10

10. รางวัลการประกวดแข่งขัน

เงินรางวัล ของรางวัล และสิทธิประโยชน์รวมมูลค่ากว่า 150,000 บาท จำนวน 5 รางวัล ดังนี้

รางวัลชนะเลิศเงินรางวัล 80,000 บาท  พร้อมโล่ /เกียรติบัตร และของรางวัล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1เงินรางวัล 40,000 บาท  พร้อมโล่ /เกียรติบัตร และของรางวัล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2เงินรางวัล 20,000 บาท  พร้อมโล่ /เกียรติบัตร และของรางวัล
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัลเงินรางวัล 5,000 บาท  พร้อมเกียรติบัตร และของรางวัล

ช่องทางการติดต่อสอบถาม

โครงการพัฒนาความรู้และทักษะตามหลักสูตร ETDA Digital Citizen

จิรวรรณ ภูมีแกดำ (โทร.061 932 5081) 

อีเมล:  event@dek-d.com 
Line: @edctrainer

สมัครออนไลน์ได้ที่นี่!!

บรรยากาศและความสำเร็จ
 EDC Pitching Season 1

ภาพบรรยากาศจาก EDC Pitching Season 1
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น