ดุริยางคศาสตร์-นาฏศิลป์ Issue 003 week3, August 2010
 
คณะดุริยางคศาสตร์-นาฏศิลป์
ตอนที่ 3/4 : จากรุ่นพี่ถึงรุ่นน้อง : ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย
 
เสียงจากศิษย์เก่าคณะดุริยางคศาสตร์-นาฏศิลป์
        สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com .... เจอกันกับ พี่เป้ และคณะในฝันอีกแล้วนะคะ ตอนนี้เราก็ยังอยู่กันที่คณะดุริยางคศาสตร์-นาฏศิลป์เช่นเคย สำหรับวันนี้ พี่เป้ มาพร้อมกับรุ่นพี่ 2 คนที่มีความสามารถด้านดนตรีสุดๆ และกำลังทำงานตามฝันกันบนเส้นทางนี้อยู่ เราไปคุยกับพี่ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ
 
เมลินดา แสงไพบูลย์ (พี่เม) :
ครูสอนร้องเพลงและเปียโน สถาบันโรงเรียนดนตรีสยามกลการและสถาบันดนตรี เคพีเอ็น มิวสิค
 
พี่เป้: ก่อนอื่นอยากให้ช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ หน่อยค่ะ
พี่เม: เมลินดา แสงไพบูลย์ จบคณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาศิลปนิเทศ สาขาวิชาเอกดนตรีตะวันตก เครื่องเอก ขับร้อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
พี่เป้: อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เลือกเรียนด้านดนตรีคะ
พี่เม: แรงบันดาลใจจากพ่อกับแม่ค่ะ เพราะที่บ้านให้เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่ 5 ขวบ แล้วทั้งพ่อกับแม่เป็นคนที่ทำอาชีพด้านนี้ทั้งนั้น เราเลยได้รับความถนัดทางด้านนี้มาด้วย และคิดว่าทำได้ดีกว่าเรียนสาขาวิชาการต่างๆ เลยตัดสินใจเรียนด้านนี้โดยตรงค่ะ
 
พี่เป้: แล้วงานที่ทำตอนนี้คืออะไรคะ
พี่เม: ตอนนี้สอนร้องเพลงและสอนเปียโนที่สถาบันร.ร.ดนตรีสยามกลการ และก็ที่ kpn แต่วันธรรมดาจะสอนที่บ้านตัวเอง และก็ไปสอนที่บ้านน.ร.ด้วย งานด้านนี้อย่างแรก คือต้องมีใจรักจริงๆ ค่ะ เพราะถ้าไม่รักการสอน เราก็จะไม่มีความสุข เนื่องจากต้องสอนเด็กเป็นส่วนใหญ่ แล้วเด็กก็ทั้งซน และต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ต้องใจเย็นและต้องพัฒนาตัวเองสม่ำเสมอ เพราะครูที่ดีมีความสามารถอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีใจรักที่จะสอน และต้องพยายามพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่มีความสามารถให้ได้เช่นเดียวกันค่ะ
 
พี่เป้: ปัญหาในการทำงานที่พบบ่อยๆ มีอะไรบ้างคะ
พี่เม: ปัญหาที่ซีเรียสก็จะไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่ก็คือ ถ้าต้องสอนเด็กเล็กมากๆ ก็จะต้องใช้เทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้น.ร.ไม่เบื่อ และทำให้เค้าสนุกกับการเล่นการร้องให้ได้มากที่สุด ซึ่งยากเหมือนกัน เพราะเด็กเล็กๆ ไม่ค่อยมีสมาธิ ปัญหาอีกอย่างก็อาจจะมีบ้างที่บางครั้งที่เด็กที่มาเรียนมีพื้นฐานน้อยมากๆ ทำให้การสอนมันยากมากๆ แล้วผู้ปกครองอาจจะไม่พอใจที่ลูกของตัวเองไม่มีพัฒนาการ หรือพัฒนาการช้า เราก็ต้องคอยอธิบายว่า ด้านดนตรีต้องใช้เวลาและการฝึกฝนมากๆ เพราะถ้าเราไม่ฝึกซ้อมก็ยากที่จะเก่งขึ้นได้ หรือเรื่องร้องเพลงก็เช่นกัน บางคนร้องเพลงเพี้ยนมาก ซึ่งกว่าจะสอนให้หายเพี้ยนก็ต้องใช้เวลาเช่นเดียวกันค่ะ
 
 
 
 
พี่เป้: สำหรับพี่เมแล้ว ดนตรีสำคัญแค่ไหนคะ
พี่เม: ดนตรีและการร้องเพลง ถือว่าเป็นชีวิตของพี่เลย เพราะเป็นสิ่งเดียวในชีวิตที่พี่คิดว่าถ้าพี่ขาดไปก็คงเหมือนขาดน้ำหรือขาดความรักไปเช่นเดียวกัน และต้องขอบคุณพ่อกับแม่ที่ให้สิ่งนี้ ให้ความสนับสนุนเรามาตั้งแต่เล็กค่ะ์
 
พี่เป้: แล้วเพลงประจำตัวของพี่เมที่ชอบใช้เล่นเวลาออกงานเป็นเพลงอะไรคะ
พี่เม: Valentine ของ Martina Mcbride ค่ะ เป็นเพลงที่เพราะและมีความหมายดี ส่วนใหญ่ถ้าได้ร้องเพลงงานแต่งงาน ก็จะร้องเพลงนี้ค่ะ
 
พี่เป้: พี่เมคิดว่า คนที่จะเรียนด้านนี้ต้องมีคุณสมบัติยังไงคะ
พี่เม: ก่อนอื่นคงต้องเรียนมานานพอสมควรนะคะ เพราะเรียนด้านนี้พูดตรงๆว่า ไม่ใช่แค่เล่นเป็นก็จะสอบเข้าได้ ต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานค่อนข้างดี และต้องมีใจรักมากๆ เพราะเราต้องอยู่กับมัน ต้องซ้อม ต้องเอาใจใส่ และก็ควรเตรียมตัวทั้งเรื่อง ปฏิบัติ ทฤษฏีดนตรี และประวัติดนตรี ก่อนที่จะสอบด้วยค่ะ

พี่เป้: อยากให้ช่วยแนะนำทริกในการรักษาเสียงแก่น้องๆ ที่ชอบร้องเพลง
พี่เม: การรักษาเสียงอย่างง่ายๆเลยก็ดี พยายามอย่าตะโกนค่ะ เพราะเสียงของเราถ้าตะโกนมากๆ เส้นเสียงอาจอักเสบได้ และก็ถ้าไม่สูบบุหรี่ดื่มเหล้า ก็จะดีมากๆ ต่อหลอดเสียงของเราค่ะ
 
พี่เป้: สุดท้ายอยากให้พี่เมฝากถึงน้องๆ ที่สนใจเรียนด้านนี้ค่ะ
พี่เม: อยากให้น้องๆ เตรียมตัวกันเยอะๆ ค่ะ อย่าประมาท เพราะการสอบเข้าด้านนี้บอกได้ว่าคู่แข่งอาจจะไม่เยอะเท่าสาขาอื่น แต่ถ้าเราเก่ง หรือพร้อมกว่าคนอื่น ต่อไปเราจบมาเราก็จะเป็นคนที่มีความสามารถ คนก็จะจำเราได้ งานก็จะเยอะ ถ้าเป็นครู ก็จะมีแต่คนอยากมาเรียนกับเรา เพราะเรียนด้านนี้ คนเล่นเป็นเยอะ แต่คนที่มีความสามารถมากๆ ยังน้อยอยู่ค่ะ
 
คัมภิจา กำลังเลิศ (พี่วา) : ดุริยางคศิลปิน กรมศิลปากร
 
พี่เป้: ช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ หน่อยค่ะ
พี่วา: ชื่อคัมภิจา กำลังเลิศ ชื่อเล่นวา อาชีพพนักงานราชการ ตำแหน่งดุริยางคศิลปิน กรมศิลปากร และก็สอนพิเศษไวโอลินที่โรงเรียนดนตรีวีระพันธ์ ดุริยางค์ แถวตั้งฮั่วเส็งธนบุรี เป็นโรงเรียนของ อ.พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง(ศิลปินแห่งชาติ) พี่จบคณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาศิลปนิเทศน เอกไวโอลิน ม.เกษตรศาสตร์
 
พี่เป้: ทำไมพี่วาถึงเลือกเรียนด้านดนตรีโดยตรงเลยคะ
พี่วา: พี่เริ่มเรียนตอนป.6 คุณพ่อพี่เป็นนักดนตรีเลยอยากให้ลูกเล่นเป็นไว้บ้าง จำได้ว่าเรียนไปเฉยๆ ตอนนั้นใจมันยังไม่สู้เท่าไหร่ โดนดุบ่อยมาก คุณพ่อให้ซ้อมเกือบทุกวัน อาจเป็นเพราะตอนนั้นยังเด็กด้วย อยากกลับบ้านมาเล่นกับเพื่อน แต่พอเริ่มเล่นเพลงแรกได้ก็รู้สึกว่าเออไวโอลินนี่มันเพราะดีจัง แล้วเราก็คิดว่าเราก็ทำได้นี่นา ใจมันเริ่มมาแล้ว ประกอบกับคุณพ่อเปิดเพลงไวโอลินให้ฟังด้วยเลยรู้สึกประทับใจ แต่พอจะสอบเข้าม.1 เราก็เลือกที่จะเรียนแบบจริงจังเลยที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ก็เลยไปสอบแล้วสอบติด ตอนนั้นดีใจมากนะ แล้วก็เรียนที่นาฏศิลป์ เอกไวโอลินจนจบ แล้วไปเรียนต่อที่ม.เกษตร เอกไวโอลิน
 
พี่เป้: แล้วงานตำแหน่งดุริยางคศิลปินนี่ต้องทำอะไรบ้างคะ
พี่วา: พนักงานราชการ ตำแหน่งดุริยางคศิลปิน กรมศิลปากร หน้าที่ก็ซ้อมรวมวงออเคสตร้า ซ้อมงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย เช่นงานพระราชพิธี บรรเลงรับเสด็จ งานเลี้ยงรับรองที่ทำเนียบรัฐบาล บรรเลงให้ความรู้เกี่ยวกับวงออร์เคสตร้าตามโรงเรียนทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
 
 
 
 
พี่เป้: ปัญหาที่พบในการทำงานบ่อยๆ คืออะไรคะ
พี่วา: ความพร้อมเพรียง แต่เป็นสิ่งที่แก้ไขได้เพราะมีคอนดัคเตอร์ช่วยในการปรับวงอยู่แล้ว แต่เราก็ต้องใช้ระยะเวลาในการซ้อม
 
พี่เป้: แล้วพี่วาวางแผนอนาคตไว้ยังไงบ้างคะ
พี่วา: ก็คงซ้อมส่วนตัวให้พัฒนามากกว่านี้ เพราะอาชีพที่ทำอยู่เราต้องพัฒนาตัวเองตลอด และก็สอนต่อไปเพราะอยากให้เด็กได้เจอกับครูที่เอาใจใส่เด็กมากๆ มันรู้สืกดีนะเวลาที่เราเห็นเด็กที่เราสอนเล่นดีขึ้น ตอนแรกไม่ชอบสอนหรอก แต่พอมาเรียนไวโอลินกับ อ.วีระพันธ์ วอกลาง ก็รู้สึกดีมากเวลาที่อ.สอนพี่ มันรู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่ เลยรู้สึกอยากเป็นครูที่ดีให้ได้ อีกอย่างพี่โชคดีตรงที่เราได้ทำงานในแบบที่เราชอบคือได้เล่นวงออร์เคสตร้าและได้สอนไปด้วย
 
พี่เป้: สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียนด้านดุริยางคศิลป์โดยตรง
พี่วา: สิ่งสำคัญอันดับแรกคือใจต้องรัก ถ้าใจรักมันก็จะมีความสุขกับการได้เล่น ได้ซ้อมแค่ได้จับก็มีความสุขแล้วและต้องขยันซ้อม อย่าพูดว่าไม่มีเวลา เพราะเวลามีเท่ากันทุกคนขึ้นอยู่กับว่าเราบริหารมันยังไง และอย่าท้อ เป็นธรรมดาที่เราจะโดนครูดุแรงๆ แต่สิ่งนั้นมันจะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น ขยันขึ้น เพราะตัวพี่เองเคยโดนดุมากๆ แบบร้องไห้ไป 3 วันเลย ท้อเลยนะ ไม่อยากเล่นเลย โชคดีที่ตอนนั้นเล่าให้พ่อฟัง พ่อพี่ก็บอกว่าบนโลกใบนี้ไม่มีใครไม่โดนดุ เป็นเรื่องธรรมดา สำคัญว่าอย่าท้อ ซึ่งมันก็จริง ใจเป็นเรื่องสำคัญ
 
พี่เป้: สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียนด้านดุริยางคศิลป์โดยตรง
พี่วา: สิ่งสำคัญอันดับแรกคือใจต้องรัก ถ้าใจรักมันก็จะมีความสุขกับการได้เล่น ได้ซ้อมแค่ได้จับก็มีความสุขแล้วและต้องขยันซ้อม อย่าพูดว่าไม่มีเวลา เพราะเวลามีเท่ากันทุกคนขึ้นอยู่กับว่าเราบริหารมันยังไง และอย่าท้อ เป็นธรรมดาที่เราจะโดนครูดุแรงๆ แต่สิ่งนั้นมันจะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น ขยันขึ้น เพราะตัวพี่เองเคยโดนดุมากๆ แบบร้องไห้ไป 3 วันเลย ท้อเลยนะ ไม่อยากเล่นเลย โชคดีที่ตอนนั้นเล่าให้พ่อฟัง พ่อพี่ก็บอกว่าบนโลกใบนี้ไม่มีใครไม่โดนดุ เป็นเรื่องธรรมดา สำคัญว่าอย่าท้อ ซึ่งมันก็จริง ใจเป็นเรื่องสำคัญ

เด็กดีดอทคอม :: 3 คำถามน่าสงสัยของ
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Ekeauy_PoKo Member 20 ส.ค. 53 19:58 น. 7
อ่า ก็อยากเรียนนะคะ

เพราะโดยส่วนตัว ก็เล่นไวโอลินอยู่แ้ล้ว เรียนเองค่ะ ก็งูๆปลาๆ

อ่านโน้ตอะไรไม่เป็นหรอกค่ะ อาศัยว่าฟังเพลงแล้วสีตามอย่างเดียวเลย

ที่บ้านไม่สนับสนุนด้านนี้ค่ะ ตอนจะซื้อ ก็อดข้าวจนได้มานั่นแหละค่ะ

สงสัยถ้าเลือกเข้าที่นี่ พ่อต้องไล่ออกจากบ้านแน่เลย


0
กำลังโหลด
Yo....Jung Member 20 ส.ค. 53 22:55 น. 8
ว้าว~~
พี่ๆเก่งมากเลย ^^

ต้องทำให้ได้บ้างซะแล้ว
ยังไงซะ  ก็หายใจเข้า-ออกเป็นเสียงเพลงอยู่แล้ว
สู้ๆ >w<

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
otakuindy 5 ก.พ. 59 23:28 น. 12
ขอบคุณี่สร้างขึ้นมานะคะ มีกำลังใจเยอะมากเลยค่ะ จากกังวลว่าครอบครัวไม่อยากให้เรียนดนตรีจนหาเหตุผลมาเข้าเรียนได้ มันมีความสุขที่สุดเลยค่ะ ดีใจจริงๆที่่เจอแรงบันดาลใจสู้ฝันต่อ ถึงแม้จะเล่นเครื่องโลบลาสแต่มีความสุขได้ยิ้มหัวเราะกับคนในวง มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด