ใครอยากเรียน แพทย์ + ทันตแพทย์ ยกมือขึ้น!! ถึงแม้ว่า พี่มิ้นท์ จะไม่เห็น แต่ก็เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่อยากเข้าเรียนสองคณะนี้


                 ช่วงที่ผ่านมามีรับตรงแพทย์กับทันตะฯ ออกมาบ้าง(เล็กน้อย) แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าส่วนใหญ่จะกำหนดคุณสมบัติเอาไว้ ขอเรียกว่าโหดเลยแล้วกัน ถ้าไม่กำหนดเกรดสูงๆ ก็กำหนดเขตพื้นที่ ถ้าอยู่นอกเขตเมื่อไหร่ก็หมดสิทธิ์สมัคร เช่น โครงการจุฬา-ชนบท หรือรับตรง มศว ผลสุดท้ายก็คือ น้องๆ จากภาคกลาง โดยเฉพาะ กทม.และปริมณฑล แทบจะกรีดร้อง เพราะลงสมัครอะไรไม่ได้เลย
                  แต่จริงๆ แล้ว น้องๆ ยังมีอีกหนึ่งโครงการที่น่าลุ้นอยู่นะคะ ไม่รู้ว่า ว่าที่นิสิตนักศึกษาแพทย์และทันตะฯ รู้จัก กสพท. แล้วหรือยัง­­ เรามาทำความรู้จัก กสพท.ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ
    

 >> กสพท. คือ อะไร
                 กสพท. ย่อมาจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย มีหน้าที่คัดเลือกรับบุคคลเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ของสถาบันในประเทศไทยค่ะ ซึ่งเป็นรับตรงที่แยกรับออกมาเองเลย แต่กว่าจะเข้าได้ ก็ต้องมีการสอบเหมือนกันนะ ดังนั้นใครที่อยากเข้าสองคณะนี้ แล้วไม่อยากรอถึงแอดมิชชั่น ถือได้ว่า กสพท.เป็นตัวเลือกที่ดี และคนส่วนใหญ่ก็จะลงสนามสอบนี้กันด้วยค่ะ

 
>> รับแค่ 2 คณะเองเหรอ­
                ใช่ค่ะ!! สองคณะที่ว่า คือ คณะแพทยศาสตร์ และ ทันตแพทยศาสตร์ แต่ว่าก็ไม่ได้รับผ่าน กสพท.ทุกสถาบันนะคะ ซึ่งรายชื่อคณะ/สถาบันที่เข้าร่วม กสพท. มีเพียง 18 แห่ง จากทั้งหมดทั่วประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้ (ดูแล้วจำให้ดีๆ นะ จะได้วางแผนถูก)
    1) คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
    2) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
    3) คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
    4) คณะแพทยศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์
    5) คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
    6) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
    7) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
    8) วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต
    9) คณะแพทยศาสตร์ มศว
    10) คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
    11) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
    12) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เพศชาย
    13) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เพศหญิง
    14) คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
    15) คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล
    16) คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
    17) คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
    18) คณะทันตแพทยศาสตร์ มศว
    ส่วนที่เหลือนอกจากนี้ คงต้องติดตามโควตาและรับตรงของสถาบันนั้นๆ กันเองค่ะ


 >> รับตรง ผ่าน กสพท. ดียังไง และสมัครยังไง
               พี่มิ้นท์ว่า "ดี" สำหรับน้องๆ ที่มีความพร้อมค่ะ เพราะ กสพท. เป็นสนามสอบที่รวมเอาเฉพาะน้องๆ ที่อยากเรียนแพทย์และทันตะฯ ดังนั้นก็จะต้องแข่งกับเพื่อนๆ ที่มีหวังในคณะแพทย์และทันตะฯเหมือนกัน สำหรับคณะทันตะฯในรอบแอดมิชชั่นกลางยังคงมีเปิดอยู่หลายๆ สถาบัน แต่คณะแพทยศาสตร์ จะไม่รับในรอบแอดมิชชั่นกลางเลย ใครอยากเป็นหมอก็ต้องพยายามเข้าให้ได้ตั้งแต่รอบ กสพท. ซึ่งคะแนนในแต่ละปีก็จะค่อนข้างสูง (เดี๋ยว พี่มิ้นท์ จะเอาสถิติมาฝากด้านล่าง) แต่ว่าถ้าน้องๆ สามารถสอบติดแล้ว ก็จะได้เรียนในคณะที่อยากเรียนสมใจ โดยไม่ต้องไปแข่งกับรอบแอดมิชชั่นอีกค่ะ ที่สำคัญที่สุดรอบ กสพท. จำนวนรับค่อนข้างเยอะทีเดียว
              ในส่วนของวิธีการสมัคร ในช่วงกลางเดือน ก.ค. กสพท.จะออกระเบียบการออกมาให้น้องๆ ยลโฉมกัน วิธีการสมัคร คือ จะต้องเข้าไปสมัครในเว็บไซต์ของคณะ/สถาบันที่ร่วมโครงการ เพื่อสมัครสอบวิชาเฉพาะ และเลือกอันดับ 4 อันดับ (คละได้ทั้งคณะแพทย์และทันตะฯ) รายละเอียดต่างๆ น้องๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ เว็บไซต์ กสพท. ค่ะ (แต่ต้องรอให้รายละเอียดออกมาก่อนนะ)

 
 >> ถ้าจะซิ่ว ต้องลาออกมั้ย­­ งงจริงๆ!!
               เป็นเรื่องที่สับสนกันทุกปีว่าสรุปแล้วเด็กซิ่วต้องลาออกก่อนมั้ย แล้วสมัครได้มั้ย พี่มิ้นท์ ลองศึกษารายละเอียดของปีที่แล้วมาแบบละเอียดยิบ ได้ใจความว่า คนที่จะต้องลาออกก่อนสมัคร กสพท. มี 2 ประเภท คือ
              
ประเภทที่ 1 : เรียนอยู่ชั้นปี 2 ขึ้นไป ของสถาบันของรัฐ (ถ้าอยากสมัครต้องลาออกภายในเวลาที่ กสพท. กำหนด)
             
ประเภทที่ 2 : ซิ่วเข้าคณะเดิมแต่เปลี่ยนสถาบัน หมายความว่า ถ้าเรียนอยู่คณะแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยรัฐ) และอยากซิ่วเข้าแพทย์อีกสถาบันหนึ่ง แบบนี้ต้องลาออกก่อนนะคะ ถึงแม้ว่าจะอยู่ปี 1 ก็ตาม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเรียนทันตะฯอยู่ แต่อยากเข้าแพทย์ หรือเรียนแพทย์อยู่ แล้วอยากซิ่วเข้าทันตะ แบบนี้ไม่ต้องลาออกก็ได้ค่ะ  ดังนั้น ถ้าอยากเข้าคณะเดิมในสถาบันอื่น ต้องลาออกภายในเวลาที่ กสพท.กำหนดนะคะ

 >> ใช้คะแนนอะไรบ้าง
               สิ่งหนึ่งที่น้องๆ สบายใจได้ คือ ไม่ได้ใช้คะแนน GAT PAT ค่ะ แต่จะต้องสอบข้อสอบที่มีเฉพาะ กสพท. เท่านั้น ซึ่งสัดส่วนหลักๆ ของ กสพท. มีดังนี้
              
1) วิชาเฉพาะ มีน้ำหนัก 30% โดยข้อสอบจะทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ เช่น การจับใจความสำคัญ การคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยงเหมือนข้อสอบ GAT เป๊ะค่ะ และอีกส่วนที่สำคัญ คือ การวัดจริยธรรมในการเป็นแพทย์ของเรา
            
   2) ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ที่จัดสอบโดย สทศ. ใช้ 70%  ถ้าเป็นคณะอื่น เราสามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้ได้ แต่การสอบหมอของเรา สอบทั้ง 7 วิชาเลย ไม่ต้องเลือก นั่นก็คือ วิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, ภาษาไทย 10%, และสังคมฯ 10% และมีเกณฑ์เคี่ยวๆ ว่า แต่ละกลุ่มวิชาต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 30% ซึ่งถึงเวลาประกาศคะแนน 7 วิชาสามัญเมื่อไหร่ มีพี่ๆ ของเราตกม้าตายไปหลายคน เพราะบางกลุ่มวิชาได้คะแนน 28 คะแนน ถือว่าตกรอบไปตามระเบียบ น่าเสียดายมากๆ

                 หลังจากนั้นเมื่อผ่านด่าน 7 วิชาสามัญมาแล้ว น้องๆ ก็อย่าประมาทเชียวนะคะ เพราะยังมีเกณฑ์ O-NET ถึงแม้จะไม่ได้นำคะแนนมาคำนวณ แต่ต้องนำมาประกอบการพิจารณา โดยคะแนน O-NET 5 กลุ่มสาระ (วิทย์ คณิต อังกฤษ ภาษาไทยและสังคม) รวมกัน จะต้องเท่ากับหรือมากกว่า 60% ค่ะ แต่ พี่มิ้นท์ เชื่อว่า ผ่าน 7 วิชาสามัญมาแล้ว O-NET ก็เป็นเรื่องชิวๆ เลย

                ส่วนเด็กซิ่วจะไม่ได้ใช้เกณฑ์ O-NET เหมือนรุ่นน้อง เพราะเค้าวัดกันปีต่อปีค่ะ เท่าที่รู้มาคือ จะพิจารณาจากเกรดแทน รายละเอียดเกรดต้องติดตามกันอีกที ว่าจะเปิดเผยมาให้รู้หรือไม่
                 เอาล่ะค่ะ ว่าแล้วพี่มิ้นท์ ก็เอาสถิติคะแนน ในปีที่ผ่านๆ มา มาฝากกันด้วย ไปดูกันเล้ยยยย

สถิติคะแนน กพสท. (แบบละเอียดยิบ)

คะแนนสูงต่ำ กสพท. ย้อนหลัง 2 ปี

คะแนนวิชาเฉพาะ กสพท. ปี55

คะแนน 7 วิชาสามัญ (เฉพาะ กสพท.)

              
                  เป็นยังไงกันบ้างคะ นี่พี่มิ้นท์ก็แนะนำกันคร่าวๆ ให้น้องๆ ที่สนใจสอบเข้าคณะแพทย์และทันตะฯ ได้ศึกษาข้อมูลและเอาไปเตรียมตัวกัน และตอนนี้ก็ใกล้เวลาที่กำหนดการ กสพท. จะออกมาแล้ว สัญญาว่าถ้าออกมาเมื่อไหร่ พี่มิ้นท์จะรีบอัพเดทมาฝากน้องเลยค่า 

                 ปล.แอบเก็บข้อมูลมาว่า ปี 55 กำหนดการออกมาวันที่ 13 ก.ค. ส่วนปี 54 กำหนดการออกมาวันที่ 14 ก.ค. ค่ะ ถ้าให้เดา ปีนี้ก็น่าจะออกวันที่ 13-15 ก.ค.นี้ รอลุ้นๆๆๆ 

               ขอฝากอีกนิดนึง สำหรับใครที่อยากเรียนทันตะ แต่ยังไม่รู้ว่าคณะนี้เรียนอะไร เป็นยังไง ขอแนะนำหนังสือ "กว่าจะเป็นหมอฟัน" ที่รวบรวมข้อมูลการเรียนในคณะทันตแพทย์ทั้งหมด ตั้งแต่สอบเข้าจนจบเฉพาะทาง อ่านเล่มเดียว รู้ครบทุกเรื่องแน่นอน สามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์เด็กดีได้แล้ว คลิกเลย

ขอขอบคุณข้อมูลสถิติจาก

กสพท. www9.si.mahidol.ac.th


พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

38 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
lll-MiNt-lll Columnist 7 ก.ค. 55 16:55 น. 7
***ตอนนี้เกิดความผิดพลาดทางเทคนิคเล็กน้อย>< รูปสถิติเลยหาย ถ้าเรียบร้อยแล้วพี่มิ้นท์จะรีบมาแก้ไขให้เหมือนเดิมนะคะ

0
กำลังโหลด
เออ 7 ก.ค. 55 16:56 น. 8
เวลาเขียนบทความอะไรทำไมชอบลงความคิดเห็นตัวเองไปปนด้วย เผื่อคนเขาไม่รู้อ่านไม่เข้าใจก็ข้อมูลผิดพลาดกันพอดี

ปล.จะลบคห.นี้ก็ได้นะถ้าไม่เข้าตา
0
กำลังโหลด
สบายดีไหม 7 ก.ค. 55 17:12 น. 9
ถ้าเป้นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ดขียนและกระทบหรือชี้นำคนอ่านได้ก็ว่าไปอย่าง นี่แค่เขียนในเชิงความเห็นของผู้เขียน เพราะการเปรียบเทียบบางอย่างมันทำให้มีข้อโต้แย้งได้ ทำให้คนเขียนเขาต้องเขียนเพื่อบอกว่า ไม่ต้องเชื่อข้าก็ได้ แค่ความเห้นของข้า ป้องกันการชี้นำนั้นแหละ 

ปล คห นี้ก็ลบได้ ถ้ามันเหมือนหาเรื่องเกินไป
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปะการังน้ำใส Member 7 ก.ค. 55 21:32 น. 12
ขอบคุณค่ะ ต้องการข้อมูลอยู่พอดีเลย 

หาข้อมูลรายงานหน้าชั้นแนะแนวอยู่ 

ปล. อยากเข้าทันตะ แอดมากันนะ 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เบื่อพวกโลกแคบ 8 ก.ค. 55 11:48 น. 16
คห.แปดเป็นอะไรมากไหม = = ก็ไม่เห็นข้อมูลจะผิดเพี้ยนตรงไหน แสดงความคิดเห็นอะดีแล้ว
หรือคุณจะให้ก็อปมาแล้ววางๆ เหมือนทำรายงานส่งอาจารย์ ???
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด