หลากหลายอาชีพบนโลกใบนี้ และที่พี่เกียรติเคยเลือกแนะนำน้องๆ ชาว Dek-D บางอาชีพเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว บางอาชีพพี่ก็เลือกเพราะพี่ชอบชื่อ บางอาชีพพี่ก็คิดว่าเท่ (ฮา) แต่ที่แน่ๆ ทุกอาชีพน่าสนใจสำหรับน้องๆ ผู้กำลังค้นหาตัวเองทั้งสิ้นแน่นอน!
 
ภาพ: ดัดแปลงจากซีรีส์ CSI Vegas และ vincealongi, flickr.com 
         

           เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่เกียรติอ่านบทความหนึ่งของพี่มิ้นท์เกี่ยวกับ "นิติวิทยาศาสตร์" ซึ่งนำเสนอได้ครบถ้วนจริงๆ  พี่เลยคิดว่าต้องมีน้องๆ ชาว Dek-D สนใจในอาชีพกลุ่มนี้แน่ๆ ในเมืองไทยมีการเปิดสอนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับแขนงนี้นะคะ ในสองกลุ่ม ได้แก่

    - สายวิชาแพทย์ (แพทย์นิติเวช/นิติเวชคลินิค/นิติจิตเวช/นิติพยาธิวิทยา) 
    - สายวิทยาศาสตร์ในกระบวนการยุติธรรม หรือนิติวิทยาศาสตร์

เป็นระดับสูงกว่าปริญญาตรีทั้งสองกลุ่มเลยค่ะ หากเป็นกลุ่มแรกก็คือแพทย์คนหนึ่ง ต้องเรียนคณะแพทยศาสตร์ แต่ถ้าสาขานิติวิทยาศาสตร์ จบสาขาวิทยาศาสตร์ใดๆ ในระดับปริญญาตรี หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง/มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ค่ะ 
 
        แต่ แต๊ แต่ น้องๆ ทราบหรือไม่ว่า ไม่ได้มีแต่อาชีพแบบนิติวิทย์เท่านั้นนะ จริงๆ ยังมีอีกสารพันนิติ ที่เกี่ยวกับการสืบสวน และไม่ได้หมายถึงนิติศาสตร์แบบนักกฎหมายอย่างเดียวนะคะ เป็นอาชีพเฉพาะที่มีศัพท์บัญญัติในภาษาอังกฤษชัดเจน แต่ในภาษาไทยอาจยังไม่เป็นทางการนัก แต่ถ้าจะแปลแล้วก็จะเป็น "นิติ..." ในอาชีพที่เราๆ รู้จัก และยังเกี่ยวพันกันไปทุกอาชีพเลยล่ะคะ อาจจะงง ดังนั้นไปรู้จักกันเลยดีกว่าเนอะ!
 
ภาพ: West Midlands Police, flickr.com
 
นิติกีฏวิทยา (Forensic Entomology/Forensic entomologist)
       การตรวจสอบหลักฐานโดยหลักการทางกีฏวิทยาที่พบในคดีต่างๆ หรือจากศพ เพื่อสืบหาข้อมูล เช่น ดูเวลาของการเสียชีวิตจากแมลงที่พบในศพ เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการจำแนก วิเคราะห์ ถึงการเพาะเลี้ยงแมลง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีผลต่อการสืบสวนต่างๆ เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน ช่างสังเกต และจิตใจเข้มแข้งทีเดียวเชียวล่ะ 
นิติพยาธิวิทยา (Forensic Pathology/Forensic pathologist) 
      สาขาแพทย์ที่เกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตต่าง ๆ ที่ผิดธรรมชาติ ทั้งจากโรคภัย อุบัติเหตุ ถูกทำร้าย ฆ่าตัวเอง หรือแบบที่จากไปอย่างกระทันหันที่อาจไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุที่แท้จริงจากกระบวนการชันสูตรพลักศพทั่วไปได้ โดยใช้กระบวนการตรวจสอบชิ้นเนื้อ เลือด ปัสสาวะ ฯลฯ เพื่อเป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรมต่อไป
นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic) 
      แพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยในกรณีต่างๆ เช่น ถูกทำร้าย ถูกกระทำชำเรา ประเมินสติสัมปัญญะ สารพิษเบื้องต้น ฯลฯ และรายงานผลต่อพนักงานสืบสวนเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงต่อไป หรือตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินการได้รับค่าชดเชยหรือสวัสดิการต่างๆ เช่น ถ้าเสียขาเท่านี้ต้องได้รับค่าชดเชยเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลรายงานเหล่านี้สามารุนำไปใช้ต่อในกระบวนการยุติธรรม/ฟ้องร้องละเมิดได้ทั้งสิ้น
นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology/Forensic toxicologist) 
        ศึกษาและตรวจสอบเกี่ยวกับยาพิษและสารพิษทั้งหลายไม่ว่าจะมาจากสารเคมี จากพืชและจากสัตว์ อาจแบ่งเป็นกลุ่มที่ศึกษาจากกรณีผู้เสียชีวิตแล้ว จากผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษแล้วต้องการผลวินิจฉัยเพื่อการสืบสวน (เรียกนิติพิษวิทยาคลินิก) การเกิดสารพิษในสถานที่/โรงงานอุตสาหกรรม หรือการตรวจสอบสารพิษจากสิ่งแวดล้อมหรือแม้แต่สงคราม ซึ่งทั้งหมดต้องรายงานข้อมูลเพื่อนำไปในกระบวนการยุติธรรมต่อไปทั้งสิ้น
 
ภาพ: wcowperthwaite, flickr.com
 
นิติวิทยาเซรุ่ม (Forensic Serology/Forensic serologist)
          ใช้ความรู้ในสาขาวิทยาเซรุ่ม (พวกสารคัดหลั่งในร่างกาย อย่างน้ำเหลือง น้ำเลือด คราบอสุจินั่นแหละค่ะ) มาตรวจสอบผู้ป่วย หรืองานชันสูตรในคดีต่างๆ เช่น คดีทางเพศ ที่อาจหลงเหลือจากผู้เสียหาย หรือวัตถุพยานที่มีคราบเลือดติดอยู่ เป็นต้น
นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) 
            จิตแพทย์ผู้ดูแล วินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยทางจิตที่อาจเป็นผู้ต้องหาหรือถูกต้องขังในคดีต่างๆ เพื่อสืบค้นสาเหตุในการลงมือกระทำการต่างๆ ว่าเกิดจากเจตนา หรือสติอย่างไร หรืออาจเกิดจากความเจ็บป่วยทางจิตหรือไม่ ซึ่งผลการวินัจฉัยนี้มีผลในการดำเนินการในคดีต่อไปได้ค่ะ 
นิติจิตวิทยา (Forensic Psychology/Forensic Psychologist)
        งานที่ประยุกต์ใช้วิธีการทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น พูดคุย ใช้แบบทดสอบ เพื่อค้นหาเหตุจูงใจในการกระทำผิด หรือใช้หลักการมาตรวจสอบสภาพบุคคล สิ่งแวดล้อม พยานวัตถุ และรวบรวมเป็นข้อมูลคาดเดาความเป็นไปได้ในเหตุการณ์ต่างๆ และนำผลไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป ต่างจากข้อข้างบนนะค่ะ ในลักษณะเดียวกันระหว่างจิตแพทย์ และนักจิตวิทยานั่นแหละค่ะ
นิติทันตกรรม นิติทันตวิทยา ทันตนิติเวช (Forensic dentistry/Forensic Odontology) 
          การประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีทางทันตกรรมเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลต้องสงสัย/ผู้ที่อาจเกี่ยวข้อง ร่องรอยการถูกกัดของผู้เสียหาย และอื่นๆ ซึ่งตรวจสอบได้ตั้งแต่รอยสบฟัน ขากรรไกร รากฟัน เส้นเลือด เส้นประสาท ฯลฯ เลยทีเดียว และเมื่อตรวจสอบจากร่องรอยเอกลักษณ์เหล่านี้ก็จะระบุของเจ้าของฟันได้ และนำไปใช้ในการสืบสวนตรวจสอบในทางกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ต่อไปค่ะ แบบนี้จะเรียกหมอฟันยอดนักสืบก็ได้สินะ อิอิ
 
            น้องๆ จะเห็นว่ากลุ่มงานข้างต้นนี้เป็นสาขาเฉพาะใน สายนักวิทยาศาสตร์ และสายแพทย์กลุ่มต่างๆ เนอะ ถ้าสนใจสายงานเหล่านี้ ต้องจบสายสามัญ วิทย์-คณิตนะจ๊ะ  ต่อไปจะยิ่งหลากหลายอาชีพมากขึ้นล่ะ อย่าเพิ่งเหนื่อยกันนะ อิอิ อาจจะได้เจองานที่เราสนใจในลำดับต่อไปก็ได้นะเออ  โปรดติดตามตอนต่อไป
 

ตอนจบ! กับ บัญชีสืบสวน นิติวิศวกรรม นิติ...ที่คุณต้องสนใจ!
 

แหล่งข้อมูล:
   - http://utcc2.utcc.ac.th/vraccountant/index.php?mod=Knowledge&file=saraview&saraID=16
   - http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000007236
Forensic
   - http://siamkaewkumsai.blogspot.com/2009/12/forensic-engineering.html 
   - http://www.ra.mahidol.ac.th/hospital/ramach/Knowledge_Dental-chapter05
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
jeely Member 21 ก.ค. 55 13:09 น. 3
อยากเป็น นิติพยาธิวิทยา (Forensic Pathology/Forensic pathologist)  กับ  นิติจิตวิทยา (Forensic Psychology/Forensic Psychologist) ค่ะ ต้องจบอะไร แล้วต้องทำยังไงบ้างหรอค่ะ?  แต่ที่สำคัญคือหนูกลัว......(สิ่งที่มองไม่เห็นอ่ะค่ะ) หนูจะเป็นได้มั้ยค่ะ

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 กรกฎาคม 2555 / 13:11
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 21 กรกฎาคม 2555 / 13:12
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Ningching™ Member 21 ก.ค. 55 17:57 น. 5
อยากทำงานพวกนี้จัง เรียนสายศิลป์-คำนวณ จะต่อไปสายพวกนี้ได้มั้ยคะ? หรือว่าต้องสายวิทย์อย่างเดียว?
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FIRsT Member 22 ก.ค. 55 21:11 น. 9
น่าสนใจจริงๆค่ะ ^^ โดยเฉพาะนิติเวชกับนิติจิตวิทยา
แต่ก็ยังงงๆอยู่อ่ะค่ะ ที่บอกว่าต่างกันเหมือนจิตแพทย์กับนักจิตวิทยานี่มันยังไงคะ?
เพราะที่เคยได้ยินแต่จิตแพทย์จริงๆ
0
กำลังโหลด
karin<f>e Community 23 ก.ค. 55 21:09 น. 10

น้อง FIRsT คห. 9 ลองอ่านรายละเอียดจาก 
"16 อาชีพน่าสน!! สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตอนจบ" นี้เลยจ้า อาชีพที่ 4 และ 8 เนอะ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
karin<f>e Community 1 มิ.ย. 61 10:37 น. 12-1

เรียนคณะแพทย์นั่นแหละค่ะ คือเลือกเรียนหมอก่อน คือเป็นแล้วค่อยเลือกสาขาที่สนใจ เป็นหมอเฉพาะทางด้านจิตเวช (จิตแพทย์) สายนิติวิทยาศาสตร์

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด