แม้เด็กแอดมิชชั่น 57 จะยังไม่จบกระบวนการแอดมิชชั่น แต่ พี่มิ้นท์ ต้องรีบตีซี้กับเด็กแอดมิชชั่น 58 แล้วค่ะ (เด็กแอดฯ 58 = น้องๆ ที่กำลังจะขึ้น ม.6 พ.ค.นี้) เพราะจากประสบการณ์ที่เจอมา คือ พอขึ้น ม.6 ปุ๊บ น้องๆ ก็จะงงปั๊บ ไม่รู้ว่าเข้ามหาวิทยาลัยได้กี่วิธี แถมยังไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับการรับตรงด้วย บางคนก็รู้จักรับตรงแค่ว่า มหาวิทยาลัยประกาศรับนักศึกษาเอง แต่รายละเอียดลึกๆ อย่าถามนะ เพราะไม่รู้!

          เพื่อเป็นการปฐมนิเทศเด็กแอดมิชชั่น 58 พี่มิ้นท์ จะมาแนะนำโครงการรับตรงประเภทต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 58 บอกก่อนเลยว่าในแต่ละปีมีรับตรงหลายร้อยโครงการทั่วประเทศให้เลือกสมัคร แต่บางโครงการก็มีเงื่อนไขค่ะ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นข้อมูลและให้สำรวจตัวเองว่าเหมาะกับโครงการไหนเป็นพิเศษมั้ย เผื่อมีประกาศรับสมัครขึ้นมา จะได้สมัครแบบไม่ลังเล ว่าแล้วก็ไปทำความรู้จักรับตรงทั้ง 10 ประเภทกันเลยจ้า


 

 

 
  1. รับตรงพื้นที่ / โควตาพื้นที่
        รับตรงพื้นที่/โควตาพื้นที่ คือ รับตรงที่รับเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่กำหนดเท่านั้น จะระบุมาเลยว่าต้องเป็นนักเรียนภาคไหน จังหวัดไหน อยู่ไม่ต่ำกว่ากี่ปี รายละเอียดเกี่ยวกับรับตรงพื้นที่จะแยกย่อยไปอีก บางมหาวิทยาลัยกำหนดแค่เรียนในโรงเรียนของจังหวัดนั้น แต่บางมหาวิทยาลัยยึดที่ภูมิลำเนาเกิดค่ะ เป็นต้น

        สำหรับโควตานี้ ไม่ว่าภาคไหนก็มีโอกาสสมัครได้ทุกคน เพราะทุกภาคจะมีมหาวิทยาลัยประจำภูมิภาคนั้นกระจายโควตามา เช่น
          ► ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ = ม.ขอนแก่น  ม.มหาสารคาม  ม.อุบลราชธานี
          ► ภาคเหนือ = ม.เชียงใหม่  ม.นเรศวร  ม.พะเยา  ม.แม่ฟ้าหลวง
          ► ภาคใต้ = ม.สงขลานครินทร์  ม.วลัยลักษณ์
          ► ภาคกลาง = ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
          ► ภาคตะวันออก = ม.บูรพา  ม.เกษตรศาสตร์

       นี่เป็นเพียงตัวอย่างนะคะ ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่มีโครงการแบบนี้ รวมถึงบางที่ก็ให้โควตาพื้นที่ข้ามภูมิภาคด้วย เช่น ม.ขอนแก่น มีโครงการรับตรงสำหรับนักเรียนภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก เป็นต้น

 
  2. รับตรงทั่วประเทศ
      มีรับตรงเฉพาะพื้นที่ไปแล้ว น้องๆ หลายคนอาจวิตกว่าแล้วถ้าอยู่กรุงเทพฯ แต่อยากไปเรียนแม่ฟ้าหลวงล่ะ จะอดหรือเปล่า? ไม่ต้องตกใจค่ะ ไม่อดแน่นอน เพราะทุกมหาวิทยาลัยจะมีรับตรงทั่วประเทศอยู่แล้ว วิธีสังเกตรับตรงประเภทนี้ง่ายมาก คือ

           1. ชื่อโครงการเขียนไว้เลยว่า "รับตรงทั่วประเทศ"
           2. ในระเบียบการ ไม่ได้กำหนดจังหวัดของผู้สมัคร ก็เท่ากับสมัครได้ทั่วประเทศค่ะ

      การรับตรงทั่วประเทศก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้ามาสอบ เป็นกลาง ยุติธรรม ส่วนข้อเสียคือ พอทุกคนมีโอกาสสมัคร คนสมัครก็จะเยอะตามไปด้วย เมื่อคนเยอะการแข่งขันก็สูงค่ะ ยกตัวอย่างเช่น รับตรง(ปกติ) จุฬาฯ ก็สมัครได้ทั้ง 77 จังหวัด ใครคะแนนสูงก็มีโอกาสติดมากกว่านั่นเอง

      รับตรงทั่วประเทศที่ฮอตฮิตที่สุดในเด็ก ม.6 ทุกรุ่น ก็คือ รับตรง มศว จะเปิดรับเป็นสนามสอบรับตรงแรกของเด็ก ม.6 ด้วย เตรียมตัวกันได้เลย

 
   3. รับตรงเรียนดี
       อยากมีโอกาสติดรับตรงมากกว่าใครเพื่อน รีบขยันเรียนอัพเกรดตอนนี้ยังทันนะ เพราะหลายมหาวิทยาลัยมีโครงการรับตรงเรียนดี และจำนวนรับก็เยอะด้วย บางคนสงสัยว่ารับตรงเรียนดี วัดจากอะไร? ก็ GPAX ของน้องๆ นั่นแหละค่ะ เรียกว่าใครเกรดไม่ต่ำกว่า 3.00 โอกาสมีที่เรียนเร็วกว่าเพื่อนมาอยู่ตรงหน้าแล้วค่ะ

        รับตรงเรียนดีของแต่ละที่จะกำหนดเกรดต่างกัน มีตั้งแต่ 2.50 ไปจนถึง 3.50 (แต่ส่วนใหญ่ที่เจอบ่อยๆ คือ 3.00, 3.50) หรือจะกำหนดไปเลยว่าต้องได้ผลการเรียนอยู่ในอันดับที่ 1-50 ของระดับชั้น เป็นต้น ฟังดูโหดใช่มั้ยคะ แต่พี่มิ้นท์ว่าเป็นรับตรงที่สบายที่สุด เพราะยื่นแค่เกรดไปก็รอประกาศผลได้เลย (แต่อาจจะเหนื่อยตอนเรียนเพื่อให้ได้เกรดนี้มา)
    

  4. รับตรงเด็กดี มีคุณธรรม
       รับตรงประเภทนี้เว็บไซต์ Dek-D ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับสมัครนะคะ 5555 แต่เป็นชื่อโครงการที่ใช้กันจริงๆ มีต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น รับตรงเด็กดีมีคุณธรรม, โควตาส่งเสริมเด็กดีมีคุณธรรม, โควตาเด็กดีมีที่เรียน ฯลฯ คุณสมบัติของโควตาประเภทนี้ ได้แก่ มีความเป็นผู้นำ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน มีมารยาท มีความรับผิดชอบ ฯลฯ

        เกณฑ์ในการพิจารณา จะดูจากใบรับรองจากโรงเรียนเพื่อยืนยันว่าเรามีคุณธรรมจริงๆ รวมถึงพิจารณาจาก Portfolio ว่าเราได้ไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมยังไงบ้าง แม้โครงการประเภทนี้มีสัดส่วนที่นั่งไม่เยอะเมื่อเทียบกับโครงการอื่นๆ แต่การันตีได้ว่าเป็นอีกประเภทที่เปิดรับหลายมหาวิทยาลัยค่ะ เช่น ม.เชียงใหม่  ม.ขอนแก่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์  ม.พะเยา  ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.นเรศวร

 
   5. รับตรงความสามารถพิเศษ
        เดี๋ยวนี้ความสามารถพิเศษหลายอย่างมีประโยชน์ต่อการเข้ามหาวิทยาลัยแล้วนะคะ ถือว่าเป็นข้อดีของคนที่มีความสามารถพิเศษอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ด้านภาษาต่างประเทศ ฯลฯ ที่พบได้บ่อยที่สุด พี่มิ้นท์ว่าน่าจะเป็นความสามารถด้านกีฬาค่ะ คอนเฟิร์มว่ามีเกือบทุกมหาวิทยาลัย ดังนั้นถ้าน้องๆ คนไทยมีความสามารถด้านกีฬา มีรางวัลการันตีความสามารถทั้งในระดับโรงเรียน จังหวัด หรือระดับเยาวชน เตรียมตัวได้เลย มีมาให้สมัครนับไม่ถ้วนแน่ๆ แถมเลือกคณะเข้าได้ตามความสนใจด้วย

         ส่วนความสามารถด้านอื่นๆ ที่พี่มิ้นท์พูดไป ส่วนใหญ่จะเป็นรับตรงที่ใช้ยื่นเข้าคณะหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ก็จะใช้เข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์/วิศวฯ คอมพิวเตอร์,  ความสามารถด้านศิลปะ ก็จะใช้เข้ากลุ่มคณะนิเทศศิลป์ วิจิตรศิลป์ หรือคณะ/สาขา ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ

         น้องๆ คงจะนึกภาพออกกันแล้วใช่มั้ยคะ ดังนั้นใครรู้ตัวว่ามีความสามารถพิเศษแอบแฝงอยู่ รีบๆ ฝึกฝน จะได้คว้าโอกาสในโควตาเหล่านี้ได้ค่ะ

 

 
   6. รับตรงที่คณะประกาศรับสมัครเอง
         ปกติเวลาติดตามข่าวรับตรง จะติดตามผ่านหน้าเว็บไซต์ระบบรับนักศึกษาส่วนกลางของมหาวิทยาลัยค่ะ แต่เดี๋ยวนี้หลายคณะก็เริ่มประกาศรับตรงออกมาเอง ดังนั้นถ้าน้องๆ อยากตามข่าวรับตรงให้ครบถ้วนไม่ให้พลาด ต้องติดตามทั้งเว็บไซต์มหาวิทยาลัยและเว็บไซต์คณะนะคะ (หรือเข้าที่ www.dek-d.com/admission/direct ก็อัพเดทให้ทุกมหาวิทยาลัยจ้า)

         โครงการรับตรงที่มหาวิทยาลัยประกาศรับเองก็จะมีวิธีคัดเลือกแตกต่างกันนะคะ บางที่จัดสอบเองโดยใช้ข้อสอบของคณะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคณะอื่นๆ เลย เช่น รับตรงเภสัชฯ ม.ศิลปากร   รับตรงรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ส่วนบางที่ก็อาจจะพิจารณาจากผลการเรียนค่ะ
    
  
7. รับตรงใช้คะแนนจาก สทศ.
        รับตรงใช้คะแนนจาก สทศ. คือ รับตรงที่มหาวิทยาลัยประกาศรับ แต่เกณฑ์การคัดเลือก ใช้คะแนนส่วนกลางจาก สทศ. คือ คะแนน GAT PAT , 7 วิชาสามัญ, O-NET  บางที่ใช้คะแนนทั้ง 2 อย่าง เช่น รับตรงจุฬาฯ, รับตรง ม.บูรพา, รับตรง ม.มหิดล, รับตรง ม.สงขลาฯ  แต่บางทีก็เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ส่วนใหญ่ใช้ GAT PAT มากกว่า 7 วิชาสามัญ) เช่น โควตา ม.เกษตรศาสตร์, รับตรงใช้ GAT PAT ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นต้น รวมถึงรับตรงที่ออกมาในช่วงหลังๆ มักจะใช้คะแนน O-NET เข้ามาเอี่ยวด้วย ณ จุดจุดนี้ บอกน้องๆ ได้คำเดียวว่า สทศ.จัดสอบอะไร ทำข้อสอบให้เต็มที่ค่ะ เพราะได้เอามาใช้ในรับตรงแน่นอนไม่วิชาใดก็วิชาหนึ่ง

      ส่วนชื่อโครงการก็หลากหลายค่ะ(อาจจะมึนนิดนึง) มีทั้งตั้งแบบตรงๆ คือ รับตรงใช้คะแนน GAT PAT, รับตรงใช้ 7 วิชาสามัญ, โครงการคัดเลือกตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ หรืออาจจะเป็นชื่อรับตรงทั่วๆ ไป แต่ข้างในระเบียบการระบุใช้ GAT PAT เป็นต้น โครงการเหล่านี้น้องๆ จะสมัครได้ก็ต่อเมื่อมีคะแนนครบตามที่กำหนด หากขาดไปวิชานึงก็หมดสิทธิ์สมัคร และส่วนใหญ่ก็จะเป็นรับตรงทั่วประเทศค่ะ

 


 
   8. รับตรงสำหรับเด็กวิทย์โดยเฉพาะ
       โควตาสำหรับเด็กวิทย์โดยเฉพาะนี้ ไม่ใช่เด็กวิทย์สมัครได้ทุกคน แต่มีเงื่อนไขเพิ่มไปอีก คือ ต้องเป็นเด็กที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ หรือเคยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น ค่ายโอลิมปิกวิชาการ, ค่าย สวทช., โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น โครงการรับตรงกลุ่มนี้มีทุกมหาวิทยาลัยเหมือนกันค่ะ ทั้ง จุฬาฯ ม.มหิดล ม.ศิลปากร ม.สงขลาฯ ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.นเรศวร ม.ขอนแก่น ส.พระจอมเกล้าลาดกระบัง ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ฯลฯ ดังนั้นน้องๆ ระดับหัวกะทิที่มีประสบการณ์และความสามารถด้านวิทยาศาสตร์หมดห่วงเรื่องไม่มีที่เรียนไปได้เลย
 
   9. รับตรงภาคพิเศษ
      รับตรงภาคพิเศษนี้ มีน้องๆ สงสัยกันบ่อยมาก (สงสัยตั้งแต่โครงการแรกของปียันโครงการสุดท้ายของปี) ว่า รับตรงภาคพิเศษคืออะไร? เข้าไปแล้วได้เรียนเหมือนเพื่อนๆ มั้ย? ทำไมถึงเรียกว่าภาคพิเศษ?

      รับตรงภาคพิเศษมักจะประกาศรับจากคณะโดยตรง ซึ่งรายละเอียดการรับไม่ได้แตกต่างจากการรับตรงอื่นๆ คือ คณะอาจจัดสอบเอง หรือใช้คะแนนจาก สทศ.ก็ได้ แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ค่าเทอมในการเรียนที่จะแพงกว่าภาคปกติและเวลาเรียนที่จะไม่ตรงกับภาคปกติค่ะ ส่วนคุณภาพการเรียน อาจารย์ที่สอนก็แทบจะเหมือนกัน 100%

       อย่างไรก็ตาม "ภาคพิเศษ" มีเพียงไม่กี่คณะค่ะ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น จะสมัครรับตรงโครงการไหนลองสังเกตประเภทรับสมัครให้ดีนะคะ ว่าเป็นรับตรงของภาคพิเศษหรือภาคปกติ  
 
 
10. รับตรงโควตาพิเศษ
      เป็นรับตรงที่พิเศษจริงๆ คือ เป็นคนที่ครอบครัวมีธุรกิจส่วนตัว

      โควตาพิเศษสำหรับคนที่มีธุรกิจส่วนตัวที่บ้าน รับค่อนข้างเฉพาะกลุ่มค่ะ พูดง่ายๆ คือ ไม่ใช่ว่าทำธุรกิจอะไรก็มาสมัครได้ แต่ต้องเป็นกลุ่มอาชีพที่มหาวิทยาลัยกำหนด เช่น โควตาทายาทร้านขายยา เข้าคณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร, โควตาทายาทธุรกิจการพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ เข้าสาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ มจธ., โครงการทายาทแพทย์แผนไทย เข้าสาขาการแพทย์แผนไทย ม.สงขลาฯ, โควตาบุตรเกษตรกร เข้าคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เป็นต้น

       นอกจากโควตาบรรดาทายาทแล้ว ยังมีโควตาพิเศษอื่นๆ อีก เช่น โควตาบุตรของบุคลากรในสถาบันนั้นๆ (ส.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง), โควตาจิตอาสา (ม.ธรรมศาสตร์), โควตานักศึกษาพิการ (ม.ธรรมศาสตร์), โควตาแหล่งฝึก (คณะพยาบาลศาสตร์ ม.พะเยา), รับตรงจุฬา-ชนบท เป็นต้น

 
        เห็นรับตรงทั้ง 10 ประเภทแล้ว น้องๆ คงพอเข้าใจคอนเซปท์การรับตรงแล้วว่าจะไปทางไหนได้บ้าง แต่ พี่มิ้นท์ ขอฝากเพิ่มเติมว่า เด็กแอดมิชชั่น 58 คนไหนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนคณะไหน ให้รีบหาตัวเองให้เจอ เพราะจะได้ไม่ต้องหว่านสมัครทุกคณะ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การสอบ GAT PAT ค่ะ แม้รับตรงบางโครงการจะไม่ได้ใช้ แต่ยังไงก็ได้ใช้ในรอบแอดมิชชั่นแน่ๆ สุดท้ายนี้ใกล้เปิดเทอมแล้ว รีบวางแผนชีวิต ม.6 ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ได้เลยค่ะ

        ส่วนน้องๆ คนไหนที่อยากรับข่าวรับตรง - แอดมิชชั่นผ่าน SMS ของ Dek-D ก็รอสมัครกันได้เลย แต่จะเป็นช่วงไหน พี่มิ้นท์ จะมาแจ้งอีกทีจ้า
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

GOOD-BYE Member 3 พ.ค. 57 08:47 น. 1

บางทีก็รู้สึกมันเยอะไปหน่อย... = = 

คิดตอนสอบแล้วเหนื่อย ไหนจะค่าใช้จ่ายแต่ละสนาม ถ้าบางคนบ้านไม่มีเงินตัดโอกาสไปเยอะเหมือนกันนะคะ 

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Dream's zenith Member 4 พ.ค. 57 00:19 น. 9

สู้ๆนะครับน้อง58 พี่57เอาใจช่วยพี่ติดรับตรงตั้งแต่เดือนกันยาอะ แต่ปีน้อง58พี่ไม่รู้ว่ารับตรงจะเลื่อนไปเยอะไหม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

72 ความคิดเห็น

GOOD-BYE Member 3 พ.ค. 57 08:47 น. 1

บางทีก็รู้สึกมันเยอะไปหน่อย... = = 

คิดตอนสอบแล้วเหนื่อย ไหนจะค่าใช้จ่ายแต่ละสนาม ถ้าบางคนบ้านไม่มีเงินตัดโอกาสไปเยอะเหมือนกันนะคะ 

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Dream's zenith Member 4 พ.ค. 57 00:19 น. 9

สู้ๆนะครับน้อง58 พี่57เอาใจช่วยพี่ติดรับตรงตั้งแต่เดือนกันยาอะ แต่ปีน้อง58พี่ไม่รู้ว่ารับตรงจะเลื่อนไปเยอะไหม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Mystery*jester Member 5 พ.ค. 57 15:31 น. 18

ความเห็นส่วนตัวเรานะ

เราไม่ค่อยชอบรับตรงเลย มีรับตรงเยอะๆดูยุ่งยาก บางทีก็งง ว่าต้องลงรับตรงอันไหนบ้าง สอบตรงแต่ละครั้งก็ต้องเสียตังอีก คนที่ตังน้อย โอกาสก็น้อยไปด้วยสิ แบบแอดครั้งเดียวไปเลย ไม่ดีกว่าหรอ เครียดครั้งเดียว 1คนก็ติดได้แค่1ที่นั่ง ไม่ใช่คนนึงติดหลายที่เลย ไอคนที่ไม่ติดสักที่ก็เฟลไปเหอะ 

สำหรับคนที่ไม่ค่อยเก่ง ก็จะโดนพวกเก่งๆมาสอบลองสนามเล่นๆ แย่งที่ไป

สำหรับคนที่ไม่ได้เก่งในระดับเทพ ก็อาจไม่ได้เข้าคณะที่เราอยากเข้ามากที่สุด

แบบไปลองสอบคณะที่ชอบรองลงมา เพราะกลัวรอแอดคณะที่ชอบที่สุดแล้วไม่ติด

เลยไปสอบตรงแล้วติด จะสละสิทธิ์ก็เสียดาย กลัวสละไปแล้วไม่ติดอันที่ชอบอีก

ปล. เราหลุดพ้นมาละ แต่สงสารรุ่นน้อง นับวันยิ่งยุ่งยากมากขึ้นทุกปี

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด