เทคนิคเดียว กวาดทุกสนาม! เคล็ดลับสอบตรง Inter คณะต่างๆ By ครูพี่กิ๊บ

         สวัสดีน้องๆที่น่ารักทุกคนนะคะ กลับมาพบกับชั้นเรียนพิเศษ Dek-D's Admission Class กันอีกครั้ง วันนี้พี่เมก้าขอพาน้องๆเดินทางเข้าสู่การเตรียมตัวสอบวิชาภาษาอังกฤษที่อาจฟังดูธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะครั้งนี้เรามาในโปรคุ้มเกินคุ้ม เตรียมตัวครั้งเดียวพิชิตได้ทุกสนามสอบ!

         ก่อนเริ่มคลาสเรามาสวัสดีและต้อนรับครูประจำคลาสในวันนี้กันดีกว่า "ครูพี่กิ๊บ วลีรัตน์ หาญเมธีคุณา" แห่งสถาบัน InterPass ค่ะ


 
         ครูพี่กิ๊บจบปริญญาโทบริหารธุรกิจ จาก MBA University of Oxford มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกเลยนะคะ ได้สั่งสมประสบการณ์การสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ IELTS มากว่า 10 ปี รวมถึงเป็นวิทยากรในรายการสอนต่างๆอีกมากมาย เรียกว่าการเรียนที่ยากครูพี่กิ๊บทำให้กลายเป็นเรื่องง่ายได้อย่างง่ายดายเลยล่ะค่ะ ถ้าน้องๆพร้อมแล้วเราไปลุยบทเรียนพิเศษกันเลย!

ภาษาอังกฤษกับการเตรียมสอบ

         เริ่มต้นบทเรียนในวันนี้ด้วยการพูดถึงช่องทางการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันก่อนดีกว่า ปัจจุบันหลักสูตรการเรียนเปิดกว้างมากเลยนะคะ มีหลากหลายทางเลือกให้ได้ลองศึกษา สำหรับน้องๆที่คิดว่าตนมีความสนใจทั้งในหลักสูตรปกติ (ภาคไทย) และหลักสูตรนานาชาติ (ภาคอินเตอร์) ครูพี่กิ๊บมองว่านั่นเป็นความคิดที่ถูกต้องและฉลาดมากเลยค่ะ เหมือนเราเพิ่มทางเลือกให้ตัวเองมากขึ้น ถ้าน้องๆวางแผนดีก็สามารถเตรียมตัวคู่กันได้ทั้ง 2 ฝั่งเลย

ปูพื้นฐานความรู้ "ระบบการสอบหลักสูตรนานาชาติ"

         ก่อนที่เราจะไปลงลึกบทเรียนในวันนี้ ครูพี่กิ๊บก็ต้องขออธิบายระบบการสอบในส่วนของภาคอินเตอร์ก่อนนิดนึงนะคะ เพราะคิดว่าหลักสูตรอินเตอร์น้องๆยังไม่คุ้นเท่าไหร่ หลายคนมักจะเข้าใจผิดคิดว่าการสอบภาคอินเตอร์ยาก แล้วก็มีพื้นที่ไว้สำหรับคัดคนเก่งภาษาอังกฤษหรือเด็กนานาชาติเข้าเรียนเท่านั้น

         ความจริงหลักสูตรอินเตอร์นั้นเตรียมตัวไม่เยอะเท่าหลักสูตรภาคไทย เพราะน้องจะสอบแค่ 2 วิชาหลักคือภาษาอังกฤษและเลข คะแนนเก็บได้ 2 ปี  ดังนั้นน้องจะมีโอกาสในการแก้ตัวเยอะมาก สามารถสอบได้ตั้งแต่ ม.4 เทอม 2 สอบกี่ครั้งก็ได้ แล้วเราก็มาเลือกคะแนนรอบที่ดีที่สุดกันค่ะ

         สำหรับน้องๆที่มองทางเลือกไว้ทั้งภาคปกติและนานาชาติ ถ้ามีการวางแผนที่ดีน้องสามารถเตรียมสอบทั้ง 2 หลักสูตรไปพร้อมกันได้เลย เพราะในส่วนของการสอบวิชาภาษาอังกฤษมีความใกล้เคียงกัน ภาคอินเตอร์อาจจะยากกว่านิดหน่อยแต่ก็ไปในทางเดียวกัน อย่างที่ครูพี่กิ๊บบอกยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว น้องอาจจะเตรียมในส่วนของภาคอินเตอร์ก่อนเพราะยิ่งเตรียมเร็วน้องจะสามารถสอบได้หลายรอบ พอได้คะแนนในฝั่งอินเตอร์แล้วก็โฟกัสที่ภาคไทยต่อเลยค่ะ


ชี้ชัด! เตรียมสอบ Eng หลักสูตร "ปกติ VS นานาชาติ" ยากกว่ากันตรงไหน

         คะแนนสอบภาคอินเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. กลุ่มภาษาอังกฤษ  การสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก เช่น CU-TEP, TU-GET, IELTS, และTOEFL (เลือกสอบตัวใดตัวหนึ่ง)
2. กลุ่ม Aptitude Test การสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษและเลขที่เน้นการวิเคราะห์ เช่น SAT และ CU-AAT (เลือกสอบตัวใดตัวหนึ่ง)  
*ยกเว้นน้องๆที่อยากเรียนสายวิทย์ต้องสอบฟิสิกส์และเคมีเพิ่ม*

         ข้อสอบ CU-TEP และ TU-GET  มีความคล้ายกับการสอบ  GAT, O-NET และ 9 วิชาสามัญ เช่น Grammar (error identification), Reading Comprehension และVocabulary แต่อาจจะยากกว่าข้อสอบภาคไทยประมาณ 20-30% ความยากอยู่ที่ความยาวของโจทย์ หรือ passage ที่ยาวกว่า

         ส่วนข้อสอบ IELTS, TOEFL, SAT และ CU-AAT ต้องบอกว่ามีความแตกต่างกันจากภาคไทยค่อนข้างมากค่ะ เพราะข้อสอบ 2 ตัวนี้จะวัด 4 skills ได้แก่ Reading, Speaking, Listening และ Writing (Essay) ซึ่งเป็นข้อสอบที่เด็กไทยไม่ค่อยถนัดนัก  
 
         แต่ครูพี่กิ๊บบอกเลยว่าสัดส่วนของนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยในหลักสูตรอินเตอร์ได้นั้นมาจากนักเรียนไทยในโรงเรียนมัธยมมากกว่านักเรียนในโรงเรียนนานาชาติเสียอีก เนื่องจากมีการสอบเลขเพิ่มเข้ามาด้วย โดยมากเด็กไทยจะเก่งเลขจึงสามารถโกยคะแนนส่วนนี้ได้มาก ส่วนใหญ่ได้เกือบเต็มหรือเต็มเลยก็มีค่ะ


เทคนิควางแผนพร้อมสอบภาษาอังกฤษ ทั้ง 2 สนาม

         การเตรียมตัวสอบในส่วนของวิชาภาษาอังกฤษทั้งในหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาตินะคะ อย่างแรกคือน้องต้อง “รู้ตัวเอง” ก่อนว่าอะไรคือจุดแข็งของเรา เราเก่ง Grammar หรือเก่งทักษะฟัง พูด อ่านทางด้านไหนก็วางแผนในการเลือกสอบให้ดี

         ภาคอินเตอร์อาจจะยากกว่าภาคไทยนิดนึงก็อาจจะต้องเตรียมตัวเพิ่มในการสอบข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อการวิเคราะห์ด้วย เช่น SATและCU-AAT เพราะข้อสอบพวกนี้ค่อนข้างยาก อย่าง SAT เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษของเด็กอเมริกันเพื่อใช้เข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นจะค่อนข้างออกลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการอ่าน สมควรที่จะต้องศึกษาข้อสอบและทำโจทย์เยอะๆค่ะ

         ถ้าหากนำการเตรียมตัวสอบภาคอินเตอร์ซึ่งมีแนวโน้มข้อสอบที่ยากกว่าภาคไทยเป็นหลัก ครูพี่กิ๊บก็จะขอแนะนำการเตรียมตัวสอบโดยจำแนกตามข้อสอบดังนี้นะคะ

1. เลือกสอบ CU-TEP หรือ TU-GET สิ่งที่ต้องเตรียมเลยทั้ง 2 ข้อสอบคือ Grammar (error identification), Reading Comprehension, และ Vocabulary ค่ะ สามารถอ่านควบคู่กันไปกับการเตรียมสอบภาคปกติได้เลย แต่อาจต้องตะลุยโจทย์หรือ passage ที่มีความยาวมากกว่าปกติสักนิด เพราะอย่างที่บอกข้อสอบ Eng ภาคอินเตอร์จะยากกว่าประมาณ 20-30% และการสอบ CU-TEP อาจจะมีความพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีกนิดคือมี listening ด้วย เป็น short-longer conversation และมี lecture สั้นๆ แต่ไม่ยากมากค่ะ

2. เลือกสอบ IELTS หรือ TOEFL ทั้ง 2 ข้อสอบนี้ไม่มี grammar มีแต่ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน การสอบ IELTS อาจจะดีกว่าเพราะข้อสอบไม่ซับซ้อนเท่า TOEFL ค่ะ หลายๆคนอาจคิดว่าข้อสอบประเภทนี้ยาก แต่ความจริงแล้วหากเข้าใจข้อสอบจะพบว่ามี pattern ของการทำข้อสอบอยู่ เช่นในส่วน speaking หรือ writing น้องต้องรู้ก่อนว่าคนตรวจข้อสอบอยากให้เราพูดหรือเขียนอย่างไร ให้เหตุผลแบบไหน เมื่อรู้ pattern ตรงนี้แล้ว เอา pattern นี้ไปซ้อมก่อนสอบบ่อยๆก็จะทำให้ทำได้ดีและทันเวลาโดยอัตโนมัติ เรียกว่ารู้เขารู้เรามีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ


5 ทักษะสำคัญที่นักเรียนเตรียมสอบควรมี! สู่เป้าหมายหลัก "นานาชาติ"

1. รู้จักตัวเอง  
         เราต้องเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเองในการทำข้อสอบ ต้องรู้ว่าเราเก่งทักษะไหน อย่ามองว่าค่าสอบ CU-TEP ถูกกว่า IELTS เลยจะสอบ CU-TEP ต้องดูว่าเราเก่ง grammar หรือฟัง พูด อ่าน เขียนหรือไม่นะคะ ไม่งั้นจะเสียเงินค่าสอบฟรีและเสียหลายรอบด้วย  อีกสิ่งหนึ่งถ้าน้องรู้จักตัวเองว่าต้องการเรียนคณะสายวิทย์หรือศิลป์จะเป็นการประหยัดเวลาและพลังงานในการเตรียมตัวมาก เพราะจะได้เลือกสอบแค่วิชาที่จำเป็นเท่านั้น

2. เตรียมตัวก่อนได้เปรียบกว่า
         ถ้าน้องรู้ตัวไวว่าอยากสอบเข้าภาคอินเตอร์ด้วย โอกาสก็จะเยอะกว่า เวลาแก้ตัวเยอะกว่า สอบได้หลายรอบกว่า ยิ่งเตรียมตั้งแต่ ม.3-ม.4 ทางเลือกก็จะยิ่งมากกว่ามารู้ตัวตอนอยู่ ม.6 แล้ว

3. เข้าใจความหมายของคำว่า “Standardized Test”
         บางคนเข้าใจผิดคิดว่าการสอบในภาคอินเตอร์ยากกว่าภาคปกติ จริงๆแล้วข้อสอบภาคอินเตอร์ทั้งหมดจัดอยู่ในประเภท Standardized Test แปลว่าข้อสอบไม่ยากมากแต่เวลาน้อย ซึ่งเวลาทำข้อสอบจะต้องรู้ pattern การทำ รู้ว่าคนออกข้อสอบต้องการให้เราตอบแบบไหนจะทำให้ตอบได้ตรง ประหยัดเวลามากในห้องสอบ และที่สำคัญทำแบบ speed test  คืออ่านแค่นิดเดียว จับ keyword แล้วตอบได้เลย

4. ฝึกทำข้อสอบ Simulation Test
         หลักการอีกอย่างของการทำ Standardized Test ให้ได้คะแนนดีก็คือการฝึกทำข้อสอบเสมือนจริงที่บ้าน ต้องตั้งนาฬิกาจับเวลาแล้วนั่งต่อเนื่องให้ได้เหมือนข้อสอบจริงๆ เพราะอย่างที่ครูพี่กิ๊บบอกว่ามันเป็น Standardized Test ข้อสอบไม่ยากมากแต่ใช้เวลาน้อย ถ้าน้องไม่ฝึกแบบจับเวลา  เวลาทำจริงน้องจะทำข้อสอบไม่ทัน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในห้องสอบคือ
“ต้องทำให้ทันเวลา”
 
5. มีผู้ช่วยที่ดีในการฝึกฝน

         บางทักษะเราต้องการผู้ช่วย ไม่สามารถฝึกเองได้ เพราะต้องการ comment ช่วยแก้ไขข้อผิด เช่น การเขียน essay ทั้งใน IELTS หรือการสอบตรงกับมหาวิทยาลัยหลังจากยื่นคะแนนแล้วควรมีคนที่ตรวจให้น้องได้ หรือการสอบ speaking ถ้าได้พูดบ่อยๆหรือให้คนที่มีความสามารถทางภาษามาช่วยเราฟังด้วยจะเป็นการดีมากค่ะ

         สุดท้ายนี้ครูพี่กิ๊บก็ขออวยพรให้น้องๆชาว Dek-D ทุกคนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันไว้ได้ทุกคนนะคะทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์  ขอให้ตั้งมั่น แรงที่มีต้องลงเต็มที่ ทางเข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล และมหาวิทยาลัยรัฐอื่นๆรอน้องๆอยู่  สุดท้ายแล้วไม่มีอะไรยากเกินไปถ้าเราพยายามค่ะ อยากให้น้องมาเรียนอินเตอร์กันเยอะๆ เพราะว่าเราจะเข้าสู่ AEC กันแล้ว ถ้าไม่เตรียมตัววันนี้จะไม่ทันประเทศอื่นๆใน ASEAN กันนะ


 
         จบคลาสเรียนวันนี้แล้วน้องๆคงได้รับทั้งความรู้และแนวทางในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ไปแบบเต็มอิ่มกันเลยนะคะ สำหรับวันนี้พี่เมก้าก็ต้องขอขอบพระคุณครูพี่กิ๊บมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
 
พี่เมก้า
พี่เมก้า - Columnist นักข่าวสายการศึกษา ที่มีความสุขกับการแต่งฟิค อ่านฟิค เพ้อถึงยัมมี่ฟู้ดไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

5 ความคิดเห็น

มัณทนา [Red Devil] Member 8 ธ.ค. 58 16:15 น. 1

เราเคยลงสนามสอบ CU-TEP มาแล้วหนึ่งรอบ

ขาดอีก 5 คะแนนก็จะได้คะแนนตามเป้าหมายไว้ที่ 46 คะแนน

(เผื่อยื่นคะแนนตอนสมัครเรียนปริญญาโทที่จุฬาฯ)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
ขวัญใจบล๊อกเกอร์ 9 ธ.ค. 58 01:52 น. 4
ข้อสอบ TOEFL ไม่มีแกรมม่า ไม่จริงนะคะ พาร์ท writing expression นั่น แกรมม่าล้วนนะคะ Ielts ที่บอกว่าไม่มีแกรมม่าก็มีนะคะ แอบมีใน reading เวลาที่เขาบอกว่า write no more than three words ถ้าเขียนผิดก็ผิดนะคะ คนที่หนีโทเฟลมาสอบไอเอลเพราะเลี่ยงแกรมม่า ก็จะมาเจอข้อสอบ reading ของโทเฟลที่ยาว และยาก และใช้เวลามากกว่า toefl อีก ส่วน writing 2 แผนที่แนะให้จำคือ standard 5 paragraph essay กับ argument essay เลขมิวอิก ชิวๆมาจ๊ะ นานาชาติสอบติดเต็ม อีพีรัฐบาลก็มาจ๊ะ #เพราะสอบติดอินเตอร์ไม่ใช่แค่มีตังต้องเอาทักษะมาด้วยนะคะ #สี่ปีที่แล้วสอบมาครบยื่นมิวอิกติดพีซี สู้ๆนะจ๊ะ เยี่ยมเยี่ยม
0
กำลังโหลด
เด็กนอก 3 มี.ค. 60 15:25 น. 5

ทำไมใครๆอยากเข้า จู๋รา กันจังนะ ไม่เห็นจะมีอะไรดีเลย ชื่อเสียงก็ห่วย แถมเก่าเต่าล้านปีอีก university ที่ติด top 100 โลก มีทั้งใน US UK Australia NZ Singapore Korea China Japan ไม่รู้จักไปเรียนกัน เราจะไปเรียนปอตรีที่ UK ไม่เคยเหลียวดู ยูกากๆทั้งหมดในเมืองไทยเลย เพราะ University of Bristol ที่เราจะไปเรียน แม้จะไม่ดังเท่า Oxbridge แต่ยังติด top 50 โลก จาก QS ranking ซึ่ง จู๋รา หรือ ทาม- ไม่ติดแม้ top 100 โลก แหวะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด