สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com .... เจอกับ พี่เป้ และ  "Q&A(broad)
อยากเรียนนอกจะบอกให้" ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่รวบ
รวมคำถามเจ๋งๆ โดนๆ เกี่ยวกับ
เรื่องเรียนต่อนอกที่มีคนถามกันบ่อย เอ๊ะ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องอะไรกันดีนะ?

     
    
 ถ้าพูดถึงทุนการศึกษาให้ไปเรียนนอกที่ฮอตที่สุดตอนนี้ คงต้องยกให้ "โครง
การ 1 อำเภอ 1 ทุน"
เลยค่ะ หลายคนตั้ง
หน้าตั้งตารอมาตั้งแต่ปีที่แล้วและตั้งเป้า
ว่าจะต้องสอบติดให้ได้!! เพราะแจกทั้งหมดเกือบ 2 พันทุนเลยทีเดียว ว้าวววว!!
ซึ่งระเบียบการของทุนก็ได้ออกมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม (อ่านได้ที่นี่ คลิก) สิ่งที่
ตามมาก็คือ คำถามข้อสงสัยมากมาย
เกี่ยวกับทุนนี้ ทั้งคำถามที่ถามเพราะอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือแม้แต่คำถามที่มีคำตอบอยู่แล้วในระเบียบการ แต่ก็ยังมีคน
อ่านไม่เข้าใจหรืออ่านไม่ละเอียดเอง = ="  


   
     ไม่เป็นไรค่ะ!! วันนี้ พี่เป้ ลองรวบรวมคำถามยอดฮิตที่มีน้องๆ ถามบ่อยเกี่ยว
กับทุนนี้มาฝากค่ะ เชื่อว่าน่าจะมีประโยชน์
แก่หลายๆ คนแน่นอน






      
     Question # 3 : อยากรู้รายละเอียดของโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
     รุ่นที่ 4 แบบละเอียด
 


ขอบคุณข้อมูลจาก FB GROUP : โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน รุ่นที่ 3 (ODOS III)





Q : โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน คืออะไร?
A : โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นโครงการที่รัฐบาลมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานสลาก
กินแบ่งรัฐบาล เพื่อจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนไทยยากจน ที่เรียนดี มีความประพฤติดี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาทุกอำเภอและกิ่งอำเภอทั่วประเทศ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาชีพของตนเองและครอบครัว ซึ่งเป็นรากฐานต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ และการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของไทยในเวทีโลกและมีความคาดหวังว่านักเรียนทุนเหล่านี้ จะนำความรู้และทักษะที่ได้รับกลับ
มาพัฒนาประเทศต่อไป


Q : ระเบียบการรุ่นที่ 4 ที่เพิ่งออกมาเป็นยังไงบ้าง?
A : สำหรับโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4 จะแบ่งทุนเป็น 2 ประเภทค่ะ
- ทุนประเภทที่ 1 ผู้ที่สมัครได้คือน้องม.6 และต้องมีรายได้น้อย โดยพิจารณา
รายได้จากบิดามารดาร่วมกัน หรือผู้ปกครองที่ให้การอุปการะเลี้ยงดู  ซึ่งรายได้ต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อปีค่ะ พอได้ทุนและเรียนจบแล้วจะต้องกลับมาทำงานในประเทศไทย
และสาขาที่สามารถสมัครได้นั้นมีทั้งด้านวิทย์และศิลป์
- ทุนประเภทที่ 2 ผู้ที่สมัครได้คือน้องม.5-6 ไม่จำกัดรายได้ค่ะ พอได้ทุนและ
เรียนจบแล้วจะต้องกลับมาทำงานในประเทศไทยเหมือนกับทุนประเภทแรก และสาขาที่สามารถสมัครได้มีแค่ด้านวิทย์เท่านั้น


Q : เด็กซิ่วสมัครได้มั้ย?
A : เด็กซิ่วสมัครได้ค่ะ ตามระเบียบการบอกว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2554 สามารถสมัครได้ซึ่งก็หมายถึงน้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ปี 1 ณ ตอนนี้นั่นเอง แก่กว่านี้สมัคร
ไม่ได้นะ! (สมัครได้ทั้งทุน 2 ประเภทเลย)


Q : สายอาชีพ - กศน. ล่ะ มีสิทธิ์สมัครได้มั้ย?
A : สมัครได้ค่ะ ในระเบียบการยังบอกอีกว่า ผู้ที่มีวุฒิเทียบเท่าสายสามัญหรือสายอาชีพก็สมัครได้เหมือนกัน หรือถ้าจบมาแล้ว ก็ต้องมาจบมาแค่ปีเดียวเหมือนเด็กซิ่วของสายสามัญนั่นเอง (แต่กศน.ต้องอายุไม่เกิน 25 ปีนะ)


Q : แล้วในเมื่อเด็กม.5 สมัครทุนประเภทที่ 2 ได้ ต้องรอจบม.6 ก่อนมั้ยถึงจะได้รับทุน?
A : ถูกต้องค่ะ น้องม.5 ที่สมัครทุนประเภท 2 แล้วได้ทุน น้องก็ต้องเรียนที่ไทยให้จบมัธยมปลายก่อน จากนั้นถึงจะได้รับทุนค่ะ เหมือนสอบชิงทุนล่วงหน้านั่นเอง 


Q : เด็กม.6 ที่ยืนยันสิทธิ์รับตรงไปแล้ว จะสามารถสมัครได้มั้ย?
A : สมัครได้ค่ะ หากน้องได้รับทุนนี้ ค่อยไปลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อไปเรียนต่อ
เมืองนอก


Q : ต้องสมัครเขตไหน อิงตามที่อยู่โรงเรียนหรืออิงตามที่อยู่บ้านของเรา?
A : ระเบียบการของปีนี้บอกว่า ผู้สมัครทุนประเภทที่ 1 ให้สมัครโดยยึดตามอำเภอหรือ
เขตของสถานศึกษาของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โดยจะต้องเรียนอยู่ในสถานศึกษานั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีจนถึงวันปิดรับสมัคร ส่วนผู้สมัครทุนประเภทที่ 2 ให้สมัครโดยยึดตามภูมิลำเนาในทะเบียนราษฎร์ โดยต้องมีชื่ออยู่ในอำเภอหรือเขตนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 6
เดือนจนถึงวันปิดรับสมัคร


Q : ระเบียบการบอกใช้เกรดเฉลี่ยสะสม 3.00 ถ้ามีเทอมใดเทอมหนึ่งไม่ถึง 3.00 ได้มั้ย?
A : เกรดเฉลี่ยสะสมคือเอาเกรดทุกเทอมที่มีมารวมแล้วหารจำนวนเทอมค่ะ เช่น เด็ก
ม.6 ตอนนี้จะมีเกรด 5 เทอม สมมติน้องทิฟฟานี่ได้เกรด 3.6 + 3.1 + 2.5 + 2.5 +
4.0 แบบนี้ เท่ากับว่าจะมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.14 เท่ากับว่าน้องทิฟฟานี่สามารถสมัครทุนนี้ได้
*สำหรับเด็กซิ่วทั้งหลายให้ใช้เกรดตอนมัธยมปลาย 6 เทอมนะคะ*



Q : หนังสือรับรองผลการเรียน คืออะไร?
A : หนังสือรับรองผลการเรียนก็คือ ทรานสคริปต์ (ปพ.1) หรือใบที่มีรายละเอียดบอกว่า
เกรดแต่ละวิชาได้เท่าไหร่บ้างนั่นเอง น้องๆ สามารถขอได้จากโรงเรียนค่ะ (ฝ่ายวิชาการหรือฝ่ายทะเบียน)


Q : หนังสือรับรองความประพฤติล่ะ ขอได้จากไหน?
A : คำตอบเหมือนข้างบนค่ะ ขอได้จากโรงเรียนเหมือนกัน สำหรับเด็กซิ่ว น้องๆ ควรโทรสอบถามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จะสมัครว่า ใช้ของมัธยมหรือมหาวิทยาลัย
เพราะแต่ละเขตอาจใช้ไม่เหมือนกันค่ะ


Q : หนังสือรับรองรายได้ของผู้ปกครองจะหาได้จากไหน เป็นยังไง?
A : ง่ายสุดคือใบรับรองเงินเดือนค่ะ (ให้คุณพ่อคุณแม่ไปขอจากบริษัท) แต่ในกรณีที่พ่อแม่ใครไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทและมีรายได้ไม่แน่นอน ในใบสมัครทุนประเภทที่ 1 จะมีหนังสือรับรองรายได้ให้เขียนยืนยันว่ามีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปีจริงๆ โดยผู้ที่จะเซ็นรับรองต้องเป็นบุคคลมีตำแหน่ง เช่น ประธานชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกเทศมนตรี
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น และถ้าใครไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ก็ให้ยึดตามผู้ปกครองที่อุปการะเลี้ยงดูเราค่ะ


Q : อยู่สายศิลป์แต่มีรายได้เกิน 200,000 บาทต่อปี จะสมัครทุนประเภท 2 ได้มั้ย?
A : ตามระเบียบการไม่ได้กำหนดแผนการเรียนผู้สมัครไว้ค่ะ แต่พี่ว่าเด็กสายศิลป์จะสมัครทุนประเภท 2 ซึ่งให้แต่สายวิทย์คงลำบากแน่ๆ ไม่แนะนำอย่างแรง


Q : ใบรับรองแพทย์ ขอได้จากไหน?
A : ขอได้จากโรงพยาบาลค่ะ เดินไปบอกเลยว่าขอใบรับรองแพทย์ ซึ่งก็จะเป็นใบที่รับรองว่าเราไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงติดต่อและมีสุขภาพจิตปกติดี ค่าขอไม่กี่ร้อยค่ะ 


Q : ยื่นใบสมัครที่ไหน?
A : น้องจะต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่โรงเรียนค่ะ ง่ายสุดคือไปหาครูแนะแนว ถ้า
ครูแนะแนวยังไม่รู้เรื่องทุนนี้ ให้พรินต์ระเบียบการไปให้ครูอ่านด้วยค่ะ


Q : ทุนที่ได้ครอบคลุมอะไรบ้าง?
A : แบ่งเป็น 3 ส่วนค่ะ
- ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ละประเทศก็จะไม่เท่ากัน
- ค่าเล่าเรียน ให้จนจบการศึกษา
- ค่าอุปกรณ์การเรียน ให้ปีละครั้ง
น้องๆ สามารถเข้าไปตรวจสอบมูลค่าของทุนได้ที่นี่ คลิก


Q : กำหนดการเป็นยังไงบ้าง?
A : สอบข้อเขียนวันที่ 17 มีนาคม ใกล้ๆ วันสอบจะมีประกาศออกมาว่าจัดสอบที่ไหน
บ้าง จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ในวันที่ 19 เมษายน โดยผู้ที่มีสิทธิ์
สัมภาษณ์คือผู้ที่ได้คะแนนสอบข้อเขียนสูงสุด 3 ลำดับแรกของแต่ละอำเภอ/เขต สอบสัมภาษณ์ในวันที่ 28 เมษายน และประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุน 8 พฤษภาคมค่ะ


Q : ข้อสอบที่ใช้สอบเป็นแบบไหน?
A : เป็นใช้ข้อสอบกลางวัดความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน (Aptitude Test) ได้ยินว่า โดยภาพรวมจะคล้ายๆ ข้อสอบสอบตรงของมศวและธรรมศาสตร์ค่ะ ไม่มีแยกข้อสอบระหว่างสายวิทย์และสายศิลป์
- คณิตศาสตร์ เป็นเลขของสายวิทย์ ยากทีเดียว
- วิทยาศาสตร์ ออกชีววิทยาเยอะที่สุด
- สังคมศึกษา เน้นพื้นฐานหลักการทั่วไป เช่น เศรษฐศาสตร์คืออะไร เงินเฟ้อคือ
อะไร สหภาพยุโรปมีกี่ประเทศ ปีนี้น่าจะเน้นเรื่อง AEC เป็นพิเศษ
- ภาษาอังกฤษ ออกทุกเรื่องที่เรียนตอนมัธยมปลาย ออกกว้างมาก แกรมมาร์เยอะ
(อ้างอิงจากพี่กัน ODOS รุ่น 3 ญี่ปุ่น) คะแนนรวมทุกวิชาต้องเกิน 70% จึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์นะ



Q : สอบสัมภาษณ์จะถามอะไรบ้าง?
A : เป็นคำถามที่เน้นทดสอบปฏิภาณ ไหวพริบ และความรู้รอบตัว เช่น คิดยังไงกับนายกคนปัจจุบัน คิดยังไงกับเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้แนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น


Q : เลือกสาขาหรือประเทศยังไง?
A : คนที่สามารถจะเลือกสาขาและประเทศได้นั้น คือคนที่ได้รับทุนแล้วเท่านั้นค่ะ โดยเรา
สามารถเลือกได้ 3 อันดับ (นึกภาพแอดมิชชั่น) แล้วจะมีการสอบแข่งขันอีกทีว่า
เราจะได้ไปที่ไหน
(พวกยุโรปแถบเยอรมัน ฝรั่งเศส จะแข่งขันสูงนิดนึง) หากใครไม่
อยากไปนอกและอยากเลือกเรียนที่ไทยก็ได้ค่ะ ไปแอดมิชชั่นให้ติด แล้วทางทุนจะดูแล
ค่าใช้จ่ายให้เองค่ะ


Q : แล้วถ้าเลือกไปประเทศที่ใช้ภาษาที่สาม แต่เราพูดภาษานั้นๆ ไม่ได้ล่ะ?
A : ไม่ต้องห่วงค่ะ ปกติทุนนี้จะให้เราเรียนภาษาก่อนด้วย แล้วค่อยเข้าเรียนระดับปริญญาตรี
ตามที่ได้รับทุน หรือแม้แต่บางประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อเมริกา น้องก็จะได้เข้าเรียนที่ prep school หรือโรงเรียนเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามหาวิทยาลัยก่อนด้วยค่ะ


Q : เลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าเรียนยังไง?
A : น้องสามารถเลือกได้เองค่ะ โดยขณะที่น้องไปเรียนภาษาหรือเรียนปรับพื้นฐานอยู่
นั้น น้องต้องสมัครเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนไปด้วยค่ะ รอเค้าตอบรับมา พอเรียน
ภาษาหรือเรียนปรับพื้นฐานจบ ก็ค่อยเข้าเรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยที่สมัคร แต่ถ้ามหาวิทยาลัยไม่ตอบรับมาเลยสักที่ ก็อาจต้องกลับไทยค่ะ .... ขอย้ำว่า ทางโครงการ
ไม่มีเส้นหรือไม่มีวิธีพิเศษวิธีไหนที่จะทำให้น้องได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้
เลยทันที ยังไงก็ต้องสมัครเข้าเรียนเหมือนคนอื่นๆ ค่ะ


Q : พอได้ทุนไปเรียนแล้ว ต้องรักษาเกรดมั้ย?
A : พี่คิดว่ามันเป็นหน้าที่ที่ผู้ได้รับทุนควรจะต้องทำอยู่แล้วค่ะ ไม่ว่าทุนไหน ได้ทุนมา
เรียนฟรีๆ จะมาเรียนแบบไม่ตั้งใจเรียน ไม่ทำเกรดให้ดี มันคงแปลกๆ ไม่สมกับที่ได้ทุนมา


Q : เรียนจบแล้ว ถ้าไม่กลับมาทำงานที่ไทยได้มั้ย?
A : ตามคอนเซ็ปต์ของทุนก็เพื่อส่งเด็กไทยไปเรียนต่อ เพื่อให้นำความรู้กลับมา
พัฒนาประเทศชาติค่ะ เงินทุนที่ใช้ก็คือจากภาษีประชาชนคนไทยทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งที่น้อง
ต้องทำคือกลับมาทำงานที่ไทยนะคะ








พี่เป้ : รบกวนแนะนำตัวแก่น้องๆ ชาว Dek-D ที่สนใจโครงการ ODOS หน่อยค่ะ

พี่พู : พี่ชื่อ "จตุพร ประทีป ณ ถลาง" เป็นนักเรียนทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(One District One Scholarship – ODOS) รุ่นที่หนึ่ง พี่ได้รับทุนจากอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นในสาขาวิศวกรรมการบิน แต่ภายหลังยื่นเรื่องขอเปลี่ยนสาขาเป็นวิศวกรรมซอฟท์แวร์ครับ เรียนจบในปี 2553 แล้วกลับมาประเทศไทยทันที ตอนนี้ก็ทำงานอยู่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีครับ 


พี่เป้ : แรงบันดาลใจให้สมัครทุน ODOS คืออะไรคะ?

พี่พู : แรงบันดาลใจหลักเลยก็คือ จบมัธยมปลายแล้วไม่มีเงินเรียนต่อน่ะครับ(ไฟท์บังคับ แหะๆ) จริงๆ แล้วเรื่องทุนพี่เองก็แทบจะไม่รู้ข่าวเลย จนกระทั่งอาจารย์ประจำชั้นของพี่
ในรุ่นนั้น อาจารย์สมควร ไข่แก้ว เอาข้อมูลมาบอกน่ะครับ บอกไม่บอกเปล่า พรินต์
ระเบียบการมาให้ ให้เงินไปถ่ายรูปติดใบสมัคร แถมให้ยืมรถมอเตอร์ไซค์แว้นไปส่งใบสมัครอีกด้วยครับพระคุณครูนี้ไม่มีลืมครับ


พี่เป้ : สาเหตุที่เลือกไปประเทศญี่ปุ่นล่ะคะ?

พี่พู : พี่มีคำตอบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการนะครับ คำตอบทางการก่อน ในสาขา
ที่เลือกเรียนครั้งแรกคือวิศวกรรมการบิน ระเบียบการตอนนั้นมีประเทศให้เลือก 5 ประเทศ
ครับ เป็นยุโรปซะ 4 ประเทศ และมีญี่ปุ่นเป็นเอเชียเพียงประเทศเดียว พี่เลือกประเทศที่วัฒนธรรมใกล้เคียง และดูเหมือนจะใกล้ชิดกับเราที่สุดมาเป็นอันดับแรกครับ

ส่วนคำตอบแบบไม่เป็นทางการ พี่ตอบให้ใครฟังนี่ ใครๆ ก็ขำนะครับ ตอบแบบบ้านๆ
ก็ประมาณว่า บ้านเราทานข้าวเป็นอาหารหลัก ญี่ปุ่นก็ทานข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าเลือกไป
ยุโรปพี่ก็ทานขนมปังเป็นอาหารหลักไม่เป็นไงครับ กองทัพต้องเดินด้วยท้องครับ ในสภาพแวดล้อมที่การปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็น พี่ว่าอาหารก็เป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะหาได้
ในตอนนั้นนะครับ อย่างน้อยเรียนไม่รู้เรื่อง เครียดกลับหอมา เรามีข้าวกิน ทำกับข้าวง่ายๆ
กินเอง ก็ช่วยผ่อนคลายได้เยอะนะครับ (เห็นแก่กินเนอะ)



พี่เป้ : น้องๆ หลายคนสงสัยเรื่องการเตรียมตัวสอบ อยากให้รุ่นพี่ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

พี่พู : จริงๆ แล้วเรื่องข้อสอบพี่เองคงบอกอะไรมากไม่ได้ จากรุ่นแรกซึ่งยังใช้หลักสูตรการ
ศึกษาแบบเก่ามาจนรุ่น 2-3 ที่ใช้หลักสูตรใหม่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขอแสดงความเห็นว่า
ตัวข้อสอบมันเป็นตัวชี้วัดความสามารถทางด้านวิชาการของน้อง ว่าอยู่ในระดับไหน เพราะฉะนั้นถ้าเราตั้งใจเรียนในห้องเรียน ฝึกทำข้อสอบทั่วๆ ไปบ่อยๆ ให้ครอบคลุมทุกๆ เนื้อหาที่เรียนมา พี่ว่ามันก็ไม่น่าจะเกินความสามารถของน้องๆ ทุกคนที่มีเกรดเฉลี่ยเกิน 3.00  
ทุกคนหรอกครับ

โอกาสเป็นของคนที่พร้อมที่สุด ไม่ใช่เก่งที่สุดครับ คนเก่งไม่ใช่คนที่พร้อมเสมอไป เรา
อาศัยความชำนาญในการแก้ไขปัญหา พี่ว่าช่วยได้เยอะนะครับ อย่างน้อยมันก็เรียบเรียงขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในแต่ละโจทย์ได้เร็วขึ้นล่ะ


พี่เป้ : สิ่งที่ได้จากการเป็นนักเรียนทุน ODOS

พี่พู : คำถามดูเหมือนง่ายๆ นะครับ แต่ตอบยากมาก เพราะให้มาเยอะแยะจนไม่รู้จะเอา
อะไรมาตอบจริงๆ มีเงินเรียนมหาลัยได้ก็เพราะทุนโอดอส ได้ไปเรียนรู้ฝึกใช้ชีวิตในต่างประเทศก็เพราะทุนโอดอส เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น ได้รับรู้ รู้สึกแนวคิดใหม่ๆ แปลกๆ ไม่เคยเจอ เพราะการได้ไปต่างประเทศ เรียนจบมีงานดีๆ ทำ ก็เพราะความรู้ที่ได้จากการเรียน
ความเข้าใจในข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม และสถานะอดีตนักเรียนทุน ทุกวันนี้จึงเป็นเสาหลักของบ้าน หารายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้
ก็เพราะมีงานดีๆ ทำทุกสิ่งมันก็เกี่ยวข้องเชื่อมโยง
กันมาเป็นทอดๆ แบบนี้ล่ะครับ ถ้าให้สรุปแล้ว ขอสรุปเป็นประโยคเดียวว่า “ทุนนี้ได้ให้ ‘โอกาสสำคัญ’ แก่ (อดีต)เด็กมัธยมปลายคนหนึ่ง ที่ไม่มีเงินจะเรียนต่อ และไม่รู้ว่าถ้าไม่
ได้รับโอกาสนี้ จะมีปัญญาได้เห็นใบปริญญากับเค้าบ้างหรือเปล่า”


พี่เป้ : อยากจะแนะนำอะไรน้องๆ เกี่ยวกับทุนนี้บ้างคะ

พี่พู : การที่ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันมาเร็วไปเร็ว ทำให้น้องๆ ลืมเรื่องสำคัญอะไรไปบ้าง
หรือเปล่า? พี่ว่า “การสืบค้นข้อมูลด้วยตัวเอง” มันเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากอีกแล้วครับ
การเรียนรู้ที่ดีคือการศึกษาด้วยตัวเองครับ พยายามอ่านระเบียบการของทุนให้ถึงที่สุดก่อน
ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ แล้วจึงถาม พี่ๆ พร้อมช่วยตอบในสิ่งที่น้องๆ หลายคนไม่เข้าใจอยู่แล้ว 


พี่เป้ : ฝากถึงน้องๆ ว่าที่นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ 4 

พี่พู : สำหรับการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะในต่างประเทศหรือในประเทศก็ตาม เรายังต้องเจอคนอีกมากมายหลายประเภทครับ เราคิดว่าเพื่อนสมัยมัธยมเราเองก็เยอะ มีหลายแบบแล้ว เมื่อ
ออกมานอกสังคมโรงเรียน เข้าสู่มหาวิทยาลัย เราก็จะเห็นอะไรๆ อีกหลายๆ อย่างครับ
ค่านิยม แนวคิด และวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทำให้การแสดงออกทางด้านคำพูด หรือพฤติกรรม
ก็ต่างกันครับ
ความแตกต่างพวกนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งเราต้องเรียนรู้ที่จะ
แยกแยะ ยอมรับและอยู่ร่วมกันให้ได้

ในการใช้ชีวิตในต่างประเทศ เราเจอทั้งคนนิสัยดีและนิสัยเสีย ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศนั้นๆ หรือคนชาติอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศนั้น กฏข้อแรกของการอยู่ร่วมกันสำหรับพี่เลยก็คือ “การไม่เหมารวม” เจอคนนิสัยไม่ดี ให้มองที่ตัวคนนั้นอย่ามองเค้าที่เชื้อชาติครับ เพราะเราจะสร้างกำแพงขึ้นมาเมื่อเจอกับคนสัญชาตินั้นอีกคนหนึ่ง ซึ่งเค้าอาจจะเป็นคนนิสัยดีก็ได้ อย่าลืมว่าคนไทยเราเองนิสัยไม่ดีก็มีเยอะครับ

อยากฝากไว้จริงๆ เรื่องนี้อีกเรื่องคือ ในฐานะนักเรียนทุนแล้ว การเรียนเป็นหน้าที่หลักก็จริง
อยู่ แต่อย่าลืมกิจกรรมนอกเวลาเรียนครับ เรามีเวลามากมายในแต่ละวัน แบ่งใช้ให้ถูกวิธี
แบ่งเวลาสำหรับทบทวนบทเรียน สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ จะเป็นการเดินสำรวจเมืองรอบๆ บริเวณที่พักบ้างก็ได้
สำรวจไปเรื่อยๆ บางทีเราอาจจะเจอร้านขายของชำที่ถูกกว่าร้าน
ที่เราซื้อประจำ อาจจะเจอร้านอาหารอร่อยๆ เล็กๆ ในตรอกที่ไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน หรือ
บางครั้งก็เจอคนไทยที่อาศัยในต่างแดนมานาน ฯลฯ ไปต่างประเทศทั้งทีใช้ชีวิตเหมือนๆ
กันทุกวันมันน่าเบื่อจะตาย จริงมั้ยครับ? ด้วยรักและห่วงใย ODOS รุ่นที่หนึ่งครับ


 


     เป็นยังไงบ้างคะ ได้ทราบรายละเอียดแบบเจาะลึกครบถ้วน แถมยังมีข้อ
แนะนำจากรุ่นพี่มาฝากกันแบบนี้ ใครที่คิดจะสมัครทุนก็คงเข้าใจแจ่มแจ้งกันแล้ว
เนาะ! ยังไงขอให้คนที่ตั้งใจจริงๆ โชคดี และอย่าลืมนำความรู้กลับมาช่วยพัฒนา
ประเทศของเรานะคะ สู้ๆๆ

      ส่วนใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนนอก ก็สามารถส่งคำถามมาได้เลยค่ะที่
pay@dek-d.com หรือจะโพสท์ถามที่ www.dek-d.com/studyabroad ก็ได้
แล้ว
พี่เป้ จะหาคำตอบมาให้แน่นอน!


ย้อนอ่าน Q&A(broad) ตอนที่ผ่านมา


Q&A รายชื่อมหา'ลัยที่ให้เรียนฟรี!! ณ นอร์เวย์-ฟินแลนด์



Q&A มาดู!! งานรับปริญญาในอเมริกา-อังกฤษ เหมือนต่างจากไทยมั้ย?

เด็กดีดอทคอม :: 28 วันใน
TWITTER @PAYDEKD

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

[ PaY ~ เป้ ] Member 5 ก.พ. 56 13:51 น. 18
คหสิบเจ็ด น้องลองคิดภาพตามพี่นะคะ พี่ได้อธิบายไปแล้วข้างบน(ไม่รู้น้องได้อ่านมั้ย)ว่า

ถึงได้ทุนนี้ น้องก็ต้องไปสมัครเข้าเรียนมหาลัยในเมืองนอกเอง(โดยทุนจะดูแลค่าใช้จ่ายให้หากส
มัครเข้าเรียนได้สำเร็จ)

ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้สมัครทุนนี้ เช่น ใครก็ได้ถ้าอยากเข้ามหาลัยในเมืองนอก ก็ต้องไปสมัครเรียนเองเหมือนกัน และจ่ายเงินค่าเรียนเอง

ดังนั้นถ้าทุนนี้ไม่ออกค่าใช้จ่ายให้ แล้วน้องจะสมัครทุนนี้ไปทำไมคะ? เพราะไม่งั้นน้องก็ต้องไปสมัครเรียนเองและเสียเงินเองเหมือนกันใช่มั้ยคะ??? 


0
กำลังโหลด

80 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Lezporn Member 4 ก.พ. 56 19:19 น. 6
ขอถามหน่อยนะค่ะ
คือว่าผู้ที่สมัครทุนที่สองถ้าโรงเรียนกับที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน อยู่กันคนละอำเภอ(คนละจังหวัดด้วยค่ะ)ก็ให้โรงเรียนเป็นคนส่งให้ หรือเราจะต้องไปยืนเองค่ะ

0
กำลังโหลด
Fah 4 ก.พ. 56 20:26 น. 7
พี่คะถ้าสอบทุนodos แล้วก็ติดแพทย์รังสิตด้วย แล้วจะสามารถเรียนที่นี่โดยใช้ทุนodosจ่ายค่าเรียนให้ได้มั้ยคะ
0
กำลังโหลด
[ PaY ~ เป้ ] Member 4 ก.พ. 56 20:29 น. 8
คหหก ตามที่พี่เข้าใจคือให้ทางรรเป็นคนดำเนินการก่อนค่ะ ได้ยินน้องๆบางคนบอกว่าบางรรไม่ส่งให้ เราก็ไปส่งเองที่สำนักงานเขตการศึกษาเลยค่ะ

คหเจ็ด ถ้ามอรัฐไม่มีปัญหาค่ะ เอกชนเหมือนจะพิจารณาเป็นรายๆไป
0
กำลังโหลด
Techer Member 4 ก.พ. 56 20:37 น. 9
คือ อยู่ม.5 ค่ะ อยากขอคำแนะนำจากพี่ ค่ะ ว่าควรจะสมัครทุนนี้ไว้ล่วงหน้า หรือสมัคร ปีหน้าเลย ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กาลครั้งหนึ่งนานมาเเล้ว Member 4 ก.พ. 56 21:03 น. 11
วันนี้อาจารย์ที่โรงเรียนก็มาประชาสัมพันธ์เหมือนกัน เเต่ยังไม่รู้รายละเอียดที่เเน่ชัด ขอบคุณมากๆคะ
0
กำลังโหลด
Duarkk 4 ก.พ. 56 21:07 น. 12
ถ้าคณิตเป็นของสายวิทย์ แล้วสายศิลป์กับกศน.จะสอบไงอ่ะคะ .___.

แล้วถ้าในอำเภอนั้นๆ ไม่มีใครผ่านข้อเขียนล่ะคะ??
หรอว่าอาจจะไม่ผ่านสักวิชา สองวิชา จะถือว่าอำเภอนั้นไม่มีใครได้ทุนใช่มั้ยคะ??
0
กำลังโหลด
Mr.AmunG 4 ก.พ. 56 21:24 น. 13
อริยสัจ 4 เท่านั้น ถึงจะถึงจุดนั้น จะทำให้ดีที่สุด เลิกเล่นตั้งหน้าตั้งตาทำ ตามความฝัน ไม่มีชัยชนะใด เท่าชนะใจตัวเอง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เซนจู ยุยเร็น 4 ก.พ. 56 23:35 น. 16
ถ้าอำเภอตามสำเนาทะเบียนบ้านอยู่ต่างอำเภอ
แต่เรียนในอำเภอนี่ ถือว่าสอบของเขตไหนคะ ?
0
กำลังโหลด
Sunday 5 ก.พ. 56 12:55 น. 17
ขอถามเรื่องทุนประเภทสองหน่อยนะคะ

ทุนประเภทนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนเองรึเปล่าคะ
คือทางรัฐบาลแค่จัดการเรื่องการสอบให้หรือยังไง?
พอดีมีเพื่อนบอกว่า ทุนประเภทสองเป็นทุนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองน่ะค่ะ เลยไม่แน่ใจ

รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ :)
0
กำลังโหลด
[ PaY ~ เป้ ] Member 5 ก.พ. 56 13:51 น. 18
คหสิบเจ็ด น้องลองคิดภาพตามพี่นะคะ พี่ได้อธิบายไปแล้วข้างบน(ไม่รู้น้องได้อ่านมั้ย)ว่า

ถึงได้ทุนนี้ น้องก็ต้องไปสมัครเข้าเรียนมหาลัยในเมืองนอกเอง(โดยทุนจะดูแลค่าใช้จ่ายให้หากส
มัครเข้าเรียนได้สำเร็จ)

ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้สมัครทุนนี้ เช่น ใครก็ได้ถ้าอยากเข้ามหาลัยในเมืองนอก ก็ต้องไปสมัครเรียนเองเหมือนกัน และจ่ายเงินค่าเรียนเอง

ดังนั้นถ้าทุนนี้ไม่ออกค่าใช้จ่ายให้ แล้วน้องจะสมัครทุนนี้ไปทำไมคะ? เพราะไม่งั้นน้องก็ต้องไปสมัครเรียนเองและเสียเงินเองเหมือนกันใช่มั้ยคะ??? 


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด