ย้อนรอย 10 ภูเขาไฟระเบิดรอบโลก!! ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

     
            สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่โชคดี เพราะไม่ค่อยเจอภัยพิบัติธรรมชาติที่ร้ายแรง โดยเฉพาะภูเขาไฟระเบิด ซึ่งเพื่อนบ้านอาเซียนของเราทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดนพิษของภูเขาไฟระเบิดเล่นงานหนักหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงหลายประเทศทั่วโลกก็ไม่สามารถหนีภัยพิบัตินี้ไปได้

          ภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกมาตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก ถ้าแรงดันไม่มากก็จะมีหินหนืดปะทุไหลออกจากปล่องภูเขาไฟ แต่ถ้ามีแรงดันมาก ก็จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง นึกภาพตามว่าจะมีเศษหิน ไฟ เดือดพุ่งออกจากปากปล่องภูเขาไฟไม่มีหยุด ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเปลวเพลิงสีแดงและเถ้าถ่านสีดำคลุ้งไปทั่วท้องฟ้า
 

 

           ซึ่งในปัจจุบันทั่วทั้งโลกยังมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่อีกหลายลูกเลยค่ะ บางลูกปะทุมานับไม่ถ้วนก็ยังไม่สงบซักที ที่ผ่านมาทั่วโลกก็ยังคงมีข่าวภูเขาไฟระเบิดอยู่บ้างประปราย รุนแรงบ้าง ไม่รุนแรงบ้าง ซึ่งความรุนแรงของภูเขาไฟระเบิด หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีการกำหนดค่าความรุนแรงเอาไว้คล้ายกับมาตรวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งนักธรณีวิทยากำหนดค่าชี้วัดระดับความรุนแรงของภูเขาไฟว่า Volcano Explosivity Index (VEI) มีสเกลตั้งแต่ 0-8 ยิ่งตัวเลขสูงแสดงว่ายิ่งรุนแรงค่ะ ตามไปดูเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดรุนแรงที่รวบรวมไว้ 10 แห่ง ดังนี้
 
     10. Huaynaputina, Peru  ปี ค.ศ.1600  (VEI 6)
 

 

           การระเบิดของภูเขาไฟลูกนี้มีการปะทุรุนแรงที่สุดในอเมริกาใต้เลยก็ว่าได้ การปะทุทำให้เกิดฝุ่นควันฟุ้งไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกกว่า 120 กิโลเมตร และเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกเลย เนื่องจากฝุ่นควันที่พุ่งไปชั้นบรรยากาศ ทำให้ไปสกัดกั้นแสงอาทิตย์ที่จะส่องมายังโลก ทำให้บางพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นขึ้น ซึ่งถือว่าหนาวสุดในรอบ 500 ปี รวมถึงยังก่อให้เกิดมลพิษตามมาอีกมากมาย บรรดาเถ้าถ่านที่เกิดจากการระเบิดก็ปกคลุมไปทั่วพื้นที่ทางตะวันตกของภูเขา
            เท่าที่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมมายังพบว่า หลังจากที่ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุขึ้น อีกไม่กี่ปีถัดมาก็เริ่มมีเหตุการณ์ทางธรรมชาติแปลกๆ เกิดขึ้นรอบโลก เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ลัตเวีย เอสโทเนีย มีสภาพอากาศเลวร้ายจากภัยหนาวเหน็บในปี 1600-1602 ประเทศรัสเซียขาดอาหารอย่างรุนแรง ส่วนในเอเชีย หลายประเทศก็เจอปัญหาต้นไม้ พืชพรรณต่างๆ เติบโตช้ากว่าปกติ
 
    9. Krakatoa, Sunda Strait, Indonesia ปี ค.ศ.1883 (VEI 6)
 

 

           เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย เพื่อนบ้านเรานี่เอง ภูเขาไฟกรากะตัว เป็นชื่อภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงมากๆ ในอินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดหลายครั้ง แต่ก็เป็นระเบิดครั้งเล็กๆ ไม่ได้รุนแรงอะไร แต่ในปี 1883 เคยก่อให้เกิดหายนะครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เริ่มต้นจากเดือน พ.ค. เริ่มมีการระเบิด เถ้าถ่าน เศษหินพวยพุ่งขึ้นจนเหมือนเป็นสัญญาณว่าจะเกิดเรื่องใหญ่ตามมา
            จนกระทั่งเดือน ส.ค. การระเบิดครั้งใหญ่ได้เริ่มขึ้นยาวข้ามวัน เถ้าภูเขาไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศถึง 80 กิโลเมตร เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เศษหินดินระเบิดกระจัดกระจายข้ามไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยรอบรัศมีถึง 750,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากควันและเถ้าถ่ายที่คลุมอากาศจนมืดทึมแล้ว ระเบิดยังทำให้เกิดสึนามิสูงถึง 40 เมตร คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 34,000 คนเลยทีเดียว น่ากลัวมากๆ

    8. Santa Maria Volcano, Guatemala ปี ค.ศ.1902 (VEI 6)
 

 

           การปะทุของภูเขาไฟ The Santa Maria Volcano เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่ภูเขาไฟลูกนี้เงียบมากว่า 500 ปี การระเบิดทำให้เกิดเถ้าถ่านแพร่กระจายออกจากปากปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่ หลังจาก 1902 ก็ยังเกิดเหตุการณ์ปะทุอยู่เรื่อยๆ เช่น ในปี 1922 ก็เกิดการระเบิดขึ้นอีกครั้ง และ ปี 1929 ซานตามาเรีย เกิดภูเขาไฟปะทุ ลาวาจากภูเขาไฟไหลลงมาอย่างรวดเร็ว คาดว่าอาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 5,000 คน
 
    7. Novarupta, Alaska Peninsula June 1912 (VEI 6)
 

 

           ภูเขาไฟโนวารัปตา ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Katmai National Monument เป็นภูเขาไฟที่มีพลังและปะทุรุนแรงที่สุดในศตวรรษที่ 20 เกิดขึ้นเมื่อ 6 มิ.ย. ค.ศ. 1912 รุนแรงขนาดที่ว่า คนที่อยู่ใน Juneau, Alaska ซึ่งอยู่ห่างจากภูเขาไฟลูกนี้ 750 ไมล์ ยังได้ยินเสียงระเบิดเป็นเวลานับชั่วโมง ก่อนภูเขาไฟระเบิดนั้นไม่มีใครรู้ล่วงหน้า ไม่มีเหตุการณ์แจ้งเตือนอะไรมาก่อนเลย
          จนกระทั่งเกิดระเบิดขึ้น เกิดเป็นกลุ่มควัน เมฆเถ้าถ่านขนาดใหญ่ขึ้นสู่ท้องฟ้า 60 ชั่วโมงถัดมา บรรดาขี้เถ้าและก๊าซที่เกิดขึ้นจากการปะทุก็พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ท้ายที่สุด กว่าการระเบิดจะเงียบสงบลง ก็มีพื้นที่เสียหายไปกว่า 30 ลูกบาศก์กิโลเมตรเลยทีเดียว
 
    6. Mount Pinatubo, Luzon, Philippines  (VEI 6)
 

 

          ภูเขาไฟปินาตูโบ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เกิดการปะทุรุนแรงเมื่อปี 1991 ระเบิดพวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสูงถึง 22 ไมล์ (35 กิโลเมตร) ปริมาตรมากกว่า 1 ลูกบาศก์ไมล์ พื้นที่โดยรอบ 20 กิโลเมตรรับรู้ถึงแรงระเบิดและถูกปกคลุมด้วยเถ้าจากภูเขาไฟจนมืดสนิททันที บ้านเรือนและอาคารหลายหลังถล่มลงมาเพราะต้องรับน้ำหนักเถ้าและหินที่ทับถม
          ระเบิดครั้งนั้นยังส่งผลรุนแรงในเรื่องของมลพิษทางอากาศ เพราะเกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และก๊าซชนิดอื่นๆ กว่า 20 ล้านตัน แพร่กระจายออกไปทั่วโลก ซึ่งคาดว่าได้ปกคลุมและหมุนรอบโลกไปอีกถึง 5 ปี และทำให้อุณหภูมิโลกลดลงไปประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสในปีถัดมา
          ความเสียหายของภูเขาไฟระเบิดครั้งนี้ นอกจากเรื่องสภาพอากาศต่างๆ แล้ว พื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรเสียหายเกือบ 1,000 ตารางกิโลเมตรเลยล่ะค่ะ
 
     5. Ambrym Island, Republic of Vanuatu ปี ค.ศ.50 (VEI 6+)
 

 

          เกาะแอมบริม หรือ เกาะภูเขาไฟ ขนาดพื้นที่ 257 ตารางไมล์นี้ เป็นพื้นที่เล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักท่องเที่ยวว่าเป็นทะเลสาบลาวา  ที่ผ่านมาเคยมีการปะทุของภูเขาไฟใหญ่ในประวัติศาสตร์ จนเกิดเถ้าและลาวาไหลลงจากภูเขา เป็นวงกว้างกว่า 7.5 ไมล์
          เกาะแห่งนี้ยังมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอยู่อีกเยอะเลยค่ะ ถ้านับรวมๆ ตั้งแต่ปี 1774 เคยปะทุมาแล้วกว่า 50 ครั้ง มีเหตุการณ์สำคัญๆ หลายอย่าง เช่น ในปี 1894 มีผู้เสียชีวิตจะภูเขาไฟระเบิด 6 คน เสียชีวิตในเพลิงลาวาอีก 4 คน และในปี 1979 เกิดฝนกรดที่มีการกัดกร่อนอย่างรุนแรง
 
     4. Ilopango Volcano, El Salvador ปี ค.ศ.450 (VEI 6+)
 

 

           เอล ซัลวาดอร์ เป็นอีกประเทศที่มีปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดหลายต่อหลายครั้ง ผู้คนมักเรียกเอลซัลวาดอร์ว่าเป็นดินแดนแห่งภูเขาไฟ เพราะมีภูเขาไฟมากกว่า 20 ลูก บางลูกก็ยังคุกรุ่นอยู่ ในประวัติศาสตร์เคยมีการปะทุครั้งใหญ่ จนทั่วภาคกลางและภาคตะวันตกของเอลซัลวาดอร์ถูกปกคลุมไปด้วยหินภูเขาไฟและเถ้าถ่าน เป็นภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ในอเมริกากลาง นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมายาที่อยู่ในพื้นที่ที่ราบสูงในเอลซัลวาดอร์ต้องย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ลุ่มในกัวเตมาลา การระเบิดยังคร่าชีวิตประชาชนไปนับพันราย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน Ilopango กลายเป็นทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟที่สวยงามมากๆ
           อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าเอลซัลวาดอร์ เป็นดินแดนแห่งภูเขาไฟ ล่าสุด ภูเขาไฟคาปาร์ราวติเก (chaparrastique) ในเอลซัลวาดอร์ ก็ระเบิดต้อนรับปีใหม่เมื่อปลายปี 2556  คาปาร์ราสติเกถือเป็นภูเขาไฟลูกหนึ่งที่อันตรายมากในเอลซัลวาดอร์ ซึ่งระเบิดมาแล้ว 26 ครั้งในรอบ 500 ปี แต่ในครั้งนี้ถือว่าโชคดีที่มีการอพยพได้ทัน แต่พื้นที่ก็ได้ความรับเสียหายจากเถ้าถ่านที่ปลิวฟุ้งไปทั่วเมือง

    3. Mt. Thera, Island of Santorini, Greece approx. 1610 B.C. (VEI 7)
 

 

            ธีรา หรือ ซานโตรินี เป็นเมืองบนเกาะทางใต้ของกรีซ ซึ่งเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากๆ เกาะนึงของกรีซ เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงในช่วง 1,610 ปีก่อนคริสตกาล จนทำให้เกิดเกาะขึ้นมา 3 เกาะ คือ santorini, therasia และ aspronisi การระเบิดครั้งนั้นได้ยินไปไกลถึง 3,000 กิโลเมตร เกิดฝุ่น เขม่าและเถ้าควันไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์มหาศาล ซึ่งแน่นอนว่าทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป โดยอุณหภูมิลดต่ำลง ซ้ำความรุนแรงของการระเบิดยังทำให้เกิดสึนามิความสูงกว่า 100 เมตรโถมเข้าฝั่งอีกด้วย ซึ่งเกิดเป็นตำนานขึ้นว่าอารยธรรม Minoan ที่เจริญรุ่งเรืองมากๆ บนเกาะ Crete นั้นต้องล่มสลายลง เพราะถูกแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิกวาดเรียบจมหายไปทั้งเกาะเลยทีเดียว

     2. Changbaishan Volcano, China/ North Korea border ปี ค.ศ. 1000 (VEI 7)
 

 

           ภูเขาไฟฉางไป๋ซาน ตั้งอยู่ที่ประเทศจีน เป็นแพรมแดนระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ ประมาณปี ค.ศ. 1,000 เคยเกิดเหตุภูเขาไฟปะทุรุนแรง ขนาดที่ว่าพวกหินภูเขาไฟกระจายไปถึงทางตอนเหนือของประเทศญี่ปึ่น ซึ่งมีระยะทางประมา 1,200 กิโลเมตร มีหลุมจากการระเบิดขนาดใหญ่เกือบ 3 ไมล์ แต่หลังจากภูเขาไฟเงียบสงบ หินลาวาไหลออกมาจนหมด ปล่องภูเขาไฟก็กลายเป็นแอ่งกะทะ และปัจจุบันกลายเป็นทะเลสาบเทียนฉือ แหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวหลายคนอยากไปเยือน ส่วนพวกหินลาวาที่ไหลออกจากภูเขาไฟก็กลายเป็นภูเขาเรียงรายอยู่รอบๆ ยิ่งทำให้บรรยากาศนั้นดูสวยงามมากยิ่งขึ้น
 
     1. Mt. Tambora, Sumbawa Island, Indonesia ปี ค.ศ.1815 (VEI 7)
 

 

            มาถึงภูเขาไฟที่ระเบิดรุนแรงที่จัดได้ว่าเป็นอันดับ 1 ที่มนุษย์จัดอันดับไว้ก็คือ ภูเขาไฟแทมโบรา ตั้งอยู่บนเกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย การระเบิดเกิดขึ้นเมื่อปี 1815 เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วสารทิศ ดังไปจนถึงเกาะสุมาตรา ที่อยู่ไกลกว่า 1,930 กิโลเมตร และเช่นเคย เมื่อเกิดการระเบิด ก็จะมีหมอกเถ้าถ่านปกคลุมไปทั่วท้องฟ้า อย่างในกรณีนี้กินเวลาไปถึงสองวัน พื้นที่บริเวณนั้นก็อยู่ท่ามกลางความมืดมิด จนกระทั่งเริ่มจางลง น้องๆ อาจจะสงสัยว่าความรุนแรงของแทมโบราที่ถูกจัดไว้อันดับหนึ่งจะรุนแรงขนาดไหน? ก็ไม่เท่าไหร่ค่ะ ก็แค่เทียบเท่ากับระเบิดปรมาณู 60,000 ลูกระเบิดพร้อมกัน แทบจะทำลายล้างโลกได้เลย
           ผลของการระเบิดในครั้งนั้น ก็มีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเหมือนภูเขาไฟระเบิดครั้งอื่นๆ แต่ส่งผลไปทั่วทุกมุมโลก ในยุโรปและอเมริกาเหนือต้องตกอยู่ในสภาพไม่มีแสงแดดในเวลากลางวันเป็นสัปดาห์เลยทีเดียว ในประเทศอังกฤษก็ฝนตกแทบทุกวัน ซึ่งกว่าที่ฝุ่นภูเขาไฟจะจางหายไปต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะตกลงสู่พื้น ส่วนเรื่องความสูญเสียไม่ต้องพูดถึง เพราะมียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 70,000 คนเลยทีเดียว
    


              อ่านไปก็จะร้องไห้ไป ทั้ง 10 เหตุการณ์ เป็นการระเบิดที่ใหญ่และรุนแรงจริงๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกตามมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ส่งผลทำให้ธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ เปลี่ยนแปลงส่งต่อเป็นทอดๆ จนแย่ไปหมด ยิ่งถ้าเป็นแนวภูเขาไฟที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยยิ่งส่งผลกระทบโดยตรง บางทีมันก็ไม่มีอาการแจ้งเตือนว่าจะระเบิด จู่ๆ นึกจะระเบิดก็ระเบิด หนีทันก็รอด หนีไม่รอดก็ตาย
             ซึ่งเราอยู่ประเทศไทยถือว่าเกิดภัยธรรมชาติค่อนข้างน้อยมาก หากได้เปิดหูเปิดตาดูภัยที่เคยเกิดขึ้นกับโลกบ้างก็ช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น... แม้ว่าที่ภัยธรรมชาติบ้างอย่างเราควบคุมไม่ได้ แต่มันก็คงจะดีกว่า ถ้าเราใช้ชีวิตด้วยการไม่ทำลายโลกให้มันย่ำแย่ไปกว่านี้ เพราะบางทีสิ่งที่เราทำอาจจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดภัยธรรมชาติอื่นๆ ได้ค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://goo.gl/Gaf2uY, http://geology.com/novarupta/, http://goo.gl/sxvfOs
www.artsmen.net/content/show.php?Category=mythboard&No=3746
www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/volcano
www.volcanodiscovery.com/ilopango-eruptions.html, http://goo.gl/EL1mrX
www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/volcano
www.livescience.com/30507-volcanoes-biggest-history.html
www.reo11.net/download/news/what_is_Volcano.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Krakatoa, http://imgarcade.com/1/volcano-magma-wallpaper/
www.livescience.com/23508-china-volcano-could-erupt.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Mount_Tambora, http://en.wikipedia.org/wiki/Santorini
http://en.wikipedia.org/wiki/Novarupta, http://en.wikipedia.org/wiki/Ambrym
http://en.wikipedia.org/wiki/Santa_Mar%C3%ADa_(volcano)
http://ballchoot89b.blog.com/2011/11/21/20/
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

wanderer Member 19 มี.ค. 58 09:53 น. 10

เหมือนบทความนี้เขาจะนับจากความเสียหายของพื้นที่โดยรอบที่ถูกทำลาย เเล้วก็ผลกระทบที่มีต่อธรรมชาตินะครับ อย่างเช่นภูมือากาศเปลี่ยนเเปลงเป็นต้น ที่ปอมเปอีดังเพราะว่าเมืองทั้งเมืองถูกเถ้าภูเขาไฟถล่มในช่วงเเรกๆของการปะทุ ที่ผู้คนโดนทำให้เเข็งอยู่อย่างงั้นจนทุกวันนี้ มันเลยทำให้ดูน่ากลัวครับเพราะเราได้เห็นท่าทางของเขาในช่วงเวลาที่ตายพอดี อีกอย่างเพราะเมืองปอมปีอีตั้งอยู่ตีนภูเขาไฟเเล้วโดนถล่มทั้งเมือง (เพราะอยู่ใกล้มาก) เลยทำให้ดูรุนเเรงขึ้นครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

23 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
wanderer Member 19 มี.ค. 58 09:53 น. 10

เหมือนบทความนี้เขาจะนับจากความเสียหายของพื้นที่โดยรอบที่ถูกทำลาย เเล้วก็ผลกระทบที่มีต่อธรรมชาตินะครับ อย่างเช่นภูมือากาศเปลี่ยนเเปลงเป็นต้น ที่ปอมเปอีดังเพราะว่าเมืองทั้งเมืองถูกเถ้าภูเขาไฟถล่มในช่วงเเรกๆของการปะทุ ที่ผู้คนโดนทำให้เเข็งอยู่อย่างงั้นจนทุกวันนี้ มันเลยทำให้ดูน่ากลัวครับเพราะเราได้เห็นท่าทางของเขาในช่วงเวลาที่ตายพอดี อีกอย่างเพราะเมืองปอมปีอีตั้งอยู่ตีนภูเขาไฟเเล้วโดนถล่มทั้งเมือง (เพราะอยู่ใกล้มาก) เลยทำให้ดูรุนเเรงขึ้นครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
จิโระ Member 5 เม.ย. 58 14:16 น. 15

ปอมเปอีนี่โหหหหหหหหเมืองโบราณของผมมมมมมหายไปวิบวับกับลาวาเลยเหมือนมีลูกไฟลูกหินติดไฟอะไรซักอย่างกลิ้งลงมาทับคนตายพร้อมกับการปะทุ

0
กำลังโหลด
จิโระ Member 5 เม.ย. 58 14:16 น. 16

ปอมเปอีนี่โหหหหหหหหเมืองโบราณของผมมมมมมหายไปวิบวับกับลาวาเลยเหมือนมีลูกไฟลูกหินติดไฟอะไรซักอย่างกลิ้งลงมาทับคนตายพร้อมกับการปะทุ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
assadapon25 Member 4 พ.ค. 58 14:44 น. 19

ร้องไห้โอโหดีนะที่เราเกิดก่อนแต่ชวดเราเกิด พ.ศ 2427 เลยทีเดียวคือคือแบบว่าจะโดนไหมเน้อ ประมาณ 1857 อ่ะแหล่ะ เอี่ม ปอมเปอีน่าจะอันดับ 37 เนอะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด