PUMA VS adidas 2 แบรนด์ระดับโลกที่เริ่มต้นจากการแตกหักของพี่น้อง

 
 
Spoil 
  • จุดเริ่มต้นของเจ้าของแบรนด์ยักใหญ่ PUMA และ adidas ใช้ห้องซักรีดของครอบครัวเป็นฐานการผลิตรองเท้า
  • เพราะความขัดแย้งของสองพี่น้อง  จึงแยกทางทำแบรนด์รองเท้าของตัวเอง
  • ความต้องการเป็นที่หนึ่งด้านรองเท้ากีฬา  ทำให้  PUMA  และ  adidas  เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
    _____________________

     
            กว่าจะเป็นรู้จักบนโลกใบนี้ ในหนทางที่เต็มไปด้วยขวากหนาม มันไม่ง่ายเลย แม้แต่แบรนด์ดังที่น้องๆ รู้จักกันทุกวันนี้ หนทางก็ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป วันนี้พี่แท็คท์ได้หยิบเอาเรื่องราวชีวิตเจ้าของแบรนด์รองเท้ากีฬาอย่าง  PUMA และ adidas มาฝากกัน จะน่าสนใจขนาดไหน ตามมาดูกันเลย

 

https://www.facebook.com/PUMA/
https://www.facebook.com/adidasTH/
 
จุดเริ่มต้นของแบรนด์รองเท้าพี่น้องตระกูล Dassler
             สองพี่น้อง Rudolf และ Adolf Dassler  ได้เปิดบริษัทรองเท้าร่วมกันในชื่อแบรนด์ “Gebrüder Dassler Schuhfabrik” ที่เมือง Herzogenaurach ประเทศเยอรมนี  บ้านเกิดของทั้งคู่ โดยจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากห้องซักรีดของครอบครัว
 
             ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีทั้งคู่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์ของตัวเอง โดยในปี 1936 ได้ชวน  Jesse Owens  นักกีฬากรีฑาชาวอเมริกัน ให้ใช้รองเท้าที่ร่วมกันผลิตในการแข่งขันโอลิมปิคปีนั้น Jesse ได้คว้าเหรียญทองถึง 4 เหรียญ ทำให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
 
             ถึงแม้ทุกอย่างกำลังไปได้ดี กลับต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้สัมพันธ์ของทั้งคู่ถึงคราวแตกหัก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โรงงานของทั้งคู่ถูกดัดแปลงให้เป็นโรงผลิตอาวุธ Rudolf ถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารรับใช้ชาติในขณะนั้น หลังจากกลับมาจากการทำสงครามเขาถูกจำคุกหนึ่งปี จุดแตกหักจึงเริ่มขึ้นแม้แต่ลูกหลานของทั้งคู่ก็ยังไม่มีใครทราบเหตุผลที่แน่ชัด บ้างบอกว่า Rudolf หลบหนีและถูกจับกุมระหว่างทาง และ Adolf ได้ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ว่าพี่ชายเป็นเชลย เพื่อให้ตัวเองพ้นผิด บ้างก็บอกว่า Adolf อิจฉาพี่ชายจากปัญหาเรื่องชู้สาว

 

 https://www.instagram.com/puma/?hl=th
 

https://www.instagram.com/adidasoriginals/?hl=th
 
การไม่ยอมแพ้สู่แบรนด์ระดับโลก
             ความต้องการที่จะเป็นที่หนึ่งในด้านรองเท้ากีฬาของทั้งคู่เกิดขึ้นอีกครั้ง ในปี 1948 Rudolf Dassler ได้ตั้งบริษัทในชื่อ “Sportschuhfabrik Rudolf Dassler (RUDA)”  ก่อนจะเปลี่ยนเป็น “PUMA Schuhfabrik Rudolf Dassler” หรือเรียกสั้นๆ  ว่า  PUMA และในปีถัดมา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1949  Adi Dassler  ก็ได้ตั้งบริษัทในชื่อ “Adi Dassler adidas Sportschuhfabrik” เป็นที่รู้จักในชื่อ  adidas
 
             การแข่งขันเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ทั้งคู่เปิดโรงงานคนละฝั่งของแม่น้ำ ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อพนักงานเท่านั้น ยังรวมถึงคนทั้งเมือง Herzogenaurach ถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน  และยังเป็นสปอนเซอร์ทีมฟุตบอลที่เป็นคู่แข่งกันอีก ซึ่งข้อดีของการแข่งขันนี้ทำให้ทั้ง 2 แบรนด์ต่างเร่งพัฒนารองเท้าให้ดียิ่งขึ้นและขยายไปทุกชนิดกีฬาเพื่อเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
 
             หลังจาก Rudolf เสียชีวิต  เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1974 และ Adi เสียชีวิต เมื่อวันที่ 6 กันยายน 1978 ผู้บริหารและพนักงานของทั้ง 2 บริษัท จับมือสมานฉันท์ด้วยการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรในปี 2009 เพื่อยุติศึกสายเลือดที่มีระยะเวลาหลายปี  โดยจะแข่งขันแค่นวัตกรรมและเรื่องของธุรกิจเพียงเท่านั้น

 
              น้องๆ  ลองคิดดูเล่นๆ สิว่า ถ้ามีฝั่งหนึ่งที่ยอมแพ้ไปตั้งแต่แรก  เราทุกคนก็คงไม่มีรองเท้าดีๆ ให้ใส่จนถึงทุกวันนี้  และถ้าน้องๆ ชาว Dek-D คนไหนมีความฝัน อย่าละทิ้งความพยายาม สักวันก็จะประสบความสำเร็จได้เอง  พี่แท็คท์เป็นกำลังใจให้ สุดท้ายนี้อย่าลืมคอมเมนต์พูดคุยกันได้นะ
 
ที่มา 
https://www.businessinsider.com/
https://about.puma.com/
https://www.adidas-group.com/
พี่แท็คท์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น