สวัสดีปีใหม่ครับ.. การสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นนอกจากจะต้องวัดความรู้กันที่สอบข้อเขียนแล้ว ยังต้องมาวัดความสามารถกันที่การสอบสัมภาษณ์อีกด้วย.. ซึ่ง พี่ลาเต้ ว่าหากพร้อมจริงๆ 2 ด่านนี้ถือว่าผ่านไปได้สบายมากครับ..

          หากถามว่าสอบข้อเขียน กับสอบสัมภาษณ์ สิ่งไหนยากกว่ากัน.. ส่วนตัว พี่ลาเต้ แล้ว.. ขอยืมคุณหมอกฤษณ์คอนเฟิร์มดังๆ ว่า "สอบข้อเขียนยากกว่าครับ ยากกว่ามากๆ ด้วย" ..แต่ก็มีข้อที่น่าสังเกตจากน้องๆที่ พี่ลาเต้ ได้คุยด้วยหลายคน โดยแอบสังเกตมาว่า น้องๆ คนที่พูดไม่ค่อยเก่งจะบอกว่า "สอบสัมภาษณ์ยาก" ส่วนคนที่พูดเก่ง มักจะเห็นว่า "ข้อเขียนยากกว่า" ว่าแต่น้องๆ ชาวเด็กดีเห็นว่าสมมติฐานนี้ถูกต้องไหมครับ.. 555..

          เอาหละครับ.. ไม่ว่าอะไรจะยาก หรือจะง่าย สิ่งสำคัญอยู่ที่การเตรียมตัวนะครับ.. และการสอบ 2 สิ่งนี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมตัว.. และวันนี้ พี่ลาเต้ ก็เลยมีเทคนิคการสอบสัมภาษณ์อย่างไรให้ "ผ่าน" ฉลุยมาฝากให้น้องๆแฟนประจำคอลัมน์แอดมิชชั่นให้ได้อ่าน และเตรียมตัวกันครับ.. พร้อมยัง พร้อมหรือยัง หากพร้อมแล้วไปกันเลย..

          ก่อนอื่นต้องขอเริ่มต้นโดยการให้น้องๆลองดูก่อนว่า คณะ หรือมหาวิทยาลัย ที่เราอยากจะเข้าไปเรียนนั้น มีสัดส่วน และขั้นตอนการรับยังไงบ้าง..บางมหาวิทยาลัยคัดเข้ามาจำนวนมากๆจากข้อเขียนก่อน แล้วค่อยมาตัดสินคัดออกที่การสอบสัมภาษณ์ แต่ขณะเดียวกันบางมหาวิทยาลัยก็รับมาจำนวนที่พอดี ตามที่สถาบันกำหนดไว้ ซึ่งก็จะส่งผลให้โอกาสน้อยมากที่จะโดนคัดออกจากการสอบสัมภาษณ์ หากนักเรียนคนนั้นไม่ไหวจริงๆ..

          ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเด็กดี รับจากข้อเขียนมา 150 คน แต่สถาบันได้กำหนดการรับไว้ 50 คน ดังนั้น 150 คนที่ผ่านเข้ามาก็จะต้องมาวัดกันที่การสอบสัมภาษณ์ และจะมี 100 คนที่ต้องตกรอบสัมภาษณ์ไป ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่ผู้สอบจะต้องอาศัยการเตรียมตัวอย่างดี..ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยดอทคอม คัดผ่านข้อเขียนมา 120 คน และสถาบันก็ตั้งเป้ากำหนดการรับไว้ที่ 120 คนเท่ากันพอดี ดังนั้น ผู้ที่ผ่านเข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงอาจจะไม่กดดัน หรือแข่งขันสูงเหมือนตัวอย่างก่อนหน้านี้..และบทความที่ พี่ลาเต้ นำมาฝากในวันนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับน้องๆที่กำลังประสบชะตากรรมตามตัวอย่างที่ 1 ส่วนตัวอย่างที่ 2 ก็ห้ามพลาดที่จะอ่านเพื่อเก็บข้อมูลเช่นกัน..

      แต่งกายดี มีชัยไปกว่าครึ่ง.. 

          สนามสอบสัมภาษณ์ทุกสนามสอบ เขาจะต้อนรับเฉพาะคนที่แต่งกายเรียบร้อยเท่านั้นครับ.. เรียบร้อยที่นี้ก็คือ เครื่องแบบนักเรียนมีมาแบบไหน ก็ให้แต่งตามนั้นเลย.. อาจารย์ที่มาสัมภาษณ์ในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ท่านจะเป็นถึงระดับหัวหน้าภาค หัวหน้าเอก หรือบางคณะเป็นท่านคณบดีมาเองเลยก็มี.. ดังนั้นให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดไว้เสมอว่า ท่าจะเอาเด็กที่แต่งกายไม่เรียบร้อยเข้าไปเรียนให้อายคณะอื่น หรือเสียชื่อสถาบันหรือไม่..

          มีประสบการณ์หนึ่งที่เกี่ยวกับการแต่งกายที่ พี่ลาเต้ อยากจะเล่าให้น้องๆ ฟัง.. มีน้องนักเรียนหญิงคนหนึ่ง เขารู้สึกกลุ้มใจมากๆ หลังจากที่ไปสอบสัมภาษณ์มา เขาเล่าว่า "วันนั้นได้ใส่ชุดนักเรียนถูกระเบียบ และรองเท้าพละผ้าใบสีขาวไปสอบสัมภาษณ์ โดยเตรียมข้อมูล และตอบคำถามได้เป็นอย่างดีทุกข้อ แต่ก็มาตกม้าตายตอนคณะกรรมการถามว่า..

          "เธอใส่รองเท้าอะไรมา.." หลังจากนั้นก็ถูกคณะกรรมการตำหนิว่า หากจะแต่งตัวแบบนี้ไปเรียนคณะที่เกี่ยวกับพลศึกษาดีกว่าไหม" แล้วน้องๆ รู้ไหมครับว่า น้องผู้หญิงคนนี้พอประกาศผลก็ไม่ติดในคณะนั้นนะครับ.. เขาเลยเครียดมากๆ เพราะ 10 นาทีที่เข้าไปสอบสัมภาษณ์ดีหมดทุกอย่าง จนเขาก็มั่นใจว่าผ่านแน่ๆ ประสบการณ์นี้จึงถือเป็นบทเรียน และอุทาหรณ์ที่ พี่ลาเต้ อยากมาเล่าให้ฟังก่อนที่น้องๆ หลายคนจะต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ครับ..

      ถามมาก็ตอบไป..อย่ากวน.. 

          ทุกอย่างคือความจริง นี่คือสโลแกนของการสอบสัมภาษณ์ครับ.. เวลาคณะกรรมการท่านถามอะไรมา ห้ามไปลองของเด็ดขาด ท่านถามว่ารู้ไหม หากเรารู้ก็ตอบว่ารู้ หากไม่รู้ ก็ตอบไปว่า "ไม่แน่ใจ" อย่าเผลอหลุดมาว่า "ไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เคยได้ยินมาก่อน" จะทำให้ภาพลักษณ์ของเราขาดการเตรียมตัวทันที..

          เมื่อปีก่อนในวันสอบสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พี่ลาเต้ ก็มีโอกาสได้ไปทำข่าวที่นั้นด้วย.. ด้วยความอยากรู้ อยากเห็นเลยแว้บไปถามอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าคณะกรรมการว่า ท่านมีวิธีในการคัดเลือกเด็กจากการสอบสัมภาษณ์อย่างไร ซึ่งท่านก็ตอบมาน่าสนใจมากๆครับว่า.. "การสอบสัมภาษณ์รับตรง และยากกว่าการสอบสัมภาษณ์แอดมิชชั่น เพราะแอดมิชชั่นหากผ่านข้อเขียนแล้วน้อยมากที่จะโดนคัดออก เพราะคัดมาตามจำนวนอยู่แล้ว แต่หากเป็นรับตรงแล้วหละก็..บางที่ผ่านมา 50 แต่ต้องมาคัดให้เหลือแค่ 10 ซึ่งการแข่งขันจะสูงกว่ามากๆ"

          "หากเด็กไม่กวนอาจารย์ ก็จะไม่ให้ตก" นี่เป็นประโยคเด็ดที่อาจารย์ท่านบอกมาครับ.. ท่านยังแอบแย้มมาด้วยว่า บางครั้งอาจารย์อาจจะมีแกล้งนิด แกล้งหน่อยด้วยวาจาให้เราโมโห หากเราควบคุมสติ และอารมณ์ได้ก็จะถือว่าผ่าน ดังนั้นตามสโลแกนเลยครับ.. เข้าไปด้วยความอ่อนน้อม ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ และใส่ใจในท่าทีของคณะกรรมการครับ..

          มีเหตุการณ์หนึ่งที่อยากจะเล่าให้น้องๆ ฟังเกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ของ นักเรียนชายของโรงเรียนชื่อดังคนหนึ่งครับ.. ได้ไปสอบสัมภาษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะกรรมการสัมภาษณ์ได้เอ่ยคำถามแรกโดยขอดูมือนักเรียนชายคนนั้น.. พร้อมกลับพูดเล่นๆมาว่า "มือสั้นนะ..จะเรียนได้เหรอ.." ด้านนักเรียนชายคนนั้นสวนกลับมาทันทีครับว่า "ถึงผมมือสั้น..ผมก็สามารถชกปากคนที่ดูถูกผมได้ครับ.." เท่านั้นแหละครับ.. ไม่มีการสัมภาษณ์ต่อ และนักเรียนคนนั้นก็ไม่ได้มาเหยียบมหาวิทยาลัยแห่งนั้นอีกเลย..

          เอาหละครับ.. หมดเนื้อที่สำหรับครั้งนี้แล้ว..นี่เป็นแค่เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ให้ "ผ่าน" ฉลุยในยกแรกนะครับ..ยกต่อๆไปห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะ พี่ลาเต้ จะมีเรื่องของ แฟ้มสะสมผลงาน และ คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ มาเล่าให้ฟังครับ..

         ส่วนรุ่นพี่คนไหนที่มีประสบการณ์ในการสอบสัมภาษณ์ดีๆ ก็เข้ามาเพิ่มเติมผ่านทางคอมเม้นด้านล่างได้เลยนะคร๊าบ..น้องๆ รออยู่..อิอิ..วันนี้ พี่ลาเต้ ไปแล้วเจอกันใหม่ในยกที่สองคร๊าบ..บ๊ายบาย..อิอิ..

 
 

>> ติดตาม เทคนิคการสัมภาษณ์ ยกอื่นๆ คลิกที่นี่ ครับ <<

 
 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

64 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
^^Black-Angle^^ Member 4 ม.ค. 52 08:20 น. 2
พี่ลาเต้าวิธีที่สอบเข้าม.1ให้ผ่านฉลุยมาบ้างสิคะ หนูก็ป.6แร้วอ่ะ เห็นแก่เด็กตัวดำๆนะคะ อิๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
002 4 ม.ค. 52 11:54 น. 10
พี่ลาเต้คะ เเล้วถ้าเป็นคณะพวกมนุษยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศสเนี่ย

เค้าจะสัมภาษณ์เป็นภาษาไทยหรือว่าภาษาต่างประเทศที่เราเลือกคะ?
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
devil*s girlz Member 4 ม.ค. 52 15:14 น. 15
แล้วสำหรับหนูต้องเเต่งชุดอะไรอ่ะคะ 

ไม่ได้เรียนที่ไทยอ่าค่ะ 

ใส่เป็นชุดธรรมดา แต่เรียบร้อยได้หรือเปล่าคะ 

เครียดๆ กลัวตกสัมภาษณ์เพราะพูดไม่เก่งนี่แหละค่ะ 

ขอบคุณนะคะ สำหรับคำแนะนำ จะมาติดตามตอน 2 แน่นอน !!!
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
อืมคับ 4 ม.ค. 52 16:10 น. 17
พี่ลาเต้คับ มันต้องดูที่สถาบันด้วยอะคับ ถ้าสถาบันที่แบบ สอบยังไงก็รับอะคับ เพื่อนผมกวนมากๆๆ

ยังได้เลย มันยัง งง เลย ว่าติดได้ไง แค่ไปสอบเล่นๆๆ

แต่ถ้าสถาบันที่ธรรมศาสตร์ จุฬา หรืออะไรก็ตาม อันนี้ค่อยมาอ่านของพี่ลาเต้

แต่ถ้าเราทำเป็นรู้มากไปก็ไม่ดีนะคับ เขาจะบอกว่า รู้หมดแล้วนิ มาเรียนทำไม เท่านี้ละคับ เราก็อ้าปากไม่ออก

หุหุ
0
กำลังโหลด
ASDD 4 ม.ค. 52 16:41 น. 18
เห็นด้วยกับ คห17 ค่ะ เพื่อนเราตอบกวนมากๆ ติดตัวจริงคณะแพทย์เฉยเลย รอบรับตรงอะน่ะ อัตราการก็สูงมากๆ

แต่เราว่านะ ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็บอกว่าไม่ทราบไปเลยดีกว่านะ ดีกว่าบอกว่าไม่แน่ใจ แล้วดันทุรังตอบไปนะ จากที่เราเคยไปสัมภาษณ์มานะ เค้าก็ไม่ถามความรู้เราเลย แค่พกความมั่นใจไป แล้วก็เตรียมเรื่องเกี่ยวกับคณะที่เราไปสัมภาษณ์หน่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด