คณะทันตะแพทยศาสตร์ Issue 002 week2, February 2010
 
คณะทันตแพทยศาสตร์
ตอนที่ 2/4 : เปิดใจชีวิตการเรียนของ "เด็กทันตะฯ"
 
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

        
        สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com มาแล้ว มาแล้ว คณะในฝัน "ทันตแพทยศาสตร์" สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์ วันนี้ พี่เป้ มาพร้อมกับรุ่นพี่คนเก่งที่เก่งกันสุดๆๆ จากรั้วคณะทันตแพทยศาสตร์จาก 3 สถาบันชื่อดัง จะเป็นที่ไหนและเป็นใครบ้างนั้น ไปอ่านกันเลย ~~

   รุ่นพี่ คนที่ 1      
บุญฑริก นิยติวัฒน์ชาญชัย (เต๋า)
คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 5

 
พี่เป้ : ก่อนอื่นช่วยแนะนำตัวกับชาว Dek-D.com หน่อยค่ะ
พี่เต๋า : สวัสดีชาวเด็กดีทุกๆ คนนะครับ พี่ชื่อพี่เต๋า ชื่อจริงนายบุญฑริก นิยติวัฒน์ชาญชัย ตอนนี้พี่เรียนอยู่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 5 ครับ แก่แล้วๆ เหลือปี 6 อีกปีก็จะได้เป็นหมอฟันเต็มตัวครับ

พี่เป้ :อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้อยากเรียนทันตะฯ เหรอคะ
พี่เต๋า : สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้พี่มาเรียนคณะนี้ได้แก่ การที่พ่อพี่เป็นหมอครับ ทำให้พี่ซึมซับกับการช่วยเหลือผู้คนมาตั้งแต่เด็กและรู้สึกดีเวลาเห็นพ่อทำงาน เมื่อโตขึ้นมาพี่จึงอยากทำอาชีพที่ได้ปัดเป่าความเจ็บป่วยของผู้คนเช่นเดียวกับพ่อครับ ประกอบกับพี่เป็นคนที่ชอบงานในศิลปะ จึงคิดว่าคณะทันตแพทยศาสตร์น่าจะเป็นคณะที่เหมาะสมกับเราเพราะเป็นคณะที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งตอนเด็กๆ เคยปวดฟันมาก จนต้องไปหาหมอฟัน รู้สึกประทับใจเพราะหมอฟันใจดีมากทำให้ตอนเด็กพี่ไม่กลัวการทำฟันเลย และสามารถทำให้ความทุกข์ทรมานของเราหายไปได้

พี่เป้ : แล้วตอนจะสอบเข้าคณะนี้ มีการเตรียมตัวยังไงบ้าง
พี่เต๋า : ตอนที่จะเตรียมตัวสอบนั้น รุ่นของพี่เป็นรุ่นสุดท้ายที่ใช้ระบบเอนท์ และตอนนั้นพี่เพิ่งกลับมาจากการเป็น นักเรียนแลกเปลี่ยนที่อเมริกา(AFS)พอดี ทำให้มีเวลาในการอ่านหนังสือเพียงไม่กี่เดือน พี่จะบอกกับตัวเองเสมอว่าเวลาของเรานั้นมีน้อย ดังนั้นเราต้องใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ก็เลยพยายามอ่านหนังสือเมื่อมีเวลาว่างเสมอ มีเคล็ดลับก็คือเมื่อเราอ่านเราต้องจดสรุปสิ่งที่เราเข้าใจไปด้วย และเมื่อจบบทไหน ก็จะนำข้อสอบเอนท์ของบทนั้นมาทำ เพื่อทดสอบดูว่าเราเข้าใจจริงรึเปล่า ตรงไหนที่ทำไม่ได้ก็กลับไปทวนใหม่ ซึ่งพ่อพี่เป็นคนที่ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการเรียนพิเศษประกอบกับบ้านพี่อยู่ไกลจากที่เรียนมากเพราะพ่อมาเป็นหมอที่โรงพยาบาลชุมชน พี่จึงอ่านหนังสือด้วยตัวเองตลอดเลย โดยไม่ได้เรียนพิเศษเลย จนมาสอบโควต้าภาคเหนือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พี่เป้ : พอได้เข้ามาเรียนทันตะฯ จริงๆ เหมือนหรือต่างจากที่คิดไว้ตอนแรกมั้ยคะ
พี่เต๋า : ก่อนจะเข้ามาเรียน พี่ก็คิดเหมือนกับที่คนส่วนใหญ่น่าจะคิดคืองานทันตกรรม ไม่น่าจะมีอะไรมาก ก็แค่ช่องปาก จะไปมีอะไร การเรียนก็คงจะง่ายๆ สบายๆ ไม่น่าจะหนักมาก แต่เมื่อมาเรียนแล้วจึงพบว่ามันไม่ง่ายเลยกับการทำงานที่ละเอียดหน่วยเป็นมิลลิเมตรในช่องปาก ที่ทั้งแคบและมืด รวมทั้งมีน้ำลายและลิ้นขัดขวางการทำงาน นอกจากนั้นเรายังต้องเผชิญกับความเครียดในการเรียนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิชาบรรยายที่เยอะยาก แทบไม่ต่างไปจากแพทย์ แม้เราจะไม่มีการเข้าเวรหรือ round ward แต่เวลาหลังเลิกเรียน รวมทั้งเวลานอนของพวกเราก็จะต้องหมดไปกับการทำแลปเพื่อส่งในวิชาปฎิบัติการหรือทำงานให้กับคนไข้

นอกจากนั้นยังพบว่าหมอฟันจริงๆ แล้วนั้นเราไม่ได้มีความรับผิดชอบในช่องปากอย่างเดียว เราเปรียบเสมือนกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญในช่องปาก ไม่แตกต่างจากแพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆเช่น หู คอ จมูก , หมอตา เพราะช่องปากกับร่างกายนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะฉะนั้นเมื่อเราต้องรักษาคนไข้ เราจึงต้องรักษาคนไข้อย่างองค์รวม ไม่มุ่งที่จะรักษาโรคในช่องปากอย่างเดียว เมื่อเห็นความผิดปกติอื่นเราก็ต้องแนะนำคนไข้ ส่งต่อไปรักษาอย่างถูกต้องได้

พี่เป้ : แล้วคณะทันตะฯ ที่ ม.เชียงใหม่มีจุดเด่นอะไรบ้างคะ
พี่เต๋า : พี่คิดว่าเป็นจุดเด่นของ มช. คือความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้อง เพราะเป็นธรรมเนียมที่ว่าเมื่อน้องปีหนึ่งขึ้นปีสองและต้องทำแลปคณะ ซึ่งน้องจะทำไม่เป็นเพราะไม่เคยทำมาก่อน พี่ๆ แต่ละสายรหัสก็จะลงมาช่วยสอนน้องทำแลปจนกระทั่งน้องปีกกล้าขาแข็งสามารถทำด้วยตัวเองได้ ประกอบกับการที่เรามีหอคณะ(ปัจจุบันทุบไปบ้างส่วนเพื่อสร้างใหม่)ทำให้พวกเราต้องอยู่กินนอนด้วยกัน เกิดความสนิทสนมกัน

จุดเด่นอีกอย่างคือการที่เราเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งเดียวของภาคเหนือตอนบน ทำให้จำนวนของคนไข้ของเราเยอะมาก เราจึงได้ฝึกฝีมือเยอะเมื่อเทียบกับที่อื่น ซึ่งบางมหาวิทยาลัยจะมีปัญหาตรงนี้มากเพราะขาดเคส อีกอย่างคือมีอากาศที่เย็นสบายตลอดปี อาจจะหนาวเกินบ้างในหน้าหนาว ทำเอาหลายคนไม่อาบน้ำมาเรียน อิอิ และบรรยากาศในคณะที่ร่มรื่นน่าเรียนมากครับ เพราะเรามีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ใจกลางคณะ นอกจากนั้นยังมีทิวทัศน์ของดอยสุเทพให้เห็นตลอด อาหารการกินก็อุดมสมบูรณ์มากครับ เล่นเอาหลายๆ คนอ้วนไปเลยทีเดียว ขับรถจากคณะนิดเดียวก็จะถึงถนนเส้นนิมมานเหมินทร์ ซึ่งมีที่เที่ยวและที่กินมากมาย หากเบื่อๆ ก็ขับรถไปนั่งเล่นอ่างแก้วใน มช ไปเยี่ยมหลินปิงที่สวนสัตว์ หรือจะขึ้นดอยสุเทพ ก็ใกล้นิดเดียวครับ

พี่เป้ :อยากให้ลองเล่าเคสคนไข้ที่เคยรักษาแล้วประทับใจสุดๆ
สัก 1 เคส
พี่เต๋า : เคสที่พี่รู้สึกประทับใจมากคือเคสของคุณตาคนนึง ซึ่งเป็นคนไข้ฟันปลอมทั้งปากคือคุณตาไม่มีฟันเหลือในช่องปากเลย วันแรกที่นัดคุณตามา คุณตาต้องนั่งรถเข็นมาเพราะคุณตาป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีก รวมทั้งเป็นโรคพากินสัน จำได้ว่าคุณตาไม่ยิ้มเลย ถามอะไรก็ไม่ค่อยตอบ พูดไม่ถนัด พี่พยายามชวนคุยแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก การทำงานผ่านไปหลายครั้งแต่ก็ยังเหมือนมีช่องว่างบางอย่างอยู่ แต่พี่ก็พยายามทำงานให้คุณตาอย่างดีที่สุด มีวันนึงซึ่งพี่เหนื่อยมากเพราะงานที่อดหลับอดนอนทำมาลองในปากคุณตายังไม่ผ่าน อาจารย์ก็เดินมาต่อว่าว่าทำไมถึงทำไม่ได้ คุณตาก็พยายามพูดขึ้นมาแม้จะยากลำบากว่า หมอ เหนื่อยไหม? ไม่เป็นไรนะตารอได้ คำพูดแค่นี้ก็กลับทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจทำงานต่อไปได้

เมื่อถึงวันที่ฟันปลอมเสร็จ คุณตาก็ยิ้มไม่ยอมหุบปากเลย จากที่เคยไม่พูดคุณตาก็พูดกับเรา และเล่าให้พี่ฟังว่าก่อนหน้านี้ที่ไม่กล้าพูดเพราะเค้าอายที่เค้าไม่มีฟันเหลืออยู่เลย แต่ตอนนี้เค้าไม่อายแล้ว หลังจากนี้เค้าจะได้กินข้าวได้อย่างอร่อยสักที แม้ว่าเคสนี้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยเพราะมันก็แค่ฟันปลอม แต่สำหรับพี่ พี่รู้สึกภูมิใจที่อย่างน้อยเราก็สามารถทำให้ใครบางคนจากที่เคยทุกข์กลับมา มีความสุขได้

พี่เป้ : พูดถึงการเรียนทันตะ ก็จะมีศัพท์เฉพาะในการเรียน อยากให้ลองช่วยยกตัวอย่างคำที่ใช้บ่อยๆ
พี่เต๋า : filling คือ การอุดฟัน
scaling คือ การขูดหินปูน
prep เป็นคำย่อ มักใช้แทน cavity preparation คือการเตรียมโพรงฟันก่อนจะอุดฟันครับ
denture คือ ฟันปลอมครับ RCT ย่อจาก root canal therapy คือ การรักษารากฟันครับ
crown and bridge คือ ครอบฟันและสะพานฟัน
study model คือ แบบพิมพ์ฟันครับ
impression taking คือ การพิมพ์ปากครับ
extraction คือ ถอนฟันครับ
impacted tooth หรือ wisdom tooth คือ ฟันคุดครับ
surgical removal การผ่าเอาฟันออกมักใช้กับฟันคุดครับ

พี่เป้ : แล้ววิชาไหนที่คิดว่ายากสุดๆ คะ
พี่เต๋า : วิชาที่ยากที่สุดส่วนตัวพี่คิดว่าเป็นวิชาครอบฟันและสะพานฟันครับ เพราะเป็นวิชาที่ถือว่าต้องใช้ทักษะงานฝีมือสูงที่สุดของวิชาชีพ เพราะเราจะต้องทำการกรอแต่งฟันอย่างประณีตเพื่อให้ได้รูปร่างของฟันและได้ขอบที่เหมาะสมกับครอบฟันหรือสะพานฟันที่เราออกแบบ บางชนิดก็ต้องละเอียดขนาด 0.3-0.5 มิลลิเมตร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันยากมากๆ แค่เอาหัวกรอถากนิดเดียวมันก็กินเนื้อฟันเกือบจะมิลนึงแล้ว ยิ่งเวลาที่ต้องทำให้กับคนไข้จริง มันไม่เหมือนในแลปที่เราสามารถเปลี่ยนฟันได้ ทำให้วิชานี้เป็นวิชาที่ท้าทายความสามารถมากจริงๆ

พี่เป้ : จริงๆ คณะทันตะฯ ก็เหมือนเป็นสาขาหนึ่งของวิชาแพทย์ ส่วนตัวคิดว่าทำไมถึงถูกแยกออกมาเป็นคณะทันตะฯ เลย แทนที่จะเรียนคณะแพทยศาสตร์ให้จบ 6 ปีก่อนแล้วถึงเรียนต่อสาขาเฉพาะทางเหมือนแพทย์สาขาอื่น
พี่เต๋า : ส่วนตัวคิดว่าเป็นเพราะว่างานทันตกรรมมันเป็นงานที่ละเอียดอ่อนน่ะครับ แล้วก็จำเป็นต้องใช้เวลายาวนานในการฝึกฝน การเรียนจบแพทย์มาแล้วต่อเฉพาะทางอีก 2-3 ปี คงไม่เพียงพอต่อการเป็นทันตแพทย์ เพราะแม้กระทั่งเวลา 6 ปีที่เรียน ยังถือว่าไม่ครอบคลุมงานทันตกรรมทุกชนิด งานบางอย่างก็ยังคงต้องมาต่อเฉพาะทางถึงจะสามารถทำได้ ดังนั้นหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์จึงถูกแยกออกมาจากแพทยศาสตร์ครับ โดยในอดีตนั้นคณะทันตแพทยศาสตร์นั้นเคยถูกรวมอยู่ในคณะแพทยศาสตร์ครับจากนั้นจึงมีการแยกออกมาดังเช่นปัจจุบันครับ























 

 

พี่เป้ : แล้วในอนาคตวางแผนว่าอยากทำอะไรคะ
พี่เต๋า : อนาคตวางแผนว่าจบมาแล้วจะใช้ทุนก่อนครับ เพราะหกปีที่เราเรียนมานั้น เราก็เรียนมาด้วยเงินภาษีของประชาชน เราก็อยากจะตอบแทนด้วยการทำงานทดแทนให้สังคมบ้าง หลังจากใช้ทุนหมดก็คิดว่าจะเรียนต่อครับ ตอนนี้ก็ดูๆไว้เหมือนกันโดยอยากเรียนต่อในสาขาทันตกรรมชุมชนครับ เพราะรู้สึกประทับใจในวิชานี้หลายๆอย่าง วิชานี้สอนผมเสมอว่าเวลารักษาคนไข้ อย่ารักษาเฉพาะโรคแต่ให้รักษาคน ซึ่งบางครั้งเราก็มัวแต่จดจ่ออยู่กับการทำงานของเราจนลืมนึกถึงคนไข้ เช่น คนไข้จะเจ็บไหม สอนแปรงฟันไปแล้วคนไข้ไม่ทำ ซึ่งสาขาวิชานี้ก็เป็นสาขาที่บางคนอาจจะมองข้าม เพราะเห็นว่ามันทำเงินไม่ได้หรือไม่รู้ว่าจะเรียนไปเพราะอะไร หลังจากมีงานที่มั่นคงแล้วก็คงจะทำงานเพื่อพ่อและแม่ครับ ให้ท่านได้พักบ้าง เพราะท่านเหนื่อยเพื่อเรามามากจริงๆตั้งแต่เล็กจนโต ท่านทำงานหนักเพื่อเรามากๆ อยากให้ท่านทั้งสองสบาย

พี่เป้ : สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าไปเรียนในคณะนี้ด้วยค่ะ
พี่เต๋า : อยากให้น้องๆเรียนรู้ตัวเองตอนนี้เลยว่าจริงๆแล้วเราอยากเรียนอะไร เพราะหลายคนเรียนโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย ทำให้เมื่อเข้ามาเรียนแล้วมันไม่มีความสุข เพราะหลายสิ่งหลายอย่างมันไม่ได้สบายเหมือนที่เราคิด คณะนี้เป็นคณะที่ต้องใช้ความอดทนสูง เวลาในชีวิตของน้องจะหายไปกับการท่องหนังสือและทำงาน ซึ่งน้องต้องยอมรับและอดทนตรงนี้ให้ได้ ขอให้น้องๆตั้งใจเรียน ตั้งใจอ่านหนังสือ แม้มันจะเหนื่อย แต่พี่เชื่อว่าโอกาสมันจะมาหาคนที่พยายามไขว่คว้ามันเสมอ เมื่อสอบเข้ามาได้แล้วก็อยากให้น้องๆตั้งใจเรียน แล้วก็เป็นทันตแพทย์ที่ดีในอนาคตครับ ยินดีต้อนรับน้องๆ ทุกคนสู่คณะทันตแพทยศาสตร์ มช เสมอครับ

 

 

   รุ่นพี่ คนที่ 2
สุภัทรา ด่านวิทยากร (เบญ) ปี 4
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พี่เป้ : ก่อนอื่นช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ ที่กำลังอ่านอยู่ด้วยค่ะ
พี่เบญ : สุภัทรา ด่านวิทยากร หรือเรียกสั้นๆ ว่าเบญค่ะ ตอนนี้เป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ในรั้วเหลือง-แดงแห่งนี้ค่ะ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ)

พี่เป้ : ทำไมถึงอยากเรียนคณะทันตะล่ะคะ
พี่เบญ : เพราะเคยไปเข้าค่ายสานฝัน (ค่ายแนะนำการเรียนการสอนคณะทันตแพทยศาสตร์ ของม.มหิดล) แล้วเกิดความชอบลักษณะการทำงานแบบนี้ รู้สึกว่าคณะนี้มีแต่สิ่งที่น่าค้นหา เช่น การทำแล็ป จำได้ว่าตอนนั้นได้ฝึกอุดฟันปูนด้วยขี้ผึ้งสีน้ำเงินแทนอะมัลกัม แล้วรู้สึกตื่นเต้น สนุก และอยากเรียนขึ้นมา นอกจากนี้ยังรู้สึกได้ถึงความรัก ความอบอุ่นจากรุ่นพี่ และตระหนักถึงความต้องการทันตแพทย์ทั่วประเทศ (จำได้ว่าพี่บอกว่าทันตแพทย์ไม่มีการกระจายกันทำงาน ในเมืองมีทันตแพทย์หนึ่งคนต่อประชากร 2,000 คน ในขณะที่ในชนบทมีทันตแพทย์หนึ่งคนต่อประชากรประมาณ 20,000 คน) จากนั้นมาจึงสนใจวิชาชีพนี้มากขึ้น

พี่เป้ : ตอนสอบแอดมิชชั่นเข้ามา มีการเตรียมตัวยังไงและได้คะแนนตอนสอบเท่าไรบ้าง
พี่เบญ : ตอนนั้นปิดเทอมม.6 และช่วงเสาร์-อาทิตย์ก็มีเรียนพิเศษบ้าง เช่น วิชาชีววิทยา Eureka, วิชาเคมีอาจารย์อุ๊, วิชาฟิสิกส์ที่ Ideal physics, วิชาคณิตศาสตร์ The brain เป็นต้น ตอนนั้นรู้สึกว่าเสียดายเงินเหมือนกัน แต่ก็คิดว่าถ้าไม่ได้เรียนแล้วเข้าทันตะไม่ได้คงเสียใจแน่ๆ (อันนี้แล้วแต่คนนะ เพราะเพื่อนหลายๆ คนไม่ได้เรียนพิเศษที่ไหนเลย ยังสามารถเข้ามาเรียนได้อย่างสบายๆ) ตอนนั้นพยายามเข้าเรียนทุกคาบและอ่านหนังสือทุกวัน โดยจะจัดเวลาอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัด เช่น ประมาณวันละ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน น้องๆ ห้ามลืมว่า การพักผ่อนสำคัญมาก ควรนอนอย่างน้อย 5-6 ชม. จะทำให้เรามีสมาธิในการเรียน หรืออ่านหนังสือได้ดียิ่งขึ้น คะแนนสอบ ONET -> ไทย73 สังคม71 อังกฤษ74 คณิต85 วิทย์78
ANET -> อังกฤษ74 คณิต52 วิทย์47

พี่เป้ : จุดเด่นของคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่ธรรมศาสตร์มีอะไรบ้างคะ
พี่เบญ : นักศึกษา มีนักศึกษาจากทุกภาค (ที่นี่รับตรงผ่าน สกอ. และมีโครงการผลิตทันตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท) ทำให้มีเพื่อนมากมายและหลายหลาย นอกจากนี้ยังเปิดรับนักศึกษาที่จบปริญญาตรีมาแล้วด้วย (หลักสูตร 5 ปี) นักศึกษาแต่ละรุ่นจะมีประมาณ 70 คน ทำให้รู้จักกันอย่างดี สนิทสนม และมีความเป็นกันเองระหว่างเพื่อนๆ และรุ่นพี่รุ่นน้อง และทำงานเพื่อสังคม ด้วยปณิธานที่ว่า ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน

พี่เป้ : อยู่ปี 4 ได้เรียนอะไรแล้วบ้างคะ
พี่เบญ :สำหรับที่ธรรมศาสตร์ ปี 4 จะยังคงเป็นวิชาพรีคลีนิคอยู่ค่ะ จะเป็น lecture, lab, การดูงาน, การเข้ากลุ่มย่อย, การทำรายงาน,การนำเสนอ และการออกชุมชน เป็นต้น เรียนเกี่ยวกับ basic health sciences คล้ายกับของคณะแพทย์ ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ส่วนบน (ผ่าอาจารย์ใหญ่นั่นแหละ) สรีระวิทยา (การทำงานของอวัยวะต่างๆ ตามธรรมชาติ) จุลวิทยา (ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูลักษณะของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงเม็ดเลือดขาว กระดูก) พยาธิวิทยา (พวกโรคในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อและกระดูก เลือด ฯลฯ) สำหรับเนื้อหาวิชาในคณะที่เรียน ได้แก่ ลักษณะปกติของช่องปาก การซักประวัติ การตรวจ (ในช่องปาก การถ่ายเอ็กซเรย์ หรือการตรวจพิเศษอื่นๆ) การวินิจฉัยโรค สาเหตุการเกิดโรค กลไกการเกิดโรค การฉีดยาชา การรักษา การให้คำแนะนำในการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน โดยมีตัวอย่างดังนี้

    - ตัวอย่างโรค: ฟันผุ ฟันสึก โรคปริทันต์ มะเร็ง ถุงน้ำ การติดเชื้อราในช่องปาก
    - การรักษา: การอุดฟัน การถอนฟัน การขูดหินปูน การผ่าฟันคุด การรักษารากฟัน การทำฟันปลอม การเคลือบฟลูออไรด์ การทำฟันในเด็กและคนชรา พื้นฐานการจัดฟัน

พี่เป้ :ว่าแต่เรียนหนักอย่างนี้ ที่คณะมีกิจกรรมอะไรให้ทำบ้างคะ
พี่เบญ : กิจกรรมภายในคณะ : งานรับน้อง, freshy night, วันไหว้ครู, การบริการตรวจฟันเนื่องในวันทันตสาธารณสุข, สัมมนาโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข, ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ฯลฯ

กิจกรรมร่วมกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย : เฟรชชี่เกมส์, งานลอยกระทง, งานกีฬาห้าเส้า, open house, งานออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เนื่องในวันมหิดล ฯลฯ

กิจกรรมร่วมกับคณะทันตะของมหาวิทยาลัยอื่นๆ : 4 เขี้ยว, งานม่วงสัมพันธ์

 

 

พี่เป้ : ถ้าลองเปรียบคณะทันตะเป็นอาหารสักอย่าง คิดว่าจะเหมือนอะไรดีคะ
พี่เบญ : ทุเรียน เพราะเมื่อมองแต่เปลือก อาจดูอันตราย ไม่น่ากิน ครั้นจะผ่าหาเนื้อทุเรียนก็เป็นเรื่องยาก อาจโดนหนามทุเรียนทิ่มบ้าง คนผ่าอาจท้อบ้าง แต่หากแกะทุเรียนสำเร็จเมื่อใด แล้วได้ลองลิ้มชิมรสชาติ ท่านจะพบว่ามัน “คุ้มค่ากับการลงทุน ลงแรงเสียจริง ว่าไหมล่ะ?”

พี่เป้ : ส่วนตัวคิดว่า คนที่เหมาะจะเรียนคณะนี้ควรมีคุณสมบัติยังไงบ้าง
พี่เบญ : มีความพยายาม (มากมาก) อดทน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม ตั้งใจเรียนและทำแล็ปเป็นอย่างดี ใฝ่หาความรู้ ซื่อสัตย์ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามัคคีกัน

พี่เป้ : สุดท้ายอยากให้ช่วยฝากหรือให้กำลังใจแก่น้องๆ ที่อยากเข้าคณะทันตะค่ะ
พี่เบญ : พี่มีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า “คนเราทุกคนสามารถเป็นที่หนึ่งได้” หากเรามีปณิธานอันแรงกล้าในการก้าวสู่ฝัน ดังนั้น จงทำตามเสียงหัวใจของตนเอง ถ้าน้องอยากเรียนคณะนี้จริง จงตั้งใจอ่านหนังสือ จงมีสมาธิ อ่านให้มากกว่าที่เคยอ่านมา แล้วน้องจะรอบรู้ และเกิดปัญญา >>> ลองมันซักตั้งสิ! เพราะสิ่งนี้เราเดิมพันด้วยอนาคตของเราเอง เชื่อพี่ ถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อมเสมอนั้นเป็นสิ่งดีที่สุด เพราะถ้าโอกาสมาเมื่อใด เมื่อนั้นฝันของน้องๆ ที่อยากเรียนคณะทันตะนี้ก็จะกลายเป็นจริง อย่าลืม! เดี๋ยวเจอกันที่ธรรมศาสตร์น๊า... พี่จะคอยเป็นกำลังใจให้น้องของพี่ทุกคน

 

 

รุ่นพี่ คนที่ 3 :
ขนิษฐา เจริญรักษ์ภักดี (แคท) ปี 5
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พี่เป้ :อยากให้ช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ หน่อยค่ะ
พี่แคท : ขนิษฐา เจริญรักษ์ภักดี (แคท) ทันตแพทยศาสตร์ ปี5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ

พี่เป้ : อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เลือกเรียนทันตะคะ
พี่แคท : เป็นความชอบส่วนตัวค่ะ เพราะนิสัยตั้งแต่เด็กแล้วที่เป็นคนชอบความสวยความงาม และตอนเด็กๆเคยจัดฟันด้วยค่ะ

พี่เป้ : ตอนนี้เรียนอยู่ปี 5 แล้ว เรียนอะไรอยู่บ้างคะ
พี่แคท : เรียนวิชาคลินิก คือการปฏิบัติรักษาคนไข้จริงๆนั่นเองค่ะ
(ปี 2 ปี3 เรียนวิชา lab คือมีการฝึกรักษากับแบบจำลอง หุ่น คร่าวๆประมาณนี้นะคะ ) วิชาปี 5 ก็เช่น

  OPER DENT CLINIC ได้แก่ อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน

  PROSTH CLINIC ใส่ฟันปลอมทั้งหลายค่ะ ได้แก่ ฟันปลอมทั้งปาก ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ ฟันปลอมติดแน่น ครอบฟัน สะพานฟัน

  PERIO CLINIC รักษาโรคเหงือก โรคปริทันต์(รำมะนาด) งานที่ทำก็พวกขูดหินปูน เกลารากฟัน แนะนำ

  ORTHODONTIC CLINIC คลินิกทันตกรรมจัดฟัน สำหรับคลินิกนี้พี่ไม่ได้จัดฟันให้ผู้ป่วยนะคะ เพราะสาขานี้เป็นสาขาเฉพาะทางต้องมาเรียนต่อถึงจะจัดได้ค่ะ งานที่ทำได้ในคลินิกนี้คือซักประวัติและตรวจช่องปาก ดู case ผู้ป่วยต่างๆ และก็ทำงานที่พอทำได้เล็กๆน้อยๆ เช่น ทำ retainer พิมพ์ปาก เป็นต้น

  RADIOLOGY CLINIC งานที่ทำก็ถ่ายภาพรังสี X-RAY และก็วินิจฉัยโรคจากฟิล์มค่ะ

  COMMUNITY DENT วิชาทันตกรรมชุมชน วิชานี้ได้ออกไปเรียนรู้การวางแผน การทำงานเพื่อสังคมค่ะ เช่น ไปดูชุมชนแออัด ไปสร้างโครงการต่างๆให้กับเด็กนักเรียนน้องๆที่มีความยากลำบาก ไปทำฟันให้กับน้องๆค่ะ

พี่เป้ : แล้วชอบวิชาอะไรมากที่สุดคะ
พี่แคท : จริงๆ แล้วก็ชอบหมดนะคะ เพราะแต่ละวิชางานก็ต่างกันไปค่ะ แต่ที่สนใจเป็นพิเศษและอยากเรียนเพิ่มเติมก็คือสาขาทันตกรรมจัดฟันค่ะ




 

                                              

พี่เป้ : ว่ากันว่าคนเรียนทันตะ ต้องถนัดในการทำงานฝีมือด้วย เพราะอะไรคะ
พี่แคท : ทันตกรรมเป็นงานที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ค่ะ นั่นคือนอกจากวิชาความรู้แล้วยังต้องอาศัยทักษะทางศิลปะด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น เราจะสร้างฟันขึ้นมาซี่นึงขึ้นมาจากก้อนขี้ผึ้ง เราจะต้องรู้ว่าฟันซี่นั่นหน้าตาเป็นไง มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ลักษณะทางกายวิภาคของฟันซี่นั้นๆ (ซี่ฟันแต่ละซี่ก็มีหน้าตาที่ต่างกัน ตำแหน่งและการเรียงตัวในช่องปากก็ต่างกัน) นี่คือส่วนของศาสตร์ค่ะ ในส่วนของศิลป์คือการมีทักษะในการสร้างฟันซี่นั้นๆขึ้นมาเหมือนงานฝีมือ คล้ายงานแกะสลัก (มีเรียนวิชา DENTAL ANATOMY ที่มีการสร้างฟันจากขี้ผึ้งด้วยค่ะในชั้นปีที่ 2) ซึ่งความรู้และทักษะที่ได้นำมาใช้ต่อในการอุดฟัน ทำฟันปลอม งานเกือบทั้งหมดของหมอฟันเลยค่ะ แต่น้องๆไม่ต้องกังวลค่ะ ของแบบนี้ถ้าใจรัก ฝึกกันได้ค่ะ

พี่เป้ : แล้วอนาคตหลังจากเรียนจบแล้ว จะทำอะไรต่อคะ
พี่แคท : เป็นทันตแพทย์ค่ะ ถ้ามีโอกาสก็จะเรียนต่อในสาขาเฉพาะทาง

พี่เป้ :สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้ค่ะ
พี่แคท : พี่เชื่อในความพยายามค่ะ น้องอาจจะเหนื่อย
อาจจะท้อ แต่ผลที่ได้มันคุ้มค่ากับความพยายามแน่นอนค่ะ

 

       

         เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับรุ่นพี่ทั้ง 3 คน พี่เป้ อ่านแล้วชอบมากโดยเฉพาะที่บอกว่าคณะนี้เหมือนทุเรียน เพราะคนที่พร้อมจะผ่าเปลือกทุเรียนเพื่อกินทุเรียนจริงๆ ก็จะต้องเป็นคนที่ชอบกินทุเรียนจริงๆ เพราะหลายคนไม่ได้ชอบกินจริงๆ พอจะผ่าเปลือกก็ทนกับหนามที่แหลมคมและกลิ่นไม่ไหว ล้มเลิกไปกลางคัน เพราะฉะนั้นถ้าน้องๆ แน่ใจว่าชอบทุเรียนจริงๆ ล่ะก็ สู้ๆ กันให้เต็มที่เลยนะคะ ^^ DENT - IS - TRY ค่ะ

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

||::[P.]GEM::|| Member 10 ก.พ. 53 19:59 น. 5
ชอบที่พี่คนที่สองพูดมากๆ
โดยเฉพาะตรงที่บอกว่า
ถ้า น้องอยากเรียนคณะนี้จริง จงตั้งใจอ่านหนังสือ จงมีสมาธิ อ่านให้มากกว่าที่เคยอ่านมา แล้วน้องจะรอบรู้ และเกิดปัญญา >>> ลองมันซักตั้งสิ! เพราะสิ่งนี้เราเดิมพันด้วยอนาคตของเราเอง เชื่อพี่ ถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อมเสมอนั้นเป็นสิ่งดีที่สุด เพราะถ้าโอกาสมาเมื่อใด เมื่อนั้นฝันของน้องๆ ที่อยากเรียนคณะทันตะนี้ก็จะกลายเป็นจริง
เหมือนได้กำลังใจ 555+
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

66 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
||::[P.]GEM::|| Member 10 ก.พ. 53 19:59 น. 5
ชอบที่พี่คนที่สองพูดมากๆ
โดยเฉพาะตรงที่บอกว่า
ถ้า น้องอยากเรียนคณะนี้จริง จงตั้งใจอ่านหนังสือ จงมีสมาธิ อ่านให้มากกว่าที่เคยอ่านมา แล้วน้องจะรอบรู้ และเกิดปัญญา >>> ลองมันซักตั้งสิ! เพราะสิ่งนี้เราเดิมพันด้วยอนาคตของเราเอง เชื่อพี่ ถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อมเสมอนั้นเป็นสิ่งดีที่สุด เพราะถ้าโอกาสมาเมื่อใด เมื่อนั้นฝันของน้องๆ ที่อยากเรียนคณะทันตะนี้ก็จะกลายเป็นจริง
เหมือนได้กำลังใจ 555+
0
กำลังโหลด
miharu.De7aR Member 10 ก.พ. 53 20:16 น. 6
 อ่า~ >..< คณะใฝฝันเลยอ่า


แต่ปีนี้ ขอไว้ก่อน ปีหน้าค่อยว่ากันน๊าาาาาาาา >..<


จะตั้งใจสุดชีวิตเลย!!!
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
•-:-Dek`TaeMaster—` Member 10 ก.พ. 53 23:33 น. 9

พี่ชาย

เราจะดังไปใหญ่แล้ว

^^

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น

มันเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบัลดาลใจแหละเน๊อะ

บทความดีๆที่จะสานต่อแรงบันดาลใจให้น้องๆครับ

พยายามเข้านะ น้องๆที่ใฝ่ฝันอยากจะเรียกตัวเอง ว่า "หมอฟัน"

ป.ล.ขอบคุณพี่ๆสำหรับบทความดีๆ

ป.ล.2พี่เต๋าปีหน้าก็จบแล้ว อยุ่ช่วยแลปน้องก่อนน๊า^^

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Dryistrent 11 ก.พ. 53 20:09 น. 12
หนูอยากเป็นหมอฟัน จะกี่ปีหนูก็ยอมค่าาาา นี่ก้อซิ่วอยู่ ขอให้ติดในกสพท.เทอะ อยากเป็นจริงงงงๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เหลนรหัส หมอ บ. 12 ก.พ. 53 02:51 น. 15
หมอเต๋าครับ
ไม่รู้ว่าใครตรวจ CD นะครับ แต่ที่เล่ามา
เดาว่า ต้องขอขอบคุณ หมอ บ. นะครับ
ที่เป็นผู้สร้างเหตุการณ์ น่าประทับใจนี้

เขาเคยเล่าให้ฟังว่า การต่อว่าของอ.ต่อหน้าคนไข้อายุมาก
จะทำให้คนไข้สงสาร และให้ความร่วมมือหมอมากขึ้น
เห็นจะจริงนะ

ให้คุณตาคนนี้ร้องเพลง Poker face ตอนเช็ค VD หรือเปล่าครับ
p-p-p-poker face ๕๕๕
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
dent cmu 12 ก.พ. 53 19:00 น. 19
ทันตะ มช. ฝีมือดีจิงๆๆๆๆ ฝึกฝนกันมาอย่างเต็มเอี้ยดดดดดด แลปเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด