คณะจิตวิทยา Issue 002 week2, Joly 2010
 
คณะจิตวิทยา
ตอนที่ 2/4 : จากรุ่นพี่ถึงรุ่นน้อง : ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
 
เสียงจากคนที่อยู่คณะจิตวิทยา
  สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... มาแล้วๆๆ คณะในฝันประจำสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฎาคม และเราก็ยังอยู่กันที่คณะจิตวิทยานะคะ วันนี้ พี่เป้ มาพร้อมกับรุ่นพี่จากรั้วมหาวิทยาลัยที่พกพาประสบการณ์การเรียนในรั้วคณะจิตวิทยามาฝากกันแหละ
 
 
สาวจิตวิทยาคนที่ 1: นฤนีย์ อิทธิชัยมานนท์ (นุ่น)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ปี 4
นิเทศ

พี่เป้: อยากให้ช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ หน่อยค่ะ
น้องนุ่น: นฤนีย์ อิทธิชัยมานนท์ (นุ่น) คณะ มนุษยศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒค่ะ
พี่เป้: อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เลือกเรียนจิตวิทยาคะ
น้องนุ่น: ความเป็นจริงก็มีหลายเหตุผลที่ทำให้อยากเรียนจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็นความคิดเด็กๆ ที่อยากจะรู้ว่าคนอื่นคิดอะไรอยู่ อยากจะสะกดจิตคนได้ บลา บลา บลา แต่พอได้มาเรียนแล้วขอไม่บอกแล้วกันว่าสามารถทำอย่างที่เคยคิดได้มั้ย ฮ่าๆๆ แต่ก็มีเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เลือกจิตวิทยาอย่างจริงจังเพราะรับรู้ว่าตัวเองเป็นคนที่ชอบสังเกตพฤติกรรมของผู้คนทั่วไป และเป็นคนที่ใส่ใจในความรู้สึกของคนอื่นมากๆ จึงตัดสินใจเลือกจิตวิทยาไปถึง 2 อันดับ

พี่เป้: พอมาเรียนจริงๆ แตกต่างจากที่คิดเอาไว้มั้ยคะ
น้องนุ่น: แน่นอนว่าก็ต้องมีอะไรที่มากขึ้นว่าตอนที่เราคิดตอนแรกอยู่แล้ว ทั้งเนื้อหาวิชาเรียน รวมถึงสังคมที่อยู่ด้วย แต่ขอบอกว่าดีกว่าที่คิดไว้มากๆ เลยแหละ ทั้งวิชาที่เรียนที่ตอนแรกคิดว่าต้องยาก และต้องมีเครียดบ้างแน่ๆ แต่เอาเข้าจริงก็สนุกมากๆ อาจารย์ที่สอนก็น่ารัก รวมทั้งเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในภาควิชาก็รักกันอย่างอบอุ่นที่สุด เรียกได้ว่าประทับใจตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เปิดเทอมเลย จึงได้รับรู้ว่าศาสตร์จิตวิทยานี่มันมีเสน่ห์จริงๆ เลยแหละ ^___^
นิเทศ
พี่เป้: แล้วที่ มศว ภาควิชาจิตวิทยา มีแบ่งสาขาอีกมั้ยคะ

น้องนุ่น: ในระดับปริญญาตรีของมศวจะมีให้เรียนเป็นจิตวิทยาทั่วไปอย่างเดียว เพราะเป็นพื้นฐานให้เราสามารถต่อยอดการเรียนในระดับที่สูงขึ้นไปหรือในการทำงาน โดยสามารถรับรู้ว่าตัวเองสนใจและมีศักยภาพด้านใดเป็นพิเศษจากศาสตร์จิตวิทยาที่ได้เรียนนั่นเอง ดังนั้นในความคิดของพี่แล้ว จิตวิทยาทั่วไปจะช่วยให้เราประยุกต์สิ่งที่เราชอบ กับความรู้ทางด้านจิตวิทยาได้ส่งผลให้เรา
ทำสิ่งที่เราชอบได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

พี่เป้: อยากให้ลองเล่าถึงวิชาที่ชอบ
น้องนุ่น: ความจริงมีหลายวิชามากๆที่ชอบแต่ขอยกตัวอย่าง 2 วิชานั่นก็คือ
-Abnormol psychology (จิตวิทยาอปกติ) เป็นความชอบส่วนตัวตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนจิตวิทยาเพราะเคยสัมผัสกับบุคคลซึ่งมีอาการทางจิต และเราเองจึงอย่างจะเรียนรู้ถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขเบื้องต้นได้บ้าง
-Emotion&Motivation psychology (อารมณ์และแรงจูงใจ) ชอบในผลลัพธ์ของการเรียนที่ทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการรู้เท่าทันถึงอารมณ์ของตัวเอง ผนวกกับการใช้แรงจูงใจในทางที่ดีเพื่อพัฒนาตัวเองได้ด้วย และยังสามารถแนะนำคนอื่นให้ใช้พัฒนาตัวเองเขาเองในทางที่ดี ถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง
 

 

 

พี่เป้: มีความภูมิใจต่อคณะ และสถาบันยังไงบ้างคะ

น้องนุ่น: หลายเหตุผลมากไม่ว่าจะเป็นการที่รุ่นพี่ และรุ่นน้อง
เอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกันเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีอย่างหนึ่ง
มันทำให้เรารู้สึกอบอุ่นเหมือนมีบ้านอีกหลังหนึ่งเลย และอีกอย่าง
มศวฝั่งประสานมิตรเป็นที่ที่มีการคมนาคมที่สะดวกที่สุดก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า BTS MRT รถเมล์ เรือ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์
หากน้องๆ ขับมาก็มีที่จอดให้นะจ๊ะ

พี่เป้: ในอนาคตอยากจะทำงานอะไรคะ
น้องนุ่น: ความฝันสูงสุดของอาชีพก็คือ การที่ได้เปิดมูลนิธิพิเศษใน
การวางแผนชีวิตครอบครัว และคู่สมรส เพราะคิดว่าปัญหาสังคมส่วน
ใหญ่ก็มีสาเหตุมาจากปัญหาครอบครัวเป็นหลักด้วย ดังนั้นจึงอยาก
เปิดมูลนิธิดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถป้องกัน และแก้ไขสาเหตุของ
ปัญหาสังคมได้บ้าง และสามารถให้บริการกับครอบครัวที่มีฐานะ
ยากจนได้ โดยไม่คิดสตางค์

พี่เป้: สุดท้ายนี้ อยากให้ฝากข้อคิดหรือกำลังใจให้แก่น้องๆ ด้วยค่ะ
น้องนุ่น: ถึงน้องๆ ที่อยากจะเรียนจิตวิทยานะจ๊ะ พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้ในการอ่านหนังสือนะ อาจจะเหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง แต่ขอให้สู้ๆ คิดซะว่าตั้งใจให้ดีที่สุดจะได้ไม่เสียใจภายหลัง แล้วก็อย่าเครียดมากนะจ๊ะ แบ่งเวลาทำเรื่องที่สนุกบ้างก็ดี สุดท้ายแล้ว หากน้องอยากเข้าจิตวิทยานะจ๊ะ ที่มศวและพี่เองก็ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคน แล้วพบกัน ^^ เอ้อ...! ลืมบอกไปว่า จิตวิทยากับจิตแพทย์ มันต่างกันนะน้อง สนใจอะไรก็ต้องไปศึกษาให้ดีๆ ก่อนด้วยจ๊ะ

นิเทศ
 
 
สาวจิตวิทยาคนที่ 2: ธีรินทร นวลฤทัย ( ตัวโน้ต ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์
คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ปี 4
 
พี่เป้: ก่อนอื่นอยากให้ช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ หน่อยค่ะ
พี่ตัวโน้ต : สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวธีรินทร นวลฤทัย ชื่อเล่น ตัวโน้ต ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ปี 4
 
พี่เป้: ทำไมถึงเลือกเรียนด้านจิตวิทยาล่ะคะ
พี่ตัวโน้ต : จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พี่สนใจที่และเลือกเรียน โดยพี่อยากรู้ว่าสิ่งที่คนแต่ละคนนั้นทำลงไปมีเบื้องหลังของพฤติกรรมอย่างไร และเหตุใดเขาถึงได้ทำพฤติกรรมนั้นๆ จึงทำให้อยากที่จะเรียนรู้
 
 
 
 

 

 
พี่เป้: ตอนแอดมิชชั่นเข้ามา เตรียมตัวยังไงบ้าง คะแนนแอดมิชชั่นที่ได้เท่าไรคะ
พี่ตัวโน้ต : ต้องขอบอกก่อนเลยว่าพี่ไม่ใช่เด็กที่เรียนเก่ง แค่อยู่ในระดับปานกลาง โดยตอนแอดมิชชั่นพี่ก็เตรียมตัวประมาณ 3 เดือนก่อนสอบ โดยจะอ่านหนังสือทุกเวลาถ้ามีเวลาว่าง ทั้งนี้การทำข้อสอบเก่าถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากในการคิด วิเคราะห์ และยังทำให้ช่วยได้รู้แนวข้อสอบอีกด้วย ซึ่งคะแนนสอบที่ออกมาก็ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ประมาณ 6700 – 6800
 
พี่เป้: จิตวิทยาที่เกษตรฯ มีแบ่งสาขาหรือภาคมั้ยคะ
พี่ตัวโน้ต : ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์แบ่งเป็น
4 สาขาค่ะ คือ

-จิตวิทยาคลินิก เรียนเกี่ยวกับการบำบัดผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ เช่น การพูดคุย กิจกรรมกลุ่ม บทบาทสมมติ การวาดภาพความคิด เป็นต้น เรียนเกี่ยวกับโรคทางจิต โดยแนวทางการทำงานตรงสาขาก็จะเป็นนักจิตวิทยาบำบัด ตามโรงพยาบาล หรือ ศูนย์พยาบาล

-จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร จะมุ่งเน้นที่จะสร้างความสุขในการทำงานในองค์กร(จะคล้ายๆกับการบริหาร) ก็ทำงานในแผนกบุคคล หรือ แผนกทรัพยากรบุคคล เป็นผู้อบรมพนักงาน ร่วมคัดสรรค์บุคคลากรที่จะมาทำงาน ทั้งยังให้คำปรึกษาปัญหาในการทำงานต่างๆ

-จิตวิทยาพัฒนาการ มุ่งเน้นการศึกษาพัฒนาการของบุคคลในทุกๆช่วงวัย ตั้งแต่ในครรภ์ ทารก เด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยชรา เพื่อให้บุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยของตน และอยู่ด้วยกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การทำงานตรงสาขาก็เป็นได้ตั้งแต่ครูอนุบาล เป็นพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ(ปัญญาล้ำ,ออทิสติก) นักจิตวิทยาในโรงเรียน,ศูนย์ผู้สูงอายุ

-จิตวิทยาชุมชน มุ่งเน้นการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าการรักษา ศึกษาปัญหาของสังคมในด้านต่างๆโดยมุมมองที่เป็นจิตวิทยา และป้องกันปัญหาเหล่านั้นเวยการเสริมความเข้มแข็งของบุคคล ชุมชน สังคม เป็นจิตวิทยาเชิงรุก(ไม่รอให้เกิดปัญหา) มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มชุมชนที่มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากตัวบุคคล สู่สังคม และท้ายที่สุดก็สู่สังคม
 
พี่เป้: คิดว่าการเรียนจิตวิทยามีความสำคัญในสังคมไทยมากแค่ไหนคะ
พี่ตัวโน้ต : พี่คิดว่าในปัจจุบันจิตวิทยาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดๆก็ตามเราก็จะต้องเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งนั้น ดังนั้นการที่เราได้เรียนรู้และเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ได้นั้นจะทำให้เราได้รู้จักเข้าใจผู้อื่นและยอมรับในตัวผู้อื่นมากขึ้น
 
พี่เป้: กิจกรรมที่ได้ทำคณะหรือมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้างคะ

พี่ตัวโน้ต : อยากจะบอกกับน้องๆว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะส่งเสริมให้นิสิตทุกคนทำกิจกรรม โดยต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 100 ชม. จึงมีสิทธิ์พระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งอาจจะดูแล้วว่าทำไมเยอะจัง แต่เมื่อได้เข้ามาในรั้วนนทรีแห่งนี้แล้วก็จะพบว่ามีกิจกรรมมากมายที่ให้เข้าร่วม โดยส่วนของทางภาควิชานั้นพี่ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมเยอะมาก เช่น วันตั้งไข่ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมแรกที่จัดให้สำหรับนิสิตชั้นปีที่1 เพื่อให้ก้าวแรกของน้องๆในการเรียนนั้นประสบความสำเร็จ โดยกิจกรรมนี้น้องๆจะได้พบปะรุ่นพี่ที่จบไปแล้วที่ประสบความสำเร็จกลับมาบอกกล่าวข้อคิดดีๆให้แก่น้องๆฟัง หรืออีกกิจกกรมหนึ่งคือโครงการจิตอาสา ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ให้นิสิตที่อยากทำประโยชน์ให้แก่สังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเป็นโครงการที่ดี ที่สอนให้ตระหนักถึงบุคคลอื่นมากขึ้นด้วย เป็นต้น

พี่เป้: คิดว่าจุดเด่นของจิตวิทยา ที่ ม.เกษตรศาสตร์คืออะไรคะ
พี่ตัวโน้ต : การได้ให้นิสิตลงมือปฏิบัติจริงซึ่งจะทำให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่า Learning By Doing เพราะอาจารย์เน้นให้นิสิตนั้นคิดและวิเคราะห์เป็นโดยจากการลงมือกระทำของตนเอง เช่น เครื่องมือของนักจิตวิทยา คือแบบทดสอบ ซึ่งผู้ที่เรียนสาขาอื่นมาไม่สามารถสร้างได้ในการที่จะวัดพฤติกรรมของมนุษย์ แต่สำหรับที่นี้ การลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้ได้ความรู้ และกระบวนการคิดที่เป็นระบบ เป็นต้น และสิ่งที่อาจารย์ที่ภาควิชาตระหนักและเน้นย้ำอยู่เสมอ คือ “เข้าใจตัวเองก่อน จึงจะเข้าใจผู้อื่น”

 

 



พี่เป้:
ในอนาคตอยากทำงานด้านไหนคะ
พี่ตัวโน้ต : อนาคตอยากทำงานทางด้านฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ซึ่งอยากนำความรู้ในสิ่งที่เรียนมาใช้ในการประกอบอาชีพ ทั้งในการคัดเลือก การสรรหา การฝึกอบรม ตลอดจนการสร้างแบบทดสอบค่ะ
 
พี่เป้: สุดท้ายอยากให้ช่วยฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียนจิตวิทยาด้วยค่ะ
พี่ตัวโน้ต : อยากฝากว่าน้องๆคนไหนที่อยากเข้าจิตวิทยานะคะ ก็อยากจะให้หาตัวเองให้เจอก่อนนะค่ะและเลือกในสิ่งที่ใช่และที่ชอบ เพราะพี่อยากให้น้องๆใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข ยังไงพี่เอาใจช่วยน้องๆทุกๆคนนะค่ะ สู้ๆค่ะ ^^
 
 
สาวจิตวิทยาที่ 3: พิชญา นาวีระ (แพร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาการปรึกษา ปี 4
 
พี่เป้: ช่วยแนะนำตัวเองกับน้องๆ หน่อยค่ะ
พี่แพร์ : สวัสดีค่ะ ชื่อ พิชญา นาวีระ ชื่อเล่นแพร์ค่ะ ตอนนี้เรียนอยู่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 4 เป็นปีสุดท้ายของการเรียนที่นี่แล้วค่ะ
 
พี่เป้: อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เลือกเรียนจิตวิทยาคะ
พี่แพร์ : ด้วยความคิดในตอนแรกเลย คืออยากจะล่วงรู้เข้าไปในจิตใจของมนุษย์ ที่น่าสนใจคือความรู้สึกนึกคิดของอาชญากร ยกตัวอย่าง เอ็ดเวิร์ด กีน อะไรคือแรงจูงใจ อะไรคือความกดดัน ปมอดีตหรือความเก็บกดเบื้องลึกของตัวฆาตกรที่ทำให้ก่ออาชญากรรมขึ้น คล้ายๆกับว่ามีความสนใจในพฤติกรรมนอกกรอบสังคมอยู่แล้วก็เลยทำให้สนใจในศาสตร์ของจิตวิทยาค่ะ
 
พี่เป้: แล้วทำไมถึงเลือกเรียนจิตวิทยาที่จุฬาฯ
พี่แพร์ : เพราะว่าที่นี่แยกออกมาเป็นคณะเลยค่ะ เห็นว่าทางด้านวิชาการและการเรียนการสอนต้องชัดเจนและมีเนื้อหาหลากหลาย มีคณาจารย์ที่เป็นที่หนึ่งในแต่ละด้านด้วยกัน ขออนุญาตเรียนถึงท่านอาจารย์ อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ท่านจะเป็นที่หนึ่งในด้านของ Behavior Modification เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมในบุคคล รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระพร อุวรรณโณ ท่านก็จะเชี่ยวชาญมากเกี่ยวกับการศึกษาและการวัดด้าน Attitude (เจตคติ)
 
พี่เป้: แล้วที่จุฬาฯ การเรียนการสอนของคณะจิตวิทยาเป็นยังไงบ้างคะ

พี่แพร์ : ขออนุญาตนำข้อมูลที่ชัดเจนจริงๆมาจากเว็บไซต์ของคณะเลยนะคะ ตอนนี้เรามีด้วยกัน 2 หลักสูตรค่ะ ได้แก่

-วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

-วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) ด้านกลุ่มวิชาที่เปิดให้เลือก จะมีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่

     1.จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) มุ่งให้ผู้มีปัญหาได้ทำ ความเข้าใจกับปัญหาของตน และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษา(Counselor) มีหน้าที่เป็นผู้เอื้อให้ผู้มีปัญหาได้เข้าใจปัญหาของตนอย่างชัดเจนที่สุด นักจิตวิทยาการปรึกษาจะไม่เข้าไปบงการ แนะนำ หรือ แทรกแซง ผู้รับบริการ แต่จะช่วยให้เขาสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเอง

     2.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่า..ผู้คนคิดอย่างไรเกี่ยวกับผู้อื่น ผู้คนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร ผู้คนมีอิทธิพลต่อกันและกันอย่างไรบ้าง

     3.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละขั้นของมนุษย์ เช่น จิตวิทยาวัยเด็ก จิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ

     4. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) ศึกษาจิตวิทยาเพื่อนำมาประยุกต์กับการทำงานและนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับ ในบริบทของการทำงาน ให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาสมรรถภาพขององค์การ (Organizational Competency) มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ และผลิตภาพของบุคคล วิชาบังคับที่ต้องเรียน เช่น ภาษาอังกฤษ (ประมาณ 4 ตัว) ภาษาไทย (ตัวเดียวเองค่ะ) สถิติ (ไม่ต้องกลัวนะคะแทบจะมาเรียนใหม่กันหมด เลยด้วยซ้ำ ) ชีววิทยาทั่วไป สรีรวิทยา จิตชีววิทยา (เกี่ยวกับชีวะเรามี 3 ตัวค่ะ ค่อนข้างจะเน้นหน่อย ได้ไปเรียนร่วมกับตึกแพทย์ด้วย) นอกเหนือจากนั้นจะเป็น Intro ในแต่ละหลักสูตร เช่น จิตวิทยาการปรึกษาขั้นนำ จิตวิทยาอุตสาหกรรมฯขั้นนำ

 
 

 


 

 

 
พี่เป้: แล้วแพร์เลือกเรียนสาขาอะไร แล้วในสาขานั้นเรียนอะไรบ้าง
พี่แพร์ : เลือกเรียนในหลักสูตรของจิตวิทยาการปรึกษาค่ะ เกี่ยวกับกระบวนการให้การปรึกษา ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ขอยกตัวอย่างที่เด่นๆเลย เช่น ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud (โด่งดังมากๆในเรื่องของจิตใต้สำนึก , การใช้กลไกในการป้องกันจิตใจตนเอง , การวิเคราะห์หรือตีความความฝัน) ทฤษฎีมนุษยนิยมของ Carl Rogers (มองมนุษย์ด้านบวก เชื่อว่าคนเราพัฒนาศักยภาพได้ตลอดชีวิต) ศึกษาทักษะในการให้การปรึกษา จรรยาบรรณของผู้ให้การปรึกษา ส่วนด้านภาคปฏิบัติ อาจจะมีการออกภาคสนาม ได้ลองพูดคุยกับบุคคลทั่วไป ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ได้ทดลองฝึกการทำ Counseling
 
พี่เป้: อยากให้ลองพูดถึงวิชาที่น่าสนใจสักหน่อยค่ะ
พี่แพร์ : ขอเลือกวิชาจิตวิทยาความเป็นหญิงและชาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของหญิงและชาย ทั้งทางด้านชีววิทยา ด้านสังคมวิทยา ด้านจิตวิทยา ทัศนคติ แนวคิด ความเชื่อต่างๆ เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากค่ะ อาทิ

-ผู้เขียนนิยายรักหวานแหววส่วนใหญ่มักจะเป็นหญิง ส่วนชายจะค่อนไปทางผจญภัยหรือบู๊ล้างผลาญ , หญิงมักถูกมองว่าเจ้าอารมณ์และอ่อนแอ ร้องไห้ได้ง่ายกว่า (จริงๆแล้วเพราะบริบททางสังคมไม่สนับสนุนให้ชายร้องไห้นั่นเอง)

-ชายมักมองความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องสันทนาการและเพื่อการปลดปล่อย ส่วนหญิงมองว่าเป็นความรักและความโรแมนติก , หญิงมุ่งความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่เป็นการพูดคุย แต่ชายจะเน้นการทำกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นคู่รักบางรายอาจมีปัญหาที่ฝ่ายชายไม่ยอมบอกรัก ซึ่งเขาอาจแสดงที่การกระทำแทน แต่หญิงมักต้องการเป็นคำพูดมากกว่า  ผู้ชายจะกลัวเวลาที่ผู้หญิงพูดว่า ‘เราคงต้องคุยกันแล้วล่ะ ’ 

- ด้านความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการข่มขืน เช่น ชายจะมองว่าการปฏิเสธคือการยอม การถูกข่มขืนไม่ได้เป็นที่เสียใจของฝ่ายหญิงมากนัก หรือหญิงสามารถดิ้นรนได้แต่ไม่ทำ ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ ‘ผิด’ อย่างมาก ทั้งความจริงยังตรงกันข้ามกับที่ชายเข้าใจอีกด้วย
 
พี่เป้: แล้วเรียนอย่างนี้ ต้องฝึกงานด้วยมั้ยคะ
พี่แพร์ : ได้ไปฝึกงานที่สถาบันธัญญารักษ์ เหมือนเราได้เปิดมุมมองและเปลี่ยนอุปนิสัยไปมากมายจริงๆจากการทดลองฝึกประสบการณ์ที่นั่น ได้ทำงานทั้งทางด้านคลินิคและด้านการปรึกษาด้วย ได้พบเจอกับผู้คนมากมาย ได้เปิดประสบการณ์ผ่านมุมมองของบุคคลอื่นๆ มีเรื่องน่าสนใจแทบทุกวัน ถือเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตจริงๆค่ะ
 

พี่เป้: มีความภูมิใจต่อคณะจิตวิทยาและจุฬาฯ ยังไงบ้าง เล่ามาเลย
พี่แพร์ : ภูมิใจมากๆกับตราพระเกี้ยวบนหน้าอก เป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้มาอยู่ในรั้วจามจุรีแห่งนี้ ได้เป็นนิสิตในพระปรมาภิไธย เป็นเหมือนความใฝ่ฝันที่เคยวาดหวังไว้ว่าสักวันจะได้เข้ามาเป็นนิสิตร่วมกัน ภูมิใจและตื้นตันทุกครั้งที่ได้ร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ค่ะ ในความภาคภูมิใจต่อคณะนั้น บอกได้คำเดียวว่า ถ้าไม่ได้มาอยู่ในคณะจิตวิทยา ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าตอนนี้จะเป็นอย่างไร เพราะตั้งแต่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในรั้วจิตวิทยามาเกือบจะ 4 ปี ตนเองได้ปรับเปลี่ยนไปมากถึงมากที่สุด ทั้งนิสัย การวางตัว การมองโลกในด้านต่างๆ ทั้งยังได้เปิดหูเปิดตา ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้พบปะผู้คนมากมาย ที่นี่ไม่ได้มุ่งเน้นแต่วิชาการ แต่ยังสอนให้รู้จักการใช้ชีวิต ได้รู้จักคุณค่าในตนเอง

พี่เป้: แล้วอนาคตแพร์อยากทำงานอะไรคะ
พี่แพร์ : เขียนไว้ในวิชาจิตวิทยาการปรับตัวว่า อยากจะเป็น ‘นักเขียนที่วาดรูปเป็นงานอดิเรกอยู่ในร้านกาแฟของตัวเอง (ดูเหมือนจะหลายเป้าหมาย) ด้วยความที่เป็นคนชอบทำอะไรสบายๆ ผ่อนคลายไปวันๆ ตั้งเป้าหมายไว้แน่นอนว่าไม่อยากทำงานประจำที่ต้องรีบเร่งและแข่งขันกับใคร (เป้าหมายนี้เอาไว้ชีวิตหลังเกษียณจะดีกว่า) ถ้าพูดกันจริงๆแล้ว ตอนนี้วางแผนว่าอยากจะเรียนต่อปริญญาโทด้านจิตวิทยาคลินิคหรือจิตวิทยาการปรึกษา เพื่อจะได้จบมาแล้วทำงานในด้านนี้ค่ะ

พี่เป้: ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียนคณะจิตวิทยาหน่อยค่ะ
พี่แพร์ : น้องๆที่อยากเรียนคณะจิตวิทยาไม่ต้องกังวลกับข้อจำกัดของตัวเองนะคะ เมื่อน้องมาที่นี่ สิ่งหนึ่งที่น้องจะได้ไปคือการได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งยังได้มุมมองมากมายในการใช้ชีวิตในสังคม ขอสิ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นแรงบันดาลใจในการก้าวเข้ามาสู่คณะจิตวิทยา นั่นก็คือ ‘รักและเต็มใจ’ ที่จะเข้ามาเรียน พี่เชื่อว่าสองสิ่งนี้จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ช่วยผลักดันเรา ไปสู่เส้นทางที่ดีในอนาคตได้ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้แก่ความฝันของน้องๆทุกคนที่อยากเรียนนะคะ รุ่น 10 และรุ่นต่อๆไปกำลังรอน้องๆอยู่ค่ะ

 
 
 
             นั่นก็คือเสียงจากรุ่นพี่ทั้งสามคนที่เรียนจิตวิทยา อ่านไปอ่านมาก็น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยนะคะเนี่ย หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆ ที่สนใจด้านนี้ ส่วนสัปดาห์หน้าเราจะกลับมาพร้อมกับรุ่นที่จบจากด้านจิตวิทยา แล้วกำลังทำงานบนเส้นทางนี้อยู่ จะเป็นยังไงบ้าง ต้องติดตามพุธหน้านะ
 
 
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
peter 16 ก.ค. 53 19:22 น. 22
ที่อื่นไม่แน่ใจนะ ต้องลองถามดู แต่ที่มศว เปิดโอกาสให้สายศิลป์ก็เรียนได้ จบแล้วก็ได้ วิทยาศาสตร์บัณฑิต ด้วยน้า
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

63 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
CSKMUTNB 16 ก.ค. 53 00:40 น. 17
ผมว่าแต่ละคณะก็มีข้อดีที่แตกต่างกันนะครับ ขึ้นอยู่ที่ว่าใครมีความถนัดหรือความสนใจในด้านใด
แต่ที่เคยสัมผัสมาก็คือ จิตวิทยา จุฬา ครับ เนื่องจากรู้จักผู้ให้สัมภาษณ์ของจุฬาครับ เค้าเล่าให้ฟังถึงการเรียนการสอน แล้วบางทีก็เอาสิ่งที่เรียนมาทดลองด้วยเหมือนกัน 55 ที่นี่ถือว่าเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ สำหรับคนที่รู้ตัวเองเลยว่าชอบจิตวิทยาแบบด้านไหน เนื่องจากมีสาขาที่แบ่งแยกชัดเจนมากครับ

Cheer Up Psy Cu ครับ

^^
0
กำลังโหลด
กงเกรียนกกรรมเกรียน 16 ก.ค. 53 02:56 น. 18
ข้อความที่ 3 กับ 4 สร้างกระแส ครับ

KU Psy

เกรียน และ ฮา

เอ๊ะ จะไปบอกเค้าทำไม มาเองแล้วจะรู้

5555+
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
rickoii 16 ก.ค. 53 11:17 น. 20
ดีเนอะ....ได้เรียนในสิ่งที่ใช่กับตัวเองจริงๆ
บางทีการเข้าใจจิตใจของคน ก็เป็นสิ่งดีต่อตัวเราเหมือนกันนะ
สู้ สู้....จ้าเเพร์ ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด