ใครปวดหัวกับชีวิต ม.6 อยู่บ้าง ยกมือขึ้น!! เพราะไม่ว่าจะหันซ้ายหันขวา เพื่อนของเราเริ่มเตรียมตัวสอบกันแล้ว แต่กลับมามองที่ตัวเอง ยังไม่รู้เลยว่าอยากเรียนคณะอะไร จบไปทำอะไร แล้วต้องสอบอะไรบ้าง?? เรียกว่าคำถามผุดขึ้นมาเป็นชุด แข่งกับเวลาอันน้อยนิดที่ต้องตัดสินใจ


             ซึ่งใครที่มีความพร้อมและมั่นใจพอตัว อาจจะลงมือสมัครสอบรับตรงกันไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะของ มศว ที่ ณ วันนี้เพิ่งเปิดรับสมัครกันแค่สองอาทิตย์ ยอดสมัครก็พุ่งเกือบ 20,000 คนแล้ว สมกับเป็นรับตรง มศว ที่แรงดีไม่มีตกสักปีจริงๆ แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะสอบตรงหรือไม่สอบตรงดี วันนี้พี่มิ้นท์จะมาวิเคราะห์ระบบทั้งสองนี้ ให้น้องๆ เข้าใจมากขึ้นค่ะ



            ก่อนอื่น พี่มิ้นท์ขออธิบายคร่าวๆ ก่อน ว่า "รับตรง" และ "แอดมิชชั่น" คืออะไร

            - รับตรง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นการรับโดยตรง โดยหน่วยงานที่เปิดรับสมัคร ก็คือ มหาวิทยาลัย หรือ คณะนั้นๆ รับสมัครเอง รับตรงอาจจะมีหลายชื่อค่ะ เช่น รับตรง, รับตรงวิธีพิเศษ, โควตา เป็นต้น แต่ทุกอย่างเป็นการรับที่เกิดจากข้อกำหนดของสถาบันที่เปิดรับ สำหรับการสอบมีทั้งแบบสอบข้อเขียนที่สถาบันจัดสอบเอง หรือใช้คะแนน GAT PAT จาก สทศ.มาเป็นองค์ประกอบด้วย
            - แอดมิชชั่นกลาง คือ ระบบการรับนักศึกษา ที่จัดโดยหน่วยงานกลาง เป็นระบบที่มีทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน องค์ประกอบคะแนนหลักๆ คือ GPAX, O-NET, GAT, PAT ในแต่ละปีเปิดรับเป็นแสนๆ ที่นั่ง
 
             คราวนี้ลองมาดูจุดแข็ง- จุดอ่อน ของแต่ละแบบกันค่ะ

     lllระบบรับตรงlll

      จุดแข็ง      - หากมีคณะที่อยากเรียนจริงๆ ก็สามารถเลือกสอบในคณะในฝันได้ก่อน ซึ่งเป็นแต้มต่อคนอื่นๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะเรียนคณะอะไร
                  - และถ้าหากสอบติดก่อนก็สบายใจ เพราะเรามีที่เรียนเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องเครียดตอนแอดมิชชั่นทีหลัง ที่สำคัญ หากเราจะเรียนที่นั้นจริงๆ ก็อาจจะไม่ต้องเปลืองเงินสอบ GAT PAT
หรือสอบแต่ก็ทำชิวๆ ได้  แต่ถ้าหากมาตัดสินใจภายหลังว่าไม่อยากเรียน ก็ค่อยสละสิทธิ์ภายหลังได้(แต่ก็ไม่ควรทำนะ สงสารเพื่อนๆ) โดยรวมคือ หากติดรอบรับตรงแล้ว ก็สบายตัวจ้า
                 - รับตรงและโควตามีหลากหลาย โดยเฉพาะโควตาบางประเภทที่ระบุคุณสมบัติเอาไว้ เช่น โควตานักกีฬา โควตาผู้มีความสามารถพิเศษ โควตาเด็กเรียนดี ดังนั้นถ้าใครมีคุณสมบัติครบ
ก็เรียกว่าฉลุยแล้ว เพราะว่าการกำหนดคุณสมบัติแบบนี้ ตัดคู่แข่งไปได้เยอะเลย
                 - รับตรงไม่ใช้คะแนน O-NET (แต่บางที่ใช้คะแนน GAT PAT รอบแรกนะ) เพราะโอเน็ตสอบหลังระบบรับตรง ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาอะไรถ้าคะแนนโอเน็ตตัวเองต่ำ ยกเว้นแต่ว่าบางทีจะกำหนดขั้นต่ำมาล่วงหน้า เช่น รับตรง กสพท. ของคณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์
                 - รับตรงบางโครงการ มีการกำหนดไม่ให้พี่ๆ เด็กซิ่วสอบ ก็ช่วยลดคู่แข่งได้อีก (แต่บางโครงการก็รับเด็กซิ่วตามปกติ)
                 - ในกรณีที่สอบรับตรงไม่ติด ก็ถือว่ายังได้ประสบการณ์และคุ้นเคยกับสภาพสนามสอบ ที่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ในสนามสอบอื่นๆ ความคุ้นเคยก็จะทำให้หายตื่นเต้นได้
                 - ในกรณีที่สอบติดและยืนยันเรียนแล้ว ก็สามารถเอาเวลาที่เหลือไปเตรียมตัวเรียนในมหาวิทยาลัยได้
                 - หากสอบไม่ติดก็ไปสอบรอบแอดมิชชั่นได้อีก

      จุดอ่อน     - การสอบตรงทุกที่มีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าสมัครสอบ ค่าใบสมัคร ค่าเดินทางไปสอบ ดังนั้นยิ่งสมัครหลายที่ ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้น
                 - บางสาขาไม่เปิดรอบรับตรง ดังนั้นใครที่อยากเรียนในคณะที่อยากเรียนก็ต้องไปหวังเอาดาบหน้าในรอบแอดมิชชั่นกลาง
                 - คุณสมบัติในการสมัคร ค่อนข้างจำกัด เช่น เรื่องเกรดเฉลี่ย หรือ กำหนดคะแนนขั้นต่ำของ GAT/PAT ถ้าสมัครไปแต่คุณสมบัติไม่เป๊ะ ก็จะถูกตัดสิทธิ์ทันที
                 - ปัญหาการสอบตรงติดและสละสิทธิ์ก็มีบ่อย ดังนั้นในบางคณะรับตรงครบแล้ว แต่พอเวลาประกาศผลจริงก็มียอดคนที่ติดไม่ถึงครึ่ง เหตุผลหลักๆ คือ คนอยากลองสนามเยอะ หรือ
คณะที่ติดก็ไม่ได้อยากเรียนจริงๆ ส่วนที่นั่งที่เหลือก็จะไม่ได้เรียกสัมภาษณ์เพิ่ม แต่จะไปทบรอบแอดมิชชั่นกลาง สุดท้ายคนที่อยากเรียนจริงๆ ก็ต้องไปเหนื่อยรอบแอดมิชชั่นกลางอีก
                 - หากสอบติดแล้วจะถูกตัดสิทธิ์แอดมิชชั่น โดยจะถูกตัดสิทธิ์ตั้งแต่ก่อนเลือกคณะ ดังนั้นถ้าตอนหลังมารู้ว่าคะแนนแอดมิชชั่นกลางของตัวเองสามารถเข้าคณะที่อยากเรียนกว่าได้ ก็จะเกิดอาการเสียดายภายหลัง และปัญหานี้เจอค่อนข้างเยอะเลย เพราะหลายคนไม่กล้าเสี่ยงสละสิทธิ์รับตรงเพื่อแอดมิชชั่นกลาง
                 - สัมภาษณ์สนุกกว่า(ประชด) ทั้งคำถามและบรรยากาศ เรียกว่าต้องมีการเตรียมตัวพอสมควร เพราะทางมหาวิทยาลัยก็ต้องการคัดเลือกคนที่เหมาะสมจริงๆ และคะแนนส่วนหนึ่งก็มาจากการพิจารณาผลงาน Portfolio ด้วย


               
     lllระบบแอดมิชชั่นกลางlll

       จุดแข็ง   - ทุกสถาบันเปิดรับหมด ดังนั้นคณะที่เปิดรับมีความหลากหลาย ทำให้เราเลือกคณะที่ต้องการได้
                  - จำนวนคนรับเยอะกว่า มีสิทธิ์ติดมากกว่า และคนเก่งๆ ก็มักจะติดรับตรงไปแล้ว
                  - มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพราะสัดส่วนกำหนดไว้ชัดเจน แข่งกันที่คะแนนล้วนๆ
                  - มีเวลาเตรียมตัวนานกว่า เพราะกว่าจะถึงเวลาเลือกคณะ ก็ต้นเดือนเมษายนปีหน้า
                  - เลือกได้ถึง 4 อันดับ สมัครแค่รอบเดียว ไม่ยุ่งยาก
                  - รอบสัมภาษณ์ง่ายกว่า แทบจะไม่มีตกสัมภาษณ์

       จุดอ่อน   - แม้ว่าจะมีเวลาเตรียมตัวนานกว่า แต่ก็กดดันกว่า เพราะมีคู่แข่งทั่วประเทศ และจะไม่รู้ว่าคณะไหนคนสมัครเท่าไหร่ เพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูล
                 - บางคณะไม่มีรอบแอดมิชชั่น รับตรงอย่างเดียว!!
                 - ติดหรือไม่ติด ส่วนหนึ่งอยู่ที่คะแนน อีกส่วนคือ "ดวง" ล้วนๆ
                 - ไซโคกันแร๊งแรงอ่ะ
                 - ต้องวัดใจกับตัวเอง ตอนเลือกคณะต้องกล้าได้ กล้าเสี่ยง และต้องศึกษาข้อมูลคะแนนย้อนหลังหลายปี เพื่อประกอบการตัดสินใจ
                 - อัตราการแข่งขันสูง โดยเฉพาะในคณะยอดนิยม แม้ว่าจะเป็นคณะที่รับจำนวนเยอะ คนสมัครก็จะเยอะด้วย
                 - คะแนนรวมในแต่ละปีแตกต่างกัน ขึ้นลงได้ตลอดเวลา ซึ่งจะเหวี่ยงตามค่าคะแนนของการสอบ O-NET, GAT/PAT
                 - ถ้าพลาดอันดับ4 ในแอดมิชชั่นกลางแล้ว ก็จะไม่มีที่เรียน ต้องหาแผน2 รอรับรอบหลังแอดต่อไป

                  พี่มิ้นท์คิดว่าน้องๆ ส่วนใหญ่ก็คงเลือกที่จะสอบตรงด้วย อย่างน้อยก็เพื่อให้ชินกับสนามสอบใหญ่ๆ บ้าง อย่างไรก็ตามก็อยากฝากน้องๆ ว่า คิดให้ดีก่อนสมัคร เพราะจะได้ไม่เกิดปัญหาติดแล้วสละสิทธิ์ ทำให้เพื่อนเสียโอกาสไปด้วย แถมยังต้องเสียเงินคุณพ่อคุณแม่อีก แต่ถ้าใครมีความตั้งใจดีจริงๆ พี่มิ้นท์ก็ขอให้โชคดีจ้า



เด็กดีดอทคอม :: เด็กมัธยมงานเข้า!! ศธ.เอา O-NET มาคิดเกรดโรงเรียน

แจ้งน้องๆ ที่สมัครรับข่าวแอดฯผ่าน SMS ในเดือน มิ.ย. รอพบ SMS เด็ดๆ ดังนี้

          - อัพเดทไว!! ข่าวรับตรงปี 56 ของ 3 ม.แรกของปี จุฬา มศว และ มข.
   
      - รู้ก่อนใคร ระเบียบการสอบ GAT PAT ทั้ง 2 รอบ (เด็ดจาก สทศ.)

      - ตามข่าววงใน ทุกเหตุการณ์สอบตรง และแอดมิชชั่นที่รุ่น 56 ต้องรู้!!

       - รวมงานติวฟรีของทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย ที่เด็ก ม.6 ไม่ควรพลาด!!

        (อยากรับข่าว SMS บ้าง มาอ่านวิธีสมัคร คลิกที่นี่ เลย)
           
                     ข่าวดี !! น้องที่ใช้เครือข่าย truemove H ก็สมัคร Dek-D'S SMS ได้แล้วจ้า

เด็กดีดอทคอม ::


พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

45 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
YongG Member 2 มิ.ย. 55 12:46 น. 13
 ขอให้ติดในคณะตัวเองก็ภูมิใจมากแล้ว ไม่ว่าจะสอบตรงหรือแอดกลาง จะตั้งใจทำให้ดีที่สุดเลย สู้ๆนะทุกคน แต่ก็กังวลอยู่เหมือนกัน 55555 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
asakura>w< Member 2 มิ.ย. 55 13:28 น. 15
เด็กแอดมิชชั่นก็บอกรับตรงยาก
เด็กรับตรงก็บอกแอดมิชชันยาก
สรุปนะ มันยากและต้องเสี่ยงทั้งสองอย่างอ่ะแหละ

แต่เราเด็กแอดฯนะ แข่งกะคนทั้งประเทศ ลุ้นจนเหงื่อตกทีเดียว
แต่พอได้มาก็รู้ว่ามันคุ้มค่านะ ที่จะได้เสี่ยง
รับตรงก็สอบนะ ความกดดันน้อยกว่าแอดมิชชัน
แต่ไม่รู้ทำไมถึงภูมิใจและอยากเสี่ยงกับแอดมิชชั่น

น้องๆก็คิดดูดีๆแล้วกันค่ะ ว่าตัวเองเหมาะกะแบบไหน?
บางคนอาจเหมาะกับรับตรง ซึ่งต้องมีความรู้ในวิชาด้านนั้นโดยเฉพาะเจาะจงจริงๆเพราะคณะจะคัดเลือกจากตรงนั้น
บางคนอาจจะเหมาะกะแอดมิชชั่น ซึ่งต้องมีความรู้รอบด้านเพราะข้อสอบที่ใช้เป็นข้อสอบส่วนกลาง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ผัดไทยใส่ไข่ Member 2 มิ.ย. 55 16:13 น. 17
ขอบคุณค่ะ....    ขอให้สอบตรง...ครั้งเดียว ติดเทิ๊ด  เพี๊ยงงงงง...งงงงงงๆๆๆๆ!!!!!!!!!

(มอ.หาดใหญ่ค๊า.................รับหนูด้วยน่ะค่ะ )
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด