วัสดีค่ะน้องๆ เพิ่งผ่านเทศกาลสงกรานต์มาหมาดๆ แบบตัวยังไม่ทันแห้งดี ก็เท่ากับผ่านมาครึ่งทางของปิดเทอมแล้ว หลายคนยังสนุกกับการปิดเทอมอยู่ ก็ไม่ว่าอะไรค่ะ แต่ถ้าใครอยากฟิตๆ เตรียมตัวรอเปิดเทอมใหม่แล้วล่ะก็ พี่มิ้นท์มีเรื่องราวดีๆ มาแนะนำกันเหมือนเคยค่ะ
 

 
            สำหรับน้องๆ ที่มีปัญหาเวลาจดเลคเชอร์ จดไม่ทันบ้าง จดแล้วอ่านไม่รู้เรื่องบ้าง หรือจดแล้วไม่เคยจำได้เลยซักที ทั้งหมดนี้อาจจะเกิดจากเทคนิคในการจดที่ไม่มีประสิทธิภาพพอนั่นเอง ทำให้ทุกครั้งที่จดแทบเสียเวลาเปล่าไปเลย ดังนั้น วันนี้พี่มิ้นท์ก็มีวิธีการจดเลคเชอร์สุดบรรเจิด ที่สำคัญอิมพอร์ตมาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์เลยทีเดียว และวิธีนี้ ก็เรียกว่าการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์นั่นเองค่ะ

            วิธีการจดเลคเชอร์แบบคอร์เนลล์ ถูกคิดค้นโดย Dr.Walter Pauk ศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ซึ่งวิธีการนี้ถูกใช้แพร่หลายมากๆ เพราะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวิธีการจดเลคเชอร์ที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง โดยลักษณะและขั้นตอนการจดเลคเชอร์แบบคอร์เนลล์ มีดังนี้

            ขั้นตอนแรก แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 2 ข้าง โดยให้ช่องด้านขวากว้างกว่าด้านซ้าย เพราะด้านซ้ายใช้จดแค่หัวข้อหรือประเด็นสำคัญเท่านั้น ส่วนด้านขวาจะเป็นส่วนที่จดรายละเอียด
 และเว้นที่ด้านล่างของกระดาษไว้เล็กน้อย เพื่อเป็นส่วนสำหรับใช้สรุป

 

            ขั้นตอนที่สอง นำมาใช้ในการจดเลคเชอร์ จะดียิ่งขึ้นถ้าทำตารางเส้นแบ่งนี้ไว้ล่วงหน้า ถึงเวลาใช้จริง จะได้ไม่ต้องหยุดเพื่อตีเส้นกระดาษ หลักการจดคือ จดหัวข้อหรือประเด็นไว้ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจดรายละเอียดตามที่อาจารย์พูด แต่วิธีการคือ ไม่ต้องจดรายละเอียดทุกตัวอักษร จดแค่คีย์เวิร์ดสำคัญๆ ที่เป็นประเด็นหลัก อาจจะเป็นแค่คำ หรือวลีสั้นๆ ไม่ต้องจดประโยคยาวเฟื้อย หรือใช้เทคนิคเรื่องสัญลักษณ์ในการจดเลคเชอร์มาใช้ร่วมกัน การจับใจความสำคัญ จะช่วยลดเวลาลงไปได้เยอะ โดยหลังจากเรียนเสร็จค่อยออกมาเพิ่มใจความอธิบาย 

            ขั้นตอนที่สาม วิธีทบทวน ขั้นตอนการทบทวนขอบอกว่าง่ายและเป็นประโยชน์มากๆ ก่อนอื่นขอให้น้องๆ ทบทวนเนื้อหาด้วยการอ่านย้ำๆ ให้เข้าใจสาระสำคัญ หลังจากนั้น แค่เอากระดาษเปล่ามาปิดช่องทางด้านขวาซึ่งเป็นส่วนของรายละเอียด และค่อยๆ นึก เนื้อหาที่เราจดในหัวข้อทางด้านซ้าย เพื่อเป็นการทบสอบว่าเราเข้าใจแค่ไหน พยายามตอบให้ได้ก่อนเปิดดูเฉลย ถ้าปิดแล้วตอบได้ฉลุย แสดงว่าเราเข้าใจเรื่องนั้นๆ แล้ว
 

 

           ซึ่งหลังจากทบทวนความเข้าใจของตัวเองแล้ว อาจสรุปออกมาเป็นภาษาของเราอีกครั้งด้านล่าง ไว้ใช้ทบทวนเวลาใกล้สอบ ในช่วงที่เวลาเหลือน้อยเต็มที เช่น ทวนรอบสุดท้าย 10 นาทีหน้าห้องสอบ เป็นต้น

            เห็นไหมว่า กระดาษหนึ่งแผ่นใช้ได้ตั้งแต่เริ่มเรียนยันวันสอบ วิธีนี้ช่วยประหยัดเวลาในการจด เมื่อจดน้อยลง ก็เท่ากับว่ามีเวลาฟังมากขึ้น ได้ประโยชน์สองเด้ง และยังช่วยประหยัดเวลาในการอ่านทบทวนอีกด้วย ประสิทธิภาพล้นเหลือจริงๆ

    
           สำหรับวิธีการจดนี้ เอาไปใช้ได้กับทุกวิชา แต่ทักษะหนึ่งที่สำคัญ คือ ต้องจับใจความสำคัญให้ได้ก่อน ถ้ามีทักษะนี้แล้ว รับรองเอาวิธีนี้ไปใช้ อนาคตเตรียมตัวเป็นอัจฉริยะได้เลย ว่าแล้วปิดเทอมนี้ก็ฝึกใช้วิธีนี้กับโรงเรียนกวดวิชาเป็นการอุ่นเครื่อง เปิดเทอมเมื่อไหร่ก็อย่าลืมเก็บทริคนี้ไปใช้กันนะคะ^^
 

 
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก
หนังสือเรียนง้ายง่ายแต่ได้ A สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

82 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Rolla Member 18 เม.ย. 55 21:02 น. 16
 ขอบคุณค่า ^^
วิธีของพี่มิ้นท์เอาไปใช้เยอะแล้ว ฮ่าๆๆ ทั้งวิธีการจดเลกเชอร์ให้เร็วเหมือนกัน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด