เรื่องราว "วิทยาศาสตร์" กับ "นักสืบ" ที่คุณอาจไม่เคยรู้

                 วัสดีค่าน้องๆ ชาว Dek-D.com...หากใครติดตามข่าวหน้าหนึ่ง ก็คงจะเห็นข่าวอุบัติเหตุ หรือข่าวอาชญากรรม ไม่ว่าการทำร้ายร่างกายเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงแก่ชีวิต (ซึ่งมีเยอะมากในปัจจุบัน) ก็คงจะคุ้นชินกับคำว่า "ต้องพิสูจน์หลักฐาน" "เก็บลายนิ้วมือ" และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อช่วยในการจับคนร้าย โดยในหลายๆ ครั้ง เราก็ต้องอึ้งและขอชื่นชมความสามารถของตำรวจจริงๆ ที่สามารถคลายปมคดีเหล่านั้นได้

                 น้องๆ เคยสงสัยกันรึป่าวคะ ว่าในแต่ละคดี เจ้าหน้าที่ตำรวจจะหาหลักฐานไปทำไมกัน และหากเกิดคดีโจรปล้นร้านทอง และยิงเจ้าของร้านตาย อะไรจะเป็นหลักฐานได้บ้าง และหลักฐานเหล่านั้นจะเอาผิดกับคนร้ายได้อย่างไร วันนี้ พี่มิ้นท์ เอาคำตอบทั้งหมดมาฝากกัน รับรองว่าเรื่องราววิทย์สุดจี๊ดวันนี้คงถูกใจไม่น้อย สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นตำรวจหรือเป็นนักสืบแน่นอน

                 การใช้หลักฐานสืบเสาะจับคนร้ายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางคดี มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า "นิติวิทยาศาสตร์" คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคดีความ นับได้ว่าเป็นกลไกที่สำคัญมากๆ  ในการจับคนผิดมาลงโทษตามกฏหมาย เพราะถ้าหากไม่มีนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยแล้วล่ะก็ คดีความต่างๆ อาจจะลอยนวล จับผิดใครไม่ได้เลยก็ได้ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังใช้พิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคลได้ด้วย ทั้งนี้ พี่มิ้นท์ และน้องๆ อาจจะคุ้นเคยกับเรื่องการเก็บลายนิ้วมือ และวัตถุที่อยู่รอบๆ ที่เกิดเหตุมากที่สุด แต่ความจริงแล้ว หลักฐานและวิธีการมีมากกว่าลายนิ้วมืออีกโขเลยล่ะค่ะ (ชักสนุกแล้วสิ^^)

                ขั้นตอนหลักๆ ของการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เมื่อเกิดเหตุในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ชุดสืบสวนก็จะไปที่เกิดเหตุเพื่อหาหลักฐาน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เจ้าหน้าที่จะต้องกั้นที่เกิดเหตุเอาไว้ อย่างที่น้องๆ เห็นว่าจะกั้นด้วยแถบคาดสีเหลืองหรือแดง เพื่อไม่ให้คนอื่นเข้ามานั่นเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มเก็บรายละเอียดต่างๆ และต้องบันทึกภาพ จดบันทึกสิ่งที่พบเห็นทุกขั้นตอน หากเจอพยานคนอื่นๆ ก็ควรบันทึกเทปจากปากคำของพยานด้วย สำหรับการตรวจด้วยวิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ แยกลักษณะงานได้ดังนี้


                  1) การตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการบันทึกภาพด้วยการถ่ายรูป ซึ่งนอกจากความคมชัดแล้ว การพัฒนางานถ่ายภาพทางนิติวิทยาศาสตร์อาจก้าวหน้าไปจนถึงการจัดทำภาพจำลองแบบ 3 มิติ ที่ทำให้เห็นเป็นฉากๆ และคาดเดาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

                 
2) การตรวจลายนิ้วมือ  การตรวจหาลายนิ้วมือ มีทั้งลายนิ้วมือที่เห็นด้วยตาเปล่า และ การหาลายนิ้วมือแฝง ซึ่งอาจจะต้องใช้ฝุ่นผงเคมีในการช่วย ลายนิ้วมือนี้สามารถใช้หาตัวคนร้ายได้ เพราะหลายๆ ครั้ง คนร้ายไม่ทันระวัง ก็จะทิ้งหลักฐานนิ้วมือเอาในที่เกิดเหตุด้วย ซึ่งลายนิ้วมือเป็นหลักฐานมัดตัวคนร้ายได้อย่างดี เนื่องจากลายนิ้วมือแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และที่สำคัญตั้งแต่เกิดจนตายก็จะไม่เปลี่ยนแปลงด้วย

                
3) การตรวจเอกสาร อาจตรวจจากลายมือ หรือ ลายเซ็น พวกร่องรอยการขูดลบ หรือแก้ไขในเอกสารก็สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังตรวจพิสูจน์ชนิดหมึกและกระดาษได้อีกด้วย สำหรับวิธีการตรวจสอบนั้น จะใช้เอกสาร 2 ชนิด คือ ตัวอย่างลายมือที่เคยเขียนตามเอกสารอยู่ก่อนแล้ว กับตัวอย่างลายมือที่จะต้องเขียนต่อหน้าพนักงานสอบสวนหรือศาล

                
4) การตรวจอาวุธปืน กระสุนปืนของกลาง โดยภารกิจหลักๆ คือ จะต้องพิสูจน์ว่าเป็นอาวุธปืนชนิดใด มีกลไกการทำงานยังไง การพิสูจน์จะดูจากลำกล้องของปืน เนื่องจากปืนแต่ละกระบอก กระสุนจะหมุนไม่เหมือนกัน ดังนั้นกระสุนที่ยิงก็จะบอกได้ว่ามาจากปืนกระบอกไหน ซึ่งน้องๆ อาจจะเคยเห็นในข่าวที่มีการพิสูจน์ออกมา เช่น วิถียิงน่าจะมาจากทางนี้ เพราะวิถียิงไปทางนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพิสูจน์เขม่าปืน ธาตุที่เกิดจากการยิงอีกด้วย

                5) การตรวจทางเคมี จะทำการตรวจทางพิษวิทยาและทางเคมี เช่น การหาสารเสพติด สารพิษต่างๆ จากเลือด หรือปัสสาวะของบุคคลที่เสียชีวิต การตรวจพิสูจน์ยา เช่น สารพิษในยาฆ่าแมลง การใช้ยานอนหลับในคดีที่เกี่ยวกับความผิดทางเพศ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการพิสูจน์น้ำมันเชื้อเพลิง ในเหตุการณ์เพลิงไหม้ ว่าเกิดจากอะไร มีการวางเพลิงหรือไม่ หรือ การตรวจหาสารระเบิดที่ได้จากวัตถุพยานต่างๆ เช่น ซากระเบิดต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ เป็นต้น

               
6) การตรวจวัตถุพยานทางฟิสิกส์  คือ การตรวจวัตถุพยานชิ้นต่างๆ เช่น พยานวัตถุประเภทเสื้อผ้า ประเภทวัตถุระเบิด ประเภทยานยนต์ ว่าเป็นสารอะไร โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะโครงสร้างโมเลกุลและธาตุองค์ประกอบของวัตถุพยาน ซึ่งทุกอย่างนั้นจะพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจพิสูจน์ที่ทันสมัย 

               
7) การตรวจทางชีววิทยา เป็นการตรวจอีกหนึ่งอย่างที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ การตรวจ DNA เป็นการตรวจที่สำคัญมากๆ ในคดีที่ไม่มีการทิ้งร่องรอยประเภทลายนิ้วมือ หรือวัตถุพยานอื่นๆ เอาไว้ แต่กลับมีหลักฐานอื่นทิ้งไว้แทน เช่น คราบเลือดที่ติดอยู่กับอาวุธ เส้นขน หรือ เส้นผม รวมไปถึงคราบอสุจิ สิ่งเหล่านี้ตรวจหาสารพันธุกรรมได้อย่างง่ายดาย ซึ่งการตรวจหา DNA นี้ นอกจากจะใช้ในคดีพิสูจน์หาพ่อแม่แล้ว ยังใช้พิสูจน์หาเอกลักษณ์บุคคลของผู้เสียชีวิตได้ด้วย
                  นอกจากนี้การตรวจทางชีววิทยา มีโอกาสพัฒนาไปใช้ในวิธีการอื่นๆ ได้ เช่น การตรวจลายม่านตาของคน โดยจะใช้กล้องวิดิทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงอ่านลายม่านตาได้อย่างละเอียด และส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์จนออกมาเป็นรหัส และเก็บไว้ในคลัง คล้ายๆ กับการแสกนลายนิ้วมือตอนทำบัตรประชาชน เมื่อเกิดคดีขึ้นก็จะตรวจลายม่านตาของคนร้ายและนำไปเปรียบเทียบกับคลังลายม่านตา เพื่อดูว่าเป็นคนเดียวกันมั้ยนั่นเอง ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ พี่มิ้นท์ นึกถึงฉากที่มีการอ่านลายม่านตาก่อนเข้าห้องลับ ในเรื่อง The Avengers ขึ้นมาทันทีเลยล่ะค่ะ

               
8) การตรวจทางนิติเวช เช่น การตรวจร่ายกายของผู้เสียชีวิต เพื่อตรวจว่าเสียชีวิตด้วยสาเหตุใด หรือตรวจร่างกายของผู้ได้รับบาดเจ็บจากกรณีถูกทำร้าย การประเมินบาดแผล พูดง่ายๆ ก็คือ การตรวจทางการแพทย์นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นหลักฐานพยานและนำไปประกอบคดีต่อไป

                 ขั้นตอนทางนิติวิทยาศาสตร์ นอกจากจะช่วยจับคนร้ายแล้ว ยังช่วยวิเคราะห์และหาเอกลักษณ์บุคคลที่เสียชีวิต ทำให้รู้ว่าผู้ตายเป็นใครได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในแต่ละคดี คงต้องใช้หลายวิธีรวมกันเพื่อให้สามารถพิสูจน์คดีได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเชื่อว่าแต่ละคดีก็ต้องใช้เวลานานพอสมควรเลยค่ะ ยิ่งเดี๋ยวนี้อาชญากรรมเต็มบ้านเต็มเมือง ตำรวจและเจ้าหน้าที่คงทำงานกันไม่ค่อยทันแล้ว ><
                เรื่องราวในวันนี้นอกจากจะทำให้หลายคนหายข้องใจแล้ว ก็น่าจะปลุกจิตวิญญาณนักสืบที่มีในตัวของน้องๆ หลายคนได้ เอาเป็นว่าถ้าอยากเรียนก็ต้องอดทนกันหน่อยนะ เพราะลำพังแค่จบตรีก็ยังทำงานนี้ไม่ได้ค่ะ ก่อนอื่นต้องจบคณะวิทย์หรือนิติให้ได้ก่อน แล้วจึงไปต่อโททางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนตอนนี้ถ้าใครยังไม่ถึงเวลาเรียน ก็นั่งดูโคนันไปพลางๆ ก่อนก็ได้ อิอิ

                  ปิดท้าย พี่มิ้นท์ขอจบด้วยคลิปเรื่องนิติวิทยาศาสตร์ จากรายการ "กบนอกกะลา" ไว้ให้ดูลักษณะงานคร่าวๆ กันด้วยค่า



ขอขอบคุณ
www.tlcthai.com,รายการกบนอกกะลา, สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

รูปภาพประกอบจาก
www.telegraph.co.uk, www.thisblogrules.com
www.forbes.com/2009/06/16/evolving-hobbies-future-lifestyle-hobbies_slide_4.html

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

โคนันๆ 11 ก.ค. 55 18:06 น. 3
ชอบตรงคำว่า"นั่งดูโคนันไปพลางๆก่อน" เป็นคนนึงที่ชอบเรื่องประมาณนี้(ไม่ได้หมายความว่าอยากให้คนตายเยอะ) ชอบประมาณว่าสืบหาความจริง เพราะ "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น" 555
0
กำลังโหลด

27 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
โคนันๆ 11 ก.ค. 55 18:06 น. 3
ชอบตรงคำว่า"นั่งดูโคนันไปพลางๆก่อน" เป็นคนนึงที่ชอบเรื่องประมาณนี้(ไม่ได้หมายความว่าอยากให้คนตายเยอะ) ชอบประมาณว่าสืบหาความจริง เพราะ "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น" 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
9745 Member 11 ก.ค. 55 19:31 น. 5
ดูโคนันแล้วมีความรู้เล็กน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ตลอดเลย แถมมีข้อคิดด้วย(แอบโฆษณา ฮ่าๆๆ) ถึงจะไม่ได้ทำงานด้านนี้ก็ขอแค่ไขคดีในโคนันออกก็พอ ฮ่าๆๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
MemoryStory Member 12 ก.ค. 55 14:51 น. 8
ส่วนใหญ่จะไม่มี ป.ตรี น่ะครับ จะเปิดเฉพาะของ ป.โท ครับ นิติวิทยาศาสตร์ ถ้ามีอะไรสงสัย เข้าไปดูลายละเอียด ที่นี่ได้เลยครับ http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1011546 พี่ๆที่มีประสบการณ์ จะโพสข้อมูลและลายละเอียด ให้เราครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Stranger Member 14 ก.ค. 55 04:00 น. 11
ถ้าอยากเรียนให้เลือกเรียนเป้น Forensic Investigation ค่ะ เพราะทางหลักสูตรต่างประเทศจะเน้นไปทางนั้นเลย ไนท์เองเข้ามหาลัยก้จะเรียน Forensic Investigation นี่แหละค่ะ
แต่ต้องแน่นเคมีด้วย สำคัญมากเพราะจะใช้ทุกขั้นตอน ชีวะอาจจะในบางส่วนที่ต้องตรวจร่างกายศพและฟิสกก็ช่วงที่ต้องตรวจสอบทิศทางของกระสุก บล่าๆๆ
0
กำลังโหลด
OoสาEลมเหนือoO Member 14 ก.ค. 55 20:03 น. 13
ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกจะเรียนป.ตรีวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ เคมี แล้วก็จุลชีวะ จากนั้นก็สอบเข้ากองวิทยาการตำรวจหรือยังไงนี่ล่ะขอรับ มีคนรู้จักแกจบฟิสิกส์ไปสอบมาอยู่ เห็นบอกว่าถ้าได้เข้าจะขี่รถขาวติดแถบฟ้าล่ะมั้งขอรัย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
SCCU77 17 ก.ค. 55 21:24 น. 19
เดิมที่ ภาควิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือชื่อเดิม วิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
เคยเปิดสอนเอก นิติวิทยาศาสตร์ค่ะ แต่ตอนนี้คงต้องไปทำเรื่องยื่นพิเศษเพื่อให้อาจารย์เปิดรายวิชาดังกล่าว ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด