สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com.... ช่วงนี้แทนที่จะเริ่มร้อน กลับมีพายุเข้าประเทศไทยทำให้ท้องฟ้าอึมครึมและในหลายๆ จังหวัดก็ฝนตกด้วย อากาศน่านอนเป็นที่ซู้ดดด ใครที่ปิดเทอมแล้วก็คงนอนยาวกันเลยใช่มั้ยล่ะ^^ เอาล่ะ พี่มิ้นท์จะมัวแต่อิจฉาน้องๆ ไม่ได้ เพราะทุกวันอังคารแบบนี้ต้องมีเคล็ดลับการเรียนมาฝากชาว Dek-D.com  และสัปดาห์นี้พี่มิ้นท์ก็มีนำมาฝากกันเช่นเคยค่ะ

           สำหรับวันนี้ขอพูดเรื่องเทคนิคการอ่านเร็วค่ะ เชื่อว่าหลายๆ คนอยากฝึกทักษะด้านนี้ไว้ เพราะยิ่งเรียนสูงยิ่งมีหนังสือให้อ่านสอบเยอะ วิชานึงไม่ต่ำกว่า 2 เล่ม สอบวันนึงไม่ต่ำกว่า 3 วิชา คิดๆ ดูแล้วปีๆ นึงอ่านหนังสือเรียนหลายสิบเล่มเลยนะคะ >0< เพราะฉะนั้นใครที่ไม่อ่านตุนไว้ อาจเกิดอาการมึนตึ้บช่วงใกล้สอบ เพราะอ่านสอบไม่ทันนั่นเอง ดังนั้นมาแก้ปัญหานี้กันด้วยเทคนิค SOAR กันค่ะ รับรองว่าอ่านเร็ว เก็ทเร็วกว่าเดิมแน่นอน

            SOAR เป็นเทคนิคการอ่านที่จะทำให้น้องๆ อ่านหนังสือได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมาจากตัวย่อของขั้นตอน 4 อย่าง คือ Survey, Organize, Anticipate, Recite and Review ที่ Shepherd J.J. ได้คิดค้นขึ้น แต่ละอย่างจะมีความหมายว่าอะไรและทำให้อ่านเร็วขึ้นได้ยังไง ไปดูรายละเอียดกันเลยจ้า

 S=Survey
สํารวจหนังสือ

           การสำรวจหนังสือไม่ใช่ไปตามร้านหนังสือหรือเดินสวนจตุจักรเพื่อดูหนังสือนะคะ แต่หมายถึงว่าเราต้องทำการสำรวจหนังสือที่กองอยู่ตรงหน้าเราเสียก่อน เพื่อทำความคุ้นเคยกับมัน หลักๆ สิ่งที่เราจะต้องดูเป็นอันดับแรกเมื่อเปิดหนังสือก็คือ
             
คำนำ - หนังสือเล่มนี้อ่านแล้วจะได้อะไร สำนักพิมพ์/ผู้เขียนพูดถึงหนังสือเล่มนี้ว่ายังไงบ้าง
             
สารบัญ - สารบัญเป็นที่รวมหัวข้อใหญ่ของหนังสือทั้งเล่ม เพราะฉะนั้นการดูสารบัญก็ช่วยให้เรารู้ว่ามีกี่บทที่เราต้องอ่าน แต่ละบทเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร บทไหนอ่านเยอะ บทไหนอ่านน้อย
          
   บรรณานุกรมท้ายเล่ม - เพื่อดูว่าหนังสือเล่มที่เราอ่านอ้างอิงมาจากเล่มไหนบ้าง ดูแล้วมีความน่าเชื่อถือไหม และถ้ามีเวลา(มากพอ) น้องๆ สามารถไปหาหนังสือตามรายชื่อบรรณานุกรมได้เลย เรียกว่าอ่านในเล่มที่ถูกอ้างอิงมา ละเอียดกว่าแน่นอน

          การสำรวจมีประโยชน์หนังสือมากๆ เพราะทำให้เรารู้จักหนังสือเล่มนี้มากขึ้น ดูแล้วรู้ได้คร่าวๆ ว่าอ่านแล้วเราจะได้อะไร ดังนั้นทุกครั้งก่อนอ่านหนังสือ เสียเวลาหยิบหนังสือมาประมาณ 5 นาทีเพื่อดูองค์ประกอบเหล่านี้ แต่ช่วยให้เราเข้าใจได้เร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะ มันคุ้มนะคะ

          เมื่อสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้เวลาลงมืออ่าน สามารถอ่านแบบคร่าวๆ ได้เช่นกัน โดยดูหัวข้อ เนื้อเรื่องและสรุปของแต่ละบทแบบคร่าวๆ ให้จับใจความหลักๆ ได้ก่อน
   

O=Organize
เรียบเรียงสิ่งที่ได้อ่านไปแล้ว

         เมื่อเริ่มลงลึกรายละเอียดไปแล้ว แน่นอนว่าถ้าอ่านไปเรื่อยๆ แบบขอไปที ไม่ถึง 10 นาทีเราก็จะลืมมันค่ะ ดังนั้นถ้าไม่อยากลืมก่อนเวลาอันควร ระหว่างที่เราอ่านเก็บรายละเอียด ให้ทำเครื่องหมายเน้นประเด็นสำคัญๆ ของส่วนที่เราอ่าน และจดย่อเอาไว้ในสมุดโน้ตของเรา เพื่อจับใจความสำคัญและเก็งข้อสอบไปในตัว พี่ๆ ที่ใช้วิธีนี้การันตีมาแล้วว่าการอ่านและจับประเด็นสำคัญๆ มาช่วยให้ผลสอบดีขึ้นจริงๆ แทบจะเก็งข้อสอบถูกทุกข้อเลยทีเดียว

          อย่างไรก็ตาม น้องๆ ก็อย่าทิ้งประเด็นรองต่างๆ ในเนื้อเรื่องนะคะ ให้ใช้ปากกาหรือไฮไลท์อีกสีย้ำไว้ก็ได้ค่ะ ถ้ามีเวลาว่างก็ค่อยอ่านทบทวนตรงนี้อีกที    

A=Anticipate
คาดการณ์ล่วงหน้า

          การคาดการณ์ผลล่วงหน้าเพื่อทดสอบตัวเองว่าเราเข้าใจในบทเรียนมากแค่ไหน ด้วยการทำแบบฝึกหัดที่อาจแนบมาอยู่ท้ายบท หรือถามเอง ตอบเองมันซะเลย การทำแบบทดสอบหลังการอ่านจะช่วยให้การอ่านของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้เราได้รู้ว่าตรงไหนที่อ่านแล้วไม่เข้าหัวหรือหลงลืมไป ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่เฉพาะส่วนที่ไม่เข้าใจ จะได้ไม่เสียเวลาทบทวนทั้งหมด(ในขั้นตอนนี้)

R=Recite and Review 
ท่องจำและทบทวน

         เมื่อ 3 ขั้นตอนแรกผ่านไปด้วยดีจนแม่นเนื้อหาครบทุกเรื่องแล้ว ก็ได้เวลาท่องจำประเด็นสำคัญๆ ที่เราอ่านทั้งหมด ซึ่งการท่องจำหลังเข้าใจเนื้อหาจะช่วยให้จำง่ายกว่าเดิมมากค่ะ เพราะมีพื้นฐานความรู้อยู่ในหัวแล้วนั่นเอง

         ต่อจากนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ขอแค่ทบทวนบ่อยๆ เท่านี้สอบครั้งไหนก็ทำอะไรน้องๆ ไม่ได้แล้ว ฮิ้วววว

             จริงๆ แล้วสูตรลับเทคนิคการอ่านยังมีอีกเพียบเลยนะคะ แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือที่เป็นตำราเรียน เพราะวงจรของเทคนิคนี้เริ่มต้นให้เราอ่าน ทำความแบบฝึกหัดและทบทวนอย่างเป็นระเบียบ ช่วงนี้ปิดเทอมอยู่ก็อยากให้น้องๆ จดจำไปใช้และอ่านหนังสือล่วงหน้าสำหรับปีหน้าไว้เลย ใครทำได้พี่มิ้นท์ขอปรบมือให้สิบห้าทีเลยค่ะ อิอิ

               สำหรับเทคนิคการอ่านแบบอื่นๆ จะนำมาแนะนำน้องๆ ในครั้งต่อๆ ไปนะคะ อย่าลืมติดตามกันน้า^^

เด็กดีดอทคอม :: ว้าว!! เครื่องตรวจจับรอยยิ้ม...แบบนี้ก็มีด้วย

  บทความอื่นๆ ในหมวดเคล็ดลับการเรียน



5 เรื่องที่ควร "หัดซะบ้าง" ถ้าอยากเป็น Genius


5 วิธีสอบได้คะแนนดี โดยใช้ "เพื่อน" เป็นตัวช่วย


How To เพิ่มเกรดมัธยม ตามแบบฉบับเมืองนอก


พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

23 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
zผีเสื้อกรุงโซZ Member 7 มี.ค. 56 18:11 น. 10
ผมว่ามันก็ดีเเต่....ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเเละวิธีพื้ฐานอาจจะมีข้อหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้าม
เเต่ถ้าในอีกเเง่ สำหรับบุคคลที่หัวไม่ดีจำอยากไม่มีสมาธิละ เทท่าที่ผมสังเกตคนในชั้นมัก
จะพบบ่อย คุณคิดว่าจะรอดรึเปล่าสำหรับบุคคลที่ผมยกตัวอย่าง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แว่นแก้ว 19 มี.ค. 56 18:12 น. 15
ทำแล้ว แต่ก็จำได้เฉพะตอนนั้น ทิ้งไป 1-2 อาทิตย์ลืมอีกแล้ว สงสัยอัลไซเมอร์เริ่มต้น แต่จะไม่ลืมถ้าด้วยภาพ สัมผัสได้ด้วยมือ หรือใช้มันเป็นประจำจนเกิกทักษะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
คิงคองใหญ่ Member 28 ก.ค. 56 15:35 น. 20
ผมหมายถึง การอ่านไว อ่านเร็วหนะครับ แบบว่าอธิบายไม่ถูกอะ คืออ่านเร็ว ก็ คืออ่านเร็วอะ มีเทคนิควไหมอ่า ผมเป็นคนอ่านช้า แต่จำแม่น แบบว่า 1 นาทีต่อ 1 หน้า A4 อยากให้ตัวเองอ่านได้ 1 นาทีต่อ 2 หน้า หรือ 3 หน้า เห้อ หรือจะไม่มีเทคนิคนะ ขึ้นอยู่กับสมองแต่ละคนมากกว่ามั้ง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด