วัสดีค่ะน้องๆ สายอาชีพทุกคน นี่ก็กลางเดือนมิถุนายนเข้าไปแล้ว บรรยากาศเปลี่ยวๆ เหงาๆ มีฝนพรำบ้างไม่พรำบ้าง ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ >_< ตอนนี้หลายๆ ที่ก็เปิดสมัครรับตรงแล้วไม่ว่าจะเป็น มศว, ม.เทคโนฯบางมด, ม.สงขลานครินทร์ ม.ขอนแก่น แต่ว่าบางคนยังไม่เข้าใจระบบการสอบตรงเลย เรื่องมันเศร้า T_T
    


           พี่แป้งขออธิบายง่ายๆ ว่า การสอบตรง คือการที่เราเข้าไปสมัครโครงการ/คณะที่เราสนใจ สมัครเสร็จก็ดูว่าการสอบคัดเลือกเป็นอย่างไร ซึ่งมีหลายวิธีมากเลยค่ะ พอสอบเสร็จก็รอดูผล แค่นั้นเอง แต่ว่ามันยากตรงที่การสอบมันหลายวิธีนี่แหละ ดังนั้นพี่แป้งจึงจะมาอธิบายศัพท์ของการสอบง่ายๆ ที่น้องๆ ควรรู้จะได้ไม่สับสน มีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

GPAX, GPA


           เริ่มที่เรื่องเกรดก่อนเลย ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเกรดของสายอาชีพจะไม่เหมือนสายสามัญ จะไม่ตรงเป้า แต่จะเป็นรายวิชาที่ประยุกต์เพื่อการใช้งานมากกว่า เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียน ซึ่งทางสายสามัญจะรวมเป็นแค่ "ภาษาอังกฤษ" จบ นอกจากนี้ก็จะมีคำว่า GPAX และ GPA แยกกันง่าย ๆ คือ GPAX คือเกรดเฉลี่ยสะสมทั้งหมดทั้งช่วงชั้นที่เราเรียนมาซึ่งก็คือตั้งแต่ ปวช.1 - ปวช.3 จะมี 4 เทอม 5 เทอมก็ว่ากันไป ส่วน GPA คือเกรดเฉลี่ยในเทอมนั้นๆ ค่ะ
           มีบางโครงการนอกจากจะใช้ GPAX ทั้งหมดทุกวิชาแล้ว ยังใช้ GPAX แยกเป็นรายวิชาแต่ทุกเทอมอีกด้วย เช่น ใช้ GPAX กลุ่มสาระวิชาภาษาอังกฤษ เราก็ต้องไปนั่งไล่ดูว่าเราเรียนภาษาอังกฤษได้กี่ตัว โดยเน้นที่คำว่าภาษาอังกฤษคือ จะต่อท้ายว่า ภาษาอังกฤษเพื่อ..... ก็ว่าไป เอามารวมกันแล้วหารด้วยหน่วยกิตที่เรียนเราก็จะได้ GPAX แต่ละกลุ่มสาระออกมาค่ะ
    

 การสอบ O-NET


           O-NET หรือ โอเน็ต ย่อมาจาก Ordinary National Educational Test หรือว่า แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน นั่นเองค่ะ จะจัดสอบทั้งหมด 8 วิชา คือ ภาษาไทย, สังคมฯ, ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ), คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษา, ศิลปะ, การงานอาชีพฯ แต่เวลาสอบจะสอบ 6 ชุดวิชานะคะ โดย 3 วิชาสุดท้ายคือ  สุขศึกษา, ศิลปะ, การงานอาชีพฯ จะจับรวมกับฉบับเดียว
           สอบโอเน็ตเราจะใช้เป็นคะแนนพื้นฐาน วัดกันทั้งประเทศ ซึ่งบอกเลยว่าสายอาชีพเสียเปรียบเพราะว่าเรียนวิชาพื้นฐานพวกนี้น้อยกว่า แต่ก็ไม่ยากเท่าการสอบอื่นๆ ค่ะ ผลสอบโอเน็ตจะถูกใช้ในรอบแอดมิชชั่นและรับตรงหลังแอดมิชชั่น ส่วนก่อนหน้านั้นไม่ใช้เลยค่ะ ถ้าน้องๆ คนไหนอยากสอบต้องสมัครเองนะคะ โดยปีที่ผ่านมาจะเปิดรับสมัครช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนค่ะ ขอให้ตามข่าวกันด้วยเน้อเพราะทางวิทยาลัยไม่ได้สมัครสอบให้ค่ะ T_T

การสอบ GAT - PAT


           GAT มีชื่อเต็มๆ ว่า General Aptitude Test เป็นวิชาที่สอบความถนัดทั่วไป โดยวิชา GAT จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ
              - ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา หรือ พาร์ทเชื่อมโยง
              - ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ หรือ พาร์ทภาษาอังกฤษ
           ซึ่งทั้ง 2 พาร์ทนี้อยู่ในข้อสอบฉบับเดียวกันค่ะ แยกจากกันไม่ได้ ไปไหนก็ไปด้วยกันทั้งคู่ อีกส่วนนึงก็คือ
PAT หรือ Professional and Academic Aptitude Test เป็นการทดสอบความรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ก็มี คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, วิชาชีพครู, ศิลปกรรมศาสตร์ และ ภาษาต่างประเทศ
           2 ตัวนี้เรียกว่าต้องใช้คู่กัน โดยเฉพาะ
GAT บอกเลยว่าสอบเถอะ ใช้แทบทุกที่เพราะเป็นวิชาพื้นฐาน ไม่ว่าจะสอบตรงหรือแอดมิชชั่นใช้หมดค่ะ พี่แป้งแนะนำว่าให้สอบทั้ง 2 รอบ โดยรอบแรกเป็นแนวให้ตัวเองว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร รอบ 2 ก็ลุยเลยเต็มที่ค่ะ ส่วนวิชา PAT ก็ดูแต่ละกรณีไปค่ะว่าที่เราอยากเข้าต้องสอบ PAT อะไรบ้าง ไม่ต้องสอบทุกวิชาหรอกค่ะ เปลืองตังค์ T_T เหนื่อยอ่านหนังสือด้วย

การสอบ 7 วิชาสามัญ


         นี่ก็เป็นอีกการสอบที่ต้องสอบค่ะ แต่ 7 วิชาสามัญจะใช้เฉพาะบางโครงการเท่านั้น ไม่กว้างขวางเหมือน GAT PAT ค่ะ การสอบ 7 วิชาสามัญจะคล้ายๆ กับการสอบโอเน็ต แต่จะยากกว่า
         โดย 7 วิชาสามัญจะมีวิชา ภาษาไทย, สังคมฯ, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี และ ชีววิทยาค่ะ ก่อนที่จะเริ่มรับสมัคร 7 วิชาสามัญ ทางมหาวิทยาลัยที่เปิดรับตรงโครงการต่างๆ จะแจ้งมาค่ะว่าโครงการนั้นจะใช้ 7 วิชาสามัญหรือไม่ ถ้าใช้จะใช้วิชาใดบ้าง ก็สมัครตามนั้นพอค่ะ แต่ถ้าไม่ใช้ก็ลุยที่ GAT PAT เลยค่ะ การสอบ 7 วิชาสามัญจะเปิดเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้นนะคะ โดยจะเริ่มสมัครประมาณเดือนพฤศจิการยนค่ะ ขอให้ติดตามข่าวสารด้วยเน้อ

การสอบข้อเขียนโดยทางมหาวิทยาลัย


          หลังจากที่อธิบายข้อสอบกลางไปแล้วทั้ง O-NET, GAT PAT, 7 วิชาสามัญ เรามาดูข้อสอบของแต่ละที่กันบ้าง อย่างที่พี่แป้งได้บอกไปตั้งแต่ต้นว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีหลายรูปแบบมาก และมีบางมหาวิทยาลัยที่จัดสอบเองด้วย ในความคิดเห็นส่วนตัวของพี่แป้ง พี่คิดว่าการที่สอบโดยมหาวิทยาลัยจัดสอบเองเป็นการสอบที่สายอาชีพได้เปรียบมากกว่าสายสามัญ เพราะการคัดเลือกคนเข้าของมหาวิทยาลัยจะเน้นว่าเรามีความสนใจในสาขานั้น ๆ มากน้อยแค่ไหน จะมีความเฉพาะมากกว่า
          อีกข้อดีที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเองคือทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน จะเข้าคณะเดียวกันวัดจากข้อสอบชุดเดียวกัน แต่ตอนนี้มีน้อยมากเลยค่ะที่จัดสอบเอง ส่วนใหญ่จะใช้คะแนนสอบกลางก็คือ GAT PAT หรือ 7 วิชาสามัญหมดแล้วค่ะ สุดท้ายก็ต้องอ่านเนื้อหาทางสายสามัญเพื่อเตรียมสอบอยู่ดี เรื่องเศร้าสายอาชีพ T_T

การสอบวิชาความถนัดด้านต่าง ๆ


          การสอบอีกอย่างที่สำคัญคือ การสอบความถนัดด้านต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ อันนี้พี่ว่าน้องสายอาชีพก็ได้เปรียบ เช่น วิชาวาดเส้น ลงสี แรงเงา หรือ ความถนัดช่าง เครื่องปั้นดินเผาที่มีความพิเศษมากๆ น้องๆ ที่เรียนสายอาชีพมาจะได้เปรียบมากกว่า เพราะได้เรียนรู้การทำจริงๆ ทำให้มีข้อมูลและฝีมือในการสอบมากกว่า แต่ว่าอยู่ที่ตัวบุคคลด้วยนะคะ ถ้ามีฝีมือแต่ไม่ฝึกฝนก็สู้คนที่ไม่มีฝีมือแต่ฝึกฝนบ่อยๆ จนมีฝีมือไม่ได้ ความถนัดด้านต่างๆ ทางมหาวิทยาลัยจะจัดสอบเองเพื่อเห็นฝีมือจริงของน้องๆ และสามารถนำไปเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาได้มากกว่าการใช้คะแนนกลางค่ะ

การสอบสัมภาษณ์


          การสอบสัมภาษณ์เรียกได้ว่าเป็น "ตัวจี๊ด" ของการสอบตรงเลยก็ว่าได้ จะรอดหรือไม่รอดขึ้นอยู่กับการสอบสัมภาษณ์นี่แหละค่ะ รับตรงบางโครงการใช้แค่เกรดเฉลี่ยที่เรียนมากับการสอบสัมภาษณ์เท่านั้น ซึ่งการสอบสัมภาษณ์แต่ละที่ไม่เหมือนกันนะคะ ยิ่งที่ไหนใช้เกณฑ์สอบสัมภาษณ์อย่างเดียวจะยิ่งกดดัน การสอบสัมภาษณ์นอกจากจะถามความรู้ที่เราเตรียมตัวมาแบบ face to face แล้ว อาจารย์ที่สอบสัมภาษณ์ยังประเมินลักษณ์ท่าทางของเรา การแสดงออก ความกล้า ความมั่นใจ กิริยามารยาทด้วยค่ะ
          สิ่งที่อาจารย์จะเทคะแนนให้มากที่สุดคือ
First impression หรือความประทับใจแรกเห็นค่ะ การสร้างก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่งตัวเรียบร้อย ท่าทางมั่นใจปต่ไม่แข็งกร้าวก็คว้าในอาจารย์กรรมการไปได้เกินครึ่งแล้วค่ะ ที่เหลือก็อยู่ที่ความสามารถในการตอบของเรา การควบคุบอารมณ์ และความใจดีของอาจารย์ท่านั้นๆ นะคะ ^_^


           คำเหล่านี้พี่แป้งขอให้น้องๆ ทำความเข้าใจให้ดีนะคะ เพราะว่าตลอดระยะเวลา 1 ปีในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเราจะเจอคำพวกนี้เยอะมาก เรียกได้ว่าเจอในระเบียบการทุกฉบับเลยค่ะ เมื่อเราเข้าใจแล้วเราก็จะรู้ว่าเราต้องทำอะไรต่อไป ขอให้เวลา 1 ปีในการเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยครั้งนี้มีแต่ความโชคดีสถิตที่น้องๆ ทุกคนนะคะ
แล้วอย่าลืมติดตามกันนะคะว่าครั้งนะพี่แป้งจะมีอะไรที่เกี่ยวกับสอบตรงและแอดมิชชั่นมาฝากน้องๆ อีก ... บ๊ายบายค่ะ

บทความเพื่อทุกคน! รู้จักชาวอาชีวะ รายงานข่าวมิตรแท้ ปวช./ปวส. ใน  "คอลัมน์สายอาชีพ"
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
ยังมีโอกาสเรียนต่อที่หลากหลายรอคุณอยู่นะ+
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
เรียนพาณิชย์ก็มีดี ไม่ได้ไปตบตีกับใครนะ อย่าเหมา!
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
มศว รับคุณนะ!! 
เด็กดีดอทคอม :: โปรดเข้าใจ! ในลีลาของวัยรุ่น เมื่อรุ่นใหญ่ปะปะรุ่นเล็ก!
สายอาชีพน่าเรียน!


ร่วมกันสร้างสังคมเด็กสายอาชีพ รวมพลเด็กอาชีวะสร้างสรรค์
อ่าน เล่าเรื่อง ส่งต่อ/แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มาเลยที่นี่ Dek-D.com
 
 
kiatsuda@dek-d.com




พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

8 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด