สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ยิ่งใกล้เข้าสู่อาเซียนก็ยิ่งเริ่มมีการพูดถึงชาติไทยกับชาติเพื่อนบ้านในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งไม่พูดกันเปล่าๆ แต่ยังมีการเปรียบเทียบในด้านต่างๆ ให้เห็นกันอีกด้วยว่าใครพร้อมกว่าใคร ประเทศไหนได้เปรียบด้านไหน เป็นต้น

             แต่ข้อมูลที่ทำเอาช็อคและสะเทือนใจมากที่สุดต้องบอกว่าเกี่ยวกับน้องๆ นักเรียนโดยตรงเลยค่ะ นั่นก็คือผลวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ผลทดสอบระดับนานาชาติ ที่คะแนนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ผลการสอบ O-NET ทั้ง 8 วิชา เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ระดับชั้น ป.6 ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 คะแนนถึง 5 วิชา ส่วน ม.3 ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 คะแนน ถึง 6 วิชา และระดับชั้น ม.6 สูงที่สุดคือต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 7 วิชา นอกจากนี้ผลคะแนน Pisa ซึ่งเป็นการสอบประเมินระดับนานาชาติเพื่อวัดระดับความสามารถการเรียนรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยก็อยู่รั้งท้ายอีกเช่นกัน

             ยังไม่หมดนะคะน้องๆ นี่เป็นเพียงการประเมินส่วนหนึ่งด้วยการสอบเท่านั้น หากมองย้อนกลับมามองความจริงเรื่องการศึกษาของไทยเราจะพบว่าปัญหาที่หนักกว่าผลสอบยังมีอีกมาก หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ เด็กไทยเริ่มอ่านเขียนภาษาไทยไม่ออกเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่ประถมศึกษาเท่านั้นนะคะ แต่ยังลามไปถึงระดับมัธยมศึกษาแล้ว โดยเฉพาะ ม.1 ที่เพิ่งเข้ามาเรียนใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมด้านการเรียนเปลี่ยนไป คือ ไม่ชอบเขียนบทความยาวๆ และไม่ชอบอ่านหนังสือ!!

             พอพูดถึงประเด็นที่เด็กไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ พี่มิ้นท์เลยหาข้อมูลต่อ พบว่าจากเดิมที่เคยมีสถิติพูดกรอกหูกันว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว คือ เพิ่มเป็นอ่านเฉลี่ยปีละ 2-5 เล่ม(ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ) น้องๆ อาจจะมองว่านี่ก็เพิ่มขึ้นมาตั้งเยอะแล้ว ใครที่คิดแบบนี้ได้เวลามองโลกมุมใหม่แล้วนะ เพราะหลายๆ ชาติอาเซียนสร้างสถิติชวนให้คนไทยห่อเหี่ยวใจจริงๆ ในขณะที่เด็กไทยอ่านปีละ 2-5 เล่ม เยาวชนสิงคโปร์อ่านเฉลี่ยคนละ 50-60 เล่มต่อปี และเวียดนามอ่านเฉลี่ย 60 เล่มต่อปี เป็นตัวเลขที่สะท้อนคุณภาพของคนในชาติได้เป็นอย่างดี และเป็นคำถามที่น่าคิดมาตลอดว่าเพราะอะไร เด็กไทยถึงอ่านหนังสือน้อย ไม่รักการอ่าน? ไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน? ไม่มีการส่งเสริมการอ่านกันอย่างจริงจัง หรือเด็กไทยไม่เห็นความสำคัญของการอ่านกันแน่


Read Singapore เป็นโครงการส่งเสริมการอ่านของประเทศสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

           ถ้าพูดถึงเรื่องการส่งเสริมการอ่าน หลายประเทศทั่วโลกรณรงค์ให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็ก อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาเองส่งเสริมการอ่านจนกระทั่งอัตราคนที่อ่านออกเขียนได้ในประเทศเฉลี่ยสูงถึง 98% เลยทีเดียว ในแถบๆ อาเซียนอย่างมาเลเซียก็มีแผนส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจคือ ทำมุมพิเศษเพื่อจัดวางหนังสือบนรถไฟโดยสารและตามสถานีต่างๆ ส่วนสิงคโปร์ขึ้นชื่อว่าให้ความสำคัญกับการอ่านอยู่แล้ว ก็มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง ทั้งห้องสมุดเคลื่อนที่ การสร้างชมรมนักอ่าน ทูตกิจกรรมการอ่าน เป็นต้น เห็นความตั้งใจของการส่งเสริมการอ่านในแต่ละประเทศแล้วก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมประเทศเหล่านั้นถึงพัฒนาอย่างรวดเร็ว

           เห็นศักยภาพของประเทศเหล่านั้นแล้วก็ได้แต่หวังว่าประเทศไทยจะส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจังบ้าง ยิ่งในปี 2556 นี้ กรุงเทพมหานครได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก  (World Book Capital) ด้วย น่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ และหวังว่าสถิติครั้งต่อไปเด็กไทยจะอ่านหนังสือได้หลักสิบเล่มกับเขาบ้าง ^^

           ปิดท้ายพี่มิ้นท์มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ จากการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรปี 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สอบถามจากประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีเป็นต้นไป โดยข้อเสนอแนะการรณรงค์ 10 อันดับ มีดังนี้

          1. หนังสือควรมีราคาถูกลง  31%
          2. หนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ 21.5%
          3. ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน 20.2%
          4. ส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือ 17.6%
          5. รูปเล่มกะทัดรัด/ ปกสวยงามน่าอ่าน/ มีรูปภาพประกอบ 13.1%
          6.  ควรใช้ภาษาง่ายๆ ทุกคนสามารถเข้าใจ 13%
          7. หาซื้อได้ง่าย 12%
          8. จัดโครงการรณรงค์ร่วมกันอ่านหนังสือทั้งครอบครัว 10.04%
          9. โรงเรียนควรมีมาตรการให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาอย่างจริงจัง 9.2%
        10. จัดให้มีมุมอ่านหนังสือ/ ห้องสมุดเคลื่อนที่ในย่านชุมชน/ ศูนย์การค้า 6.5%

          โอ้โห..บอกเลยว่าเป็น 10 ข้อเสนอแนะที่โดนใจมาก โดยเฉพาะอยากให้หนังสือราคาถูกลง ถ้าทำได้พี่มิ้นท์ว่าช่วยให้คนไทยจะรักการอ่านมากขึ้น เพราะทุกวันนี้หนังสือดีๆ มีเยอะค่ะ เสียอย่างเดียวที่ราคาแพง คนจึงมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ลำพังน้องๆ จะซื้อหนังสือเล่มละ 200-300 บาททุกเดือนก็คงเดือดร้อนไม่ใช่น้อย... แล้วถ้าถามชาว
Dek-D.com บ้าง น้องๆ จะเสนอวิธีใดเพื่อส่งเสริมการอ่านบ้างคะ??

ข้อขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ,
www.manager.co.th, www.saharajlib.org/forum/topic-492.html
www.mcot.net/, http://www.komchadluek.net
http://scoga.org/read-singapore-closing-ceremony/,
www.edvantage.com.sg/content/60000-participants-read-singapore-year


 
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

saiko-ld Member 20 ส.ค. 56 20:28 น. 14
หนังสือดีๆ น่ะมีเยอะ แต่ที่ไม่ค่อยอ่านก็เพราะว่า
1.ราคาแพง ขนาดหนังสือที่อ่านเพื่อความบันเทิงยังราคาเล่มละ 100 บาทขึ้นไป แล้วคนทั่วไปก็มีทัศนคติว่า "เปลืองเงิน100บาทไปซื้อหนังสือไร้สาระพวกนั้นทำไม เอาไปซื้อข้าวจาน 40 บาทได้ตั้ง2จานกับน้ำตั้ง2แก้ว เห็นมั้ย อิ่มไปตั้ง2มื้อ"
2.เสียเวลา คนทั่วไปเช่นนักเรียน พนักงานออฟฟิส หรือคนที่ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ต่างก็ยุ่งกัน ทั้งนั้น และส่วนมากงานที่ว่ามาน้ันต่างๆ ถ้าละมาสักครู่เดียวก็สามารถทำให้เราเสียเวลาในการทำงาน(ทำเงิน)และยิ่งยุคปัจจุบันที่เราต้องเร่งรีบ และยุคของเงินคือพระเจ้าด้วยแล้วยิ่งแล้วใหญ่
3.อ่านไม่เข้าใจ/น่าเบื่อ หนังสือความรู้ในประเทศไทยส่วนมากจะเป็นประเภท วิชาการจ๋าาา อ่านแล้วน่าเบื่อ หรือไม่ก็ จืดชืดไร้รสชาติ ถ้าให้เปรียบเทียบหนังสือนิทาน ในประเทศไทยกับต่างประเทศ เด็กจะเลือกอะไร ระหว่าง นิทานเรื่อง หนูมาลี กับ ซินเดอเรลล่า
4.มีร้านหนังสือโดยเฉพาะ น้อยมาก ในบางจังหวัด จะหาหนังสือใด้เฉพาะในห้าง(se-ed book) และร้านเฉพาะก็เป็นร้านใหญ่ แต่ผมไม่ปฎิเสธว่าร้านเล็กๆ ก็มี แต่มีไม่ครบทุกประเภท เช่น ร้านขายของชำมีหนังสือพิมแต่ไม่มีนิยาย เซเว่นมีหนังสือหลากหลายแต่ไม่มีหนังสือวิชาการ ร้านข้างบ้านมีแต่หนังสือการ์ตูน นิยาย ไม่มีหนังสือเรียน ร้านอุปกรณ์การเรียนมีหนังสือเรียนแต่ไม่มีหนังสือสอนทำขนม
5.การบังคับ เด็กๆ มักโดนพูดกรอกหูจากครู หรือผู้ปกครองให้อ่านหนังสือ ทำให้ไม่อ่านเพราะเกิดอาการต่อต้าน เช่น ถ้านั่งอยู่แล้วโดนบอกว่า"ไปอ่านหนังสือไป๊" ก็ไม่อยากอ่านอยู่ดี แล้วก็การอ่านหนังสือ ควรเริ่มจากหนังสือที่ เด็กๆ ชอบ เช่น นิทาน การ์ตูน แต่การที่บังคับให้มาอ่านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กไม่อยากอ่าน เพราะเข้าใจยาก น่าเบื่อ ไม่สนุก
6.การบันทึกการอ่าน เด็กมักโดน ครูบอกให้บันทึกการอ่านตั้งแต่เด็ก เพื่อให้ฝึกจับใจความ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งก็หนักเกินไป เช่น "ต้องทำให้ครบ 60 เรื่อง ในหนึ่งเทอมนะเด็กๆ" การบันทึกการอ่านควรทำโดย ความสมัครใจเป็นส่วนใหญ่มากกว่า



0
กำลังโหลด
Wh-Question Member 28 ส.ค. 56 18:51 น. 55
แล้วหนังสือการ์ตูน นิยายในอินเตอร์เน็ต
พวกเขาไม่ได้เอามาสำรวจหรือ
ทำบันทึกรักการอ่านไม่ดีเพราะ
1.ต้องเลือกเรื่อง แน่นอน การ์ตูนวาย ฮาเร็มนี่คงต้องเขียนลงบันทึกรักการอ่านไม่ได้นะ
สมมติง่ายๆ หนูอยากเขียนลงรักการอ่าน เรื่อง "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" 
ย่อได้ ข้อคิดมี(ความรักระหว่างพี่น้อง)
แต่ปัญหาคือ หนูเขียนลงรักการอ่านไม่ได้ เพราะว่าเรื่องนี้เคยเป็นมาม่าเมืองไทยด้านปัญหาความรักระหว่างพี่น้อง 
2. แล้วนิยายในเน็ตล่ะ คุณจะไม่ให้หนูเขียนนิยายน้ำดี ที่ในเว็บไซต์ต่างๆเลยหรอคะ 
สมมติง่านๆ หนูอยากสรุปลงรักการอ่านเรื่องหนึ่ง ที่พระเอกมีสภาพร่างกายไม่ปกติ แต่พระเอกขยันฝึกฝน จนเก่งเมพ แต่พระเอกก็ยังฝึกต่อไป...
แต่ปัญหาคือ หนูเขียนนิยายที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือลงรักการอ่านไม่ได้! เพราะนิยายในอินเตอร์เน็ตไม่จัดเป็นหนังสือ
ทุบความคิดในกะลา
เปิดรับค่านิยมเด็กไทยยุคใหม่ 
ต้อนรับ AEC
จบป่ะ
0
กำลังโหลด
T.cl 25 ส.ค. 56 01:36 น. 44
ขอระบาย(บ่น)เรื่องหัวข้อนี้หน่อยล่ะกัน
คือรำคาญใจกับพวกผลสำรวจผลเฉลี่ยมานานล่ะ 
คิดมาหลายครั้งหลายคราว่าเขาไปนับไปวัดกันที่ไหนทำไมมันน้อยขนาดนั้น แค่เรากับเพื่อนๆไม่กี่คนอ่านอ่านกันไม่ถึงสัปดาห์ยังมากกว่าหลายเท่า และถ้าหากว่าเรามีกำลังทรัพย์มากพอปีหนึ่งเราคงอ่านปีละเป็นร้อยๆเล่มอ่ะ แต่นับวันหนังสือก็มีแต่จะแพงขึ้นๆTvT อีกหน่อยคงต้องอดเงินกินข้าวมาซื้อOrz (แต่บางเล่มชาติหนึ่งคงยังซื้อไม่ไหวเช่นเพชรพระอุมา อยากได้มากแต่จน)
หนังสือเรียนสมัยใหม่ๆนี่ก็น่าเบื่อ แม้จะเป็นหัวข้อที่น่าสนุกแต่เนื้อหามีแต่ลักษณะการเขียนประวัติผู้แต่งข้อมูลนู้นนั้นนี่ เนื้อเรื่องจริงๆมีนิดเดียวที่เยอะส่วนมากจะเป็นพวกกลอนที่ใช้ศัพท์ยากๆอ่านไปต้องแปล2-3รอบไม่ชวนให้เด็กอ่านหรือเรียนรู้เลยสักนิด(ดีว่าที่โรงเรียนครูสอนสนุกจึงไม่เบื่ออะไรมากนัก) หนังสือเรียนวิชาหลักอื่นๆก็ใช้ศัพท์เป็นทางการชนิดที่ถ้าไม่จบดอกเตอร์คงอ่านไม่รู้เรื่อง แล้วยังหนังสืออ่านนอกเวลาที่เล่มบางและให้ข้อคิดสอนใจเสียเต็มเรื่องแน่นเล่มแต่คะแนนความน่าอ่านมีแค่0.01จาก10 อย่างจดหมายเหตุจางวางหล่ำ.. ถามจริงคุณคิดหรือว่าเด็กวัยรุ่นม.3จะอยากรู้ว่าคุณจางวางหล่ำเขาเขียนอะไรสอนอะไรถึงใครเหรอคะ? ไม่ใช่จะบอกว่าของเขาไม่สนุกนะ เพียงแต่มันไม่เหมาะจะเป็นหนังสือนอก(แต่สอบใน)เวลาของเด็กมัธยมเท่านั้นเอง เพราะความชอบของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกันการถูกบังคับให้อ่านหนังสือแนวที่ไม่ชอบมันทรมาณยิ่งกว่ากลืนยาขมซะอีก
การรณรงค์รักการอ่านทั้งหลายก็เช่นกัน ไม่เข้าใจว่าเขาอยากให้เรารักหรือเกลียดการอ่านกันแน่=_=? (แต่ส่วนตัวชอบที่ให้จัดบูธหนังสือตรงทางไปเซ็นเวิร์ลของกิจกรรมกรุงเทพเมืองแห่งการอ่านนะ ได้นิยายดีๆมาหลายเล่ม) กิจกรรมที่ให้บันทึกการอ่านก็เหมือนกันให้เขียนเป็นหน้าๆแค่เห็นก็หมดแรงจะไปอ่านหนังสือแหละ แล้วคิดว่าชีวิตเด็กมันวางขนาดมาเขียนทุกอย่างที่อ่านให้ดูเหรอคะ? แค่เรื่องเรียนเรื่องสอบเรื่องการบ้านก็จะตายอยู่แล้ว คืออยากให้หนังสือคือแหล่งพักเติมพลังไม่ใช่ที่สูบพลังชีวิต
0
กำลังโหลด
แว่นคุง -_- Member 26 ส.ค. 56 19:35 น. 49
อยากให้โรงเรียนมีวิธีปลูกฝังให้เด็กรักอ่านหนังสือที่สนุกกว่าการทำ "บันทึกการอ่าน" (ฮา)

เห็นมีคนข้องใจเรื่องค่าเฉลี่ยนนี่เยอะเหลือเกิน มีคนบอกเราว่าที่ค่าเฉลี่ยนมันน้อยทั้งๆที่เราอ่านหนังสือกันหลายเล่มเนี่ย ก็เพราะมันต้องเอาไปเฉลี่ยกันทั้งประเทศ ซึ่งคนที่อ่านหนังสือส่วนมากน่าจะกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองใหญ่ๆ มากกว่า และนอกจากนี้ในเมืองไทยยังมีคนชนชั้นล่างอยู่มาก แถมยังคนชนชั้นล่างบางคนที่ยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา (อาจารย์ท่านหนึ่งบอกเราแบบนี้) มันเลยไม่แปลกถ้าค่าเฉลี่ยการอ่านของคนไทยต่ำทั้งๆ ที่เราอ่านหนังสือเยอะยังไงล่ะ มันขึ้นอยู่กับคุณาพชีวิตคนด้วย ถ้าคุณภาพชีวิตไม่ดี คนก็ไม่ใฝ่หาความสุนทรีย์กันหรอก


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 26 สิงหาคม 2556 / 20:08
0
กำลังโหลด
ไม่บอกเว้ย 20 ส.ค. 56 14:32 น. 1
ไทยก็มีโครงการรณรงค์การอ่านนะ แต่หนังสือแต่ละเล่มที่มีในโครงการมีแต่หนังสือหลักการสูงๆที่ผู้ใหญ่คิดว่าดีกับเด็กๆ

ถ้าอยากให้ฝึกเริ่มอ่านจริงๆแนะนำให้เริ่มอ่านนิยาย ละครไปเลย ไม่ต้องมานั่งอ่านชีวิตบ้านป่า เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก สองแขนที่กอดโลก

แล้วดูหนังสืออ่านนอกเวลาเมืองนอก มีแต่เรื่องสนุกๆน่าอ่านทั้งนั้น ถ้าใครลองตั้งใจอ่านนะ ทั้งบทละครน้ำเน่า นิยายสืบสวนสอบสวนที่ทำให้เราลุ้นไปตามเรื่อง มันเลยอยากอ่าน

ไม่เหมือนไทย หนังสืออ่านนอกเวลามีแต่แบบคนแก่นั่งบ่น เพลีย
0
กำลังโหลด

61 ความคิดเห็น

ไม่บอกเว้ย 20 ส.ค. 56 14:32 น. 1
ไทยก็มีโครงการรณรงค์การอ่านนะ แต่หนังสือแต่ละเล่มที่มีในโครงการมีแต่หนังสือหลักการสูงๆที่ผู้ใหญ่คิดว่าดีกับเด็กๆ

ถ้าอยากให้ฝึกเริ่มอ่านจริงๆแนะนำให้เริ่มอ่านนิยาย ละครไปเลย ไม่ต้องมานั่งอ่านชีวิตบ้านป่า เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก สองแขนที่กอดโลก

แล้วดูหนังสืออ่านนอกเวลาเมืองนอก มีแต่เรื่องสนุกๆน่าอ่านทั้งนั้น ถ้าใครลองตั้งใจอ่านนะ ทั้งบทละครน้ำเน่า นิยายสืบสวนสอบสวนที่ทำให้เราลุ้นไปตามเรื่อง มันเลยอยากอ่าน

ไม่เหมือนไทย หนังสืออ่านนอกเวลามีแต่แบบคนแก่นั่งบ่น เพลีย
0
กำลังโหลด
Balline Member 20 ส.ค. 56 15:47 น. 2
ผมเขียนบทความ ยาวๆ ได้นะ สบายๆเลยแหละ  

แต่การอ่านนี่ซิ  
 ( อารมณ์ยาวไปไม่อ่าน ถ้าไม่ถึงแก่นจริงๆหลับคาที   T T  )
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Apinyacake Member 20 ส.ค. 56 17:06 น. 5
ตั้งแต่เด็กๆ อนุบาลเลยอ่ะ ไม่รู้สิ เห็นอะไรก็อ่านหมดอ่ะ รู้เรื่องไม่รุ้เรื่องก็อ่าานหมด พอโตมา 555 เคมี ฟิสิก ชีว ไม่อ่านจ้าาา หลับตลอด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
b-blaer Member 20 ส.ค. 56 17:57 น. 7
สงสัยมานานแล้วว่าพวกสถิติการอ่านนี่เค้าวัดกันจากไหน แค่เรากับเพื่อนๆเราปีนึงก็ไม่ต่ำกว่า500เล่มต่อคนแล้ว (นิยาย การ์ตูน ฟิค นิตยสาร หนังสือพิมพ์ฯ) 
0
กำลังโหลด
terrysiansims ผู้กวาดล้างดราม่า Member 20 ส.ค. 56 18:02 น. 8
ถ้าท่านอยากให้เรารักการอ่านจริงๆ
ควรจะดันนิยายไม่ก็ข่าวในอินเตอร์เน็ต(เนื้อเพลงก็ได้)
แทนที่จะดันแต่ยัดความรู้ให้ลืมโลกมุมอื่น

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
AThan Member 20 ส.ค. 56 18:54 น. 10
ที่โรงเรียนอาทิตย์นึงให้อ่านหนังสือแล้วลงบันทึกการอ่านเจ็ดเล่มบ้าง สี่เล่มบ้าง ขอระบายทีเถอะ การบ้านพวกกรูก็ไม่มีเวลาจะทำอยู่แล้ว พออ่านไม่ครบครูบ่น ครูตีจร้าทำแบบนี้แล้วเด็กที่ไหนมันจะอ่านล่ะ? อ่านสัปดาห์ล่ะสองเรื่องก็พอแหละ อีกอย่างหนึงสือมันแพงด้วยไม่มีตังซื้อ
0
กำลังโหลด
ladyclover Member 20 ส.ค. 56 18:58 น. 11
มีหนังสือดีๆให้อ่านก็รู้ แต่มันเป็นสิ่งที่วัยรุ่นไม่ชอบอ่าน ต้องเข้าใจว่าวัยรุ่นอ่ะชอบอ่านในสิ่งที่ชอบมากกว่าสิ่งที่ต้องอ่าน เปรียบเทียบง่ายๆ   เอาหนังสือที่วัยรุ่นชอบ กับหนังสือที่ดีแต่วัยรุ่นไม่ชอบ  คุณลองคิดดูว่าวัยรุ่นจะเลือกอันไหนก็ต้องเลือกสิ่งที่ชอบอยู่แล้ว

 แล้วสมัยนี้สาววายมันครองโลกแล้ว//เกี่ยวมั้ย  คุณจะมากีดกันไม่ให้อ่านการ์ตูนวาย นิยายวายเป็นไปไม่ได้หรอก ต่อหน้าเค้าไม่อ่านคุณรู้ได้อย่างไรว่าลับหลัวเค้าก็จะไม่อ่าน ฉะนั้นอย่ากีดกันในสิ่งที่ลูกชอบ ในสิ่งที่ลูกเป็นเลยถ้าสิ่งนั้นไม่ทำให้เกิดความเสียหายอะไรแก่ใครก็ปล่อยเค้าไปเถอะ เค้าจะได้ไม่ต้องมาหลบๆซ่อน คอยระแวงคุณอยู่อย่างนี้//อันนี้เรื่องส่วนตัวล้วนๆ
0
กำลังโหลด
วิน Member 20 ส.ค. 56 19:50 น. 12
อ่านน้อยงั้นรึ ดูถูกพวกโอตาคุเสียแล้ว(ไม่ใช่และ)

ตรงๆไม่อ้อมค้อม ไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะมันลายตา ไม่ชอบเขียนบทความเพราะเมื่อยจุงเบย-3-
0
กำลังโหลด
Sci' Swiftiez Member 20 ส.ค. 56 19:57 น. 13
>>>>>>> โรงเรียนควรมีมาตรการให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาอย่างจริงจัง
หนูเชื่อว่า ถ้ามันเกิดขึ้น เด็กๆในโรงเรียนจะโวยวาย ด่าทอ ไม่สนใจ ตามสไตล์เด็กไทยอะค่ะ คือ ทุกวันนี้ คือผู้ใหญ่ทำิอะไรเด็กส่วนใหญ่
ก็ค้านเสมอๆ ไม่ว่าจะมีเหตุผลหรือไม่ ค้านไว้ก่อน บ่นไว้ก่อน ค้านไว้ก่ิิอน
0
กำลังโหลด
saiko-ld Member 20 ส.ค. 56 20:28 น. 14
หนังสือดีๆ น่ะมีเยอะ แต่ที่ไม่ค่อยอ่านก็เพราะว่า
1.ราคาแพง ขนาดหนังสือที่อ่านเพื่อความบันเทิงยังราคาเล่มละ 100 บาทขึ้นไป แล้วคนทั่วไปก็มีทัศนคติว่า "เปลืองเงิน100บาทไปซื้อหนังสือไร้สาระพวกนั้นทำไม เอาไปซื้อข้าวจาน 40 บาทได้ตั้ง2จานกับน้ำตั้ง2แก้ว เห็นมั้ย อิ่มไปตั้ง2มื้อ"
2.เสียเวลา คนทั่วไปเช่นนักเรียน พนักงานออฟฟิส หรือคนที่ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ต่างก็ยุ่งกัน ทั้งนั้น และส่วนมากงานที่ว่ามาน้ันต่างๆ ถ้าละมาสักครู่เดียวก็สามารถทำให้เราเสียเวลาในการทำงาน(ทำเงิน)และยิ่งยุคปัจจุบันที่เราต้องเร่งรีบ และยุคของเงินคือพระเจ้าด้วยแล้วยิ่งแล้วใหญ่
3.อ่านไม่เข้าใจ/น่าเบื่อ หนังสือความรู้ในประเทศไทยส่วนมากจะเป็นประเภท วิชาการจ๋าาา อ่านแล้วน่าเบื่อ หรือไม่ก็ จืดชืดไร้รสชาติ ถ้าให้เปรียบเทียบหนังสือนิทาน ในประเทศไทยกับต่างประเทศ เด็กจะเลือกอะไร ระหว่าง นิทานเรื่อง หนูมาลี กับ ซินเดอเรลล่า
4.มีร้านหนังสือโดยเฉพาะ น้อยมาก ในบางจังหวัด จะหาหนังสือใด้เฉพาะในห้าง(se-ed book) และร้านเฉพาะก็เป็นร้านใหญ่ แต่ผมไม่ปฎิเสธว่าร้านเล็กๆ ก็มี แต่มีไม่ครบทุกประเภท เช่น ร้านขายของชำมีหนังสือพิมแต่ไม่มีนิยาย เซเว่นมีหนังสือหลากหลายแต่ไม่มีหนังสือวิชาการ ร้านข้างบ้านมีแต่หนังสือการ์ตูน นิยาย ไม่มีหนังสือเรียน ร้านอุปกรณ์การเรียนมีหนังสือเรียนแต่ไม่มีหนังสือสอนทำขนม
5.การบังคับ เด็กๆ มักโดนพูดกรอกหูจากครู หรือผู้ปกครองให้อ่านหนังสือ ทำให้ไม่อ่านเพราะเกิดอาการต่อต้าน เช่น ถ้านั่งอยู่แล้วโดนบอกว่า"ไปอ่านหนังสือไป๊" ก็ไม่อยากอ่านอยู่ดี แล้วก็การอ่านหนังสือ ควรเริ่มจากหนังสือที่ เด็กๆ ชอบ เช่น นิทาน การ์ตูน แต่การที่บังคับให้มาอ่านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กไม่อยากอ่าน เพราะเข้าใจยาก น่าเบื่อ ไม่สนุก
6.การบันทึกการอ่าน เด็กมักโดน ครูบอกให้บันทึกการอ่านตั้งแต่เด็ก เพื่อให้ฝึกจับใจความ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งก็หนักเกินไป เช่น "ต้องทำให้ครบ 60 เรื่อง ในหนึ่งเทอมนะเด็กๆ" การบันทึกการอ่านควรทำโดย ความสมัครใจเป็นส่วนใหญ่มากกว่า



0
กำลังโหลด
กรุณาเอาไปบอกให้โรงเรียนทุกที่ด้วย 20 ส.ค. 56 20:38 น. 15
เราว่าโรงเรียนทุกโรงเรียนชอบให้หนังสือจดบันทึกการอ่านแต่มันไม่ได้กระเตื้องนักเรียนให้อ่านไปด้วยเลย คุณครูมาก็บอกให้อ่านอะไรก็ได้แล้วสรุป พอเขียนเสร็จเขาก็บอกว่าห้ามเอานิยาย(แฟนตาซี,นิยายอิงชีวประวัติ,บลาๆ) ต้องเอาหนังสือพวกตำราเท่านั้น ตรวจก็เซ็นส่งๆ ถามจริงค่ะ ส่วนตัวคุณครูถ้าไม่จำเป็นต้องเอามาสอนก็ไม่ได้อ่านหรอก วันนึงน่ะ อีกอย่างหนังสือตำราถ้าซื้อมาเองส่วนใหญ่ก็แพงมาก ให้ไปหาในห้องสมุดก็ยิ่งแล้วใหญ่ หนังสือเละตุ้มเป๊ะและเก่ามาก ในโรงเรียนดังก็เป็น เราว่าการให้นักเรียนอ่านแล้วเขียนสรุปมันยิ่งทำให้เราเกลียดยิ่งขึ้น
ถ้าจะหาวิธีแก้ก็อยากให้โรงเรียน 1. แจกหนังสืออะไรก็ได้ให้อ่านในคาบว่างก่อนเรียน 2. ไม่ก็แจกหนังสือเล่มเดียวกัน สั้นๆก็ได้ ให้อ่านจบภายในคาบ แล้วก็พูดคุยกันในชั้นเรียนว่าอ่านแล้วรู้สึกยังไง มีข้อคิดอะไรดีๆไหม โดยไม่ต้องเขียนใส่กระดาษสรุปเพราะนักเรียนในชั้นมีเยอะ คงไม่มีเวลามาไล่อ่านหรอก
โรงเรียนต่างชาติเขาให้อ่านแบบนี้กันค่ะ แถมหนังสือก็เป็นพวกวรรณคดีเรื่องสั้นที่น่าสนใจด้วย อยากให้คุณครูในโรงเรียนเอาไปใช้เป็นแบบอย่างบ้างนะคะ
0
กำลังโหลด
walanlekda 20 ส.ค. 56 21:03 น. 16
นักเรียนทุกวันนี้ จะเรียนหรือไม่เรียนจะเก่งหรือไม่เก่ง เรียนยังไง๊ยังไงก็สอบได้ ห้ามนักเรียนสอบตกโดยเด็ดขาด มันเป็นนโยบายน่ะ เกทมั๊ย ระบบการศึกษาทุกวันนี้ทำให้เด็กโง่ นี่เป็นเรื่องสยองขวัญมาก ตอนนี้กลัวที่สุดคือเสรีอาเซียนเมื่อไหร่ คนไทยอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่จนที่สุดของอาเซียน และคิดว่าคงจะค่อยๆ โดนกลืนชาติไปทีละนิดๆ จนเหลือเป็นชนกลุ่มน้อยในที่สุด เพราะเอกลักษณ์ของคนไทยคือ ขี้เกียจ พ่อแม่รักลูกมากทำให้เลี้ยงลูกไม่เป็น ประเภท I kill you with love (คุยกับพวกพม่า เขมรที่มาทำงานใช้แรงงานในไทย พวกเขาบอกว่า รอเวลานี้ทุกลมหายใจเข้าออก พวกเขาจะได้ทำมาหากินในประเทศไทยสะดวกขึ้น) หัวข้อเด็กไทยน่าเป็นห่วง!! ม.1 เริ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้นี้ อ่านปั๊บ ฉันเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งทันที ที่ฝรั่งพูดคำเดียวว่า "เกท" ฉันเกทเพราะฉันเป็นครูและทายว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่ ต่อไปจะลามเข้ามหาวิทยาลัยอย่าง...แน่น๊อน...ไม่เชื่อคอยดู๊...ขอตายแป๊บบบบบบบบบบบ
0
กำลังโหลด
เด็กสมัยใหม่ 20 ส.ค. 56 21:43 น. 17
คห.1 หนังสือเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก น่าสนใจมากนะคะ ไม่ใช่หนังสือที่น่าเบื่อเลย ดิฉันอ่านหนังสือเล่มนี้ เมื่อตอนอยู่ ม.ต้น เป็นหนังสือที่ดิฉันติดมากในตอนนั้น พยายามอ่านจนไม่อยากนอนหลับเลย ดิฉันว่าหนังสือเล่มนี้ให้ความรู้กับเรามากนะคะ เล่าเรื่องสมัยก่อนที่เราไม่รู้ และแตกต่างจากปัจจุบันมาก ดิฉันก็เห็นด้วยกับคุณที่ถ้าเริ่มอ่านหนังสือจริงๆควรอ่านเป็นนิยายหรือบทละคร แต่หนังสือประเภทนี้ก็มีข้อเสียนะคะ ทำให้เราติดค่ะ บางคนนี่ไม่อ่านหนังสืออย่างอื่นเลยนะคะ (ดิฉันประสบกับตนเอง) บางครั้งเราก็ต้องเพิ่มความรู้ให้กับตนเองโดยอ่านหนังสือที่มีสาระบ้าง
0
กำลังโหลด
ปรมัตถะ Member 20 ส.ค. 56 22:01 น. 18

บางเราตกใจกับข้อมูลสถิติว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยมากเกินไป ซึ่งเป็นตรรกะที่พอเข้าใจได้

คนฉลาด = คนมีความรู้ ความรู้=หนังสือ  คนที่ไม่อ่านหนังสือ = โง่  

แต่ว่าจริงอยู่ที่ในหนังสือมีความรู้ แต่หนังสือจำนวนเกินครึ่งเป็นเรื่องที่เป็นบันเทิงซะมากกว่า ความรู้บางอย่างก็ไม่มีในหนังสือ เช่นความเชี่ยวชาญวิชาชีพ ประสบการณ์ชีวิต ฯ

ดังนั้นความคิดเห็นส่วนตัว การที่เด็กขาดทักษะทางภาษาของชาติตัวเอง คงไม่ได้อยู่ที่คนเด็กอ่านหนังสือน้อยลง แต่ปัจจัยอื่นมีผลมากกว่า ไม่ว่าการเลี้ยงดู การเรียนการสอน หรือสังคม ที่ย้อนเเย้ง อยากให้เด็กเก่งภาษาอังกฤษ แต่ก็กลัวอ่านเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้อง เกลียดคนที่พูดไทยคำอังกฤษคำ  แต่บางครั้งต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อแก้ปัญหาความเข้าใจไม่ตรงกัน

0
กำลังโหลด
หนึ่ง 21 ส.ค. 56 00:32 น. 19
สำหรับข้อเสนอแนะนั้น มีบางอย่างที่บ่งชี้ว่าคนไทยเชื่อว่า
การอ่าน ต้องครอบครองหนังสือเอาไว้เป็นของตัวเองด้วย
ทำให้ส่วนของการมีห้องสมุดใกล้บ้าน ตกอันดับไป

จริงๆตัวผมเองก็เป็นเด็กบ้านนอกที่โรงเรียนมัธยมก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไร
แต่สมัยเรียนก็เข้าไปอ่านหนังสือของห้องสมุดโรงเรียนบ่อยๆ
แม้จะไม่ได้อ่านเรื่องเรียนซักเท่าไรก็ตาม
พบว่าโรงเรียนก็มีหนังสือดีๆเยอะ
แต่สิ่งที่ขาดคือ...
"เวลาที่จะใช้อ่าน"
เพราะนอกจากยืมกลับบ้านแล้ว
ผมจะมีเวลาแค่ 30-35 นาที เท่านั้น หลังทานข้าวกลางวัน
ตกเย็นก็ห้องสมุดก็ปิดแล้ว

จริงๆโรงเรียนน่าจะต้องมีเวลาให้สำหรับค้นคว้าหรืออ่านเรื่องที่สนใจ
อย่างน้อยอาทิตย์ละสองชั่วโมงต่อเนื่องบ้าง

เพราะการอ่านเพื่อค้นคว้า เพื่อทำรายงานสั้นๆสรุปเนื้อหา
หรืออะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์หน่อย ไม่ไร้สาระอย่าง คัดลายมือ
หรือทำรายงานแบบ "กำหนด X หน้า"
แล้วอยู่ในการดูแลของอาจารย์ ให้เด็กอยู่ค้นคว้าในห้องสมุดร่วมกัน
จะทำให้พวกเขาได้อ่านมากขึ้น

ก็ตอบในมุมของนักเรียนนะครับ อดีตอันผ่านมานานแล้ว
ประเด็นก็คือ
หนังสือ ไม่ต้องซื้อ ก็อ่านได้ ถ้าใจมันอยากจะอ่าน
เพราะถ้าไม่ได้อยากจะอ่าน ซื้อมากองไว้ ก็รำคาญลูกตาเปล่าๆ
0
กำลังโหลด
โจโฉ นายกตลอดกาล Member 21 ส.ค. 56 15:39 น. 20
ส่วนหนึ่งที่ระบบการศึกษาด้วยครับที่ดันไปบังคับห้ามเด็กตกชั้น โรงเรียนบางแห่งมีนโยบายห้ามเด็กตกชั้นเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนโดยไม่ใส่ใจคุณภาพของเด็ก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด