เด็กไทยระวัง! ไปเรียนนอก ลอกงานส่ง โดนไล่ออก

   

       สวัสดีค่ะ น้องๆชาว Dek-D.com ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าน้องๆหลายคนที่ไปเรียนต่อเมืองนอก มักจะเกิดอาการอึ้ง และงง เป็นอย่างมากเมื่อรายงานที่ส่งอาจารย์ไปในครั้งแรก กลับถูกปรับตกหรือตีกลับมาแก้ใหม่อย่างไม่ไยดี! และสาเหตุนั้นก็เพราะว่าหลายคนติดนิสัยการคัดลอกตำราส่งอาจารย์นั่นเองค่ะ ถึงแม้ว่าจะคัดลอกมาแม้แค่เพียงประโยคเดียวก็ตาม แต่การทำเช่นนี้ในต่างประเทศนั้นถือเป็นความผิดขึ้นร้ายแรงเลยล่ะคะ! ซึ่งเราเรียกการคัดลอกผลงานของคนอื่นว่า "Plagiarism" ค่ะ

 

 


Plagiarism คืออะไร

        Plagiarism หรือภาษาไทยอาจเรียกว่า การโจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การขโมยความคิด ซึ่งก็คือการลอกงานเขียนของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานของตนเอง หรือเอามาโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ ซึ่งคำว่า Plagiarism นี้มาจากรากศัพท์ภาษาละติน จากคำที่มีความหมายว่า "การลักพาตัว" ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ไปลักพาตัวใครเขามาจริงๆ แต่ก็เป็นการลักพาไอเดียหรือความคิดของผู้อื่นมานั่นเองค่ะ ยิ่งในปัจจุบัน การพัฒนาของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้มีบทความและตำราอ้างอิงต่างๆ ปรากฏอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ยิ่งทำให้การคัดลอกและวาง (Copy&Paste) เป็นอะไรที่ทำได้ง่ายมากๆ ดังนั้น Plagiarism จึงมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่โดยทั่วไปค่ะ

         หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ...ตำรามีตั้งเป็นหมื่นเป็นพัน นี่ยังไม่นับบทความในอินเตอร์เน็ตอีกไม่รู้อีกตั้งเท่าไหร่ แล้วอาจารย์จะจับได้ยังไงน้า...คำตอบก็คือ ไม่ต้องห่วง อาจารย์เค้ามี โปรแกรมตรวจสอบ ค่ะ (เช่น Turnitin ใครอยากรู้จัก สามารถเข้าไปดูได้ที่ turnitin.com ค่ะ) ลอกมาแค่ประโยคเดียวก็สามารถบอกได้แล้ว แถมยังแสดงผลด้วยว่างานของเราคัดลอกมาทั้งหมดคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ คัดลอกมาจากบทความของเว็บไซต์ไหน หรือเอามาจากตำราเล่มไหนก็สามารถบอกได้หมดเลยค่ะ เพราะมีฐานข้อมูล หรือ Database ที่ครอบคลุมแล้วก็กว้างมากๆ

        ใครอยากจะทดลองตรวจ Plagiarism ในงานเขียนของตนเองดู ลองเข้าไปตามเว็บไซต์ตรวจการคัดลอกต่างๆ เช่น http://www.duplichecker.com/ หรือ http://www.plagiarismchecker.com/ ดูได้ค่ะ แต่ฐานข้อมูลของเว็บอาจจะไม่กว้างมากนัก (พูดง่ายๆก็คือจับผิดไม่เก่งเท่าของอาจารย์นั่นเอง 5555+)

 

 

 


บทลงโทษจากการ Plagiarism

        ในวงการทางด้านวิชาการ หรือการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น การโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนักเรียน, นักศึกษา, อาจารย์ หรือนักวิจัยต่างๆ นับเป็น ความไม่สุจริตทางวิชาการ (academic dishonesty) หรือถือเป็น การฉ้อฉลทางวิชาการ (academic fraud) ซึ่งผู้กระทำการ Plagiarize นั้นจะต้องได้รับบทลงโทษ โดยบทลงโทษนั้นจะเป็นโทษขั้นรุนแรงซึ่งสามารถทำลายอนาคตของนักศึกษาที่ทำความผิดได้เลยค่ะ นั่นก็คืออาจโดนไล่ออกจากสถาบัน หรือถ้าขั้นต่ำหน่อยก็จะโดนพักการเรียน ไม่นับรวมว่าถูกปรับตกในวิชานั้นๆอย่างแน่นอน อีกทั้งความผิดนี้จะถูกแสดงอยู่ในใบแสดงผลการเรียนของผู้ทำผิด ซึ่งก็จะตามมาหลอกหลอนในตอนที่หางานทำ และคงจะเป็นตราบาปที่ตามหลอกหลอนไปตลอดชั่วชีวิตคนคนนั้นเลยล่ะค่ะ

 

 


วิธีการหลีกเลี่ยง Plagiarism

       การหลีกเลี่ยงการขโมยความคิดของผู้อื่นนั้นทำได้ง่ายมากๆ นั่นก็คือ ถ้าคัดลอกมาแบบเป๊ะๆ คำต่อคำเลย ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมาย "..." (Quotation mark) ครอบคลุมประโยคเหล่านั้น และจะต้อง ระบุให้ชัดเจนเสมอว่าข้อมูลที่เรานำมาเขียนนั้นเอามาจากที่ไหน ตำราเล่มไหน ใครเขียน เขียนเมื่อปีใด ซึ่งรูปแบบ การอ้างอิง (citation) นั้นก็มีด้วยกันมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการอ้างอิงในสาขาทางด้านวิทยศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือขึ้นอยู่อาจารย์ผู้สอนของเราด้วย ว่าต้องการให้เราอ้างอิงสไตล์ไหน (ก็อาจารย์เป็นคนตรวจให้คะแนนเรานี่เนอะ 555+) สไตล์การอ้างอิงต่างๆก็เช่น อ้างอิงสไตล์ APA, MLA หรือ Chicago Style Manual ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยค่ะ เช่น บางแบบให้ขีดเส้นใต้ชื่อหนังสือ บางแบบให้ใช้ตัวเอียง หรือบางแบบให้ใช้ p. ก่อนบอกเลขหน้าหนังสือที่เราคัดมา ในขณะที่บางแบบจะให้ใช้เครื่องหมาย : แล้วตามด้วยเลขหน้า เป็นต้น

 

 


ตัวอย่างการอ้างอิง

        ในบทความ

        "xxxxxxxxxxxxxx" (Smith, 2005)

        ในบรรณานุกรม

        Smith, Hazel B. "All About Giraffes." 2005.

        ซึ่งการอ้างอิงนี้หมายความว่า เรานำข้อมูลนั้นๆมาจากหนังสือชื่อ All About Giraffes ซึ่งประพันธ์โดยคุณ Hazel Smith ที่เขียนไว้เมื่อปี 2005 นั่นเองค่ะ

 


        คิดว่าน้องๆคงพอจะรู้จัก Plagarism และความร้ายแรงของการ Copy&Paste ในงานที่ทำส่งอาจารย์กันไปพอสมควรแล้วเนอะ เดี๋ยวคราวหน้า พี่สตางค์ จะนำ "เทคนิคการหลีกเลี่ยง Plagarism" มาฝาก รับรองว่ามีประโยชน์สุดๆ เพราะนำมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเองเลย 555+ อย่าลืมติดตามกันนะจ๊ะ ^^

 

 

 

อ้างอิง : kidshealth.org, esc.edu,
articlemyriad.com

รูปประกอบ: plagiarismchecker.net, ihslife.blogspot.com,
justaperspective26.blogspot.com

 

 

พี่สตางค์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

27 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
ซ่อนนาม Member 4 พ.ค. 55 04:53 น. 2
เราว่าการใช้คำว่า "ลอก" มันจะดูไกลตัวไปนะ
เพราะความจริงแล้วแค่ "ไม่ให้เครดิต" ก็โดนได้เหมือนกัน


และในประเทศไทยเอง ระดับก่อนอุดมศึกษาไม่เท่าไหร่หรอก
แต่ระดับอุดมศึกษานี่สิ เคร่งครัดไม่ใช่น้อย และยิ่งตอนเขียนทีซิสนี่ยิ่งเข้มงวดใหญ่
ถ้าถูกจับได้ว่านิสิตนักศึกษาลอก หรือไม่ให้เครดิต โดนฟ้องจนต้องปิดคณะมาแล้วก็มี
(ฟังจากอาจารย์ของเรามาอีกทีหนึ่ง แต่ท่านบอกว่าไปค้นดูในคำพิพากษาของศาลฏีกาได้)

ซึ่งการให้เครดิตก็ยังไม่พอนะ และยกข้อความของคนหนึ่งมาเขียนใหม่ก็ยังไม่ได้
ต้องเอาของหลายคนมาควบรวมและเขียนใหม่ด้วยสำนวนของเราพร้อมมีเครดิตถึงไม่โดน


โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ แต่หลายคนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
จนเกิดการลอก หรือแอบอ้างผลงานของผู้อื่นอยู่เสมอ
ซึ่งแม้สังคมไทยจะไม่เข้มงวดในเรื่องนี้ แต่มันมีกฎหมายมารองรับอยู่นะ
หากทำก็หมดอนาคตได้ง่าย ๆ

ปล กระทู้ที่เกี่ยวข้อง
[ประกาศจากสนพ.นาบู]กรณีแอบอ้างตนเป็นผู้เขียนนิยายเรื่อง "รักนี้...ลิ้นกับฟัน" (Yaoi)
[อัพเดทสถานการณ์]กรณีแอบอ้างนิยาย "รักนี้...ลิ้นกับฟัน"
0
กำลังโหลด
LittleTina 4 พ.ค. 55 08:26 น. 3
ใกล้ตัวมากค่ะเรื่องนี้ ครูจะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากค่ะ
อย่างของทาง California State University ทั้ง 23 แคมปัส
ถ้ามันร้ายแรงมากก็จะถูกตัดสิทธิ์การเรียนจากแคมปัสทั้ง 23 แห่งเลย
ส่วนมากเค้าจะนิยม paraphrase กันคือการอ่านแล้วมาเขียนในใหม่โดนใช้คำพูดของตนเอง
ก็ต้องอาศัยความเข้าใจของตัวประโยคนั้นด้วย
ส่วนมากเค้าจะแนะนำให้อ่านแล้วไปทำอย่างอื่นสักแปปแล้วค่อยกลับมาเขียน
เพราะว่าถ้าเขียนเลยเราก็ยังติดตากับรูปประโยคนั้น ศัำพท์นั้นเพราะฉนั้นเขียนออกมาก็จะเหมือนกันส่ะงั้น
แต่ก็ยังต้องให้เครดิตนะ่ค่ะ 555

ส่วนเรื่องการอ้างอิงนั้นที่เราเจอมาน่ะช่วงม.ปลาย ส่วนมากจะนิยม MLA แต่ถ้าเป็นมหาลัยจะใช้ APA
แล้วเวลาทำรายงานจะเป็นข้อห้ามเลยว่าวิกิพีเดียอย่าได้ใส่มาเป็นแหล่งอ้างอิงโดยเด็ดขาด
และบางเว็บไซต์ถ้าไม่ใช่ของรัฐบาลหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือก็ใช้อ้างอิงไม่ได้ค่ะ
พวก .com งี้จะใช้ไม่ได้เลย .org, .edu อันนี้พอใช้อ้้างอิงได้แต่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวอาจาร์ยเองด้วย
ส่วนตัวเวลาทำรายงานมันยากตรงหาแหล้่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้นี่แหละ
แล้วก็จะมีกำหนดว่าควรมีแหล่งอ้างอิงกี่ที่ด้วย ส่วนมากจะใช้เกินที่กำหนดมาค่ะ
เพราะข้อมูลต้องครอบคลุมจริงๆค่ะ
0
กำลังโหลด
จินฮู Member 4 พ.ค. 55 08:52 น. 4
อ่าเพื่อนเราที่เป็นผู้ชายประมาณว่า เพื่อนคนนึงลืมทำการบ้านอาจารย์อังกฤษชาวต่างชาติอ่า
ก็เลยไปถ่ายเอกสารงานเพื่อนอีกคนนึงแล้วคราวนี้ หุหุ 555+
อาจารย์แกตรวจแบบถี่ยิบเลยนะอาจารย์คนนี้ ตรวจแบบแผ่นต่อแผ่นประโยคต่อประโยคคำต่อคำ
แต่บางครั้งความคิดเราไปเหมือนเพื่อน อ่า อาจารย์ไม่ว่าเราเฉยเลย งงนะว่าอาจารย์รู้ได้ไง?

อ่ะเล่าต่อ แล้วคราวนี้อาจารย์จับได้พวกผู้ชายก็ดันไปถ่ายเอกสารมาทั้งชั้นทั้งห้องเลยอ่า -*-
อาจารย์คนนี้ชื่ออาจารย์จูเลียอ่า เป็นคนรัสเซีย แต่ว่าสำเนียงท่านไม่เท่าไหร่นะแต่สอนเข้าใจเฉยเลย ก็เลยเรียกผู้ชายไปด่าแบบหน้าชั้นเลยด่าไปร้องไห้ไมันเลยทำให้เรารู้ว่าท่านแคร์เรามากด่าไปร้องไห้ไปT^T
เราชอบครูคนนี้มากจริงๆพูดไปจะร้องไห้ขาดสอนเราแค่เทอมเดียวตอนท่านจะลาไปสอนที่ประเทศอื่นท่านก็ทำสมุดให้ม.1/1ภ.ว.ค ทุกคนเลยตอนนี้เรากำลังจะขึ้นม.2แล้วคิดถึงท่านมากๆเลย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
mini_167 Member 5 พ.ค. 55 08:27 น. 7
ห้องเราเคยโดน เพื่อนทำลอกทั้งห้อง แล้วครูจับได้ครูฝรั้่งนะเป็นคนอังกฤษ ให้0ทั้งห้อง โดนด่ากันจะจาย เขาบอกถ้าเธออยู่นอกนะโดนไล่ออกติด0วิชานั้นไปเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
vallvallstamina Member 6 พ.ค. 55 13:42 น. 11
 โห้ยยยยย กะว่าจะไปเรียนเมืองนอก แล้วลอกเฉพาะเลข ^^' ซวยแล้ววว ไปเรียนที่ชิลีก็ได้ เชอะ! 55555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
moowanzaza Member 8 พ.ค. 55 11:35 น. 13
 เรื่อง Plagiarism ต้องระวังมากจริงๆค่ะ :(
อย่างในแวนคูเวอร์ ที่เรากำลังเรียนอยู่ 
...ถ้าในไฮสคูล เอาศูนย์ไปรับประทานเลยกับงานที่ลอกเขามา
ถ้าในมหา'ลัย...ไล่ออกสถานเดียวค่ะ! และโหดยิ่งกว่า คือนักเรียนที่ถูกไล่ออก
จะไม่มีสิทธิ์เขาเรียนมหา'ลัยอื่นในแถบนั้นเลย
(ไม่แน่ใจว่าเฉพาะยูใน Province เดียวกัน หรือระดับไหนนะคะ)
มันจะติดเป็นตัวแดงโตๆไว้ใน record เลยค่ะ ว่าโดนไล่ออกเพราะลอกงานคนอื่นมาส่ง

ปีที่แล้ว เราต้องเรียน section นึงเกี่ยวกับ paraphase โดยเฉพาะเลยค่ะ
ต้องเรียนละเอียดมาก ระหว่างความแตกต่างของการลอกงานคนอื่น กับการใช้ข้อมูลของอื่นเป็น reference ให้กับงานเรา :) คล้ายๆกับที่พี่สตางค์บอก คือต้องมีวงเล็บด้านหลังประโยค ว่าประโยคที่เราว่ามานั้น refer ถึงงานของใคร

ถึงจะดูโหดไปหน่อย แต่เราว่าเป็นเรื่องดีมากๆสำหรับนักเรียน
ทั้งด้านจริยธรรม คือไม่ไปลอกงานคนอื่นหน้าตาเฉย แล้วมาบอกว่าเป็นงานที่เราเขียนเอง
และให้นักเรียนได้ฝึกสร้างงานที่เป็นของตัวเอง in their own words ด้วย:)

ขอบคุณพี่สตางค์สำหรับคอลัมน์ดีๆค่า :)
0
กำลังโหลด
แป๋งแป้ง Member 8 พ.ค. 55 20:59 น. 14
เป็นวิธีการที่น่านำมาใช้ในการศึกษามากค่ะ เพราะ วิธีการนี้นอกจากป้องกันการคัดลอกแล้ว ยังมีประโยชน์ช่วงตรวจสอบความเรียบร้อยด้วย  
0
กำลังโหลด
หญิงเหวี่ยง Member 9 พ.ค. 55 08:30 น. 15
  ลองให้นักเรียนไทยทำดูดิ ก๊อบเค้าทั้งเล่ม พิมพ์ผิดพิมพ์ถูกเนี่ยไม่รู้หรอก ไม่ได้อ่าน 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
jaejaeshinkijae Member 14 พ.ค. 55 10:46 น. 17
 น่าจะมีกฎแบบนี้ในทุก รร และ มหาลัยในประเทศเรา เนาะ บางทีมันแบบแอบน้อยใจว่าเราทำแถบตายแต่อีกคนแค่ลอกเราก้อมีงานส่งแล้วว เห้อออ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
embrace Member 14 พ.ค. 55 18:41 น. 20
 หืม มีโปรแกรมอัจฉริยะในการตรวจจับจริงๆ ในฐานะเรียนร.ร.ในไทยมาตลอด(ตั้งแต่อ.1-ม.3 และกำลังขึ้นม.4) เป็นอะไรที่น่ากลัวมากๆ ไล่ออกหรือตัดคะแนนยังไม่พอ ยังมีการรีคอร์ดอีก =_= มันโหดมากกว่าโดนไม้เรียวตีเป็นไหนๆ

เท่าที่ดูหนังก็คิดว่าทำไมเวลาทำรายงานถึงหยิบหนังสือหนาๆหลายๆเล่ม แล้วจดๆๆลงในกระดาษ และต้องรีบทำตั้งแต่เริ่มสั่ง ชอบมากตรงหัวข้อสุดท้าย เรื่องการหลีกเลี่ยง plagiarism ให้อ้างอิงชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ตรงบรรณานุกรม ชื่อ ชื่อหนังสือ ปีที่พิมพ์

คิดว่าถึงจะไม่ได้ไปเรียนต่างประเทศ (อาจไม่มีโอกาส) และประเทศไทยยังไม่มีการใช้โปรแกรมตัวสอบแล้วบทลงโทษแบบนี้(ซึ่งก็อาจมี เริ่มจากข้อเสนอใครสักคน)
ยังไงเราก็ต้องฝึกฝนตัวเองใหม่ ระวังไว้ ไล่ออกเชียวนะ รีคอร์ดสีแดงๆเชียวนะ
ขอบคุณพี่สตางค์มากๆเลยค่ะ บ้านเขาโหดจริงๆ 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด