แต่งนิยายจากตัวละครสู่โครงเรื่องทำอย่างไร

 


         น้องๆ นักเขียนชาว Dek.d.com เป็นยังไงกันบ้างจ๊ะ ช่วงนี้ปิดเทอม มีเวลาปั่นตัวหนังสือเป็นเล่มกันมากขึ้นหรือเปล่าเอ่ย เห็นช่วงนี้น้องๆชาว Dek.d.com หลายบ่นว่าอยากเริ่มเขียนนิยายกะเค้าบ้างแต่ว่าไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง บางทีคิดก็คิดตัวละครออกแล้ว แต่ไม่รู้จะแต่งให้มันทำอะไรต่อไปดี สมองไม่แล่น ฮ่าๆ ไม่เป็นไรจ๊ะน้องๆ มันนี้พี่นัทมีเคล็ดลับการแต่งเรื่องจากตัวละครสู่โครงเรื่องมาฝากน้องๆนักเขียนชาว Dek.d.com มือใหม่กัน

 

 

         โครงเรื่องจะผูกขึ้นมาได้นั้นจะต้องมีตัวละคร ข้อนี้นักเขียนส่วนใหญ่ย่อมจะรู้ดีอยู่แล้ว แต่เราจะผูกโครงเรื่องจากตัวละครได้อย่างไร? สำหรับนักเขียนใหม่ดูจะสับสนคลุมเครืออยู่สักหน่อยเพราะมีข้อขัดแย้งกันอยู่ 2 อย่าง คือ

 

  1. เรามักจะได้รับคำแนะนำให้ศึกษาเรียนรู้วิธีการผูกเรื่องที่ดีจากงานเขียนที่ประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งจากการอ่านงานเขียนเหล่านี้ เราจะไม่มีวันรู้ว่ามีขั้นตอนอะไร และอย่างไร แม้แต่นักเขียนเจ้าของผลงานเองก็ตามที บางครั้งก็อาจจะลืมไปว่าเขาผูกมันขึ้นมาอย่างไร เรื่องที่ประสบความสำเร็จอันถือเป็นแบบอย่าง เมื่ออ่านเราจะรู้สึกว่าไหลเลื่อนไปด้วยตัวของมันเอง และดูเหมือนว่าเหตุการณ์จะต้องเป็นไปเช่นนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนั้นการอ่านเรื่องที่ประสบความสำเร็จแล้วนั้นอาจทำให้คุณปั่นป่วยได้เช่นกัน เพราะมันบอกได้แค่เป้าหมายที่จะไป แต่ไม่ได้ทิ้งร่อยรอยไว้ว่าจะไปได้อย่างไร

 

  1. เราไม่สามารถบอกได้ว่าตัวละครในเรื่องของเราจะแสดงพฤติกรรมอย่างไร จนกว่าเราจะรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร และในขณะเดียวกัน เราจะไม่มีวันรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร จนกว่าเราจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องกระทำในเรื่อง

 

 

โครงเรื่องที่ดีจะมีรูปแบบของมันอยู่ ดังรูป นอกจากนั้นยังต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ มีพลังกระตุ้น มีความขัดแย้ง มีความเป็นเหตุเป็นผล มีความไม่แน่นอน และน่าประหลาดใจ 

 

 

 

     พลังกระตุ้น จะเป็นเสมือนแรงส่งให้ผู้เขียนและผู้อ่านเข้ามาสู่เรื่องราว นั่นหมายความว่า นักเขียนจะต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่จะเขียนถึงที่อยากจะบอกเล่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เร่งเร้าตัวเราถ้าเรารู้สึกเฉยๆกับเรื่องที่จะเขียน กับเหมือนเสียเวลาเปล่าถ้าจะเขียนมันขึ้นมา เพราะมันจะขาดพลังหรือแรงส่ง

 

     ความขัดแย้ง หมายถึงว่า มีอุปสรรค มีพลังคัดค้าน ไม่อย่างนั้นเรื่องก็จะตรงแน่วไปยังจุดจบ ไม่น่าสนใจ

 

     ความเป็นเหตุเป็นผล หมายถึงการกระทำหรือพฤติกรรมของตัวละครจะต้องเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ มีเหตุผลรองรับ ว่าทำไมตัวละครจึงกระทำเช่นนั้น อะไรคือแรงจูงใจ แต่บางครั้งตัวละครอาจมีพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล เราเองก็เคยทำในสิ่งที่ไร้เหตุผลไม่ใช่หรอ แต่เราจะต้องทำให้เห็นว่าทำไมตัวละครตัวนั้นจึงไร้เหตุผล อาจถูกสถานการณ์บีบบังคับ หรือชักนำให้ต้องทำอย่างนั้น

 

     ความไม่แน่นอน หมายถึง ว่าผลที่จะเกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ในหลายๆทาง ผู้เขียนจะต้องซ่อนเงื่อน หรือเน้นอันตรายที่ใกล้เข้ามา หรือให้ตัวละครต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ พลิกผัน

 

น่าประหลาดใจ เป็นความรู้สึกสุดท้าย เมื่อผลที่ออกมานั้น ในตอนแรกๆดูจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ

 

เอะๆ ยังไม่จบแค่นี้นะจ๊ะมาต่อกันใหม่อาทิตย์หน้า จากตัวละครสู่โครงเรื่อง ภาค 2 อย่าเพิ่งเบื่อหน้าหนีกันไปซะก่อนล่ะ หรือถ้าทนคิดถึงพี่นัทไม่ไหวอย่าลืมแวะไปทักทายกันได้ที่ my id พี่นัท เพิ่งแต่งใหม่ด้วย เบอร์ห้าบ้าเห่อ เวอร์ชั่น 2 ฮ่าๆ


 

 

          พี่นัทขอขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ โรงเรียนนักเขียน โดยเพลินตา แปลจาก เดมอน ไนท์

 





พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

41 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
•• JAN-JAOW = แจนจ๊าว ,,* Member 5 เม.ย. 52 13:08 น. 3

สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการเข้าใจตัวละครนั้นจริงๆ
ถึงจะรู้ว่าเรื่องราวจากการกระทำของตัวละครจะดำเนินไปอย่างไรอะ
ใครจะเอาไปใช้บ้างก็ไม่ว่าค่ะ :]

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
F.Fun 5 เม.ย. 52 15:44 น. 7
ขอบคุณมากมายค่า

เป็นประโยชน์มากมายเลย ^^

อ่าค่ะ... ใช่เลย

ถ้าแต่งแล้วรู้สึกเฉย ๆ ก็อย่าแต่งเลย

แต่งตอนที่เรามีความสุข ก็เท่ากับเป็นการถ่ายทอดควงามสุขนั้นไปสู่ตัวผู้อ่านด้วย,, ><"
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Memory Member 5 เม.ย. 52 22:29 น. 12

ขอบคุณมากค่ะ
จะเก็บเอาไปใช้
แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีแรงบันดาลใจในการคิดพล็อตเรื่องอยู่ดีแฮะ
สงสัย...คงยังมีประสบการณ์น้อยไปมั้ง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด