จากการสัมมนาเรื่องวิกฤติการศึกษาไทย จัดโดย คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และความมั่นคงของมนุษย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยในส่วนของปัญหาแอดมิชชั่น ผลกระทบจากการสอบโอเน็ตและเอเน็ตนั้น ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของอาจารย์สายวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการให้การสอบแอดมิชชั่น มีการแยกสอบวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เหมือนการสอบเอ็นทรานซ์นั้น ต้องเรียกร้องไปยังที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย  เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในส่วนของ สทศ. เป็นหน่วยจัดสอบ เพื่อสถานศึกษานำข้อมูลไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ไม่ใช่หน่วยจัดสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย

 

ดร.กำจัด มงคลกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ตนั้น เป็นการวัดประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ไม่ได้เป็นการวัดความเหมาะสมของคนที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย การใช้คะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งของการคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย จึงเป็นการจับแพะชนแกะ

 

ผศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากการติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่ผ่านการคัดเลือกด้วยระบบเอ็นทรานซ์ปี 2548 และระบบแอดมิชชั่นปี 2549 พบว่าคะแนนเฉลี่ยจากระบบเอ็นทรานซ์อยู่ที่ 50% แอดมิชชั่น 65% ส่วนเกรดเฉลี่ยจะเท่ากันคือประมาณ 3 สำหรับการเลือกอันดับเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ พบว่าระบบเอ็นทรานซ์มีผู้เลือกคณะวิทยาศาสตร์เป็นอันดับ 1 มากกว่าเลือกเป็นอันดับ 4

 

ส่วนระบบแอดมิชชั่น มีการเลือกคณะวิทยาศาสตร์อันดับ 1-4 ในอัตราที่เท่าๆกัน ส่งผลให้คะแนนของผู้ที่เลือกอันดับ 4 มีคะแนนสูงกว่าผู้ที่เลือกคณะอันดับที่ ผลการสำรวจพบว่า มีนิสิตที่ผ่านระบบแอดมิชชั่น ปี 2549 จำนวน 875 คน มีการลาออกกลางคัน 82 คน ไม่ลงทะเบียนเรียน 17 คน ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 21 คน รวม 120 คน คิดเป็น 13.7% ทำให้คนที่อยากเรียนในคณะวิทยาศาสตร์เป็นอันดับที่ 1 สูญเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งอย่างไรก็ตาม ตนก็มีความเชื่อว่าคณะวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน จึงอยากเรียกร้องให้คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทุกแห่งสำรวจข้อมูลร่วมกัน เพื่อนำเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงระบบแอดมิชชั่นเพื่อให้คณะได้คนที่ต้องการ ส่วนผู้เรียนก็มีความสามารถและต้องการเรียนอย่างแท้จริง.

 

ขอขอบคุณ : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

6 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
ssss 17 ก.ค. 50 19:23 น. 2
น่าเสียดายจริงๆอะ ก็เห็นใจคนที่ได้คณะวิทย์อันดับ 4 นะ คือเค้าก็ซิ่วแน่ๆ อันดับ 1-3 คงเปนคณะสายแพทย์ แล้วก็เสียดายสำหรับโอกาสของคนที่อยากเรียนคณะวิทย์อันดับ 1 ที่ต้องพลาดที่นั่งไป
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Zai 19 ก.ค. 50 16:54 น. 5
-*- คนที่เลือกอันดับ1แล้วไม่ติดจะเรียนไหวรึ(ขนาดพวกติดอันดับ4ยังจะตายเอา) ถ้าอยากเรียนจริงๆปีหน้าก็ซิ่วมาเรียนได้นี่ คนซิ่วเข้า-ออกมันจะได้สมดุลกัน จะทำให้มันเป็นปัญหาไปทำไม
0
กำลังโหลด
พี่วิดวะ 14 ส.ค. 50 21:00 น. 6
คุณ Zai ครับ ถ้าคนเขาเลือกอันดับหนึ่ง แสดงว่าเขาอยากเรียนอ่ะครับ ไม่เกี่ยวกับว่า เขาไม่เก่ง ถ้าเข้ามหาลัยแล้ว ก็ต้องเริ่มใหม่ทุกคน คนที่คะแนนสูง แต่พอเข้าไปอยู่มหาลัย ต้องเกือบ retire ก็มี เพราะฉะนั้นมันเกี่ยวตรงที่ว่า เมื่อเราเข้าไปเรียนแล้วตั้งใจขนาดไหนต่างหาก ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด