สวัสดีครับ.....พี่ลาเต้ มาแล้วครับ.......ครั้งนี้มาแบบเฉพาะกิจนิดหนึ่ง.......เพราะปกติเราจะเจอกันในคอลัมน์ “เตรียมความพร้อมสู่แอดมิชชั่น 2551” ทุกวันศุกร์......แต่ครั้งนี้เริ่มต้นสัปดาห์.....ก็มาเจอกันซะเลย......แต่ไม่ว่าจะเจอกันวันไหน......สาระเรื่องราวเกี่ยวกับ แอดมิชชั่น ก็ยังคงแน่นและครบถ้วนอยู่เช่นเคยครับ.....อืม...และที่เฉพาะกิจแบบนี้ก็เพราะ พี่ลาเต้ ทนเห็นน้องๆชาว “เด็กดี” ทั้งหลายสงสัยไม่ไหว โดยเฉพาะเรื่องการสอบ B-NET ซึ่งได้ส่งมาถามทางอีเมล์ latae@dek-d.com เยอะมากๆ........ซึ่ง พี่ลาเต้ เห็นว่าจะให้มาตอบตามเวลาที่กำหนดไว้นั้น......อาจจะไม่ทันการ.....และนี่ก็เป็นสาเหตุของการเฉพาะกิจวันนี้แหละครับ...........

 

            ก่อนอื่นนั้น พี่ลาเต้ ขออธิบายก่อนนะครับว่า O-NET, A-NET และ B-NET มันแตกต่างกันอย่างไร

 

O-NET (Ordinary National Educational Testing)

คือ การสอบความรู้รวบยอดปลายช่วงชั้น (6 ภาคเรียน) ของชั้น ป.3 .6 .3 และ ม.6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ทั้ง 8 กลุ่มสาระ สอบได้ 1 ครั้ง สำหรับผู้ที่กำลังจะจบชั้น ป.3.6 .3 และ ม.6

 

A-NET (Advanced National Educational Testing)

คือ การสอบความรู้ขั้นสูงของวิชาต่างๆ 11 วิชา เฉพาะนักเรียน ม.6 ที่จะเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในระบบAdmission ปี 2549 – 2552 จัดสอบเดือนมีนาคมของทุกปี นักเรียนสามารถเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี และเลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด

 

B-NET (Basic National Educational Testing)

คือ การสอบความรู้ขั้นสูงของวิชาต่าง ๆ 5 ภาคเรียน เฉพาะนักเรียน ม.6 ที่จะเข้ามหาวิทยาลัยในระบบรับตรง โควต้า พิเศษครั้งแรกจะจัดสอบให้เดือนตุลาคม 2550 ไม่สามารถเก็บคะแนนมาใช้เข้ามหาวิทยาลัยในระบบรับร่วม / รับกลางได้

 

             ถ้าใครยังรู้สึก งง หรือ สงสัยกันอยู่ พี่ลาเต้ มีแผน 2 ครับ......มาดูแบบตารางกันเลย

 

สรุป

O-NET

A-NET

B-NET

ความหมาย

การสอบความรู้รวบยอดปลายช่วงชั้น (6 ภาคเรียน) ของนักเรียนชั้น ป.3 .6 .3 และม.6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้

การสอบความรู้ขั้นสูง (6 ภาคเรียน) เฉพาะนักเรียน ม.6 ที่จะเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในระบบรับร่วม รับกลาง

การสอบความรู้ขั้นสูง (5 ภาคเรียน)เฉพาะนักเรียน ม.6 ที่จะเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในระบบรับตรงโควต้า พิเศษ

ช่วงเวลาสอบ

เดือนก..–มี.

ของทุกปี

เดือน มี..

ของทุกปี

เดือนตุลาคม

 

จำนวนวิชาสอบ

8

11

5

ระยะเวลา

ตลอดไป

เฉพาะ พ..

2549 – 2552

เริ่ม ตุลาคม 2550

อายุความ

1 ครั้ง

สำหรับผู้ที่จะจบช่วงชั้นเท่านั้น

ปีละ 1 ครั้ง

ใช้คะแนนที่ดีที่สุด

เก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี

 

เริ่ม ตุลาคม 2550

สำหรับระบบรับตรง โควต้า พิเศษ

ของมหาวิทยาลัยนเรศวร และ

บางโครงการของจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย

ใช้คะแนนที่ดีที่สุด

เก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี

ผู้เข้าสอบ

ผู้ที่กำลังเรียนชั้น ป.3 .6 .3  และ ม.6

ผู้ที่กำลังเรียนหรือจบ.6 / เทียบเท่าไปแล้ว

ผู้ที่กำลังเรียนหรือ

จบ ม.6 / เทียบเท่าไปแล้ว

วิธีการ

- นักเรียนไม่ต้องสมัคร

- นักเรียนเทียบเท่าต้องสมัคร

ต้องสมัคร

ต้องสมัคร

ค่าใช้จ่าย

ทุกคนที่มีสิทธิ์สอบฟรี

เสียเงิน

วิชาละ 100 บาท

เสียเงิน

วิชาละ100 บาท

ผู้จัดสอบ

สทศ.

สกอ.

สทศ.

 

น้องๆครับผม.......การทำความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆของการสมัครนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยนะครับ........ตอนนี้อย่าเพิ่งไปกลัว หรือพะวงกับเรื่องอะไรทั้งนั้น.......ทำความเข้าใจในระเบียบการ  จำกำหนดการรับสมัครให้แม่น  และตั้งใจทบทวนบทเรียน  แค่นี้....ถ้าน้องๆทำได้...พี่ลาเต้ ว่าก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วหละครับ..........จำไว้ “เด็กขี้เกียจ อย่าง พี่ลาเต้ ยังผ่านจุดนั้นมาได้ด้วย.....น้องๆก็ต้องทำได้เช่นเดียวกัน......เชื่อ พี่ลาเต้ นะ “ว่าทุกคนทำได้ (สบายมาก)”.....อิอิ...

 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ

 

พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด