มีวิธีหนึ่งที่สำคัญในการจดจำ คือการจำเป็นภาพ ซึ่งมักเป็นความทรงจำที่แม่นยำหรือชัดเจนมากกว่าการจำตัวอักษร อย่างที่เราเรียกกันว่าภาพติดตา แต่จริงๆ ไม่ได้ติดตาเราหรอกนะ แต่ติดสมองของเรานี่แหละจ้า ซึ่งถ้าเราได้ฝึกจดจำเป็นภาพก็จะทำให้เราได้ฝึกจินตนาการ เพิ่มความสามารถในการจดจำให้สมองของเราเองได้


ภาพ: มิติสัมพันธ์, sciencenews.org

        ภาพติดตา(สมอง) นี้มีความเกี่ยวของกับการวัด การกะ ประมาณ เรื่องมิติสัมพันธ์ เช่น คนที่ทำงานด้านสถาปัตย์ สามารถมองขนาดภายในห้อง และกะขนาดของห้องได้ใกล้เคียงกับความจริง แต่ในความเป็นจริงภาพต่างๆ ที่เรามองเห็นมันไม่ได้แบนราบ และมีเพียงมิติเดียวเนอะ

      หากเรามีความสามารถในการจินตนาการภาพจำลองอย่างมีมิติด้วย จะยิ่งช่วยให้สมองเราพัฒนาได้จ้า เป็นความสามารถอย่างหมอผ่าตัดที่สามารถจำตำแหน่ง และจำลองของอวัยะภายในได้ แม้จะมองจากฟิล์มเอ็กซเรย์เพียงด้านเดียวไงล่ะ

 

 
         วิธีการง่ายๆ ที่เราจะฝึกการจิตนาการภาพและความคิดของเราเป็นภาพสามมิติ 
ให้เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวเรา อาจเป็นห้องนอนของเรา หรือห้องประจำในบ้านของเราก็ได้ ลองนั่งหรือยืนในมุมหนึ่งของห้อง แล้วมองรอบตัวเราคร่าวๆ แล้วหลับตาจำลองภาพห้องของเราในหัว 

วาดภาพในความคิดเราไปยังภาพที่อยู่ด้านข้างเรา และข้างหลังเรา ปั้นภาพขึ้นให้ประติดประต่อเป็นห้องของเรา นอกจากผนัง รูปทรงสิ่งของแล้ว แม้แต่คนที่กำลังเดินไปเดินมา ก็สามารถวาดขึ้นในจินตนาการของเราได้เป็นรูปเป็นร่างในหัวของเราเองได้

   
      
ที่สำคัญอย่าลืมปรับเปลี่ยนมุมจำลองภาพในหัวของเรา ให้จำลองว่าเรามองห้องเราจากมุมด้านข้าง มุมบนเหมือนมองลงมาจากฟ้า มองจากด้านล่างขึ้นไป เป็นต้น

       
         
ยากไหมเอ่ย­ บางคนกว่าจะจำลองภาพในสมองขึ้นมาเป็นรูปทรงสามมิติได้นี่หัวแทบระเบิดเลยนะ  อย่างบางคนก็มีข้อจำกัดของสมองในเรื่องการคิดรูปทรงค่ะ (เป็นความผิดปกติของสมองเลยนะ) แต่บางคนก็แค่เซนส์ในเรื่องมิติสัมพันธ์ การรับรู้รูปทรงไม่ค่อยมีเท่านั้น เพราะไม่ได้ฝึกฝนเรื่องมิติเท่าไหร่ การฝึกฝนเรื่องความจำแบบสามมิตินี้ ช่วยในเรื่องความจำในปริมาณที่มากขึ้นได้ค่ะ

           ถ้าจำลองห้องของเราได้แล้ว อย่าลืมขยับขึ้นมาจำลองการเดินทาง ระยะทางจากบ้านเราไปถึงโรงรียนนะคะ แนะนำว่าจำลองแบบตัวเราเป็นคนเดินอยู่กลางถนนเลยนะ แล้ววาดทาง มีตึกรามบ้านช่องอยู่รายรอบเรา เลี้ยวถนนไหนมีป้ายหรือไม่ มีเพื่อนมาเดินกับเราหรือเปล่าจนกระทั่งถึงโรงเรียนเลยค่ะ แต่ตอนกำลังจำลองภาพเนี้ย ต้องอยู่ที่ที่ปลอดภัยนะ ไปจำลองกันกลางถนน หรือระหว่างทำกิจกรรมใดๆ อยู่ เดี๋ยวจะเกิดอุบัติเหตุ หรือใครว่าเราใจลอยได้นะจ๊ะ  

ขอเชิญชาว Dek-D วาดภาพมิติในจินตนาการพัฒนาทักษะให้สมองของเรากันจ้า

แหล่งข้อมูล:
จำเก่ง จำแม่น จำนาน. ธนัญ พลแสน,แปล. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2553.

พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

9 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
โบ๊ต(คุง) Member 11 ก.ค. 55 22:24 น. 3
ใช่เลยครับ >w< พวกวิชาท่องจำ เช่น ชีวะ ผมก็จะสร้างรูป 3 มิติ ขึ้นมาในหัว แล้วสามารถหมุนไป-มา ย่อ-ขยาย และบอกได้ว่าส่วนไหนมีชื่ออย่างไร มีการทำงานอย่างไร แรกๆ อาจจะลองสร้างภาพในหัวง่ายๆ ก่อน แล้วถ้าชำนาญแล้ว แม้แต่เวลาเดินไม่ถึงนาทีก็สามารถจำลองเส้นทางจากเราที่กำลังเดิน ไปถึงสถานที่นั้นๆ ได้ แล้วถ้าชำนาญมากขึ้น จะสามารถจำลองภาพซ้อนภาพจริงที่ตาเรามองเห็นได้ด้วยครับ *0*

ปล. อ่านแล้วดูเหมือนจะเวอร์ไป แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะได้เองครับ ไม่ลองไม่รู้ ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
P3/K@HS Member 14 ก.ค. 55 22:59 น. 6
ผมเข้าใจนะ เพราะผมเคยลืมบางอย่างไว้ในบ้าน แล้วผมก็ใช้วิธีนี้ล่ะครับ หาไม่เจอหรอก แต่ผมดันไปเจอบางอย่างที่สะดุดตาในจินตนาการของผม นึกขึ้นได้เลย กลับบ้านไปตรงตำแหน่งนั้นเลย ดันไปเจอกระเป๋าตังเก่าที่หามานาน ^___^"
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
☆ SKULL Member 17 ก.ค. 55 19:45 น. 11
วิธีผมคล้ายๆกันครับ แต่สร้างเป็นโฟลเดอร์ในหัวแยกหมวด แล้วเหมือนว่าคลิ๊กเข้าไปดูแยกย่อยไปเรื่อยๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด