วัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน พบกับโฉมใหม่ของบทความ "สายอาชีพ" แหล่งรวมข้อมูลการเรียนต่อและเรื่องราวอัพเดทที่คึกคักที่สุดของเด็กสายอาชีพ สีเขียวสดใสแบบนี้ให้จำได้เลยว่าเข้าถูกบทความเป็นของน้องๆ ปวช. / ปวส. / เทียบเท่า แน่นอนค่ะ

          หลังจากคราวที่แล้วทราบเกี่ยวกับข้อสอบ GAT และ PAT 1 กันไปแล้วว่าออกอะไร แนวไหนบ้าง ต้องตอบอย่างไร เพื่อนำไปสู่การเตรียมตัวทำข้อสอบเก็บคะแนนเน้นๆ กลับมาค่ะ ครั้งนี้ก็มาต่อกันเลยกับวิชา PAT ที่เหลือตั้งแต่ PAT 2-7 เลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง พร้อมแล้ว ลุยเลย!!!!

 


PAT 2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์)

         อีกวิชาที่มีคนสอบมากก็คือ PAT 2 หรือ วิชาความถนัดทางวิทยาศาสตร์ นั่นเอง รหัสวิชาคือ 72 วิชานี้เป็นอีกวิชาที่น่ากลัวสำหรับน้องๆ สายอาชีพเลยค่ะ PAT 2 เป็นวิชาที่รวมเอาเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดมาใส่ในนี้ ถ้าเทียบแล้วเพื่อนๆ ม.6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์จะได้เปรียบมากที่สุด รองลงมาก็เป็นสายศิลป์คำนวณ(วิทย์พื้นฐาน) แล้วก็เป็น ปวช.ประเภทช่างอุตสาหกรรม ส่วนน้อง ๆ ปวช.สายอื่น รวมทั้ง ม.6 สายศิลป์ภาษา ศิลป์สังคม บอกเลยว่าวิชานี้ปราบเซียนมากมาย T_T

             
- สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
              - ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
              - สารและสมบัติของสาร
              - แรงและการเคลื่อนที่
              - พลังงาน
              - กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
              - ดาราศาสตร์และอวกาศ
              - ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


          สำหรับน้องๆ สายอาชีพ ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนนะคะว่าคณะที่เราอยากเข้านั้นใช้ PAT 2 หรือเปล่า ถ้าไม่ใช้พี่แป้งแนะนำว่าอย่าเสียเวลาปวดหัวกับวิชานี้เลยค่ะ ส่วนใหญ่คณะที่ใช้ PAT 2 ก็จะเป็นคณะทางสายวิทย์ เช่น คณะสัตวแพทยฯ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะพยาบาลศาสตร์, คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์ , คณะวิทยาศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งโดยหลักแล้วสายอาชีพจะเข้าไม่ได้นะคะ เว้นแค่บางสาขาในบางคณะ และคณะวิศวกรรมศาสตร์สำหรับน้อง ๆ สายอาชีพที่เรียนสายช่างอุตสาหกรรมมา อันนี้สอบได้ค่ะ (บางสถาบัน)

          เริ่มแรกให้ไปดูที่ข้อสอบก่อนเลยว่าเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ PAT 2 จะเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทั่วไปค่ะ มีทั้งส่วนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ข้อสอบจะมีการประยุกต์ขึ้นมาแอบยากพอตัวเลยค่ะ มีการถามกลับไปกลับมา การที่เราทำโจทย์หลายๆ ชุดจะทำให้เราเจอข้อซ้ำที่ถามกลับไปมาได้ค่ะ เช่น ปีนี้ถามว่า เซลล์พืชมีผนังเซลล์หรือไม่ อีกปีนึงอาจจะถามกลับว่า ผนังเซลล์ พบในเซลล์ชนิดใด แบบนี้เป็นต้นค่ะ เรามาดูโจทย์กันดีกว่าว่าอยู่ในระดับประมาณไหน

 

Slide Show

ตัวอย่างข้อสอบ PAT 2




 


PAT 3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์)

          วิชา PAT 3 เป็นวิชาที่เฉพาะมากมาย แน่นอนว่าสายอาชีพนอกจากสายช่างอุตสาหกรรมและเตรียมวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ก็ไม่มีสายไหนที่สามารถสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เลยค่ะ ด้วยข้อจำกัดทางหลักสูตรที่ได้เรียนมาทำให้ไม่สามารถสอบได้ สายสามัญก็มีสายเดียวที่สอบได้คือเพื่อนๆ สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เท่านั้นค่ะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องเสียใจไปนะคะ ข้ามไปโล้ดดดด

          ส่วนน้องๆ ที่สามารถเข้าได้ แนวข้อสอบของ PAT 3 ค่อยข้างที่จะเป็นฟิสิกส์จ๋า แล้วก็เป็นฟิสิกส์ประยุกต์ด้วย อาจจะมีคณิตศาสตร์มาผสมบ้าง ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เรื่อง กลศาสตร์ ไฟฟ้า คลื่น เสียง แสง สารและสมบัติของสาร พลังงาน ความร้อน ของไหล สถิติประยุกติเชิงวิชากรรม บอกเลยว่าเป็นวิชาที่อ่านเองไม่เข้าใจแน่ๆ ต้องมีคนอธิบายค่ะ เพราะนอกจากจะมีสูตรให้จำแล้ว จะมีเทคนิคในการทำความเข้าใจโจทย์ด้วย ต้องมีประสบการณ์ค่ะ แต่ถ้าใครอยากลองฝีมือไปสอบดูก็ได้นะ แต่คะแนนจะใช้ยื่นไม่ได้สำหรับน้องๆ ที่ไม่ใช่สายช่างอุตสาหกรรมและเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ T_T
 

Slide Show

ตัวอย่างข้อสอบ PAT 3



 


PAT 4 (ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์) 

          เป็นอีกวิชาที่น่าสนใจมากเลยนะคะ เป็นคณะที่เหมาะสำหรับน้องๆ สายอาชีพ สายศิลปกรรม/จิตรกรรม สำหรับ PAT 4 นั้นจะใช้ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะวิจิตรศิลป์, คณะดุริยางศิลป์, คณะศิลปการออกแบบ เป็นเรื่องการออกแบบ วาดๆ เขียนๆ ยิ่งใครมีพรสวรรค์อยู่แล้วก็โชคดีมากเลยค่ะ แต่ถ้าไม่มีก็เชื่อในพรแสวงของตน ถ้ารักในงานทางด้านนี้ก็ฝึกฝนกันได้ไม่ยากเลย เชื่อในฝีมือและจินตนาการของตัวเอง รับรองว่าไม่พลาดแน่นอนค่ะ


           ในส่วนของข้อสอบ PAT 4 นั้น จะถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มิติสัมพันธ์ การคิดแก้ปัญหา ตรรกศาสตร์ โดยในข้อสอบนั้นจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย มันยากตรงนี้ - -" .... ข้อสอบอัตนัยต้องนำอุปกรณ์ไปเองนะคะ แต่ละส่วนจะเป็นแน ๆ ไหนบ้างตามมาดูทีละส่วนได้เลยค่ะ

           ส่วนแรก ส่วนของปรนัย (ตัวเลือก) ข้อสอบก็ออกมาหลายหลายรูปแบบค่ะ เช่น สถาปัตยกรรมในสมัยต่างๆ, วัสดุสร้างผนังห้อง, ทิศทางลม, หลังคา, การเลือกใช้ต้นไม้, มิติสัมพันธ์, รูปแบบโต๊ะที่แข็งแรง เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อใช้งานทั้งสิ้น เป็นความรู้ที่เราจำเป็นต้องมีค่ะ ไปดูตัวอย่างข้อสอบกันเลย

 

Slide Show

ตัวอย่างข้อสอบ PAT 4



 

          ส่วนที่ 2 คือส่วนของอัตนัย คือจะมีโจทย์มาให้เราออกแบบค่ะ เป็นโจทย์สดๆ ที่เราเห็นตรงนั้นและต้องคิดตรงนั้นเลย รุ่นพี่ส่วนใหญ่ที่สอบมาแล้วจะบอกว่า ให้ไปอ่านโจทย์ส่วนนี้ก่อนค่ะ เพราะว่าเราสามารถมีเวลาคิดได้ ในขณะที่เราคิดก็ทำโจทย์ส่วนปรนัยไป เผื่อได้ไอเดียจะได้ไม่ต้องเสียเวลา ถ้าอ่านทีหลังเราจะรู้สึกกดดันกับเวลาจนคิดไม่ออกค่ะ ตัวอย่างข้อสอบก็เป็นแบบนี้

 


(รูปที่ 4: ตัวอย่างข้อสอบ PAT 4 อัตนัย รอบมีนา 54)



          ขอจบตอนที่ 2 ไว้แค่นี้ก่อนละกันเนาะ เอาไว้คราวหน้าจะมาต่อที่เหลือ PAT 5 - 7 นะคะ เด็ดอยู่ที่ PAT 5 ที่ค่อนข้างเปิดกว้างใครจะสอบก็ได้ ยื่นใช้ใน คณะครุศาสตร์,ศึกษาศาสตร์ เป็นข้อสอบที่ใช้เซ้นส์ตอบก็ได้ค่ะ อย่าลืมติดตามตอนที่ 3 ตอนสุดท้ายนะคะ ส่วนใครที่หาตอนที่ 1 ไม่เจอก็คลิกไปเลยที่ "เจาะลึก!! แนวข้อสอบ GAT PAT... ปวช. ต้องเตรียมตัวอย่างไร (ตอนที่ 1) " เป็นวิชา GAT ทั้ง 2 ตอน และ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ค่ะ 




 

พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

9 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Sweety - Paeng Member 16 ต.ค. 56 08:53 น. 2-1
สถาปัตยกรรมศาสตร์ รอบแอดมิชชั่น ไม่มีสอบ PAT 2 นะคะ สอบแต่ PAT 4 >> -ส่วนคือ GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4 40% ค่ะ เย้เย้เย้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Sailollipop Member 15 ต.ค. 56 22:46 น. 4

ลองไปดูข้อสอบเก่าๆ มา -ที่เป็นรูปภาพอ่ะรู้สึกเด็กปวช. จะได้เปรียบอยู่หน่อยนึง เพราะเจอทุกวันตั้งแต่ปีหนึ่ง รับประกันเยี่ยม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด