สาระใกล้ตัวเวอร์! ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟจะเซฟมั้ย? วัสดุอะไรเข้าเวฟแล้วรอด?

 

สวัสดีค่ะชาว Dek-D เมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว ‘Percy Spencer’ นักวิศวกรชาวอเมริกา ได้คิดค้นไมโครเวฟด้วยความบังเอิญ และกลายเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยเปลี่ยนโลกและเปลี่ยนให้ชีวิตเราง่ายขึ้น รู้ตัวอีกทีก็เป็นไอเทมที่ต้องมีติดบ้านติดหอไปแล้วค่ะ

แต่! ขึ้นชื่อว่าเป็น “เครื่องใช้ไฟฟ้า” ถึงจะคุ้นเคยแค่ไหนก็ห้ามประมาท เพราะมีบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการใช้ไมโครเวฟผิดวิธี  อย่างเช่นแบบนี้...

ทำไมถึงเกิดขึ้น? วันนี้เราจะมาอธิบายด้วยการทดลองง่ายๆ ใกล้ตัวทุกคนว่า "ถ้าเราต้มน้ำในไมโครเวฟจะเกิดอะไรขึ้น? ต่างยังไงกับการใช้กาต้มน้ำ? แล้วเราสามารถต้มอย่างปลอดภัยได้มั้ย?"

เริ่มจากนำน้ำเข้าไมโครเวฟ 3 นาที...

พอนำแก้วออกมาแล้วก็ฉีกซองเทผงกาแฟลงไป ปรากฎว่าผงกาแฟนั้นเกิดทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้น้ำเดือดและพุ่งออกแก้วทันที!

เพราะอะไร?

เพราะน้ำที่ต้มด้วยไมโครเวฟ จะกักเก็บพลังงานไว้มากจนถึงจุดเดือดแต่กลับระบายออกมาเป็นไอไม่ได้ เพราะในน้ำไม่มีผิวขรุขระให้ฟองอากาศได้ยึดเกาะ แถมน้ำในแก้วยังอุณหภูมิเท่ากันหมด ถึงระเหยได้ก็แค่ส่วนผิวน้ำเท่านั้น (เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า Superheating ฟีลเหมือนความรักจุกในอกแต่ระบายออกไม่ได้นั่นเองค่ะ)

แต่เมื่อไหร่ที่เราเติมวัตถุอะไรสักอย่างลงไป อาจจะเป็นผงกาแฟหรือน้ำตาล ก็เท่ากับมีจุดยึดเกาะฟองอากาศแล้ว ทำให้น้ำที่สัมผัสวัตถุเหล่านั้นเปลี่ยนสถานะทันที ส่งผลให้น้ำในแก้วพุ่งขึ้นเป็น “ระเบิดฟองอากาศ” และอาจเกิดอันตรายต่อเราได้

ไหน...คราวนี้ลองเปลี่ยนมาต้มในกาต้มน้ำบ้าง

ทีมงานทดลองต้มน้ำในกาปกติ พอเดือดแล้วเทผงกาแฟลงไปกลับไม่เกิดปฏิกิริยาระเบิดฟองอากาศเหมือนตอนต้มน้ำในไมเครเวฟเลย

เพราะอะไร?

เพราะปกติน้ำที่ต้มด้วยกา พอเกิดจุดเดือดแล้วน้ำจะเกิดเป็นฟองอากาศ และระเหยเป็นไอน้ำ ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมนั่นเองค่ะ 

เทียบผลลัพธ์ระหว่างต้มด้วยไมโครเวฟและกาต้มน้ำ
เทียบผลลัพธ์ระหว่างต้มด้วยไมโครเวฟและกาต้มน้ำ

แล้วสรุปคือเราจะต้มน้ำในไมโครเวฟให้ไม่ระเบิดได้มั้ย?

คำตอบคือเราสามารถ “ต้มได้” นะคะ แต่จะต้มยังไงให้ปลอดภัย และควรใช้วัสดุอะไรถึงเวิร์ก? มาดูกันค่ะ

  1. นำวัตถุที่ไม่ใช่โลหะ (เช่น ช้อนไม้หรือตะเกียบ) ใส่ลงไปในแก้วน้ำ แล้วค่อยนำน้ำไปต้มในไมโครเวฟ เพื่อให้มีจุดยึดเกาะฟองอากาศ
  2. กรณีที่ต้มน้ำด้วยแก้วเปล่า หลังนำออกไมโครเวฟแล้วอย่าเพิ่งรีบใส่กาแฟลงไปนะคะ ควรตั้งทิ้งไว้สักพักก่อน หรือผสมน้ำลงไปให้อุณหภูมิลดก่อน
  3. คำนึงวัสดุของช้อนส้อม/ภาชนะใส่อาหารที่จะนำไปใส่อาหารเพื่อเข้าไมโครเวฟ

วัสดุที่ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ

วัสดุที่นำเข้าไมโครเวฟได้

  • ห้าม โลหะ, โฟม, ไม้ 
    เพราะคลื่นไมโครเวฟจะทำปฏิกิริยากับวัสดุจนเกิดประกายไฟ แล้วเครื่องจะเสื่อมเร็วขึ้น
  • ห้าม พลาสติกที่ทนความร้อนต่ำ
  • ห้าม เมลามีนและภาชนะที่มีลาย 
    เพราะอาจก่อให้เกิดประกายไฟและก่อสารอันตรายต่อร่างกาย
  • แก้ว, เซรามิก ที่ไม่มีลวดลายสีเงินหรือทอง
  • พลาสติกบางประเภท เช่น PET และ PP

Note: วิธีสังเกตว่าของชิ้นนั้นทำมาจากพลาสติกประเภทไหน? สังเกตได้จากสัญลักษณ์ค่ะ
 

“เบอร์ 1” คือ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) หรือ เพ็ท (PET หรือ PETE)

“เบอร์ 5” คือ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ พีพี (PP)

และสิ่งที่พี่เล่ามาทั้งหมด  น้องๆ ลองมาดูให้เห็นภาพมากขึ้นที่คลิปนี้เลยค่ะ เข้าใจง่ายมากกก ^^

ไม่ว่าจะเป็นไมโครเวฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรก็ต้องศึกษาวิธีใช้และข้อควรระวังให้ละเอียดถี่ถ้วนนะคะ ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาระเล็กๆ ด้วยความปรารถนาดีจาก ปตท. และ Dek-D เพื่อให้ชาวเราและไมโครเวฟอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อุ่นอาหารและอุ่นใจไปพร้อมๆ กัน  อย่าลืมแชร์บทความและคลิปสั้นๆ คลิปนี้ให้คนใกล้ตัวได้ระมัดระวังไปด้วยกันนะคะ ^^

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด