มาดู "ข้อสอบ" ของฟินแลนด์ ประเทศที่ได้ชื่อว่าการศึกษาดีที่สุดในโลก!

    สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com วันนี้พี่แป๋มมีเรื่องน่าสนใจมาฝากน้อง ๆ กันอีกแล้วค่ะ นั่นก็คือ ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กมัธยมปลายประเทศฟินแลนด์ ประเทศที่คุณภาพการศึกษาไม่เป็นสองรองใคร มาดูกันค่ะว่าประเทศนี้เขามีวิธีในการวัดผลเด็กอย่างไร   
 

    ฟินแลนด์ ประเทศแถบสแกนดิเนเวียนที่แสนสงบ แต่เป็นม้ามืดด้านการศึกษา มีคุณภาพการศึกษาที่ดีมากจนหลายๆ ประเทศต้องพร้อมใจกันยกนิ้วให้  ....

    ถ้าจะให้พี่นิยามระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ก็คงเป็น"Less is More เรียนน้อย แต่ได้มาก"  เพราะเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศแล้ว เด็กฟินแลนด์เขาเรียนกันชิวจริงๆ ค่ะ วันนึงเรียนประมาณ 5 ชั่วโมงได้ การบ้านก็มีบ้างแต่ไม่มาก ส่วนสอบนี่ไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะ มีสอบใหญ่แค่ครั้งเดียวตอนจะจบม.ปลายนั่นแหละ555 เขาจะเน้นให้เด็กมีความสุขกับการเรียน มีความสุขกับชีวิต คิดวิเคราะห์เป็น อยู่ในสังคมได้ ไม่สร้างปัญหาให้ใคร ซึ่งกระบวนการการเรียนรู้ที่ดีแบบนี้ เด็กประเทศเขาสามารถเติบโตเป็นคนเก่งและมีคุณภาพได้ โดยไม่ต้องพึ่งการบ้านมหาศาล หรือการกวดวิชาหลังเลิกเรียนเลยค่ะ 

   
     การสอบวัดผลในฟินแลนด์ หรือจะเรียกว่าการสอบจบชั้นมัธยมปลายก็ได้ เป็นการสอบวัดผลระดับชาติเพียงอย่างเดียวที่เด็กฟินแลนด์ต้องสอบ จะไม่มีการสอบทุกช่วงชั้นแบบ ONET ม.3,ม.6 หรือแกทแพท วิชาสามัญเยอะแยะเหมือนไทยเรานะคะ เค้าสอบกันแค่นี้จริงๆค่ะ5555 จะเรียกว่าเป็น Final Examination ที่วัดผลตลอดชีวิตการศึกษาตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยมก็ว่าได้ โดยจะจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง (ถ้าสอบแค่ครั้งเดียวก็คงจะกดดันเกินไปเนอะ)
    เกริ่นกันมาพอสมควรแล้ว น้องๆ คงเริ่มอยากรู้แล้วว่าประเทศที่เรียนชิวแต่เด็กฉลาดติดอันดับต้นๆ ของโลกนี้มีข้อสอบหน้าตาแบบไหนกัน ไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ  


ตัวอย่างหัวข้อในการเขียนเรียงความทั่วไป

"นักการเมือง นักกีฬา หรือดารานักร้องล้วนแล้วแต่เคยออกมากล่าวขอโทษ
ต่อสาธารณชนในสิ่งที่ตนเคยพูดหรือเคยทำ 
จงอภิปรายถึงความหมายของการขอโทษและการยอมรับความผิดนั้น"

"เมื่อสื่อมวลชนแข่งขันกันเองเพื่อแย่งผู้ชม ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร"


ตัวอย่างคำถามวิชาจิตวิทยา
"ร่างแบบงานวิจัยเพื่อศึกษาว่า บุคลิกภาพส่งผลต่อพฤติกรรมส่วนบุคคลใน Facebook
หรือในโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างไร อภิปรายการวิจัยนั้นในเชิงจริยธรรม"


ตัวอย่างคำถามวิชาประวัติศาสตร์ 
"คาร์ล มากซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ได้ทำนายว่า
การปฏิวัติสังคมนิยมจะเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
อะไรทำให้มากซ์และเองเงิลส์คิดเช่นนั้น และเหตุใดการปฏิวัติสังคมนิยมถึงได้เกิดขึ้นในรัสเซีย"


ตัวอย่างคำถามวิชาปรัญชาและจริยธรรม
"ในแนวคิดเชิงจริยธรรม ความสุข ชีวิตที่ดี และความเป็นที่อยู่ที่ดีคืออะไร"


ตัวอย่างข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์


วิชาคณิตศาสตร์ จะแบ่งชุดข้อสอบออกเป็น 2 ระดับ 
คือระดับพื้นฐานและระดับสูง 
ลองเอาไปดูพอหอมปากหอมคอกันก่อนนะคะ
ถ้าน้องๆ สนใจอยากเห็นข้อสอบฉบับเต็มๆ ตามลิงก์นี้ไปเลยค่ะ Click
 

 

ตัวอย่างข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ


ข้อสอบจะมีทั้งพาร์ทฟัง พาร์ทการอ่าน พาร์ทไวยากรณ์และคำศัพท์ แล้วก็พาร์ทการเขียนค่ะ
ในส่วนของพาร์ทการอ่านก็ต้องอ่านเยอะเหมือนกัน เป็นบทความหลากหลายประเภท 
จากนิตยสารอย่าง National Geographic, The Economist หรือ The Oprah 
ส่วนคำถามก็เป็นปรนัยทั่วไป ดูเผินๆ ไม่ต่างจากข้อสอบของไทยมากเท่าไหร่   



แต่ สิ่งที่ข้อสอบภาษาอังกฤษที่นั่นมี แต่ที่บ้านเราไม่มี 
ก็คือ การทดสอบทักษะการฟังและการเขียนนั่นเองค่ะ 
มาดูที่พาร์ทเขียนกันนะคะ จะมีหัวข้อ 4 หัวข้อ
ให้เราเลือกมาอันนึงที่ถนัด แล้วเขียนให้ได้ประมาณ 150-250 คำ




และข้างล่างนี้คือตัวอย่างของหัวข้อที่เด็กฟินแลนด์ต้องเขียนค่ะ 
มีทั้งให้แสดงความเห็นประเด็นด้านจริยธรรมอย่าง"สิทธิสัตว์"
ทั้งเขียนข้อเสนอโครงการ เขียนบทสุนทรพจน์โน้มน้าวผู้คน 
หรือจะเลือกเขียนอะไรก็ได้อย่างสร้างสรรค์จากชื่อเรื่องที่เขากำหนดให้ก็ได้ค่ะ   



น้องๆ สามารถเข้าไปดูข้อสอบจริงฉบับเต็มได้ที่นี่ Click 
หรือถ้าอยากจะลองดูพาร์ทอื่นๆ เช่นพาร์ทฟังด้วยก็ลิงก์นี้เลยค่ะ  Click 

 
    ได้เห็นกันไปแล้วนะคะว่าข้อสอบวัดระดับตอนจบมัธยมปลายของประเทศฟินแลนด์เป็นอย่างไร ส่วนตัวแล้วพี่คิดว่าข้อสอบบางวิชาอาจจะไม่โหดเท่าที่ไทย แต่ก็เป็นข้อสอบที่สามารถวัดผลผู้เรียนได้จริงๆ ถ้าผู้เรียนสามารถตอบคำถามเหล่านี้โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ของตัวเองได้ ก็ถือว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะไปต่อยอดในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยแล้วล่ะค่ะ และนี่แหละค่ะฟินแลนด์ ประเทศที่แหกทุกกฎของการเรียนหนัก  Less is more ชนะจริงๆ  

References 
Washingtonpost.com
http://yle.fi/aihe/oppiminen
https://dianeravitch.net/

https://www.ylioppilastutkinto.fi

 
พี่แป๋ม

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

C H A M I E Member 10 มิ.ย. 59 14:10 น. 1
ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นวิเคราะห์และอภิปราย เราว่าตรงนี้แหละที่สอนให่เด็กคิดเป็นจริงๆ ไม่ใช่ต้องทำตามนั้นตามนี้เป๊ะๆ ไม่งั้นจะผิดแบบของไทย ประเทศเราควรวิเคราะห์นะว่าเหตุใดเด็กไทยเรียนหนักแต่การศึกษาของไทยไม่ได้ก้าวหน้าเท่าที่ควร
1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
jj.king 11 มิ.ย. 59 09:29 น. 5
สำหรับเด็กไทยเราว่ายาก เพราะพื้นฐานเด็กไทยถูกสอนมาเพียงเพื่อจำแล้วไปสอบ แบบ ปรนัย สอบเสร็จก็ลืม หรือถ้าเป็นอัตนัยจริงๆ ก็ต้องตอบให้มีเค้าโครงเหมือนกับครูหรืออาจารย์ผู้สอน นอกเหนือจากนั้นถือว่าผิด .ร้องไห้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Writeririn Member 12 มิ.ย. 59 22:01 น. 9

เห็นหัวข้อแล้วรู้สึกตันขึ้นมาทันที...หรือเพราะเราทำแต่ข้อสอบกาๆ คิดๆแล้วเขียนคำตอบเนอะ TT ถ้าเราไปนู่นเราก็ตายแหละจริงเสียใจ

1
กำลังโหลด

21 ความคิดเห็น

C H A M I E Member 10 มิ.ย. 59 14:10 น. 1
ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นวิเคราะห์และอภิปราย เราว่าตรงนี้แหละที่สอนให่เด็กคิดเป็นจริงๆ ไม่ใช่ต้องทำตามนั้นตามนี้เป๊ะๆ ไม่งั้นจะผิดแบบของไทย ประเทศเราควรวิเคราะห์นะว่าเหตุใดเด็กไทยเรียนหนักแต่การศึกษาของไทยไม่ได้ก้าวหน้าเท่าที่ควร
1
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
pawidapamm Member 10 มิ.ย. 59 14:35 น. 4-1
พี่ก็ไม่ถนัดคณิตค่ะ พี่มองก็รู้แล้วว่าพี่ทำไม่ได้55555 ข้อสอบประเทศเค้าอัตนัยเกือบ 100% ซะขนาดนั้น
0
กำลังโหลด
jj.king 11 มิ.ย. 59 09:29 น. 5
สำหรับเด็กไทยเราว่ายาก เพราะพื้นฐานเด็กไทยถูกสอนมาเพียงเพื่อจำแล้วไปสอบ แบบ ปรนัย สอบเสร็จก็ลืม หรือถ้าเป็นอัตนัยจริงๆ ก็ต้องตอบให้มีเค้าโครงเหมือนกับครูหรืออาจารย์ผู้สอน นอกเหนือจากนั้นถือว่าผิด .ร้องไห้
0
กำลังโหลด
koko15047 Member 11 มิ.ย. 59 20:53 น. 6

เด็กไทยสอบตายสถานเดียวเรียนแต่จำมาแล้วตอบเจอเขาให้อภิปรายวิเคราะห์ข้อมูลแนวๆpisaเลยนะเนี่ย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Writeririn Member 12 มิ.ย. 59 22:01 น. 9

เห็นหัวข้อแล้วรู้สึกตันขึ้นมาทันที...หรือเพราะเราทำแต่ข้อสอบกาๆ คิดๆแล้วเขียนคำตอบเนอะ TT ถ้าเราไปนู่นเราก็ตายแหละจริงเสียใจ

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แมร์รี่ 12 มิ.ย. 59 23:50 น. 11
ถ้ามีข้อสอบแบบนี้ในประเทศไทยนะคงจะดีมากๆเลยมันไม่ได้ยากอะไรเลยนะเน้นเฉพาะข้อเขียนว้าวสุดยอดดดดดตั้งใจ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
babe 14 มิ.ย. 59 08:15 น. 15
ประเทศเขาเอาความรู้ไปใช้ได้เลยิจบม.ปลายก็ทำงานได้ มีชีวิตที่ก้าวหน้ายั่งยืนได้ อยากเข้ามหาวิทยาลัยก็มีที่พอรองรับโดยไม่ต้องแย่งกันเข้าแต่ที่ใดที่หนึ่ง พ่อแม่ก็ไม่มองการเข้ามหาวิทยาลัยบางที่ว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และที่สำคัญ พวกเขาไม่มองว่าคะแนนสูงกว่ามีสิทธิ์ได้รับเลือกก่อน สอบผ่านแล้วอยากเรียนก็ได้เรียน ไม่ต้องมาแข่งคะแนนกัน ผู้ใหญ่บ้านเขา ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู ผู้ว่าจ้าง ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ได้ตั้งเงื่อนไขชีวิตที่มันต่างจากบ้านเราแบบสุดกู่
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Beloved Scholar Member 4 มี.ค. 60 00:05 น. 19

ปริ๊นต์ส่งจดหมายไปหากระทรวงศึกษาธิการได้มั้ย เอาจริงๆถ้าเด็กไทยได้เรียนแบบวิเคราะ์ก็ทำได้นะถ้าไม่ต้องแบ่งสมองไปจำเนื้อหาวิชานู้นวิชานี้มากมาย อย่างวิชาทักษะ เช่น การงานฯที่ควรเน้นปฏิบัติแต่สุดท้ายตามวิธีเก็บคะแนนแบบไหนสอบปรนัยแบบวิชาหลักอยู่ดี กลายเป็นการจำไปโดยปริยายเพราะไม่มีเวลาปฏิบัติจริงต้องจำภาคทฤษฎีไปสอบ วิชาหลักไม่พูดถึงนะรู้กันดีว่าเนื้อหาลึกและเยอะขนาดไหน

0
กำลังโหลด
อะตอม 4 มี.ค. 60 01:35 น. 20

แล้วเด็กไทยคิดแบบเด็กฟินแลนด์ได้หรือเปล่าคะ สังคมเรากะเขาต่างกันนะ แน่นอนว่าการเรียนรู้ย่อมแตกต่างกัน ถ้าจะพัฒนาควรเริ่มจากสังคมแรกที่ครอบครัวก่อนจะออกมาสังคมใหญ่ก่อนดีไหมคะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด