การเตรียมต้นฉบับเพื่อส่งสำนักพิมพ์

   ทำไมสำนักพิมพ์ต้องตั้งกติกามากมาย จุกจิกแม้กระทั่งขนาดตัวอักษรหรือช่องว่างระหว่างบรรทัด?
        เพราะแค่ขนาดตัวอักษรต่างกันก็ทำให้จำนวนหน้าต่างกันได้เป็นสิบหน้า การตั้งค่าขอบที่แคบไปหรือกว้างไปก็มีผล งานที่ได้รับมา บรรณาธิการต้องประเมินว่าต้นฉบับมีจำนวนหน้าพอให้ตีพิมพ์เป็นเล่มได้หรือไม่
        การใช้ตัวอักษรหลากหลายก็ทำให้การพิจารณางานยากขึ้น เพราะเราอาจคิดว่า font แบบนี้สวยแล้ว แต่บรรณาธิการอาจจะหงุดหงิดที่มันอ่านยาก หรือไม่แสดงผลในเครื่องของบรรณาธิการเลยก็ได้ กลายเป็นว่าได้ต้นฉบับที่มีตัวอักษรโตๆ เล็กๆ ดูไม่เป็นระเบียบมา
        ดังนั้นเราจึงควรทำต้นฉบับให้เป็นมาตรฐานและเป็นระเบียบ เพื่อลดภาระของบรรณาธิการและช่วยให้เขาตัดสินใจได้ไวขึ้นว่าจะ "เก็บ" เรื่องของเราไว้ หรือ "ทิ้ง" ลงถังขยะดี
        บทความนี้พี่น้องจะอธิบายเกณฑ์จัดต้นฉบับที่เป็นมาตรฐานของสำนักพิมพ์ต่างๆ และสอนวิธีการจัดหน้ากระดาษของต้นฉบับให้ตรงกับมาตรฐานของสำนักพิมพ์นะคะ

เกณฑ์จัดหน้าต้นฉบับมาตรฐาน

  1. ตัวอักษร (font): cordia new หรือ UPC ขนาด 14-16 pt (ส่วนใหญ่จะ 14)
  2. ช่องว่างระหว่างบรรทัด: การส่งต้นฉบับให้สำนักพิมพ์จะไม่ค่อยกำหนดเกณฑ์ช่องว่างระหว่างบรรทัด แต่บางการประกวด (และการเขียน paper ส่งอาจารย์) นั้นกำหนด ดังนั้นจะจำไปใช้ก็ได้
            ช่องว่างระหว่างบรรทัดไม่ควรกว้างเกินไป (แม้มันจะดูสบายตา) ไม่อย่างนั้นจะเหมือนเราโกงบรรทัดนะ



ปกติแล้วจะเปลี่ยนเป็น single space ที่ (02)
แต่ (01) เป็นช่องว่างระหว่างแต่ละย่อหน้า ซึ่งบางทีระบบตั้งค่ามาให้ห่างกันเกินไป
เราก็ปรับเป็น 0 ให้หมดซะ

 
  1. ขอบหน้ากระดาษ: ส่วนใหญ่ใช้เหมือนกันคือเป็นค่าเริ่มต้นที่โปรแกรม Word มีมาให้อยู่แล้ว แต่ถ้าใครเผลอไปเปลี่ยนค่า ให้แก้เป็นแบบนี้ค่ะ
  1. ย่อหน้า: วิธีการย่อหน้าง่ายมาก แต่บางคนอาจไม่รู้ แค่กดปุ่ม tab ก็จะย่อหน้าเข้ามาตามขนาดมาตรฐานของโปรแกรม
  2. จำนวนหน้า: จำนวนหน้าต่ำสุดที่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่รับจะอยู่ที่ 80-100 หน้า บางที่อาจรับที่ 150-200 หน้าเลยทีเดียว
            *ส่วน เรื่องหนึ่งควรมีกี่ตอน แล้วตอนหนึ่งควรมีกี่หน้านั้น ไม่มีกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับเราว่าอยากจะตัดบทที่ตอนไหน ถ้าเรื่องมันยาว ยังไงก็ตัดบทไม่ได้ ตอนหนึ่งก็อาจจะมีถึง 10 หน้า แต่ถ้ามันสั้น แล้วถึงเวลาตัด มันอาจจะยาวแค่หน้าครึ่ง
  3. นามสกุลไฟล์: โดยปกติสำนักพิมพ์ก็จะรับต้นฉบับเป็นไฟล์ .doc ของโปรแกรม Word เพราะถ้าต้นฉบับผ่าน ก็จะได้แก้ไขได้เลย ไม่เหมือนไฟล์ .pdf ที่แก้ไม่ได้
            แต่ทีนี้ไฟล์ .doc มี 2 แบบคือ .doc กับ .docx (Word รุ่น 2007 เป็นต้นไป) คอมพิวเตอร์สมัยนี้คงใช้ Word รุ่นใหม่กันหมดแล้ว แต่...สำนักพิมพ์บางที่อาจจะใช้โปรแกรมเก่านิดหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์ประจำตัวของบรรณาธิการอาจจะมีมานานแล้ว เพื่อความปลอดภัย พี่น้องขอแนะนำให้เซพเป็น .doc ดีกว่า เพราะจะเปิดกับ Word ได้ทุกเวอร์ชั่น
 
Word 97-2003 Document คือไฟล์นามสกุล .doc
ส่วนค่าเริ่มต้นจะตั้งเป็น Word Document ไฟล์นามสกุล .docx

 
        เพียงเท่านี้เราก็ได้จะต้นฉบับที่เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา และแสดงถึงความ "ตั้งใจ" ของเราที่อยากจะทำให้ผลงานนี้เตะตาบรรณาธิการมากที่สุด หลังจากจัดหน้าต้นฉบับแล้ว ทำไง?
        ก็มาขั้นตอนต่อไปกันเลยค่ะ

เตรียมส่งต้นฉบับ

        สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ต้องการแค่ต้นฉบับเพียงอย่างเดียว แต่เรายังต้องแนะนำตัว และที่สำคัญกว่านั้นคือ "เรื่องย่อ" สำคัญมาก พี่น้องขอขีดเส้นใต้ด้วยเสาคอนกรีตเลยทีเดียว
        ก่อนอื่นเราต้องดูว่าสำนักพิมพ์แต่ละที่ต้องการอะไร หลักๆ ที่เราต้องเตรียมไว้ก่อนเลยคือ
  • ต้นฉบับจบเล่มแล้ว (แหงล่ะ)
  • ประวัติ ของผู้เขียน (บางที่ก็แค่อยากรู้ว่าเราเป็นใคร เคยมีผลงานไหม บางที่ก็อยากเห็นไอเดียในการนำเสนอตัวเองของเรา เพราะบางทีความเป็นตัวเรามันก็สะท้อนในผลงานนะ)
  • เรื่องย่อ (สำคัญสุดๆ ขอขีดเส้นใต้อีกรอบ)
     

    1. ต้นฉบับ: สำหรับมือ ใหม่ที่ไม่เคยมีผลงาน ไม่ได้มีแฟนคลับมหาศาลในเว็บ ขอ แนะนำให้เขียนอะไรที่เป็น "เล่มเดียวจบ" เนื่องจากสำนักพิมพ์ไม่กล้าลงทุนกับนิยายภาคต่อ เพราะมองไม่เห็นฐานนักอ่านของเราว่าจะเยอะหรือน้อย คุ้มไหมกับการทำเล่มต่อไป และ...ไม่แน่ใจว่าเราเองจะเขียนจบจริงหรือเปล่า มีนักเขียนหลายคนที่ออกนิยายชุด แต่ดันเขียนไม่จบ แล้วก็หายไปจากวงการ
              คนที่จะส่งต้นฉบับแบบหลายเล่มจบได้ต้องเป็น "หน้าเก่า" มีผลงานรับประกันอยู่แล้ว หรือลงนิยายในเว็บนี่แหละ แต่นิยายติด Top มีคนอ่านติดตามราวพันคนอัพ อย่างนี้ค่อยน่าลงทุนหน่อย
              *แต่ก็ใช่ว่าจะส่งงานที่หลายเล่มจบไม่ได้เลย แต่ให้เป็น 3 เล่มจบ แล้วต้องเขียนเรื่องย่อแต่ละเล่มให้ชัดๆ เอาให้บรรณาธิการเห็นว่าทิศทางของเรื่องจะไปยังไงต่อ จบยังไง ไม่ใช่ "ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่ามันจะจบยังไง ก็ไปเรื่อยๆ อ่ะคับ"

       
    2. ประวัติของผู้เขียน: ถ้าเอาแบบทางการหน่อยก็แค่ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร (พวกนี้สำคัญ ยังไงก็ต้องมี) อายุเท่าไร งานอดิเรกทำอะไร ชอบเขียนนิยายแนวไหน ผลงานที่ผ่านมามีอะไรบ้าง เคยประกวดอะไรบ้าง (แล้วแต่เราจะเล่า) แม้จะประกวดชนะหรือไม่ชนะ แต่มันแสดงให้เห็นว่าเราสนใจด้านงานเขียนจริงๆ และกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
       
    3. เรื่องย่อ: อย่างที่บอกไป อันนี้สำคัญ เพราะเรื่องย่อเป็นทัพหน้าที่จะเจอกับบรรณาธิการก่อน ดังนั้นใส่ใจมันให้มากพอๆ กับที่เราใส่ใจต้นฉบับเรา โอเค๊?
              เรื่องย่อที่ส่งไปต้องเป็นแบบนี้
    • สั้น มีแต่เนื้อ ไม่มีน้ำ
    • เล่าแต่ต้นยันจบ แปลว่าต้องเฉลยตอนจบ อย่ามาเป็นโปรยปกหลังประเภท "โปรดติดตามตอนต่อไป"
    • ไม่ต้องสำบัดสำนวน แต่อ่านแล้วเข้าใจ ไม่วกวน
       
 
        พี่น้องเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องย่อเอาไว้แล้วในบทความหนึ่ง แต่เดี๋ยวจะเขียนใหม่ให้ละเอียดกว่าเดิมนะ ตอนนี้ขอติดไว้ก่อน
        เมื่อรวบรวมไฟล์เอกสารได้แล้ว ทีนี้ก็เตรียมส่งทางอีเมล์ได้เลย โดยเราอาจจะแยกไฟล์ หรือรวมเป็นไฟล์ zip/rar ส่งไป (แล้วแต่สำนักพิมพ์กำหนด) วิธีการทำไฟล์ซิปดังนี้
 


คลุมไฟล์ทั้งหมดที่เราต้องการเอาเข้าซิป แล้วคลิกขวาที่ไฟล์ใดไฟล์หนึ่ง
เลือก Add to "....rar" ชื่อไฟล์ที่ได้จะเป็นชื่อเดียวกับโฟลเดอร์ที่เราใส่ไฟล์พวกนี้ไว้
แต่ถ้าเลือก Add to archive... เราจะตั้งชื่อไฟล์ได้ ก็อาจจะตั้งเป็นชื่อนิยายของเรา

 
        ทีนี้ก็ได้เวลาเขียนอีเมล์ จริงๆ ไม่ต้องเขียนอะไรลงกล่องข้อความเลยก็ได้นะคะ ก็แค่อัพโหลดไฟล์เอกสารทั้งหมดของเรา แล้วตั้งชื่อหัวข้อเมล์ตามที่สำนักพิมพ์กำหนด (ส่วนใหญ่ก็ 'ส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณา' หรือ 'ชื่อนิยาย-ชื่อเรา') จากนั้นก็ส่งเลย
 
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Snook Member 31 พ.ค. 60 14:57 น. 17

อยากทราบว่าแล้วตอนพิมพ์ไม้ยมกล่ะคะ

บางทีก็พิมพ์แบบนี้ "คิดไปเองต่าง ๆ นา ๆ" ซึ่งไปหาดูแล้วเอกสารทางราชการพิมพ์แบบนี้ถูกต้องค่ะ

แต่ว่านิยายของบางสำนักพิมพ์ก็พิมพ์แบบนี้ "คิดไปเองต่างๆ นาๆ"

จึงอยากทราบว่าต้องเว้นวรรคข้างหน้าไม้ยมกไหมคะ หรือว่าไม่ต้อง

2
NATA-P Member 29 มิ.ย. 60 18:42 น. 17-1

อาจารย์เราก็สอนให้พิมพ์แบบ "ต่าง ๆ" แบบนี้เหมือนกันค่ะ

แต่ในสำนักพิมพ์ใช้ "ต่างๆ " เราเลยไม่แน่ใจ แต่เราก็ใช้อันบนนะ

0
กำลังโหลด

22 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากมีเนื้อหาไม่เหมาะสม

กำลังโหลด
กำลังโหลด
Cartoon Za Member 5 มิ.ย. 57 16:36 น. 7

สงสัยอยู่นิดนึงค่ะ คือถ้าบรรยายจบคำไปแต่ยังไม่หมดบรรทัด แล้วต่อไปจะเป็นคำพูดที่ต้องอยู่ในเครื่องหมาย " คือเขาสนทนากัน เว้นบรรทัดต่อบรรทัดเลยหรือเปล่าคะหรือว่าติดกัน

(แฮ่ๆ ไม่รู้ว่างงกับคำถามหรือเปล่า)  ขอบคุณล่วงหน้าค่ะเอ่อ..

1
editor_nong Member 5 มิ.ย. 57 17:06 น. 7-1
ไม่รู้พี่เข้าใจถูกหรือเปล่านะ สมมติว่า... สมชายเดินเข้ามาเอ่ยทักทายมานี "สวัสดี" <<< ใส่คำพูดต่อกับบทบรรยายไปเลยเพราะกำลังพูดถึงสมชายอยู่ คนอ่านจะได้รู้ว่าสมชายพูดประโยคนี้ และเพิ่มความต่อเนื่องด้วย เด็กหญิงเงยหน้ามองแล้วยิ้มรับ <<< ลงมาอีกบรรทัดเพื่อแยกอย่างชัดเจนว่าบรรทัดนี้คือการกระทำของมานี จะมีหรือไม่มีคำพูดก็ได้ "วันนี้มีการบ้านอะไรหรือเปล่า" <<< ไม่ต้องบอกแล้วว่าสมชายพูด เพราะคนอ่านจะเดาเอาจากการขึ้นบรรทัดใหม่ "มีเลขไง" เธอตอบ <<< อาจจะบรรยายว่ามานีตอบ เพื่อให้คนอ่านไม่สับสนว่าประโยคก่อนหน้านี้ใครพูดกันแน่ การเว้นบรรทัดจะช่วยให้คนอ่านแยกได้ว่าประโยคนี้เป็นของใคร แต่เราจะรวบไปเลยก็ได้ถ้าคำพูดนั้นเป็นของคนๆ เดียว เช่น "สวัสดี" สมชายเดินเข้ามาทักทายมานี "วันนี้มีการบ้านอะไรหรือเปล่า" แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องให้คำพูดชุดหลังขึ้นย่อหน้าใหม่ เพราะคำพูดนี้ยังเป็นของสมชายอยู่ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องด้วย /อย่างนี้หรือเปล่าที่อยากรู้? เขิลจุง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Miss.จ๊าบ Member 1 ก.ค. 58 13:54 น. 12

อยากถามเรื่องลิขสิทธิ์ค่ะ

ถ้าหากเราส่งต้นฉบับเป็น .PDF ไปไม่ใช่ .DOCX มันจะเหมาะสมไหมคะ

หรือถ้า บก.เห็นเป็น PDF ปุ๊บจะไม่อ่านปั๊บเลยหรือเปล่า

อันนี้ถามจริงๆนะ กว่าจะเขียน จบ เรื่องหนึ่งก็นานแล้ว 

ไม่อยากถูกโกง แต่ก็พยายามส่งต้นฉบับไปกับ สนพ.ที่น่าเชื่อถือนะคะ 

แต่เราก็ไม่ได้มีเวลาไปสอดส่องว่านิยายเรื่องนั้นเรื่องนี้ที่มาตีพิมพ์จะละเมิดหรือโกงนักเขียนใครมาหรือเปล่า

3
editor_nong Member 1 ก.ค. 58 14:50 น. 12-1
เบื้องต้นส่งให้อ่านก่อนจะส่งเป็น PDF ก็ไม่เป็นไรค่ะ ถ้าบก.อ่านแล้วเห็นว่าเรื่องน่าสนใจจะตีพิมพ์ เขาจะติดต่อกลับมาให้ส่งเป็นไฟล์ doc อีกที แต่เอาจริงๆ นะคะ ยังไม่เคยเจอเคสที่สำนักพิมพ์เอานิยายนักเขียนไปตีพิมพ์โดยไม่แจ้งมาก่อนนะคะ เพราะนักเขียนก็จะเลือกส่งสนพ.ที่เคยมีผลงานมาก่อนอยู่แล้ว ส่วนสำนักพิมพ์เปิดใหม่ก็มักจะติดต่อพิมพ์ต้นฉบับนักเขียนที่รู้จักกันดีก่อน และการทำแบบนี้มันเสี่ยงเกินไป ถ้าทำไปครั้งนึงแล้วโดนฟ้อง สนพ.จะไม่มีโอกาสกลับมาใหม่ได้อีกเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
วนิษา.. Member 20 ก.ย. 58 11:16 น. 14

เอ่อ..ไม่กล้าบอกอายุอ่ะค่ะเพราะเราอายุน้อยเอามากๆกลัวว่ามัจะดูไม่น่าเชื่อถือ แล้วนิยายที่เขียนก็เป็นออกแนวผู้ใหญ่  คือถ้าจะไม่บอกอายุตอนแนะนำตัวจะได้หรือเปล่าคะ

0
กำลังโหลด
Aoae Member 20 ก.ย. 58 11:40 น. 15

มีเรื่องรบกวนสอบถามหน่อยค่ะ

1.ส่งไปถ้าครบกำหนดแล้วเขาไม่ติดต่อมา สามารถส่งไปสนพ.อื่นได้เลยรึเปล่าคะ หรือต้องส่งอีเมลล์ไปติดต่อขอต้นฉบับคืนอีกที?

2.ระหว่างที่รอห้ามส่งเรื่องเดิมไปอีกสนพ.รึเปล่าคะ คำว่าส่งแบบ เหวี่ยงแห หมายความว่าอะไรแล้วมันดีมั้นคะ?

รบกวนผู้รู้ตอบด้วยนะคะะะ เขิลจุง

1
เบลล์ 14 ม.ค. 59 17:30 น. 15-1
1 ควรเมลสอบถามไปสนพ. ก่อนค่ะ เผื่อต้นฉบับของเราตกหล่น และสนพ.ส่วนมาก เดี๋ยวนี้สงวนสิทธิ์การคืนต้นฉบับนะคะเท่าที่ทราบ 2 ถือเป็นมารยาทค่ะว่าห้ามส่งสนพ. อื่น เพราะหากสมมติเราส่งไปสนพ.ก กับสนพ.ข แล้วผ่านทั้งคู่ เราต้องปฏิเสธอีกสำนักพิมพ์นึงไป ซึ่งเราคิดว่าทำแบบนั้นเป็นเรื่องเสียมารยาทมากค่ะ ทางที่ดี คือรอจนกว่าจะได้คำตอบที่แน่นอนจะดีที่สุด การส่งแบบเหวี่ยงแห คือส่งไปแทบทุกที่ที่ส่งได้ค่ะ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
0
กำลังโหลด
Reaper093 Member 22 ก.ย. 58 11:09 น. 16

คือ...ผมจะรบกวน ถามเรื่องหนึ่งครับ สงสัยมานานแล้ว...

มีสำนักพิมพ์ไหนบ้าง ที่รับนิยายแนวสงครามบ้างครับ?

ไม่ใช่แนวสงครามผู้ใหญ่จ๋าปรัชญาเยอะ หรือแฟนตาซีล้ำยุคอะไรแบบนั้นนะครับ คือเป็นแนวสงครามแบบระเบิดภูเขาเผากระท่อมทั่วไป อารมณ์ประมาณ Call of Duty มาเขียนเป็นนิยายน่ะครับ

ถ้าใครทราบ รบกวนช่วยบอกผมหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

0
กำลังโหลด
Snook Member 31 พ.ค. 60 14:57 น. 17

อยากทราบว่าแล้วตอนพิมพ์ไม้ยมกล่ะคะ

บางทีก็พิมพ์แบบนี้ "คิดไปเองต่าง ๆ นา ๆ" ซึ่งไปหาดูแล้วเอกสารทางราชการพิมพ์แบบนี้ถูกต้องค่ะ

แต่ว่านิยายของบางสำนักพิมพ์ก็พิมพ์แบบนี้ "คิดไปเองต่างๆ นาๆ"

จึงอยากทราบว่าต้องเว้นวรรคข้างหน้าไม้ยมกไหมคะ หรือว่าไม่ต้อง

2
NATA-P Member 29 มิ.ย. 60 18:42 น. 17-1

อาจารย์เราก็สอนให้พิมพ์แบบ "ต่าง ๆ" แบบนี้เหมือนกันค่ะ

แต่ในสำนักพิมพ์ใช้ "ต่างๆ " เราเลยไม่แน่ใจ แต่เราก็ใช้อันบนนะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด