อยากเป็นนักเขียน ต้องเรียนอะไร?

จะเป็นนักเขียนต้องเรียนอะไร?
จะเป็นนักเขียนต้องเรียนภาษาไทยไหม?

        คำถามพวกนี้พี่น้องเจอบ่อยตามบอร์ดนักเขียน เป็นเรื่องน่ายินดีที่พวกเราสนใจด้านการเขียน อยากเรียนด้านนี้ อยากทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ เพราะคนที่จะทำงานอะไรอย่างมีความสุขได้ก็ต้องมีความรักในงานนั้นๆ
        แต่อาชีพที่เป็นงานศิลปะ เช่น จิตรกร นักร้อง นักดนตรี หรือนักเขียน ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือศาสตร์ตายตัว มันไม่มีกฎเกณฑ์แบบแพทย์ ที่ถ้ารักษาตามนี้แล้วคนไข้จะหาย ยาตัวนี้รักษาโรคนี้ได้เลย พิสูจน์มาแล้ว
        โลกของศิลปะมันไม่มีรูปแบบที่เราเดินตามแล้วประสบความสำเร็จได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางทีมันขึ้นอยู่กับพรสวรรค์ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของคนๆ นั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ หรือแม้แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราว่าจะ "ปลุกความเป็นนักเขียนในตัวคุณ" ได้หรือเปล่า
        ดังนั้นคำตอบสำหรับคำถามข้างต้นก็คือ "ไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาไทย ไม่มีคณะตายตัวสำหรับคนอยากเป็นนักเขียน เรียนอะไรก็เป็นนักเขียนได้ ไม่ได้เรียนจบมัธยม ก็เป็นนักเขียนได้"
        ไม่เชื่อใช่ไหมคะ งั้นเรามารื้อประวัตินักเขียนแล้วไล่ดูเลยดีกว่า ว่านักเขียนดังๆ แต่ละคนเรียนจบอะไรกันมา...
 

ฮาร์เปอร์ ลี นักเขียนหญิงรางวัลพูลิตเซอร์
เจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์
จากเรื่อง To Kill A Mocking Bird คนนี้
ตอนแรกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัย แล้วก็ดร็อปก่อนเรียนจบเพื่อไปตามฝันในการเป็นนักเขียน

ชาร์ลส์ ดิกเคนส์ นักเขียนในยุควิคตอเรียน
ทั้ง A Christmas Carol และ A Tale of Two Cities
เป็นเรื่องที่แฝงแง่คิดสะท้อนสังคมจนได้รับคำยกย่อง
ทั้งจากจอร์จ ออร์เวลและลีโอตอลสตอย
แต่ใครจะรู้ว่าครอบครัวของชายคนนี้เป็นหนี้มหาศาล
ทำให้เขาต้องออกจากโรงเรียนกะทันหันตอนอายุ 12
แม้ว่าเขาจะได้กลับไปเรียนหลังจากที่พ่อของเขา
ใช้หนี้หมดแล้ว แต่สิ่งที่เขาเอามาใช้เขียนนิยาย
ระดับโลกไม่ใช่ประสบการณ์ในโรงเรียน
แต่เป็นประสบการณ์ในโรงงานที่เขาเข้าไปทำ
ตั้งแต่เด็กต่างหาก

มาร์ค ทเวน บิดาแห่งวรรณกรรมอเมริกัน
ชื่อจริงของเขาคือ แซมมูเอล เคลเมนส์
ผู้ให้กำเนิดการผจญภัยของ Tom Sawyer กับ Huckleberry Finn ทเวนเองก็ออกจากโรงเรียน
กะทันหันตอนอายุ 12 เพราะพ่อของเขาเสียชีวิต
เขาไปทำงานให้โรงพิมพ์ แล้วก็ลาออกไปเดินเรือ
ซึ่งกลายเป็นที่มาของนามปากกาเขานั่นเอง

เจ เค โรว์ลิ่ง
เจ้าแม่นิยายแฟนตาซีในปัจจุบัน

ในวินาทีนี้คนที่รักการอ่านทุกคนคงไม่มีใครรู้จัก
ผู้หญิงที่ชื่อเจ เค โรว์ลิ่ง อีกแล้ว เพราะตัวละคร
ของเธอ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มาโลดแล่นบน
หน้ากระดาษและจอเงินให้คนทั้งโลกได้คลั่งไคล้
และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการหนังสือ
บ้านเราด้วย เธออาจจะไม่ได้มีชีวิตที่ยากลำบากนัก
เมื่อเทียบกับนักเขียนสมัยก่อน แต่เธอก็ไม่ได้เรียนด้านการเขียนมาโดยตรง แต่เรียนอ้อมไปอีกหน่อย
ไปเรียนภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรมคลาสสิกแทน

เซอร์ อาเธอร์ โคแนน ดอยล์
ผู้ให้กำเนิดนิยายนักสืบ

ท่านเซอร์ผู้ให้กำเนิดเชอร์ล็อก โฮล์มส์คนนี้
คงแปลกใจตัวเองเหมือนกันที่ทุกคนบนโลก
จดจำเขาได้ในฐานะ "นักเขียน" ไม่ใช่ "นายแพทย์"
เขาเรียนแพทยศาสตร์ และเขียนนิยายส่งให้นิตยสาร
เป็นงานเสริมเท่านั้น แต่งานของเขากลับสร้าง
ปรากฏการณ์ใหม่ให้กับนิยายแนวลึกลับ
นำไปสู่ต้นกำเนิดนิยายแนว Detective Fiction
หรือนิยายนักสืบนั่นเอง

จอห์น กริแชม
เจ้าของนิยายแนวคดีความขายดี

จอห์น กริแชมไม่ได้เขียนนิยายสืบสวน
แต่เป็นนิยายเกี่ยวกับการการดำเนินคดีในชั้นศาล
เขาเรียนบัญชีก่อนจะไปต่อด้านกฎหมาย
และสุดท้ายก็ไปทำงานในศาล ซึ่งเป็นศูนย์รวม
ข้อมูลที่ทำให้เขาผลิตนิยายขายดี
ออกมาหลายเล่มนั่นเอง

รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ปี 2538
คุณรงค์ วงษ์สวรรค์เกือบจะจบชั้นมัธยมปลาย
ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ถ้าไม่ทะเลาะกับครู
จนถูกให้ออกเสียก่อน หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้กลับไป
เรียนใหม่ แต่เริ่มต้นทำงานหาเลี้ยงชีพทันที

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ปี 2536
คุณเนาวรัตน์จบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ฉายแววกวีตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยม และเข้าร่วม
ชุมนุมวรรณศิลป์เมื่อเรียนมหาวิทยาลัย (คือต่อให้
ไม่ได้เรียนด้านนี้ก็ขอให้ได้ทำกิจกรรมด้านนี้เถอะ)
หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์งานเขียนมากมายทั้งร้อยกรองร้อยแก้วจนบทกวี "เพียงความเคลื่อนไหว"
ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีพ.ศ. 2523

วินทร์ เลียววารินทร์
ดับเบิ้ลซีไรต์ 2540 และ 2542

คุณวินทร์ชื่นชอบการวาดภาพและอ่านหนังสือ
มาแต่ไหนแต่ไร เมื่อต้องเรียนต่อมหาวิทยาลัย
เขาจึงเลือกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
(เปิดปีพ.ศ. 2475) เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มี
คณะศิลปกรรมศาสตร์ (เปิดทีหลัง ปีพ.ศ. 2526)
ช่วงแรกก็ทำงานตามสายนี้ไป แต่ก็มีเขียนนิยายภาพ
บ้างอะไรบ้าง จนเมื่อหันมาจับปากกาเขียนเรื่องสั้น
ส่งนิตยสารนั่นแหละ เขาจึงเริ่มหันมาเขียนงาน
อย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน
        ความจริงแล้ววิชาที่น่าจะตรงกับอาชีพนักเขียนที่สุดก็คือ Creative Writing ในประเทศไทยเราเท่าที่พี่รู้ยังไม่มีการเปิดสอนวิชา Creative Writing (การเขียนเชิงสร้างสรรค์) เป็นสาขาวิชาเต็มตัวแบบในต่างประเทศ เท่าที่มีก็คือเป็นแค่วิชาเลือกคอร์สเดียวจบของสาขาวิชาภาษาอังกฤษในคณะอักษรศาสตร์ (ศิลปากรหรือจุฬาฯ ก็มี) แต่ในต่างประเทศ เช่นที่อเมริกาหรืออังกฤษ จะมีปริญญาโทสาขานี้โดยเฉพาะ
       แต่แม้ในต่างประเทศจะเปิดเป็นสาขาจริงจังก็ยังมีคนตั้งคำถามถึงการสอนให้คน "มีความคิดสร้างสรรค์" ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว สิ่งที่สถาบันเหล่านี้ทำเป็นแค่การฝึกให้นักศึกษาเขียนให้มาก วิเคราะห์ให้มาก และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิจารณ์ผลงานให้กันและกันมากกว่า
       สังเกตว่านักเขียนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนภาษาจนแม่นไวยากรณ์ ไม่ได้ท่องศัพท์จนมีคลังคำในหัวเต็มไปหมด แต่พวกเขาใช้สิ่งรอบตัว ประสบการณ์ที่ได้พบจากการออกไปแตะขอบฟ้า (ตามพี่ตูน) และความสร้างสรรค์ส่วนตัวล้วนๆ ในการผลิตผลงานชั้นเลิศออกมา
       สรุปสั้นๆ ถ้าอยากเรียนด้านภาษาหรือวรรณกรรมโดยเฉพาะ ขอให้มาเรียนด้วยความรัก อย่าเรียนเพราะคิดว่าเป็นทางลัดในการเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ เพราะนักเขียนที่ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเรียนด้านนี้นะคะ (ไหนสรุปสั้น?)
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.huffingtonpost.com/2013/07/11/famous-authors-majors_n_3580722.html#slide=2684398
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/sorarit_1/sorarit-web1/content/History6.htm
http://www.winbookclub.com/mainpage.php
http://lauramarcella.blogspot.com/2010/09/fun-fact-friday-8-famous-authors-and.html


ขอบคุณภาพประกอบจาก
www.randomhouse.com.au
en.wikipedia.org
firewireblog.com
www.leninimports.com

www.newswise.com
www.trueplookpanya.com
th.wikipedia.org/wiki/วินทร์_เลียววาริณ
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

sweet violet Member 23 พ.ค. 57 16:51 น. 2

มันต้องมาจากใจรักก่อนสินะถึงจะเป็นนักเขียนได้ ถ้าไม่ชอบ เขียนให้ตายยังไงก็ไม่ออกมาดีหรอก ._.

0
กำลังโหลด
Chanyanuch Member 23 พ.ค. 57 16:48 น. 1

นักเขียนไม่จำเป็นต้องเรียนจบคณะอักษรศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์  และคณะศิลปศาสตร์เสมอไป

0
กำลังโหลด
PuzzleRhapsody Member 24 พ.ค. 57 17:30 น. 9

แปลว่า...ต่อให้โดนพ่อแม่บังคับเรียนแพทย์ก็สามารถเป็นนักเขียนได้ชิมิคะ #แต่งนิยายต่อแป๊บว๊าว

1
Zeferus Member 30 เม.ย. 59 21:15 น. 9-1
เป็นได้แน่นอนค่ะ มองในแง่ดีและข้อดีนะคะ ถ้าเราเรียนแพทย์ เราจะมีความรู้เฉพาะทางในด้านนี้เป็นอย่างมาก ไหนจะศาสตร์อื่นที่ต้องอ่านในตอนสอบ ถ้าเอามาเขียนสามารถดึงมาใช้ได้ทั้งหมด ยิ่งทำให้เรื่องมีความสมเหตุสมผล และยังให้ความรู้แก่คนอ่านได้ด้วยนะคะ
0
กำลังโหลด
editor_nong Member 26 พ.ค. 57 09:12 น. 17

สำหรับใครที่อยากเรียนด้านภาษาหรือวรรณกรรมอยู่แล้ว ก็ตรงเข้าคณะอักษรฯ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ได้เลยตามที่คห. บนๆ ว่าไว้

แต่บทความนี้เขียนขึ้นเผื่อว่าเรามีสิ่งที่ชอบสองอย่าง เช่นอาชีพหมอ ก็อยากทำ นิยายก็อยากเขียน ก็เลือกเรียนแพทยศาสตร์ไปเลยจะดีกว่า เยี่ยม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

37 ความคิดเห็น

Chanyanuch Member 23 พ.ค. 57 16:48 น. 1

นักเขียนไม่จำเป็นต้องเรียนจบคณะอักษรศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์  และคณะศิลปศาสตร์เสมอไป

0
กำลังโหลด
sweet violet Member 23 พ.ค. 57 16:51 น. 2

มันต้องมาจากใจรักก่อนสินะถึงจะเป็นนักเขียนได้ ถ้าไม่ชอบ เขียนให้ตายยังไงก็ไม่ออกมาดีหรอก ._.

0
กำลังโหลด
แซลม่อนจากนอร์เวย์ Member 23 พ.ค. 57 21:01 น. 3

แปลกนะ นักเขียนนิยายจบกฏหมายกันเยอะ อันนี้พูดตามการสังเกตค่ะ ไม่ได้มีแค่ท่านที่เอามายกตัวอย่าง แต่รวมนักเขียนไทยหลายท่านไปด้วย >___<

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
yuitokunn Member 24 พ.ค. 57 14:09 น. 7

ผมก็อยากเป็นนักเขียน ตอนนี้เรียน การภาพยนตร์และสื่อสารการแสดง อยู่ที่สวนนันครับ หวังว่าจะเอาความสามารถของการอยากเป็นนักเขียนมาต่อยอดเป็นนักเขียนบทภาพยนตร์ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
PuzzleRhapsody Member 24 พ.ค. 57 17:30 น. 9

แปลว่า...ต่อให้โดนพ่อแม่บังคับเรียนแพทย์ก็สามารถเป็นนักเขียนได้ชิมิคะ #แต่งนิยายต่อแป๊บว๊าว

1
Zeferus Member 30 เม.ย. 59 21:15 น. 9-1
เป็นได้แน่นอนค่ะ มองในแง่ดีและข้อดีนะคะ ถ้าเราเรียนแพทย์ เราจะมีความรู้เฉพาะทางในด้านนี้เป็นอย่างมาก ไหนจะศาสตร์อื่นที่ต้องอ่านในตอนสอบ ถ้าเอามาเขียนสามารถดึงมาใช้ได้ทั้งหมด ยิ่งทำให้เรื่องมีความสมเหตุสมผล และยังให้ความรู้แก่คนอ่านได้ด้วยนะคะ
0
กำลังโหลด
กนกลดา 24 พ.ค. 57 17:50 น. 10
สำหรับน้องๆ ที่ค้นพบแล้ว ว่าอาชีพนักเขียนคืออาชีพที่ใช่ และไม่ต้องการลองผิดลองถูกเองให้เสียเวลา ขอแนะนำให้เรียนเอกภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ(วรรณคดีหรือวรรณกรรม เพราะทั้งสองเอกนี้ สอนวิธีการเขียนให้เราค่ะ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การสอนเขียนนิยายโดยตรง แต่เขาจะสอนให้เราเขียนได้อย่างรัดกุม กระชับ และตรงประเด็น ไม่มีคำว่าเพ้อค่ะ และที่สำคัญ เขาก็จะสอนให้เราได้รู้ว่า การใช้ภาษาที่สละสลวย ต้องทำอย่างไร
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
วรรณเด็ก 25 พ.ค. 57 14:10 น. 14
ปัจจุบันมีคณะมนุษยศาสตร์ เอกวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ เพื่อรองรับผู้ที่สนใจอยากเป็นนักเขียนและนักทำหนังสือโดยตรงนะคะ ใครสนใจลองเซิทหาข้อมูลดูนะคะ มาแปะๆไว้เผื่อมีคนสนใจ ส่วนตัวจบเอกนี้มาค่ะ ถามว่าเรียนเพื่อเป็นนักเขียนเลยมันดีกว่าใช้งานเขียนเป็นงานอดิเรกยังไง บอกเลยว่า เพราะได้ใช้เวลากับสิ่งที่ตัวเองชอบอย่างเต็มที่ 100% เลยค่ะ
0
กำลังโหลด
color-blue-bell Member 25 พ.ค. 57 18:20 น. 15

ตอนแรกลังเลระหว่างอักษรศาสตร์ กับศิลปกรรมศาสตร์ พ่อแม่เราอยากให้เข้าศิลปกรรม แต่เราอยากเป็นนักเขียนอยากเข้าอักษร 

พอมาอ่านแล้ว ขอแค่มีความตั้งใจก็พอ ไม่ว่าจะคณะไหนก็เป้นนักเขียนได้สินะ ตั้งใจ

0
กำลังโหลด
Arsari Member 25 พ.ค. 57 18:43 น. 16

สุดยอด เรายังกลุ้มใจอยู่เลยว่าเป็นนักเขียนเรียนสายอะไรดี  ตอนนี้ไม่กังวลแล้ว จะพยายามเขียนต่อไปร้องเพลง

0
กำลังโหลด
editor_nong Member 26 พ.ค. 57 09:12 น. 17

สำหรับใครที่อยากเรียนด้านภาษาหรือวรรณกรรมอยู่แล้ว ก็ตรงเข้าคณะอักษรฯ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ได้เลยตามที่คห. บนๆ ว่าไว้

แต่บทความนี้เขียนขึ้นเผื่อว่าเรามีสิ่งที่ชอบสองอย่าง เช่นอาชีพหมอ ก็อยากทำ นิยายก็อยากเขียน ก็เลือกเรียนแพทยศาสตร์ไปเลยจะดีกว่า เยี่ยม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด