วิจารณ์นิยายอย่างไร ให้คนเขียนได้ประโยชน์ที่สุด!


"ตั้งแต่อ่านนิยายมา เราว่าเรื่องนี้เขียนดีสุดยอด สนุกสุดๆ"
"ผมว่าเขียนให้พ่อพระเอกตาย พระเอกจะดูน่าสงสารกว่านะครับ"
"ขอวิจารณ์นิดนึงนะ เราว่านางเอกเรื่องนี้แก่แดดไปอ่ะ"
"มาวิจารณ์ให้แล้วจ้า ก่อนอื่นขอหักคะแนนเพราะไม่มีแนะนำตัวละครนะ"
 

        หลายคนงง วันนี้พี่น้องจะพูดเรื่องอะไร อยู่ดีๆ ก็ยกประโยคพวกนี้ขึ้นมา รู้หรือเปล่าว่ามีชาวเด็กดีจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจคำว่า "วิจารณ์" ผิด และตัวอย่างประโยคที่พี่น้องยกมาพูดข้างต้นนั้น คือตัวอย่างการแสดงความเห็น/คำนิยม ไม่ใช่การวิจารณ์ค่ะ

        วันนี้พี่น้องจะมาปรับความเข้าใจใหม่ การวิจารณ์งานเขียนเพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนเขียนสูงสุดและเป็นการวิจารณ์ที่ดีต้องทำอย่างไร ต้องเขียนให้ยาวเข้าไว้ไหม? ต้องหยิบเอาทฤษฎีนู่นนี่นั่นมาใช้ตีความหรือเปล่า

        บอกเลยว่าไม่ต้องไปถึงขั้นนั้นค่ะ เราแค่ดูพวกนี้
 
  • ความถูกต้องของภาษา สะกดคำผิด-ถูก  คำฟุ่มเฟือย คำซ้ำ ผิดความหมาย เรียบเรียงประโยค
  • การสร้างตัวละคร ความสมเหตุสมผล บทบาทหน้าที่ต่อเนื้อเรื่อง พัฒนาการตลอดเรื่อง
  • การดำเนินเรื่อง เริ่มยังไง จบยังไง สอดคล้องกันไหม เร็ว-ช้า เหมาะสมกับพล็อตเรื่องที่วางไว้หรือเปล่า จุดไหนยืดไป จุดไหนรวบรัดไป สุดท้ายแล้วทั้งเรื่องมีจุดจบที่จุดเดียวไหม
  • ปมของเรื่องคืออะไร ปมหลัก ปมย่อย คนเขียนนำเสนอได้ดีแค่ไหน วิธีคลายปมแต่ละปม ช้า เร็ว เหมาะสมไหม สุดท้ายแล้วจนจบเรื่องมีกี่ปมที่ไม่คลาย แล้วเหมาะสมไหมที่จะปล่อยให้คนอ่านคิดเอง
  • "สาร" ที่คนเขียนต้องการนำเสนอคืออะไร ชัดเจนไหม เป็นแก่นหลักของเรื่องหรือลอยไปลอยมา แล้วตลอดทั้งเรื่องคนเขียนพยายามนำเสนอ "สาร" นั้นได้ดีไหม ยัดเยียดเกินไปหรือเปล่า หรือคลุมเครือเกินไป



        เรียงตามลำดับง่ายไปยากจากบนลงล่าง ถ้าใครเก่งๆ แล้วจะหยิบทฤษฎีทางวรรณคดีมาจับเพื่อวิจารณ์ยาวต่อไปอีกก็ได้

        ซึ่งที่พี่น้องบอกมาทั้งหมดนี้ เราไม่ได้แค่ "อ่าน" เรื่องอย่างเดียว แต่เราต้อง "วิเคราะห์" เรื่องตามไปด้วย เหมือนคนเขียนสร้างเครื่องจักรมาเครื่องหนึ่ง หน้าที่ของเราไม่ใช่แค่เอามาใช้แล้วบอกว่า มันใช้ดีนะ แต่เราต้องรื้อเครื่องจักรออกมา แล้วบอกได้ว่าที่มันใช้ได้ดีเพราะอะไร

        แต่เนื่องจากคนวิจารณ์ในเด็กดีหลายคนก็ไม่ใช่มืออาชีพจากไหน อารมณ์ "เพื่อนช่วยเพื่อน" ด้วยความหวังดีว่าอยากให้เพื่อนพัฒนาฝีมือ เพราะงั้นก็ไม่ต้องซิเรียสถึงขนาดเสียเวลาเป็นวันๆ เพื่อนั่งแงะเครื่องจักรขนาดนั้น ก็เอาพอดีๆ และระวัง...อย่าให้ความหวังดีของเรากลายเป็นมีดย้อนกลับไปแทงเพื่อน

        สังเกตเห็นหลายคนจะใช้ ความชอบ/อคติ/ความรู้สึก/ความเชื่อ มาเป็นเกณฑ์ในการวิจารณ์งาน อย่าวิจารณ์ว่าเรื่องนี้ไม่ดีเพียงเพราะเรา "ไม่ชอบ" หรือ "คนส่วนใหญ่เขาไม่ทำแบบนี้กันนะ"
 
"ขอหัก 1 คะแนนเพราะเรื่องเธอไม่มีบทนำนะ
ปกติเขียนนิยายต้องมีบทนำรู้เปล่า"

        แบบนี้ไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้วการเขียนนิยายไม่มีกฎตายตัว ไม่จำเป็นต้องมีบทนำเสมอ แต่เราเอาความเชื่อของเราเองไปตัดสิน

        แต่ถ้าเรารู้สึกว่ามันไม่ดีจริงๆ เราต้องหาเหตุผลมาบอกเพื่อนได้ว่าทำไมมันถึงไม่ดี เป็นที่การนำเสนอหรือเปล่า ภาษาที่ใช้ชัดเจนหรือยัง ช่วยเพื่อนหาจุดบกพร่องและทางแก้ไข อย่าติอย่างเดียว
 
"ตอนที่ 1 ของเธอเปิดมามันห้วนไปนิดนึงนะ เราว่าเพิ่มบทนำเข้าไปดีมั้ย"

        บอกเพื่อนไปแบบนี้ เพื่อนจะได้กลับไปดูว่าเอ เราเปิดเรื่องห้วนไปจริงหรือเปล่า ถ้าเพิ่มบทนำจะเพิ่มอะไรดี

        การชมดะก็เหมือนกัน ถ้าเราชมอย่างเดียว มันคือคำนิยม ไปกรอกอีกช่องหนึ่งแทน หลายคนเลยส่งบทวิจารณ์เข้ามาให้พี่ตรวจ แต่ในบทวิจารณ์กลับมีแต่คำชมว่าเรื่องดี อ่านสนุก มันสุดๆ ไปเลย แบบนี้ก็ไม่เรียกว่าคำวิจารณ์ ถ้ามันดีเราต้องบอกได้ว่าทำไมมันถึงดี
 
"เราอ่านนิยายออนไลน์มาเยอะนะ แต่เราว่าเรื่องนี้สนุกสุด"

        บอกไปแบบนี้ คนอ่านก็จะรู้แค่ว่าเรื่องฉันดี ได้กำลังใจ แต่ไม่รู้ว่าทำไมคนอ่านชอบ ก็จะไม่มีข้อมูลไปพัฒนางานเขียน

        เปรียบเทียบเหมือนเวลาเพื่อนลองเสื้อแล้วถามเราว่าสวยมั้ย ถ้าเราตอบว่า "อื้อ เธอใส่ชุดนี้แล้วสวยมากเลย" มันคือคำชม แต่ถ้าเราตอบว่า "อื้อ ชุดสีดำทำให้หุ่นเธอดูผอมเพรียว สวยมากเลย" มันคือคำวิจารณ์ เพราะเราบอกได้ว่าทำไมเพื่อนจึงใส่ชุดนี้แล้วดูสวย เพื่อนก็จะได้รู้ว่าถ้าเขาใส่ชุดสีดำแล้วเขาจะดูผอม ต่อไปเขาจะเลือกใส่แต่ชุดสีโทนมืดๆ
 
        "เราอ่านนิยายออนไลน์มาเยอะนะ แต่เราว่าเรื่องนี้แหวกแนวที่สุด เพราะคนเขียนไม่ได้วางพระเอกให้เป็นเทพ แต่เป็นผู้เล่นธรรมดานี่แหละ ทุกๆ ตอนที่พระเอกออกไปตีมอนฯ ทำเควสท์ เรานั่งนับนะ มันมีโอกาส 50/50 เลยที่พระเอกจะตายหรือทำเควสท์พลาด มันทำให้คนอ่านลุ้นทุกตอน ไม่เหมือนเรื่องอื่นที่ชัวร์ว่าไม่ตายแน่ ถึงตายก็จะฟลุคได้ไปโผล่ในที่ดีๆ แทน"

        สำหรับคนที่มีปัญหา "พี่คะ หนูเกรงใจเพื่อน อยากบอกเหลือเกินว่าเพื่อนทำผิด แต่กลัวมันจะโกรธหนู" พี่ก็มีวิธีที่พี่ใช้ประจำเวลาวิจารณ์งานน้องๆ

        แทนที่เราจะบอกว่า "ที่เธอทำมันผิด" ให้เราเลี่ยงไปพูดว่า "เราว่าเธอทำแบบนี้ก็อาจจะดีนะ" เหมือนยื่นข้อเสนอให้เพื่อน แต่ไม่บอกว่าเธอต้องใช้อันนี้สิ เพื่อนจะได้เก็บไปคิดและตัดสินใจเอง

        บางคนเขาอาจจะไม่ชอบให้ใครมาสอนหรือชี้นำตรงๆ เขาจะไม่แก้ตามเรา เพราะเหมือนยอมรับว่าตัวเองไม่เก่งจริง แต่ถ้าเราเสนอทางเลือกให้เขาว่าแบบนี้อาจจะดีกว่า มันก็ยังเปิดโอกาสให้เขาได้ "เลือกเอง" ว่าอะไรดีกว่า

        อีกวิธีที่พี่ชอบใช้บ่อยๆ คือ อย่าเอาข้อผิดพลาดของคนเขียนมาขึ้นประโยค ให้เราบอกข่าวดีเขาก่อนว่า "เรื่องเธอสนุกนะ" หรือถ้ามีข้อดีใดๆ หยิบมาชมก่อน แล้วค่อยตามด้วยคำว่า "แต่..."

        วิธีนี้จะช่วยสื่อเป็นนัยๆ ว่าเรื่องเธอไม่ใช่ไม่ดีนะ มันมีดีเหมือนกัน แต่มันจะดีกว่านี้อีกถ้าเธอแก้ข้อผิดพลาดที่ฉันกำลังจะว่าต่อไปนี้

        เราคงเห็นแล้วว่าคำชมกับคำวิจารณ์มีหน้าที่ต่างกัน เราชมเพื่อให้คนเขียนมีกำลังใจเขียนต่อ เราวิจารณ์เพื่อให้คนเขียนรู้ว่าตัวเองมีข้อดีที่ควรรักษาไว้ตรงไหน และมีข้อเสียที่ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง

        แต่สองคำนี้คงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าตัวนักเขียนเองไม่รับฟังและเอาไปปรับใช้ อย่าให้คำติโดยไม่มีเหตุผลมาบั่นทอนกำลังใจเรา และอย่าให้คำชมมาทำให้เราเหลิง
 

ประโยชน์ของคำวิจารณ์ที่ดีมันมีให้ทั้งสองฝ่าย
เมื่อนักเขียนพัฒนาตัวเองตามคำวิจารณ์ที่มีเหตุผล
คนวิจารณ์ก็จะได้อ่านผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย

พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Seesor Vi Malfoy Member 7 พ.ย. 57 20:56 น. 4

เราก็วิจารณ์แบบนี้เหมือนกันค่ะ ยกคำชมขึ้นมาก่อน แล้วค่อย "แต่..." ทีหลัง พยายามรักษาน้ำใจขั้นสูงสุด ทั้งที่บอกตรงๆ นิยายบางเรื่องเราหงุดหงิดตั้งแต่บรรทัดแรกเลยด้วยซ้ำ แต่เพราะถือคติว่าเขาคือผู้เขียนที่พยายามสร้างเรื่องของตนให้ดีที่สุด แน่นอนว่าเขาต้องเสียใจแน่หากเราใช้วาจาเชือดเฉือนมากเกินไป การใช้คำรุนแรงจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเลย

+

นักวิจารณ์บางเรื่องเราไปเจอแบบ "ไม่มีธีม หักคะแนน" , "พระเอกไม่หล่อ" , "ภาพไม่สวย" ไม่ใช่เลยค่ะ คุณกำลังวิจารณ์ 'นิยาย' นะคะ การไปพิจารณาองค์ประกอบรอบนอกแทบไม่เกี่ยวกันเลย แต่หากคุณจะบอกว่า "ธีมสีเข้มเกินไป อ่านตัวหนังสือไม่ออก" อะไรแบบนี้ เราคิดว่าตรงนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงของผู้เขียนได้ดีกว่าอีกค่ะ

+

อ้อ เราเคยเจอแบบ "คำผิดไม่ค่อยมีเลยนะค่ะ" //ผมนี่อึ้งไปเลยครับ

0
กำลังโหลด
Boy13 Member 7 พ.ย. 57 18:57 น. 3

เคยเจอวิจารณ์แบบเอาแนวการเขียนของผู้วิจารณ์มาเป็นตัวตั้ง อยากบอกกับเขาเหลือเกินว่า 'เดี๋ยวผมเขียนเรื่องย่อ พล็อต แล้วก็ตัวละครใส่เวิร์ดแล้วส่งไปให้นะครับ ช่วยแต่งต่อที คุณน่าจะเก่งกว่า' เอ่อ..

0
กำลังโหลด
กุลภรณ์ Member 7 พ.ย. 57 21:42 น. 5

ช่วยได้มากเลยค่ะ เพราะทุกวันนี้เจอแต่แบบนี้ทั้งนั้น บางทีก็งงว่าตัวละครกับธีมนี่สำคัญมั้ย วิจารย์แล้วเราจะได้สิ่งใดกลับมา เราต้องการข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาและตัวนิยาย บางทีเราก็ขี้เกียจใส่ธีมอ่ะ T^T

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

12 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
Boy13 Member 7 พ.ย. 57 18:57 น. 3

เคยเจอวิจารณ์แบบเอาแนวการเขียนของผู้วิจารณ์มาเป็นตัวตั้ง อยากบอกกับเขาเหลือเกินว่า 'เดี๋ยวผมเขียนเรื่องย่อ พล็อต แล้วก็ตัวละครใส่เวิร์ดแล้วส่งไปให้นะครับ ช่วยแต่งต่อที คุณน่าจะเก่งกว่า' เอ่อ..

0
กำลังโหลด
Seesor Vi Malfoy Member 7 พ.ย. 57 20:56 น. 4

เราก็วิจารณ์แบบนี้เหมือนกันค่ะ ยกคำชมขึ้นมาก่อน แล้วค่อย "แต่..." ทีหลัง พยายามรักษาน้ำใจขั้นสูงสุด ทั้งที่บอกตรงๆ นิยายบางเรื่องเราหงุดหงิดตั้งแต่บรรทัดแรกเลยด้วยซ้ำ แต่เพราะถือคติว่าเขาคือผู้เขียนที่พยายามสร้างเรื่องของตนให้ดีที่สุด แน่นอนว่าเขาต้องเสียใจแน่หากเราใช้วาจาเชือดเฉือนมากเกินไป การใช้คำรุนแรงจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเลย

+

นักวิจารณ์บางเรื่องเราไปเจอแบบ "ไม่มีธีม หักคะแนน" , "พระเอกไม่หล่อ" , "ภาพไม่สวย" ไม่ใช่เลยค่ะ คุณกำลังวิจารณ์ 'นิยาย' นะคะ การไปพิจารณาองค์ประกอบรอบนอกแทบไม่เกี่ยวกันเลย แต่หากคุณจะบอกว่า "ธีมสีเข้มเกินไป อ่านตัวหนังสือไม่ออก" อะไรแบบนี้ เราคิดว่าตรงนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงของผู้เขียนได้ดีกว่าอีกค่ะ

+

อ้อ เราเคยเจอแบบ "คำผิดไม่ค่อยมีเลยนะค่ะ" //ผมนี่อึ้งไปเลยครับ

0
กำลังโหลด
กุลภรณ์ Member 7 พ.ย. 57 21:42 น. 5

ช่วยได้มากเลยค่ะ เพราะทุกวันนี้เจอแต่แบบนี้ทั้งนั้น บางทีก็งงว่าตัวละครกับธีมนี่สำคัญมั้ย วิจารย์แล้วเราจะได้สิ่งใดกลับมา เราต้องการข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาและตัวนิยาย บางทีเราก็ขี้เกียจใส่ธีมอ่ะ T^T

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
peiNing Zheng Member 8 พ.ย. 57 20:07 น. 7

ข้าน้อยเพิ่งมาดูบอร์ดของ Dek-D ไม่นาน และไม่เคยอ่านคำวิจารณ์ของคนวิจารณ์ท่านไหนในเวบบอร์ดนี้สักเท่าไร แต่ไม่ว่าแบบไหน ข้าน้อยก็เป็นกำลังใจให้กับคนให้คำวิจารณ์ทุกท่าน ไม่ว่าท่านนั้นๆ จะสามารถให้คำวิจารณ์ได้ลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหนก็ตาม (ก็คล้ายนักเขียน ประสบการณ์แต่ละท่านมากน้อยย่อมต่างกันเป็นธรรมดา) ข้าน้อยเชื่อในเจตนาของผู้ให้คำวิจารณ์เหล่านั้นว่าเต็มไปด้วยความปรารถนาดี

แต่สิ่งที่ข้าน้อยต้องการจะเสริมอีกเรื่องก็คือ งานเขียนชิ้นหนึ่ง เต็มไปด้วยตัวตนของผู้เขียน แน่นอนว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของนักเขียนเหล่านัั้น สำหรับนักเขียนคนหนึ่ง คำวิจารณ์ต่องานเขียน มันก็คล้ายๆ กับตัวตนของนักเขียนคนนั้นถูกวิจารณ์เองด้วย ดังนั้นเรื่องการวิจารณ์จึงเป็นสิ่งที่อ่อนไหวพอสมควร (พูดภาษาง่ายๆ ก็คือ ด่างานเขียนแต่เหมือนคนเขียนโดนด่า ประมาณนั้นแหละ)

แม้ว่าเราจะวิจารณ์ด้วยความปรารถนาดี แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดผลของการถกเถียงในเวลาต่อมา (ระหว่างตัวคนเขียนและคนวิจารณ์ หรือระหว่าคนอ่านท่านอื่นๆ กับคนวิจารณ์ เป็นต้น) 

สิ่งที่จะดีที่สุดสำหรับคนวิจารณ์คนหนึ่ง คือ การวางตัวให้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่า เรากำลังวิจารณ์ "ผลงาน" ไม่ใช่ "คนเขียน" ขอรับ

ถ้าเมื่อไรที่คำวิจารณ์พุ่งเป้าไปที่คนเขียน มันแสดงถึงอคติ ไม่เป็นกลาง ไร้เหตุผล ขึ้นมาทันที และก่อให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบขึ้นมา อคติลักษณะนี้มันเกิดได้ง่ายมากในตัวคนวิจารณ์บางคนที่ไม่สามารถแยกงานเขียนกับคนเขียนออกจากกันได้ คนวิจารณ์จึงควรพึงระวังเส้นกรอบของตัวเองให้ดีว่าไม่ควรล้ำเส้นที่จุดไหน

และตัวคนเขียนก็เช่นเดียวกัน ข้าน้อยเคยพบคนเขียนบางท่านที่ Defend งานเขียนของตัวเองกับข้าน้อย โดยที่พุ่งเป้ามาที่ตัวข้าน้อยเป็นหลักแทนที่จะเป็นคำวิจารณ์ของข้าน้อยเอง ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่มีประโยชน์อันใดในการมาวิพากษ์ความรู้ความสามารถของข้าน้อย สิ่งที่นักเขียนท่านนั้นควรโจมตี คือ คำวิจารณ์ของข้าน้อยไม่เป็นเหตุเป็นผลที่ไหนต่างหาก

การมุ่งที่ "ผลงาน" เป็นหลักจึงเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งยวดในการวิจารณ์ หรือการ Defend วรรณกรรมชิ้นใดชิ้นหนึ่งขอรับ (ไม่งั้นมีเรื่องแน่)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
GreenLand-เขียวแลนด์! Member 11 พ.ย. 58 20:54 น. 10

ไม่ได้เข้ามาอัพเดตะบบนี้นานแล้ว พึ่งเห็นว่ามันมีระบบคำนิยมแยกออกไป ขอบคุณค่ะ

รู้สึกเลยว่าสมัยก่อนเราใช้วิจารณ์เป็นคำนิยมซะส่วนใหญ่ เยี่ยม

0
กำลังโหลด
แม่มดแห่งสลิธีริน Member 4 มี.ค. 60 21:03 น. 11

ปรกติเวลาวิจารณ์นิยายจะไม่ควรใช้ความรู้สึกเข้ามาร่วม เรื่องบทนำถูกต้องค่ะว่าไม่มีก็ได้

แต่ถ้ามี.. การบรรยายควรต้องให้น่าสนใจให้อยากอ่านหน้าต่อไป การวิจารณ์งานควรเป็นกลาง ไม่ตัดสินจากอารมณ์ของคนวิจารณ์หรือความชอบ แล้วต้องมีหลักการใช้ภาษา ฉะนั้น นักวิจารณ์ควรต้องมีความรู้เรื่องภาษาไทยระดับหนึ่ง ทั้งเรื่อง คำ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง วรรณกรรม วรรณคดี รูปประโยค ส่วนตัวกำลังเรียนด้านนี้เป็นปริญญาอีกใบ เลยรักงานวิจารณ์ค่ะ

ไม่ใช่มืออาชีพ แต่จะพยายามสุดความสามารถ เพื่อจะเป็นมืออาชีพในอนาคตให้ได้


123433615


สนใจมาใช้บริการได้นะคะ

https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=1595230


รับสมัครนักวิจารณ์ด้วยค่ะ บ้านเราอบอุ่น มีการแบ่งปันความรู้กันตลอด

0
กำลังโหลด
I'm rebel Member 23 ก.ย. 60 13:18 น. 12

เห็นจั่วขึ้นอันแรก แอบฮา หลายคนสับสนระหว่างคอมเม้นต์กับคำวิจารณ์มาก ไปลงนิยายที่ fictionlog ก็เหมือนกัน รีวิวหลายคนไม่ช่วยให้เราพัฒนาการเขียนเลย ในความคิดเราคือการวิจารณ์คือการที่คนอ่านรู้ข้อดีข้อเสียของเรื่อง รู้ว่านิยายแนวนี้มีกี่แบบ สามารถแจกแจง ยกตัวอย่างข้อผิดพลาดจากเรื่องที่อ่านได้ อาจไม่ต้องละเอียดมาก แต่พอให้คนเขียนเข้าใจว่าเราอ่านงานเขาจริง และเราอาจมีแนวทางแก้ไขให้ หากเขาไม่เห็นด้วย ก็อาจปรับตามความเหมาะสมที่เราวิจารณ์

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด