เขียนฉากรบ "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง เขียนร้อยครั้ง" [ตอนต้น]

        แหม กำลังคิดอยู่เลยว่าอาทิตย์นี้จะสอนอะไรดี เปิดกล่องข้อความลับเจอน้องคนนึงส่งข้อความมาขอให้ช่วยสอนเกี่ยวกับการบรรยายฉากสงครามหน่อย พร้อมแนบ link บทความเก่าที่มีแค่บรรยายฉากบู๊ที่พี่น้องเคยทำไว้มา
        พี่น้องไม่ใช่เซียนนิยายต่อสู้เท่าไร แต่พอจะมีข้อมูลอยู่บ้าง ฉากสงครามนี่ถือเป็นฉากสเกลใหญ่ ต้องทุ่มทุนสร้างเหมือนเวลาทำหนัง ดังนั้นบอกก่อนว่านิยายใครมีฉากนี้ ต้องลงทุนจริงๆ จ้ะ
        มาดูกันดีกว่าว่าทำไม
 

จะเขียนฉากรบก็ต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องการรบ


        เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเขียนฉากรบโดยไม่มีพื้นฐานเรื่องนี้เลย สมมติฉากรบของเราเป็นการรบในสมัยก่อนที่ยังใช้แค่หอกดาบ เราก็ต้องรู้ว่าสมัยนั้นมีอะไรเป็นอาวุธบ้าง มีหน้าที่อะไรให้พลทหารทำบ้าง มีการจัดระเบียบแถวยังไงบ้าง คนนำรบอยู่ตรงไหน มีธรรมเนียมปฏิบัติอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ฯลฯ ถึงแม้เราจะเขียนนิยายแฟนตาซีหลุดโลก แต่เชื่อเถอะ จะสร้างอะไรสักอย่าง เราต้องมีฐาน แล้วค่อยเปลี่ยนให้เข้ากับเรื่องของเราอีกที
        ดังนั้นก่อนอื่นเลย หันกลับไปดูนิยายของเราว่าเป็นโลกสมัยไหน สงครามหอกดาบ หรือสงครามอวกาศ มีเวทมนตร์หรือสัตว์ประหลาดไหม แล้วค่อยเริ่มหา "แหล่งข้อมูล" เช่น เขียนสงครามหอกดาบ ก็ต้องหานิยายที่เกี่ยวกับสงครามสมัยก่อนมาดู จะกรีก-โรมัน ไทย หรือแฟนตาซีแบบลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็พอไหว
        หรือใครเป็นเซียนเกมนี่ คงเคยเล่นเกมประเภทวางแผนการรบ เอามาใช้ได้เหมือนกันจ้ะ
        มาถึงตรงนี้แล้ว พี่น้องเชื่อว่าชาวเด็กดีคนไหนที่คิดเขียนฉากสงครามคงต้องเคยดูหนังหรืออ่านนิยายที่มีฉากแบบนี้บ้างแหละ ได้เวลากลับไปดู/อ่านฉากพวกนี้อย่างละเอียดอีกทีแล้วนะ
        ต่อไปนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่พี่น้องคิดว่าเราน่าจะรู้ไว้ถ้าจะเขียนถึงฉากรบ
 

ส่วนต่างๆ ในกองทัพ

        ส่วนใหญ่แล้วนิยายแฟนตาซีที่มีฉากสงครามก็อิงสงครามในยุคกลางของจริงมาอีกที โดยหลักๆ แล้วจะมีพลทหารอยู่ 3 ประเภทค่ะ คือ พลทหารราบ (infantry) ที่เป็นกำลังหลักในการรบและมีจำนวนมากที่สุด พลทหารม้า (Cavalry) เป็นกำลังเสริมที่แข็งแกร่ง แต่ค่าตัวแพง กับพลโจมตีระยะไกล (ranged-fighter) เช่น พลธนู ทั้งสามกลุ่มจะเสริมข้อดีข้อด้อยของกันและกัน
        มาดูรายละเอียดคร่าวๆ ของทหารแต่ละแบบกัน
  • พลทหารราบ คือเหล่าคนที่ถือดาบ หอก ทวน ขวาน หรือแม้แต่จอบขุดดิน คนพวกนี้ได้เปรียบเมื่อสู้ระยะประชิดหรือตะลุมบอน เราอาจจะคิดว่าทหารพวกนี้คือคนที่ฝึกการต่อสู้มาอย่างดี เกิดมาเพื่อเป็นทหารโดยเฉพาะ แต่เปล่าเลย ในยุคแรกนั้นพลทหารราบส่วนใหญ่เป็นชาวนา ชาวบ้านข้างทาง ที่ถูกเกณฑ์ให้มาช่วยรบ บางทีแม่ทัพก็มีชุดโซ่ถัก หมวกเหล็ก กับดาบทื่อๆ ให้ บางทีก็ให้หยิบอะไรจากบ้านมารบเอง แต่ยุคหลังพอสงครามมันเยอะขึ้น พวกผู้ชายก็มาเป็นทหารมากขึ้น จึงเริ่มมีคนที่จับดาบเป็นเพิ่มขึ้นมา
            ทหารราบมีทั้งแบบที่ถืออาวุธหนัก เช่น ดาบ หอก ทวน สวมเกราะเหล็ก และพวกที่ถืออาวุธเบา เช่น มีดสั้น ไม่สวมเกราะ กลุ่มหลังนี้ถ้าจับกลุ่มกันแน่นๆ จะเป็นทีมที่แข็งแกร่งกว่าให้อยู่กระจัดกระจาย

     

cr: forum.christogenea.org/viewtopic.php?f=3&t=2344&start=10
 
  • พลทหารม้า คือเหล่าชายฉกรรจ์ที่รู้ทางดาบ ขี่ม้าเป็น หรืออัศวินในสมัยนั้น พวกนี้เกิดมาเพื่อเป็นทหารค่ะ มีฝึกการใช้อาวุธ เรียกได้ว่าอยู่ในวงการมานาน แต่มีจำนวนน้อย เพราะม้าไม่ใช่สัตว์ที่หาได้ง่ายๆ (ไม่ใช่โรฮานในลอร์ดออฟเดอะริงส์) บวกกับค่าใช้จ่ายสำหรับพลทหารเหล่านี้แพงมาก ไหนจะทวนงามๆ ชุดเกราะเงาวับ เจ้าม้านี่ก็ต้องดูแลรักษา ในกองทัพพลทหารกลุ่มนี้จะมีน้อย แต่มีไว้ก็ถือว่าได้เปรียบ ใช้เป็นตัวทะลวง และคอยระวังทัพในระยะไกลขณะเคลื่อนทัพได้
     

cr: forum.christogenea.org/viewtopic.php?f=3&t=2344&start=10
 
  • พลโจมตีระยะไกล ในการรบจะขาดพลธนูหรือทีมหน้าไม้ไปไม่ได้เลยค่ะ พลธนูมักใช้ในการเปิดศึกเสมอ สังเกตหนังหลายๆ เรื่องไหมคะ ที่ทัพนึงมาโจมตีอีกทัพ ทัพที่ตั้งรับอยู่จะรอให้ฝ่ายศัตรูเคลื่อนพลเข้ามาใกล้ แล้วสั่งพลธนูโจมตีเพื่อตัดกำลังส่วนหนึ่งไปก่อน แต่ถ้าแม่ทัพคนไหนฉลาดหน่อยก็ไม่ได้ให้ลูกน้องทะเล่อทะล่าเข้าไปรับลูกธนู แต่เอาโล่บังไว้ แล้วค่อยๆ เคลื่อนทัพ แบบกองทักกรีกของอะคิลลิสที่ใช้โล่ใหญ่ช่วยกันบัง ก็กันลูกธนูได้ทีเดียว
            ในยุคกลางช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีทหารใช้ธนูกันแล้วค่ะ เพราะมันพุ่งไปได้ไม่ไกล เล็งเป้ายาก และบอบบางเสียเหลือเกิน (อย่าไปนึกถึงธนูเอลฟ์ของเลโกลัสนะ) พวกเขาประดิษฐ์หน้าไม้ขึ้นมาใช้แทนค่ะ แค่จับธนูยัดลงไปแล้วก็ดีดปึ้งเดียว เล็งง่าย พุ่งไปได้ไกลกว่าธนูอีก
            และแน่นอน สิ่งที่มาแทนอาวุธทั้งหลายในยุคของพวกเราก็คือ ดินปืน ค่ะ
        นอกจากทหารเหล่านี้แล้ว คนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ "แม่ทัพ" หรือ คนที่จะคอยสั่งการและวางแผนการรบทั้งหมด ใน 1 ทัพจะมีคนเดียวที่มีอำนาจเด็ดขาดสูงสุด คอยวางแผนการรบ หรืออาจมีที่ปรึกษา คอยสั่งการรบ และนำทัพ แต่ในสงครามใหญ่ๆ ที่รวมทัพจากหลายเมืองเข้าด้วยกัน แม่ทัพแต่ละทัพก็ต้องมารวมตัวกันเพื่อวางแผนการรบอีกที แม่ทัพเหล่านี้บางทีก็เป็นถึงกษัตริย์ บางทีก็เป็นเจ้าเมืองแต่ละเมือง หรือบางทีก็เป็นหัวหน้าสูงสุดของทหารในเมืองนั้นๆ
        และยังมีชาวบ้านธรรมดาที่ไม่ได้มีหน้าที่สู้รบ แต่มีหน้าที่คุมเสบียง เข็นรถเข็นไปกับทัพ แบกน้ำ ล้างมือล้างเท้าให้อัศวินตำแหน่งสูงๆ ด้วย
 
อาวุธ
        ในยุคกลาง เรามีดาบ ทวน หอก ธนู หน้าไม้ ขวาน เครื่องยิงหินเป็นอาวุธ
        ในยุคปัจจุบัน เรามีปืน ระเบิด รถถัง เครื่องบินรบ และระเบิดนิวเคลียร์
        ในอนาคตข้างหน้า เราอาจมีปืนยาสลบแบบในเรื่องโคนัน ยอดนักสืบ ดาบเลเซอร์ที่ตัดอะไรก็ได้ และเครื่องบินรบที่เร็วกว่าแสง เราอาจมีแม้กระทั่งปรมาณูที่ทำลายดาวได้ทั้งดวง
        และในโลกเวทมนตร์เราก็มี พลังวิเศษต่างๆ และสัตว์ประหลาด ให้เลือกใช้มากมาย
        ดังนั้นเลือกให้ดีว่าเราจะใช้อาวุธแบบไหนในสงครามของเรา อิงจากหลักความเป็นจริงว่าอาวุธแต่ละประเภท พัฒนามาจากอะไร ดาบที่ทหารใช้กันทำจากอะไร ในความเป็นจริงมันพกพาได้ไหม
 

cr: tutsking.com
 
เสื้อผ้า
        แค่จะเขียนฉากสงคราม ต้องลงลึกถึงเสื้อผ้าเลยหรือ บอกเลยว่าหาข้อมูลไว้ก่อนก็ดีค่ะ เวลาคนอ่านเจอฉากสงคราม ส่วนใหญ่เขามีภาพอยู่ในหัวอยู่แล้วว่าทหารใส่ชุดแบบไหน ใช้อาวุธแบบไหน คนเขียนเองก็ควรจะมีภาพที่ชัดกว่าอยู่ในหัว จะได้ไม่พลาดในจุดเล็กๆ เช่น
  • อัศวินในชุดเกราะเต็มยศ เวลาจะพูดกับใคร ต้องเปิดตัวบังบนหมวกขึ้นก่อน ไม่งั้นเสียงมันเบา
  • ชุดเกราะมันหนัก ยุคนั้นยังไม่มีใครคิดเสื้อสแตนเลสบางเบาระดับนาโนได้ เวลาเคลื่อนไหวมันจะไม่ปรู๊ดปร๊าดเหมือนพวกไม่ใส่เกราะ ยิ่งสู้กันในน้ำนี่จบเลย
  • ฤดูร้อน + เกราะ = ซาวน่าอย่างดี
  • พลทหารที่เป็นชาวนาไม่มีชุดเกราะใส่ บางคนอาจอาศัยว่าตีเหล็กเป็น ทำชุดเกราะพอกันดาบได้ออกมา แต่เกือบทั้งหมดใส่เสื้อผ้าธรรมดามารบ


cr: heretic.faithweb.com/heretic
 
การจัดทัพ
        ใครเซียนเกมนี่ต้องตบเข่าฉาดเลย จัดทัพ! เราเป็นคนเขียน เราก็คือแม่ทัพ ต้องบอกได้ว่าทัพของเรากำลังจะไปเจอกับอะไร ควรจัดทัพแบบไหน มีทหารเอกกี่คน มีพวกกิ๊กก๊อกกี่หมื่น จะวางทัพอย่างไร
        ถ้าเนื้อเรื่องของเราไม่ได้เน้นไปที่การวางแผนการยุทธิ์ให้คนอ่านลุ้นแบบสามก๊ก งั้นเราก็ศึกษาการจัดทัพแบบมาตรฐานไปก่อน เช่น
 

cr: romanmilitary.net/strategy/legform
 
  • พลธนูอยู่หน้าสุด หรืออยู่ในตำแหน่งที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซุ่มอยู่ตามเนินเขา หรือหน้าผา)
  • พลม้าขนาบข้าง นำหน้าทัพเล็กน้อย (เพื่อป้องกันการถูกตีขนาบ)
  • ตรงกลางเป็นกองทหารราบ จัดเป็นกองตามจำนวนคน อยากให้ดูเหมือนทัพเราใหญ่ก็ตั้งไว้หลายๆ แถว จะให้บุกกี่กอง กำหนดไว้ ใส่ยอดฝีมือไว้ในกองที่ต้องบุกก่อน และต้องมีจำนวนมากกว่ากองอื่นๆ เพราะกองบุกจะเป็นหน้าด่าน คอยต้านไม่ให้ศัตรูบุกเข้ามาหากองที่อยู่ข้างหลังและกันไม่ให้ถูกตีโอบ
  • หลังกองทหารราบ เป็นกองทหารราบที่ถืออาวุธเบา ไว้แยกตัวเป็นสองฝั่งเพื่อรุมขนาบข้างทัพศัตรู
  • หลังกองทหารราบไปอีกเป็นหน่วยสำรอง เอาไว้ผลัดเปลี่ยนไปข้างหน้าเวลากองหน้าสุดเหนื่อยแล้ว (รบก็เหมือน T25 น่ะ ต้องมีพักกันบ้าง) ทหารที่เหนื่อย ไม่มีแรงจะยกดาบแล้วจะวิ่งออกมาจากสนาม พักเหนื่อย หน่วยสำรองต้องคอยเข้าไปเสริมกำลัง อย่าให้จำนวนคนน้อยลงจนเห็นได้ชัด ถ้าศัตรูตีโอบเมื่อไรคือจบ จะไม่มีทางให้หนีไปพักตั้งหลักได้เลย
        แม้แต่การเดินทัพไปยังสมรภูมิก็มีรูปแบบการจัดทัพเพื่อป้องกันการถูกซุ่มโจมตีด้วย
        สำหรับคนที่เน้นการรบแบบใช้กลยุทธิ์ก็ต้องศึกษาตำราพิชัยสงคราม สามก๊ก หรือปูมบันทึกประวัติศาสตร์ว่าแม่ทัพแต่ละคนมีวิธีการจัดทัพอย่างไร ในสถานการณ์แบบไหนถึงเอาชนะมาได้
 
ทำเล
        แหม่...จะรบทั้งทีก็ต้องดูฮวงจุ้ยด้วยเหมือนกันนะ
        ฉากหลังของสงครามก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ตัวละครของเรากำลังจะสู้กันในสมรภูมิแบบไหน กลางอวกาศ? กลางทะเลทราย? กลางเมืองหลวง? กลางป่า? ภูมิประเทศมีผลกับการจัดทัพ และการตั้งทัพ
        เผื่อใครไม่รู้ จะรบแต่ละทีนี่ แม่ทัพแทบจะพาทัพออกเดินตั้งแต่ตีห้าไปยังสมรภูมิ ถามว่าจะรีบไปทำไม ก็ไปเลือกทำเลสิจ๊ะ ไปดูว่าฉันจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงไหนได้บ้าง ถ้าเป็นการรบที่ต่างฝ่ายต่างออกมาเจอกัน คนที่มายังสมรภูมิก่อนถือว่าได้เปรียบ จะได้จองที่ดีๆ และเลี่ยงทำเลเสียเปรียบไป
        ทำเลไหนมีดีไม่ดีอย่างไร มาดู
  • พื้นที่สูงได้เปรียบเสมอ เพราะ 1) ศัตรูลอบโจมตีเราไม่ได้ ทัศนวิสัยเราดีกว่า 2) เปิดโอกาสให้พลธนูใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
  • พื้นที่ราบลุ่ม มีหนองน้ำ ทำให้การเคลื่อนที่ช้าลง ถ้าศัตรูอยู่ในน้ำ เราได้เปรียบ จัดพลธนูกระจายไปรอบๆ แล้วระดมยิงได้เลย แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายอยู่ในน้ำก็...ตัวใครตัวมัน
  • พลทหารม้าจะเสียเปรียบเวลาเข้าป่า โดยเฉพาะป่าทึบ ต้นไม้เตี้ยๆ ถ้าใครไม่เคยขี่ม้า พี่น้องขอยืนยันว่าม้าตัวเต็มวัยสูงมาก เราไม่ใช่อาร์เวนที่จะขี่ม้าเข้าป่าแล้วเจอกิ่งไม้ฟาดแก้มแค่ทีเดียว พี่น้องเชื่อว่าร้อยทั้งร้อยเข้าป่าปุ๊บ ไปแต่ม้า คนร่วงอยู่ที่ดิน แต่ถ้าเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้สูงๆ เช่นต้นสน อันนี้พอได้
  • พลทหารราบที่ถืออาวุธเบาๆ จะเคลื่อนที่เป็นกลุ่มเล็กๆ ได้ดีกว่า
  • การสู้กันกลางทะเลทรายอาจดูเท่ดี แต่ชีวิตจริงมันไม่ง่ายขนาดนั้น นึกภาพหาดบางแสน (เดี๋ยวๆ ขยะเยอะ หัวหินละกัน) ทรายหนาๆ นุ่มๆ เอาเท้าเราไปนาบมันก็ยุบยวบ ไม่ต้องพูดถึงบู้ทหนังหรือเกราะเหล็กเลยค่ะ มันวิ่งไม่ได้ ถ้า must have จริงๆ คงต้องเลือกฉากหลังแบบพื้นหินแห้งๆ แล้วมีทรายเกาะอยู่บางๆ แบบสนามรบของกรีก พอไหว
  • การสู้กันบนภูเขา อาจดูมหากาพย์ แต่ระวังเรื่องการเดินทางและสัมภาระหน่อยก็ดี
     

รูปจากสงครามจริงระหว่างจีนกับอินเดียที่อินเดีย
ทหารอินเดียต้องลากรถขึ้นเขาและยังต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ

cr: http://indianquarterly.com/war-in-the-clouds/
 
        มีข้อมูลหลายเรื่องเลยที่เราต้องค้นคว้าถ้าจะเขียนฉากสงคราม เราอาจจะรู้สึกว่า แหมมันจุกจิกจัง ทำไมต้องค้นคว้าลึกขนาดนั้น เสียเวลามากไปหรือเปล่า
        ลงจะเขียนแนวนี้แล้วก็ต้องเอาให้สุดค่ะ แต่อย่าลืมว่าการหาข้อมูลเป็นดาบสองคม นิยายเราข้อมูลแน่นปึ้กก็จริง แต่ก็แลกกับการเสียเวลาและอาจดึงให้เราไม่ได้แต่งนิยายสักที ดังนั้นควรเขียนไป หาข้อมูลไป อย่ารอให้ข้อมูลพร้อมแล้วค่อยเขียน
 

ตอนหน้า พี่น้องจะพาไปฝึกเขียนจริงๆ จังๆ แล้ว จะเขียนฉากแบบนี้ต้องระวังอะไร ใช้มุมมองแบบไหนถึงจะดี แล้วเจอกันศุกร์หน้าจ้ะ


ขอบคุณคลังความรู้
en.wikipedia.org/wiki/Military_rank
romanmilitary.net/strategy/legform/
www.roman-empire.net/army/tactics.html
www.ancient.eu/Roman_Warfare/
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

สยามจิ๋ว 12 ธ.ค. 57 01:33 น. 15
ผมขออนุญาตแชร์ความรู้นิดนึงนะครับ เรื่องที่ว่า พลธนูเริ่มจะหมดยุคลงไป เพราะบอบบาง คงไม่ใช่เสียทีเดียวครับ ในกลุ่มกองทัพบางประเทศ กองพลธนูยังคงมีความสำคัญอยู่เสมอ จนไปถึงยุคที่มีหน้าไม้และปืนไฟใช้ควบคู่ อาทิ เช่น อังกฤษ จีน และประเทศแถบเอเชีย ซึ่งยึดถือจารีตการยิงธนูเดิมซึมซับเป็นอยู่ในวัฒนธรรม ประเพณี และระบบคิดเลยก็ว่าได้ ส่วนหนึ่ง เพราะ อุปกรณ์และวัสดุ ที่ส่งผลในเรื่องอานุภาพของคันธนู เช่น ธนูยาว ธนูเขาสัตว์(ที่ในหนังจีน มองโกล เกาหลี) ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกนิยมใช้กัน ค่อนข้างจะเป็นธนูที่มีอานุภาพ และระบบทหารม้าธนูและพลธนูที่มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ธนูเจาะเกราะ หรือคันธนูของกลุ่มชาวมองโกล แมนจู เติร์ก บางคันธนูออกแบบมาให้มีความรุนแรงถึงปืนขนาด0.6 มม.(ขออ้างข้อมูลหนังสือการ์ตูนอิคิวพลัสเรื่องเจงกีสข่านนะครับ) หรืออย่างกองทัพธนูยาว(Longbow)ของอังกฤษ ก็มีชื่อเสียงอย่างมากในช่วงยุคกลาง เพราะ ความเร็วและแม่นยำ เพราะอย่าลืมว่า หน้าไม้มีความเชื่องช้า เพราะต้องใช้เวลาขึงสายค่อนข้างนานมาก-นอกจากท่านจะมีโล่ห์กันให้พวกเขา เหมือนรัฐสมัยโบราณแถบอิตาลี จำพวก เจนัว เวนิส ที่มีชื่อเสียงด้านพลหน้าไม้ติดโล่ทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่ Pavise crossbowman อีกทั้งกองทัพอังกฤษก็ยังคงนิยมให้ทหารติดอาวุธธนูอยู่ ไปจนถึงช่วงหลัง ยุค เรเนซองก์ไปแล้ว (ยุคที่บ้าพลปืนกับหอกยาว ถ้าท่านใดไม่เก่งประวัติศาสตร์ ก็นึกถึงโคลัมบัสครับ แต่ยุคนี้เริ่มก่อนหน้านั้นแล้วนะฮะ) คือ ที่ผมจะกล่าว หมายถึง กองทหารอังกฤษยังคงมี กลุ่มทหาร ชื่อ The Double-armed Man (ใครอยากเห็นนำไปเสิชได้เลยครับ เจอแน่นอน) เป็นกองทหารที่ติดหอกยาวเฟื้อย (Pike) และธนูยาวไปด้วย (อารมณ์ทหารหนึ่งนายสามารถชักธนูมายิงได้และถือหอกไปกับธนูยาวด้วย) หรืออย่างไรก็ตาม กองทัพธนูในแถบเอเชียตะวันออกกลางไปจนถึงตะวันออกก็ยังคงทรงอานุภาพด้วยแรงลูกธนูที่เจาะเกราะ และยิงได้ไกลกว่าธนูยุโรป (ธนูเขาสัตว์vsธนูไม้) เป็นหลายเท่า (เฉพาะธนูเขาสัตว์นะครับ) ในทางตรงกันข้าม ทหารธนูในฐานะของรัฐโบราณแบบทั่วไป ในสงครามเป็นอย่างที่กล่าวครับ คือ เป็นทหารราบเบา ไม่ค่อยสวมเกราะ หรืออาจมีบ้างแต่เป็นเกราะน้าหนักเบาเพราะไม่ต้องไปรบประชิดตัวอย่าง พวกพลราบ ทหารธนูจึงสวมเกราะหนัง หรือเกราะโซ่ถัก(Mailed armor)ไปจนถึง เกราะแผ่นเกราะเหล็กเพียงครึ่งหน้าเท่านั้น(ครึ่งหลังเป็นเป็นสายหนังรัดพาดหลังเอาไม่ให้เกราะข้างหน้าหลุด อารมณ์ผ้ากันเปื้อน) แต่อย่างกองทัพอังกฤษ จีน เกาหลี ไปจนถึงญี่ปุ่น จะสังเกตได้ว่า นักรบตั้งแต่ชั้นไพร่(ชาวนา ชาวบ้าน)ไปจนถึชนชั้นขุนนางนั้น ที่สวมเกราะที่สวยที่สุด ก็สามารถใช้ธนูได้ครับ หรือตั้งกองธนูแบบ Elite (ชนชั้นสูง) กันขึ้นมาเลยทีเดียว เพราะธนูอยู่ในเป็นจารีต ประเพณี หรือ "ชีวิต" ของชนชั้นสูงเหล่านี้ (นิยายคุณอาจจะใส่วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตพื้นฐาน ที่ส่งผลถึงการรบ และวิธีในการทำสงครามไปด้วยได้นะครับ ถ้ามีข้อมูลแบบนี้) อีกทั้ง อาุวธของกองทหารประจำชาติ ขึ้นอยู่กับภุมิภาคเช่นกัน อาทิ ทุ่งหญ้า=ม้าธนู-ทหารม้าหนัก,เบา (ที่กว้าง ขี่ยิงกันสบาย) ท่าเรือ เมืองค้าขาย =หน้าไม้ อาวุธหนัก โล่ห์ใหญ่ (อาทิ เจนัว เวนิส ในอิตาลี หรือรัฐอื่นๆในแถบประเทศที่มีภูมิศาสตร์แบบlowlandในยุโรป) หรือแม้แต่บางประเทศที่ภูมิประเทศไม่เเหมาะที่จะเลี้ยงม้า หรือต้องสั่งม้านำเข้าจากรัฐอื่น ซึ่ง"เปลืองงบ"ก็แก้ต่างด้วยการใช้ "กองหอก" ไปเลย คือ ออกแบบหอกให้ยาวกว่าทวนทหารม้า เข้ามาก็จิ้มไส้แตก การจัดก็มีแบบอื่นอีกที่อยากจะแนะนำแลกเลี่ยนครับ ซึ่งเจ้าของกระทู้เป็นรูปแบบการรบของ "ทัพโรมัน" ซึ่งให้ความสนใจกับพลธนู-พลขว้างหอกน้อย เพราะตามประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ชาวโรมันมองว่า ผู้ที่ใช้ธนูเป็นคนป่าเถื่อนและขี้ขลาด (เพราะคนใช้ธนูเก่งๆดันไม่ใช่พวกโรมัน แต่เป็นกลุ่มที่คอยบุกปล้นเมือง เช่น ชาวฮัน ไซเธียน หรือชนเผ่าแถบทุ่งหญ้า) กองธนูจึงถูกละให้แค่เป็นคนที่ทำการเปิดศึก การกองทหารราบทั้ง2ฝ่ายจะห้ำหั่นกัน ถ้าจะดูแบบ ลึกลงไปอีก กองทหารโรมัน จะมีทหารราบแบ่งเป็น3จำพวก คือ Hastati principe และtritarii ก ผมขออนุญาตแชร์ความรู้นิดนึงนะครับ เรื่องที่ว่า พลธนูเริ่มจะหมดยุคลงไป เพราะบอบบาง คงไม่ใช่เสียทีเดียวครับ ในกลุ่มกองทัพบางประเทศ กองพลธนูยังคงมีความสำคัญอยู่เสมอ จนไปถึงยุคที่มีหน้าไม้และปืนไฟใช้ควบคู่ อาทิ เช่น อังกฤษ จีน และประเทศแถบเอเชีย ซึ่งยึดถือจารีตการยิงธนูเดิมซึมซับเป็นอยู่ในวัฒนธรรม ประเพณี และระบบคิดเลยก็ว่าได้ ส่วนหนึ่ง เพราะ อุปกรณ์และวัสดุ ที่ส่งผลในเรื่องอานุภาพของคันธนู เช่น ธนูยาว ธนูเขาสัตว์(ที่ในหนังจีน มองโกล เกาหลี) ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกนิยมใช้กัน ค่อนข้างจะเป็นธนูที่มีอานุภาพ และระบบทหารม้าธนูและพลธนูที่มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ธนูเจาะเกราะ หรือคันธนูของกลุ่มชาวมองโกล แมนจู เติร์ก บางคันธนูออกแบบมาให้มีความรุนแรงถึงปืนขนาด0.6 มม.(ขออ้างข้อมูลหนังสือการ์ตูนอิคิวพลัสเรื่องเจงกีสข่านนะครับ) หรืออย่างกองทัพธนูยาว(Longbow)ของอังกฤษ ก็มีชื่อเสียงอย่างมากในช่วงยุคกลาง เพราะ ความเร็วและแม่นยำ เพราะอย่าลืมว่า หน้าไม้มีความเชื่องช้า เพราะต้องใช้เวลาขึงสายค่อนข้างนานมาก-นอกจากท่านจะมีโล่ห์กันให้พวกเขา เหมือนรัฐสมัยโบราณแถบอิตาลี จำพวก เจนัว เวนิส ที่มีชื่อเสียงด้านพลหน้าไม้ติดโล่ทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่ Pavise crossbowman อีกทั้งกองทัพอังกฤษก็ยังคงนิยมให้ทหารติดอาวุธธนูอยู่ ไปจนถึงช่วงหลัง ยุค เรเนซองก์ไปแล้ว (ยุคที่บ้าพลปืนกับหอกยาว ถ้าท่านใดไม่เก่งประวัติศาสตร์ ก็นึกถึงโคลัมบัสครับ แต่ยุคนี้เริ่มก่อนหน้านั้นแล้วนะฮะ) คือ ที่ผมจะกล่าว หมายถึง กองทหารอังกฤษยังคงมี กลุ่มทหาร ชื่อ The Double-armed Man (ใครอยากเห็นนำไปเสิชได้เลยครับ เจอแน่นอน) เป็นกองทหารที่ติดหอกยาวเฟื้อย (Pike) และธนูยาวไปด้วย (อารมณ์ทหารหนึ่งนายสามารถชักธนูมายิงได้และถือหอกไปกับธนูยาวด้วย) หรืออย่างไรก็ตาม กองทัพธนูในแถบเอเชียตะวันออกกลางไปจนถึงตะวันออกก็ยังคงทรงอานุภาพด้วยแรงลูกธนูที่เจาะเกราะ และยิงได้ไกลกว่าธนูยุโรป (ธนูเขาสัตว์vsธนูไม้) เป็นหลายเท่า (เฉพาะธนูเขาสัตว์นะครับ) ในทางตรงกันข้าม ทหารธนูในฐานะของรัฐโบราณแบบทั่วไป ในสงครามเป็นอย่างที่กล่าวครับ คือ เป็นทหารราบเบา ไม่ค่อยสวมเกราะ หรืออาจมีบ้างแต่เป็นเกราะน้าหนักเบาเพราะไม่ต้องไปรบประชิดตัวอย่าง พวกพลราบ ทหารธนูจึงสวมเกราะหนัง หรือเกราะโซ่ถัก(Mailed armor)ไปจนถึง เกราะแผ่นเกราะเหล็กเพียงครึ่งหน้าเท่านั้น(ครึ่งหลังเป็นเป็นสายหนังรัดพาดหลังเอาไม่ให้เกราะข้างหน้าหลุด อารมณ์ผ้ากันเปื้อน) แต่อย่างกองทัพอังกฤษ จีน เกาหลี ไปจนถึงญี่ปุ่น จะสังเกตได้ว่า นักรบตั้งแต่ชั้นไพร่(ชาวนา ชาวบ้าน)ไปจนถึชนชั้นขุนนางนั้น ที่สวมเกราะที่สวยที่สุด ก็สามารถใช้ธนูได้ครับ หรือตั้งกองธนูแบบ Elite (ชนชั้นสูง) กันขึ้นมาเลยทีเดียว เพราะธนูอยู่ในเป็นจารีต ประเพณี หรือ "ชีวิต" ของชนชั้นสูงเหล่านี้ (นิยายคุณอาจจะใส่วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตพื้นฐาน ที่ส่งผลถึงการรบ และวิธีในการทำสงครามไปด้วยได้นะครับ ถ้ามีข้อมูลแบบนี้) อีกทั้ง อาุวธของกองทหารประจำชาติ ขึ้นอยู่กับภุมิภาคเช่นกัน อาทิ ทุ่งหญ้า=ม้าธนู-ทหารม้าหนัก,เบา (ที่กว้าง ขี่ยิงกันสบาย) ท่าเรือ เมืองค้าขาย =หน้าไม้ อาวุธหนัก โล่ห์ใหญ่ (อาทิ เจนัว เวนิส ในอิตาลี หรือรัฐอื่นๆในแถบประเทศที่มีภูมิศาสตร์แบบlowlandในยุโรป) หรือแม้แต่บางประเทศที่ภูมิประเทศไม่เเหมาะที่จะเลี้ยงม้า หรือต้องสั่งม้านำเข้าจากรัฐอื่น ซึ่ง"เปลืองงบ"ก็แก้ต่างด้วยการใช้ "กองหอก" ไปเลย คือ ออกแบบหอกให้ยาวกว่าทวนทหารม้า เข้ามาก็จิ้มไส้แตก การจัดก็มีแบบอื่นอีกที่อยากจะแนะนำแลกเลี่ยนครับ ซึ่งเจ้าของกระทู้เป็นรูปแบบการรบของ "ทัพโรมัน" ซึ่งให้ความสนใจกับพลธนู-พลขว้างหอกน้อย เพราะตามประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ชาวโรมันมองว่า ผู้ที่ใช้ธนูเป็นคนป่าเถื่อนและขี้ขลาด (เพราะคนใช้ธนูเก่งๆดันไม่ใช่พวกโรมัน แต่เป็นกลุ่มที่คอยบุกปล้นเมือง เช่น ชาวฮัน ไซเธียน หรือชนเผ่าแถบทุ่งหญ้า) กองธนูจึงถูกละให้แค่เป็นคนที่ทำการเปิดศึก การกองทหารราบทั้ง2ฝ่ายจะห้ำหั่นกัน ถ้าจะดูแบบ ลึกลงไปอีก กองทหารโรมัน จะมีทหารราบแบ่งเป็น3จำพวก คือ Hastati principe และtritarii ซึ่งเป็นกลุ่มทหารที่ฝึกมาน้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด และเรียงตั้งแต่ไพร่ ไปจนถึง ขุนนาง ซึ่งแน่นอนว่า ความเก่งกาจจะต่างกัน กองไพร่แตก กองถัดมาที่ชำนาญจะลุยต่อ ไปจนถึงกองสุดท้ายคือขุนนาง และหลังจากนั้นจะเป็นกองหนุน หรือในแบบอื่นๆ ก่อนอาวุธปืนและหอกยาว จะเกิดและเป็นที่นิยมใช้ อย่างสมัยยุคกลาง(Medieval age)ที่จารีตแนวคิดนักรบอัศวินมีสูงมาก กองทหารม้า(ซึ่งก็คืออัศวิน)จะลุยโด่งก่อนชาวบ้านครับ กองทหารราบให้วิ่งตามไป การชี้ขาดอยู่ที่อัศวินจะรบชนะหรือแพ้ ผู้ที่ถูกบังคับ-เกณฑ์มารบ ซึ่งแน่นอนขวัญกำลังใจจะต่ำที่สุดคือ กลุ่มชาวบ้าน พลเมือง ประชาชน หรือไพร่นั่นเอง (อันนี้คิดว่าคงเป็นทุกยุคนะครับ) หรือการทำสงครามในช่วงต่อมาอาทิ สมัยเรเนซ็องก์ไปจนถึงต้นยุคภูมิธรรม(Enlightenment) กองทหารจะเปลี่ยนเป็นแบบ Pike and shot คือ พลปืนไฟ และหอกยาว(Pike) ใครสนใจช่วงนี้ ผมแนะนำดูคลิปYoutube เสิชว่า battle of rocroi จะมีคลิปสั้นๆการรบแบบชัดเจนให้เห็น โดยพลปืนจะซุ่มอยู่ในกองหอกและคอยออกมายิงสลับกันไปมาๆแบบแถวแรกยิง ถอยกลับไปบรรจุ แถวต่อมาออกมายิง โดยมีพลหอกเป็นกองสี่เหลี่ยมล้อมรอบป้องกันอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในรัฐต่างๆสมัยนั้น ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมองกำลังคนเป็นสำคัญ (ระบบไพร่-มูลนาย) กองทัพจึงนิยม เกณฑ์ชาวบ้านจากเมืองที่ยึดได้และเมืองของตนเองมารบ กองกำลังที่มีจำนวนมากจึงได้เปรียบ ทหารส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านถืออาุวธที่เจ้านายของตนเองมอบให้(ตามที่เงินของเจ้านายจะสามารถหาซื้อได้) ตำแหน่งของเจ้านายจึงมีความสำคัญมาก เช่น รัฐอยุธยา-เจ้ากรมท่าซ้ายคอยดูแลการค้ากับจีน ท่าขวาดูแลพวกแขกและตะวันออกกลาง เป็นพ่อค้า เงินมาก ก็จะมีอาวุธดีๆให้กลุ่มประชาชนที่สังกัดอยู่กับเจ้านายคนนี้ แต่เจ้านายบางคนอยู่ที่กันดารห่างไกล ได้เพียงแต่เก็บภาษี ไม่มีรายได้ ก็อาจจะมีรายได้น้อย เรื่องอาวุธไพร่ก็อาจจะตระเตรียมมาเอง ตั้งแต่เคียวเกี่ยวข้าว ไปจนถึง ดาบ ขวาน มีด พร้า (อาวุธแบบทั่วไป) การสงครามมักเน้นความแข็งแกร่งของผู้นำ(สมมติเทพ)เป็นหลัก สิ่งที่จำเป็นต่อมาสำหรับรัฐที่ถือแนวคิดการปกครองแบบนี้ คือ อาวุธที่ดี เช่น ปืน และ.. กองทหารรับจ้าง(Mercenary) ซึ่งจริงมีทั่วโลก ไม่ว่าจะยุโรป ซึ่งผมไม่ได้อธิบายในตอนต้น ว่า พวกรัฐในอิตาลีที่ชอบหน้าไม้ ก็จ้างกองทหารธนูยาวเหมือนกัน เพราะกองทารเหล่านี้ มีอาชีพอย่างเดียวในชีวิต คือ " รบ เพื่อ เงิน " เงินดี ความจงรักภักดีมา เงินไม่มี ก็อย่าหวังว่าจะมาช่วยรบ ตั้งแต่อยุธยา ไปจนถึง สมัยโรมัน กองทหารรับจ้างเป็นสิ่งเติมเต็มให้กองทัพตลอดครับ เช่น โรมันจ้างพลธนูตะวันออกกลางมาช่วยรบแทนการขาดแคลนพลธนู(แล้วดันหาว่าเขาขี้ขลาด= =) กองทหารอิตาลีจ้างกองพลธนุยาวชาวจากอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสกอต มาช่วยทำสงคราม กองทหารสยามจ้างทหารต่างชาติที่ใช้อาวุธปืน และการรบแบบสมัยใหม่มาช่วยสอน ฝึกทหาร และทำการรบเพื่อเพิ่มอานุภาพ ในส่วนที่คนพื้นที่ของตนเองทำไม่ได้ คนพวกนี้จงรักภักดีอย่างมาก เพราะหากทรยศ แน่นอนครับ ชื่อเสีย ก็ไม่มีใครจ้างและทั้งชีวิตคือการรบ ความสามารถจึงเชื่อถือได้ ยุทธวิธีมีผล ที่ผมพอทราบคงมี การทำสงครามแบบรบยืดเยื้อ ทหารเหนื่อยล้า ถ้ายิ่งเป็นทหารไพร่ กำลังใจยิ่งน้อยลง การทำพิธีเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจก่อนออกรบ ความเชื่อต่อเทพเจ้า มีผลต่อกลุ่มคนในพื้นที่ที่ศรัทธาในความเชื่อให้สู้อย่างไม่กลัวตาย การทำสงครามปิดล้อมเมือง มีผลถึงเสบียงอาหารของทั้งสองฝ่าย การสงครามทำให้รัฐขาดเงิน เพราะเส้นทางการค้าถูกปิดกั้น รัฐจะยิ่งเสียผลประโยชน์ถ้าทำสงครามยาวนานเกินไป ประชาชนอาจไม่พอใจ เท่านี้ละครับที่ผมอยากจะแชร์ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย ผมคิดว่า ความรู้พวกนี้อาจทำให้นิยายของคุณสนุกขึ้น หรือมีความหลากหลายมากขึ้นครับ
4
กำลังโหลด

ยอดถูกใจสูงสุด

v-kun Member 22 พ.ย. 57 10:41 น. 6

เป็นความรู้ที่ดีมากครับ แต่การเขียนพื้นหลังฉากสงครามผมว่าทางที่ดีจริงๆคืออ่านประวัติศาสตร์ของศึกต่างๆแล้วนำมาปรับใช้ครับ เพราะมันมีทริกหรือกลยุทธิ์ต่างๆเต็มไปหมด อย่างเช่น Battle of Cannae โอ้โห ทั้งตีโอบล้อม การวางตำแหน่งแม่ทัพ การใช้ลมให้ตีฝุ่นเข้าหน้าฝั่งศัตรู วางทัพให้แสงแดดแยงตาศัตรู เริ่มเดินทัพเร็วให้ฝั่งศัตรูไม่มีเวลาทานข้าวเช้า ฯลฯ

0
กำลังโหลด
Seesor Vi Malfoy Member 21 พ.ย. 57 20:29 น. 3

//ก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์งามๆ

+

ปกติไม่มีปัญหากับเรื่องการต่อสู้เท่าไรค่ะ เพราะเน้นแต่งแนวอื่น แต่เรื่องใหม่ดันมีการต่อสู้เข้ามาเกี่ยว #ผมนี่น้ำตาไหลพรากเลยครับ

0
กำลังโหลด
Prisma Dominatus Member 22 พ.ย. 57 18:06 น. 7

Good info. The readers should realize that good general does not follow the teaching to the letters. They adapt. For example, Hannibal once defeated Rome's mightiest army by putting light infantry in the middle and heavies in the flank. In doing so, he drew the attackers deep into the formation, allowed his flank to envelop the enemy.

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
refairnight Member 17 ธ.ค. 57 17:32 น. 16

หมายเหตุ: สวัสดีครับ พอดีผมเห็น จขกท. สนใจความคิดเห็นของผม แล้วในคอมเม้นผมดันพิมพ์ข้อความซ้ำลงไป(พอดีก๊อบกันหลุด แล้วมันลงข้อความซ้ำ) วันนี้ผมเลยจะมาพิมพ์ใหม่แบบจัดหมวดหมู่ให้ครับ แล้วหารูปภาพมาประกอบให้ด้วย

กองธนูไม่อ่อนด๋อย

ผมคิดว่าไม่เสมอไปครับ กองทหารธนูมีความอ่อนแอ-แข็งแกร่งแตกต่างกัน ตามแต่ละภูมิภาค และรัฐหรืออาณาจักรนั้นๆ กลุ่มอาณาจักรบางกลุ่ม ยึดถือการยิงธนู เป็นจารีต ประเพณี และ"วิถีชีวิต" เช่น รัฐในแถบเอเชียกลาง(อาหรับ)-เอเชียตะวันออก อาทิ เติร์ก จีน เกาหลี รวมถึงชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ อาทิ มองโกล และซงหนู(แมนจู) ครับ นัยหนึ่ง กองกำลังธนูเหล่านี้ มีตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงกลุ่มขุนางและกษัตริย์ (จักรพรรดิ) เพราะ รากฐานวัฒนธรรมลัทธิความเชื่อแบบขงจื๊อ สุภาพบุรุษต้องยิงธนูเป็น = ทำสงครามเป็น กล้าหาญ ออกรบได้(ทำนองนี้ครับ) จนถึงขั้นใช้ฝึกสมาธิ ฝึกจิตวิญญาณ เช่น ญี่ปุ่น และมองศิลปะการยิงธนูเป็นของ "ชนชั้นสูง" ด้วยซ้ำไปครับ 
(ภาพทหารราชสำนักจีน สมัยราชวงศ์หมิง ยิงธนู)


 

  ถามว่า อยู่ในจิตวิญญาณ วัฒนธรรมความเชื่อ แล้วยังไง? ก็ฝึกกันตั้งแต่เด็กเลยครับ 

ผลคือทำให้กลุ่มคนในแถบภูมิภาคนี้ มีความสามารถด้านการยิงธนูสูง ทั้งบนพื้น และบนหลังม้า สังเกตว่า ตั้งแต่ เอเชียกลาง ไปจนถึง สุดเขตญี่ปุีน ล้วนแต่มีทหารธนูบนหลังม้าทั้งสิ้น กองทหารธนูพวกนี้ สวมเกราะที่แน่ที่สุด(หรืออาจไม่ใส่เลย)ไปจนถึงเกราะที่ดีที่สุดของกษัตริย์ ครับ (ภาพด้านล่าง กษัตริย์เฉียนหลง ราชวงศ์ชิง)

จริงๆ สามารถหาภาพเพิ่มเติมได้ตามเนตครับ ลองพิมพ์ชื่อประเทศ เช่น samurai horse archer , korean horse archer , Turk , หรือประเทศที่ได้รัยอิทธิพลจากทุ่งหญ้า เช่น hungary , russia ก็มีเหมือนกันครับแต่ไม่เชิงจะเป็นจารีต

ธนูที่ใช้จะเป็นจำพวกธนูเขาสัวต์ หรือธนูไม้เนื้อแข็ง(เหมือนในรูปทหารม้าธนูโรมันตะวันออกของ จขกท. หรือที่ผมนำมาให้ดูครับ) เพราะเป็นธนูที่ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพในการยิงสูง จากระบบทดแรง(บริเวณปลายคันศร) บวกกับความแข็งของไม้ ธนูเขาสัตว์มองโกลบางชนิด มีความรุนแรงเท่ากับปืน 0.6 มม. (ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ อันนี้ละไว้หาข้อมูล) 

กองธนูในแถบเอเชียจึงสามารถใช้เป็นทั้งกำลังหลักและกำลังรอง สงครามที่เด่นชัด คือ สงครามระหว่างมองโกลกับพวกอัศวินทิวทันนิค (หนังสือมองโกล กองทัพอำมหิต) คือ ทหารม้าธนูที่ไม่สวมเกราะเลย สามารถขี้ม้าหนีอัศวิน แล้วหันหลังยิง หรือ ขี่ล้อมกองทัพอัศวิน(ที่สวมเกราะชั้นดี) จนเละเทะไม่เป็นท่า 

สำคัญที่สุดกองทหารธนูในแถบเอเชีย ยังคงใช้มาถึงยุคที่มีปืนไฟคาบศิลา และหน้าไม้แล้ว เรียกว่าจนถึงต้นยุคเรือกลไฟกันเลยทีเดียวครับ หรือ บางทีกองทหารทั้งปืนและธนูก็lk,ki5ใช้ควบคู่กันในสนามรบได้ด้วยครับ

กองธนูในยุโรปล่ะ?

กองทัพธนูเลื่องชื่อในแถบยุโรป คือ กองธนูยาว(Longbow) ของอังกฤษครับ สงครามที่สำคัญ คือ สงครามที่ทุ่งเครซี่ และ อาจินคอท ในสมัยยุคกลาง(Medieval age) ที่พลธนูชาวนา(ไพร่)สามารถเอาชนะกองทหารม้าอัศวินได้ ซึ่งกองกำลังส่วนใหญ่ของกองทัพเป็นทหารธนูครับ และ1ส่วน6เป็นอัศวินเดินเท้า ปะทะ ทัพอัศวินฝรั่งเศส อยากหาข้อมูลเพิ่ม เสิช Battle of Agincourt ได้เลยครับ และในสมัยพระเจ้า เอ็ดเวิร์ด ลอแช็งก์ ก็ออกกฎหมายบังคับให้วันอาทิตย์หลังจากเข้าโบสถ์ชาวอังกฤษจะต้องมาฝึกการยิงธนู

อีกทั้งกองธนูเหล่านี้ ในยุคต่อมาสมัยยุคเรเนซ็องถึงยุคภูมิธรรม(Enlightenment)ยังเกิดกองทหารประเทศ ถือทั้งหอก ทั้งธนูของอังกฤษ คือ Double armed men ดังภาพครับ ซึ่งยุคนี้ กองทหารในรัฐอื่นรวมถึงอังกฤษเองก็ใช้ปืนคาบชุด(Matchlock)เป็นอาวุธสำคัญๆในกองทัพแล้วเช่นกัน

ชะนั้น ผมมีความเห็นว่า กองทหารธนู ถ้าจะกล่าวโดยรวมอาจจะไม่จำเป็นต้องอ่อนแอ หรือ อู่ในช่วงเปิดศึกเสมอไปครับผม ในบางครั้งอาจขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม แนวคิดของกลุ่มรัฐและภูมิภาคด้วยครับ

ส่วนหน้าไม้..

หน้าไม่มีความสำคัญในทุกภูมิภาคครับ ไม่ว่าจะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเขียตพวันออก หรือยุโรปก็ตาม เหตุผลเพราะ มันฝึกง่ายครับ ชาวบ้านคนไหน ไม่ต้องซ้อมมากก็ฝึกได้ ยิงแม่นได้ ในยุโรป กลุ่มประเทศหรือรัฐที่นิยมใช้หน้าไม้ จะเป็นจำพวกรัฐในเขต Lowlamdหรือที่ราบต่ำครับ อาทิ เจนัว เวนิส มิลาน ในอิตาลี หรือฝรั่งเศส แม้แต่พวกสเปน กลุ่มเหล่านี้รู้ว่าการใช้หน้าไม้เป็นกองทัพหลัก จะต้องมีปัญหาที่สำคัญคือ การขึงสายที่ช้ามากๆ ทำให้นักธนูที่แม่นยำได้เปรียบกว่าในที่โล่ง   จึงพัฒนาโล่ห์ที่เรียกว่า "Pavise" ขึ้นมา เพื่อกำบังเวลาขึงสายตามภาพ

ซึ่งรัฐที่นิยมใช้กลุ่มหน้าไม้มักจะเป็นรัฐการค้าครับ ซึ่งร่ำรวยพอที่จะซื้อเกราะดีๆให้กับพลทหารราบ และจ้างทหารรับจ้างธนูยาวมาใช้เช่นกัน 

ปล.แต่ใช่ว่าอังกฤษจะไม่มีหน้าไม้นะครับ หรือฝรั่งเศส อิตาลีจะไม่มีพลธนู เมื่อถึงยามสงครามอะไรที่ใช้ในสนามรบได้ก็นำมาใช้หมดครับ

หน้าไม้ในเอเชีย

ในเอเชียของเราก็มีกลุ่มที่ใช้หน้าไม้ ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น(แต่หมดความนิยมไแในช่วงหลังยุคเฮอัน) เรียกว่า ใช้มาตั้งแต่ยุคโบราณ แบบ ก่อนจิ๋นซีเลยทีเดียว มีทั้งแบบใหญ่ และพกพาสำหรับทหารม้า เช่น ทหารม้าสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีทั้งม้าธนูและหน้าไม้ครับ

พลทหารกับการปกครอง  จขกท อธิบายเรียบร้อยแล้วครับ ผมจะไม่ขออธิบายมากมาย อาจจะแชร์ความคิดเห็นในหัวข้ออื่นๆที่สัมพันธ์กันนะครับ เช่นที่เขียนคือการปกครอง คือยังงี้ครับ การปกครองของรัฐต่างๆ จะมีผลต่อการทำสงครามด้วย อย่างเช่นภาพที่ จขกท ยกมา เป็นภาพทหารสมัยปลายๆยุคกลางแล้ว ซึ่งมีระบบ"เมือง" และเศรษฐกิจแบบใช้เงินแลกเปลี่ยนแล้วนั่นเอง ทำให้รัฐแต่ละรัฐมีเงินพอที่จะซื้อและขยทรัพยากรมาทำชุดเกราะดีๆให้พลทหารสวม ผมจะขออธิบายไม่ยาวนะฮะ

 แบบฟิวดัล-ศักดินา (นึกไม่ออก นึกหน้าอัศวิน มีขุนนาง เจ้าหญิง ปราสาท ชาวนา จบเบยครับ)

-มีชนชั้นชัดเจน แผ่นดินไม่ได้เป็นของกษัตริย์อย่างแท้จริง ผืนดินถูกตัดแบ่งไปให้ขุนนางแต่ละคน คิงส์ ต้องทำการ"ยืมทหาร"จากขุนนางในการทำสงคราม และคานอำนาจไม่ให้พวกเขาไปสวามิภักดิ์กับคิงส์พระองค์อื่น ในช่วงนี้ชาวนา ไพร่ จะอยู่ในที่ดิน ห้ามออกนอกที่ดินครับ ขุนนางทำหน้าที่เป็นตุลาการ ทั้งดูแลและกดขี่ รีดภาษีหรือเลี้ยงดูไปพร้อมๆกัน ชะนั้น ทรัพยากรในดินจะมีผลกับการทหารเอามากๆ เพราะ ทรัพยากรดี ขุนนางค้าขายได้ ร่ำรวย ก็สามารถจะหาเกราะดีๆให้ทหารของตนเองสวมได้ รวมถึงอาวุธดีๆด้วย แปลว่ากองทัพแต่ละตระกูลขุนนางค่อนข้างจะมีความแตกต่างกัน จากความรวยจน

อัศวิน คือทหารม้าราคาแพง(ตาม จขกท กล่าว) ในจารีตยุคกลาง อัศวินต้องทำการพุ่งทวนเปิดศึกก่อน ส่วนกองกำลังส่วนอื่นจะตามไปสมทบ (เป็นเหตุว่าทำไหมศึกเอจินคอท ฝ่ายฝรั่งเศสถึงแพ้ราบ- -b) แต่ก็เพราะเป็น จารีต และความคิดสมัยนั้นครับ อัศวินถือเกียรติยศ และถือว่าเป็นนักรบชั้นสูง จึงต้องกล้าหาญและออกรบเพื่อประลองกับอัศวินหรือทหารของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งขุนนางต้องเลี้ยงอัศวินเอง ยามสงบก็ต้องให้ข้าว ให้น้ำ หรืออาจมอบที่ดินให้อัศวินผันตัวเป็นขุนนางได้

ฝนยุคนี้ทหารราบจะเป็นแบบ เกณฑ์ชาวบ้านมารบ ไม่มีทหารประจำการตลอดเวลา (ยกเว้นพวกทหารในปราสาท พระราชวัง)

แบบสาธารณรัฐ การปกครองทำนองนี้มักอยู่ในบริเวณรัฐพ่อค้าครับ อย่างที่กล่าวคือ เจนัว มิลาน อิตาลี จะเป็นรัฐเล็กๆเดี่ยวๆ ที่ไม่มีคิงส์ แต่การปกครองจะอยู่ที่กลุ่มคณาธิปไตย หรือกลุ่มพ่อค้าตระกูลดังๆ บริหาร ความร่ำรวยจากการค้าทำให้เมืองพัฒนาได้ไว และเงินที่หลั่งไหลเช้ามาจากการผูกขาดเครื่องเทศน์ ผ้าไหม สินค้าฟุ่มเฟือยจากตะวันออก ทำให้รัฐพวกนี้พัฒนากองทหารได้ดี มีเสื้อเกราะดีๆสวม และมีรูปแบบของทหารประจำการ เป็นกองทัพ

แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คิงส์มีอำนาจเบ็ดเสร็จแบบสิ้นเชิง เกิดขึ้นในยุโรปช่วงที่ยุคฟิวดัลเสื่อมลง ขุนนางเริ่มหมดอำนาจ จากการที่ ปราสาทถูกทำลายด้วยการคิดค้นปืนใหญ่ กลุ่มพ่อค้าในอาณาจักรที่เกลียดขุนนางที่มักเก็บภาษีผ่านด่านในที่ดิน พากันรวมเงินเพื่อซื้อและสร้างกองทัพในกับคิงส์เพื่อคานอำนาจและทำลายขุนนางลง กลุ่มพ่อค้าอาศัยอยู่ในเมือง เมื่อเมืองเจริญ กลุ่มชาวนาที่ถูกขูดรีดมักจะหนีเข้าไปในเมือง เพื่อเข้าสมาคมช่างฝีมือ ซึ่งเมืองเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองโดยกองทัพของคิงส์ ทำให้กองทัพของรัฐค่อนข้างรวมเป็นหนึ่ง ชุดเกราะจะค่อนข้างพัฒนาและเริ่มแข็งแกร่ง กาัตริย์บางพระองค์อาจสร้างกองทัพประจำการได้ เช่น ฝรั่งเศส สเปน

***การรบกับรัฐอื่นๆใกล้เคียงบ่อย ทำให้กองทัพแข็งแกร่งและค่อนข้างพร้อมรบ***

ปืน 

ปืนแบ่งอออกเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ ปืนใหญ่ ปืนมือ(hand gun) ปืนคาบชุด(matchlock) และปืนคาบศิลา(Flinlock) 

ปืนแบบแรกคือปืนมือครับ เป็นปืนประดิษฐ์ง่ายๆมีทั้งจีน เกาหลี ไปจนถึงในยุโรปที่รับการใช้ดินปืนมาอีกทีหนึ่ง ลักษณะปืนไม่แตกต่างกันนัก ตามภาพเป็นทหารปืนมือของรัฐโชซอน(เกาหลีโบราณ) ซึ่งไม่ค่อยแม่นยำนัก และระยะไม่ไกล 

ต่อมาจึงเป็นปืนแบบคาบชุด ในช่วงนี้กองทัพจะเป็นลักษณะ Pike and shot คือทหารสวมเกราะPlate  ใช้ดาบทรงยาว ประเภท rapier และใช้หอกยาว (Pike) และมีพลปืนคาบชุดประจำการในกองหอกเสร็จสับ

ปืนคาบชุดสังเกตคือจะใช้เชือกในการจุดชนวนครับ

  

ส่วนยุคต่อมาเมื่อปืนพัฒนาไปอีกขั้น ถึงยุคของปืนคาบศิลา คือใช้หินเหล็กไฟที่ไกปืนในการสับให้เกิดประกายไฟที่ดินปืนในรางข้างกระบอก ก็หมดยุคที่เสื้อเกราะปกป้องกระสุนได้อีกต่อไปครับ ก็กลายเป็นยุค สงครามสุภาพุรุษ ยืนเรียงแถวประจันหน้ากันไปโลด

แนวคิดของรัฐโบราณ

หลักๆเห็นจะมี2แบบครับ แบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมกวาดต้อนกำลังคน เพื่อมาใช้เป็นแรงงาน และกำลังทหาร ทำให้เมืองอื่นๆสวามิภักดิ์และนำกำลังคนมา เช่น สยาม ที่ใช้กำลังคนจากล้านนา ลาว กัมพูชา มาเป็นทหารในการรบกับกองทัพพม่า ด้วยระบบมูลนา-ไพร่ คล้ายระบบศักดินาฟิวดัล จึงทำให้กองทหารขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้านาย เจ้าเมือง ที่คุมกำลังคนอยู่ เนื่องจากเน้นกำลังคน อาวุธจึงไม่จำเป็นต้องดีมาก ถ้าหากไม่ใช่ของราชสำนัก สิ่งที่กองทัพสามารถหามาใช้ได้คือ ปืนจากต่างชาติ ครับ ไม่ว่าจะจากจีน หรือยุโรป ตำแหน่งขขุนนางที่ดูแลการค้า เช่น กรมท่าซ้าย กลางและขวา ติดต่อกับจีน ตะวันตก และแขก ทำให้ขุนนางมีเงินพอจะซื้ออาวุธให้ทหารในสังกัดตัวเองใช้ ในยามสงบทหารเป็นชาวบ้านทำนา ในยามสงครามก็ออกรบ รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีระบบทหารประจำการ ต้องจ้างทหารรับจ้างที่มีความชำนาญและภักดีมา

แบบยุโรปนิยมห้ำหั่นกันให้ตายไปข้างหนึ่ง เพราะจำนวนคนมาก สิ่งที่ต้องการคือ ที่ดิน และทรัพยากรในดินมากกว่าคน กำลังคนที่เสียไปมากๆจึงต้องการสิ่งที่ดีเพื่อปกป้องตัวเอง

เกราะ

brigandine armor เกราะบุผ้าด้านนอก ด้านในจะเป็นเหล็กหลายๆชิ้นประกบเข้าด้วยกัน มีทั้งยุโรป จีน เกาหลี มองโกล นิยมใช้เนื่องจากแข็งแรงพอที่จะกันลูกธนูเจาะเกราะ กระสุนปืนบางชนิดในระยะไกล และเครื่องตัวง่ายเนื่องจากใช้แผ่นเกราะหลายชิ้น นิยมใช้ในยุคเรเนซ็องก์หรือก่อนไม่มาก จนถึงช่วง c.18(แล้วแต่ประเทศนะครับ เช่น เอเชียยังคงใช้อยู่ ยุโรปอาจเลิกไปแล้ว) เกราะแบบนี้เป็นเกราะที่ภายนอกจะเป็นผ้า แล้วมีหมุด จุดๆเต็มไปหมด

Paded armor เป็นเกราะนวม หรือผ้าหนาๆ นิยมใช้กับพวกทหารราบ พลธนู ที่เป็นกองกำลังชั้นไพร่ เพราะหาง่าย

Lamllelar armor เกราะเกล็ด เป็นเกราะที่นิยมในแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง ไปจนถึงโรมันตะวันออก รัสเซีย และพวกไวกิ้ง เกราะพวกนี้มาพร้อมกับเกราะโซ่ถัก นิยมในทุกยุคสมัยครับ ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็จะมีการดีไซน์แตกต่างกันออกไป

ภาพองครักษ์วาเรนเจี้ยน ของโรมันตะวันออก(ไบแซนไทน์) รักษาพระราชวังในกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลสวมชุดเกราะเกล็ด(ขวา) องครักษ์พวกนี้มีเชื้อสายไวกิ้งครับ(ซ้าย)

เกราะประเภทอื่นๆคงจะหาได้ทั่วไป และคงรู้จักกันแล้วหาได้ไม่ยากนะครับ

ขอโต้แย้ง : อากาศร้อนดูท่าจะมีพลไม่มากเท่าไหร่กับการสวมเกราะครับ เพราะแขกทั้งในตะวันออกกลางตั้งแต่อียิป จรด แอฟริกา ตั้งแต่ยุโบราณ ไม่ว่าจะ เมโสโปเตเมีย คาเทจ หรือช่วงสงครามครูเสดก้สวมเกราะทำสงครามกับอัศวินทั้งสิ้นครับ ผมจึงคิดว่าพวกเขาน่าจะชินกับการสวมเกราะครับ

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนและแชร์ข้อมูลครับผม

0
กำลังโหลด

17 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
Seesor Vi Malfoy Member 21 พ.ย. 57 20:29 น. 3

//ก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์งามๆ

+

ปกติไม่มีปัญหากับเรื่องการต่อสู้เท่าไรค่ะ เพราะเน้นแต่งแนวอื่น แต่เรื่องใหม่ดันมีการต่อสู้เข้ามาเกี่ยว #ผมนี่น้ำตาไหลพรากเลยครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กนกไทย Member 21 พ.ย. 57 21:12 น. 5

ขอบพระคุณจริงๆ ค่ะ ข้อมูลเรียบเรียงอธิบายเข้าใจง่ายแต่แน่น กังวลอยู่เลยค่ะเพราะเรื่องที่แต่งมีเรื่องสงครามค่อนข้างบ่อยน่ะค่ะ

0
กำลังโหลด
v-kun Member 22 พ.ย. 57 10:41 น. 6

เป็นความรู้ที่ดีมากครับ แต่การเขียนพื้นหลังฉากสงครามผมว่าทางที่ดีจริงๆคืออ่านประวัติศาสตร์ของศึกต่างๆแล้วนำมาปรับใช้ครับ เพราะมันมีทริกหรือกลยุทธิ์ต่างๆเต็มไปหมด อย่างเช่น Battle of Cannae โอ้โห ทั้งตีโอบล้อม การวางตำแหน่งแม่ทัพ การใช้ลมให้ตีฝุ่นเข้าหน้าฝั่งศัตรู วางทัพให้แสงแดดแยงตาศัตรู เริ่มเดินทัพเร็วให้ฝั่งศัตรูไม่มีเวลาทานข้าวเช้า ฯลฯ

0
กำลังโหลด
Prisma Dominatus Member 22 พ.ย. 57 18:06 น. 7

Good info. The readers should realize that good general does not follow the teaching to the letters. They adapt. For example, Hannibal once defeated Rome's mightiest army by putting light infantry in the middle and heavies in the flank. In doing so, he drew the attackers deep into the formation, allowed his flank to envelop the enemy.

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
e-ram Member 26 พ.ย. 57 19:58 น. 11

ปล. (ไหงมาอยู่บนสุด) ผมเขียนอะไรก็ไม่รู้ซะยืดยาว มองข้ามๆไปก็ได้นะครับ - A -

นอกจากทหารราบ ทหารม้า พลยิงแล้ว อีกหน่วยหนึ่งถ้ามีและทำหน้าที่สำเร็จนี่จะทำให้ได้เปรียบมาก

หน่วยที่ว่าก็คือหน่วยลอบโจมตี/สอดแนม หรือเรียกง่ายๆว่าหน่วยกองโจรก็ได้

หน้าที่คือลอบไปที่ฐานข้าศึกสอดแนมศัตรู นำข้อมูลกลับมาที่ฐานทัพตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมกับการรับมือ หรือเด็ดหน่อยก็ทำลายกองเสบียง ตัดเส้นทางเดินทัพ ขัดขวางการเคลื่อนทัพ กลางคืนก็เล่นซ่อนแอบกับกองทัพศัตรู

ยิ่งซ่อนตัวเนียนเท่าไหร่ยิ่งสร้างความหวั่นไหวแก่กองทัพศัตรูได้เท่านั้น เพราะข้าศึกพวกนี้จะไม่รู้ว่าจะถูกลอบโจมตีเมื่อไหร่ทำให้ต้องมีการจัดเวรยามแน่นหนาขึ้น และการต้องมาระแวงการลอบโจมตีนี้เองที่จะบั่นทอนกำลังใจและกำลังรบไปเรื่อยๆ พอถึงเวลารบจริงแทนที่จะต่อสู้ได้เต็มร้อย จะกลายเป็นเครียดสะสมจนสู้แบบเละเทะแทน

ที่จริงในสงครามยุคกลางถ้าเราเป็นคนแต่งนิยายเรายังใส่อะไรลงไปได้อีกมาก เช่นใช้เครื่องยิงหินใส่กองทัพศัตรู หรือเล่นสงครามประสาท คอยยั่วยุทัพหน้าแล้วส่งอีกทัพของเราไปตลบหลังก็ได้

ในฐานะนักเขียนแล้วเราสามารถใช้จินตนาการแต่งเสริมเติมแต่งการสู้รบที่ดูธรรมดาๆให้สนุกได้ยิ่งขึ้น นี่แหละสิ่งที่เรียกว่านักเขียน นักเขียนสุดยอด บันซาย

0
กำลังโหลด
Star Flower Member 28 พ.ย. 57 11:05 น. 12

อยากให้พี่น้องแนะนำเรื่องเวลาในโลกที่ต่างกันจังค่ะ หนูติดเรื่องขั้วโลกหนือค่ะ ไม่ทราบเวลาฤดูที่ชัดเจนค่ะ เดือนนี้ฤดูอะไรอะไรยังไงค่ะ หนูลองหาแล้วแต่หนูก็ยังไม่แน่ใจค่ะ ว่าสว่างตั้งแต่กี่โมงมืดกี่โมงอะไรแบบนี้ค่ะ (พอดีตัวเองไปขั้วโลกเลยน่ะค่ะ)

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
สยามจิ๋ว 12 ธ.ค. 57 01:33 น. 15
ผมขออนุญาตแชร์ความรู้นิดนึงนะครับ เรื่องที่ว่า พลธนูเริ่มจะหมดยุคลงไป เพราะบอบบาง คงไม่ใช่เสียทีเดียวครับ ในกลุ่มกองทัพบางประเทศ กองพลธนูยังคงมีความสำคัญอยู่เสมอ จนไปถึงยุคที่มีหน้าไม้และปืนไฟใช้ควบคู่ อาทิ เช่น อังกฤษ จีน และประเทศแถบเอเชีย ซึ่งยึดถือจารีตการยิงธนูเดิมซึมซับเป็นอยู่ในวัฒนธรรม ประเพณี และระบบคิดเลยก็ว่าได้ ส่วนหนึ่ง เพราะ อุปกรณ์และวัสดุ ที่ส่งผลในเรื่องอานุภาพของคันธนู เช่น ธนูยาว ธนูเขาสัตว์(ที่ในหนังจีน มองโกล เกาหลี) ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกนิยมใช้กัน ค่อนข้างจะเป็นธนูที่มีอานุภาพ และระบบทหารม้าธนูและพลธนูที่มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ธนูเจาะเกราะ หรือคันธนูของกลุ่มชาวมองโกล แมนจู เติร์ก บางคันธนูออกแบบมาให้มีความรุนแรงถึงปืนขนาด0.6 มม.(ขออ้างข้อมูลหนังสือการ์ตูนอิคิวพลัสเรื่องเจงกีสข่านนะครับ) หรืออย่างกองทัพธนูยาว(Longbow)ของอังกฤษ ก็มีชื่อเสียงอย่างมากในช่วงยุคกลาง เพราะ ความเร็วและแม่นยำ เพราะอย่าลืมว่า หน้าไม้มีความเชื่องช้า เพราะต้องใช้เวลาขึงสายค่อนข้างนานมาก-นอกจากท่านจะมีโล่ห์กันให้พวกเขา เหมือนรัฐสมัยโบราณแถบอิตาลี จำพวก เจนัว เวนิส ที่มีชื่อเสียงด้านพลหน้าไม้ติดโล่ทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่ Pavise crossbowman อีกทั้งกองทัพอังกฤษก็ยังคงนิยมให้ทหารติดอาวุธธนูอยู่ ไปจนถึงช่วงหลัง ยุค เรเนซองก์ไปแล้ว (ยุคที่บ้าพลปืนกับหอกยาว ถ้าท่านใดไม่เก่งประวัติศาสตร์ ก็นึกถึงโคลัมบัสครับ แต่ยุคนี้เริ่มก่อนหน้านั้นแล้วนะฮะ) คือ ที่ผมจะกล่าว หมายถึง กองทหารอังกฤษยังคงมี กลุ่มทหาร ชื่อ The Double-armed Man (ใครอยากเห็นนำไปเสิชได้เลยครับ เจอแน่นอน) เป็นกองทหารที่ติดหอกยาวเฟื้อย (Pike) และธนูยาวไปด้วย (อารมณ์ทหารหนึ่งนายสามารถชักธนูมายิงได้และถือหอกไปกับธนูยาวด้วย) หรืออย่างไรก็ตาม กองทัพธนูในแถบเอเชียตะวันออกกลางไปจนถึงตะวันออกก็ยังคงทรงอานุภาพด้วยแรงลูกธนูที่เจาะเกราะ และยิงได้ไกลกว่าธนูยุโรป (ธนูเขาสัตว์vsธนูไม้) เป็นหลายเท่า (เฉพาะธนูเขาสัตว์นะครับ) ในทางตรงกันข้าม ทหารธนูในฐานะของรัฐโบราณแบบทั่วไป ในสงครามเป็นอย่างที่กล่าวครับ คือ เป็นทหารราบเบา ไม่ค่อยสวมเกราะ หรืออาจมีบ้างแต่เป็นเกราะน้าหนักเบาเพราะไม่ต้องไปรบประชิดตัวอย่าง พวกพลราบ ทหารธนูจึงสวมเกราะหนัง หรือเกราะโซ่ถัก(Mailed armor)ไปจนถึง เกราะแผ่นเกราะเหล็กเพียงครึ่งหน้าเท่านั้น(ครึ่งหลังเป็นเป็นสายหนังรัดพาดหลังเอาไม่ให้เกราะข้างหน้าหลุด อารมณ์ผ้ากันเปื้อน) แต่อย่างกองทัพอังกฤษ จีน เกาหลี ไปจนถึงญี่ปุ่น จะสังเกตได้ว่า นักรบตั้งแต่ชั้นไพร่(ชาวนา ชาวบ้าน)ไปจนถึชนชั้นขุนนางนั้น ที่สวมเกราะที่สวยที่สุด ก็สามารถใช้ธนูได้ครับ หรือตั้งกองธนูแบบ Elite (ชนชั้นสูง) กันขึ้นมาเลยทีเดียว เพราะธนูอยู่ในเป็นจารีต ประเพณี หรือ "ชีวิต" ของชนชั้นสูงเหล่านี้ (นิยายคุณอาจจะใส่วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตพื้นฐาน ที่ส่งผลถึงการรบ และวิธีในการทำสงครามไปด้วยได้นะครับ ถ้ามีข้อมูลแบบนี้) อีกทั้ง อาุวธของกองทหารประจำชาติ ขึ้นอยู่กับภุมิภาคเช่นกัน อาทิ ทุ่งหญ้า=ม้าธนู-ทหารม้าหนัก,เบา (ที่กว้าง ขี่ยิงกันสบาย) ท่าเรือ เมืองค้าขาย =หน้าไม้ อาวุธหนัก โล่ห์ใหญ่ (อาทิ เจนัว เวนิส ในอิตาลี หรือรัฐอื่นๆในแถบประเทศที่มีภูมิศาสตร์แบบlowlandในยุโรป) หรือแม้แต่บางประเทศที่ภูมิประเทศไม่เเหมาะที่จะเลี้ยงม้า หรือต้องสั่งม้านำเข้าจากรัฐอื่น ซึ่ง"เปลืองงบ"ก็แก้ต่างด้วยการใช้ "กองหอก" ไปเลย คือ ออกแบบหอกให้ยาวกว่าทวนทหารม้า เข้ามาก็จิ้มไส้แตก การจัดก็มีแบบอื่นอีกที่อยากจะแนะนำแลกเลี่ยนครับ ซึ่งเจ้าของกระทู้เป็นรูปแบบการรบของ "ทัพโรมัน" ซึ่งให้ความสนใจกับพลธนู-พลขว้างหอกน้อย เพราะตามประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ชาวโรมันมองว่า ผู้ที่ใช้ธนูเป็นคนป่าเถื่อนและขี้ขลาด (เพราะคนใช้ธนูเก่งๆดันไม่ใช่พวกโรมัน แต่เป็นกลุ่มที่คอยบุกปล้นเมือง เช่น ชาวฮัน ไซเธียน หรือชนเผ่าแถบทุ่งหญ้า) กองธนูจึงถูกละให้แค่เป็นคนที่ทำการเปิดศึก การกองทหารราบทั้ง2ฝ่ายจะห้ำหั่นกัน ถ้าจะดูแบบ ลึกลงไปอีก กองทหารโรมัน จะมีทหารราบแบ่งเป็น3จำพวก คือ Hastati principe และtritarii ก ผมขออนุญาตแชร์ความรู้นิดนึงนะครับ เรื่องที่ว่า พลธนูเริ่มจะหมดยุคลงไป เพราะบอบบาง คงไม่ใช่เสียทีเดียวครับ ในกลุ่มกองทัพบางประเทศ กองพลธนูยังคงมีความสำคัญอยู่เสมอ จนไปถึงยุคที่มีหน้าไม้และปืนไฟใช้ควบคู่ อาทิ เช่น อังกฤษ จีน และประเทศแถบเอเชีย ซึ่งยึดถือจารีตการยิงธนูเดิมซึมซับเป็นอยู่ในวัฒนธรรม ประเพณี และระบบคิดเลยก็ว่าได้ ส่วนหนึ่ง เพราะ อุปกรณ์และวัสดุ ที่ส่งผลในเรื่องอานุภาพของคันธนู เช่น ธนูยาว ธนูเขาสัตว์(ที่ในหนังจีน มองโกล เกาหลี) ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกนิยมใช้กัน ค่อนข้างจะเป็นธนูที่มีอานุภาพ และระบบทหารม้าธนูและพลธนูที่มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ธนูเจาะเกราะ หรือคันธนูของกลุ่มชาวมองโกล แมนจู เติร์ก บางคันธนูออกแบบมาให้มีความรุนแรงถึงปืนขนาด0.6 มม.(ขออ้างข้อมูลหนังสือการ์ตูนอิคิวพลัสเรื่องเจงกีสข่านนะครับ) หรืออย่างกองทัพธนูยาว(Longbow)ของอังกฤษ ก็มีชื่อเสียงอย่างมากในช่วงยุคกลาง เพราะ ความเร็วและแม่นยำ เพราะอย่าลืมว่า หน้าไม้มีความเชื่องช้า เพราะต้องใช้เวลาขึงสายค่อนข้างนานมาก-นอกจากท่านจะมีโล่ห์กันให้พวกเขา เหมือนรัฐสมัยโบราณแถบอิตาลี จำพวก เจนัว เวนิส ที่มีชื่อเสียงด้านพลหน้าไม้ติดโล่ทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่ Pavise crossbowman อีกทั้งกองทัพอังกฤษก็ยังคงนิยมให้ทหารติดอาวุธธนูอยู่ ไปจนถึงช่วงหลัง ยุค เรเนซองก์ไปแล้ว (ยุคที่บ้าพลปืนกับหอกยาว ถ้าท่านใดไม่เก่งประวัติศาสตร์ ก็นึกถึงโคลัมบัสครับ แต่ยุคนี้เริ่มก่อนหน้านั้นแล้วนะฮะ) คือ ที่ผมจะกล่าว หมายถึง กองทหารอังกฤษยังคงมี กลุ่มทหาร ชื่อ The Double-armed Man (ใครอยากเห็นนำไปเสิชได้เลยครับ เจอแน่นอน) เป็นกองทหารที่ติดหอกยาวเฟื้อย (Pike) และธนูยาวไปด้วย (อารมณ์ทหารหนึ่งนายสามารถชักธนูมายิงได้และถือหอกไปกับธนูยาวด้วย) หรืออย่างไรก็ตาม กองทัพธนูในแถบเอเชียตะวันออกกลางไปจนถึงตะวันออกก็ยังคงทรงอานุภาพด้วยแรงลูกธนูที่เจาะเกราะ และยิงได้ไกลกว่าธนูยุโรป (ธนูเขาสัตว์vsธนูไม้) เป็นหลายเท่า (เฉพาะธนูเขาสัตว์นะครับ) ในทางตรงกันข้าม ทหารธนูในฐานะของรัฐโบราณแบบทั่วไป ในสงครามเป็นอย่างที่กล่าวครับ คือ เป็นทหารราบเบา ไม่ค่อยสวมเกราะ หรืออาจมีบ้างแต่เป็นเกราะน้าหนักเบาเพราะไม่ต้องไปรบประชิดตัวอย่าง พวกพลราบ ทหารธนูจึงสวมเกราะหนัง หรือเกราะโซ่ถัก(Mailed armor)ไปจนถึง เกราะแผ่นเกราะเหล็กเพียงครึ่งหน้าเท่านั้น(ครึ่งหลังเป็นเป็นสายหนังรัดพาดหลังเอาไม่ให้เกราะข้างหน้าหลุด อารมณ์ผ้ากันเปื้อน) แต่อย่างกองทัพอังกฤษ จีน เกาหลี ไปจนถึงญี่ปุ่น จะสังเกตได้ว่า นักรบตั้งแต่ชั้นไพร่(ชาวนา ชาวบ้าน)ไปจนถึชนชั้นขุนนางนั้น ที่สวมเกราะที่สวยที่สุด ก็สามารถใช้ธนูได้ครับ หรือตั้งกองธนูแบบ Elite (ชนชั้นสูง) กันขึ้นมาเลยทีเดียว เพราะธนูอยู่ในเป็นจารีต ประเพณี หรือ "ชีวิต" ของชนชั้นสูงเหล่านี้ (นิยายคุณอาจจะใส่วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตพื้นฐาน ที่ส่งผลถึงการรบ และวิธีในการทำสงครามไปด้วยได้นะครับ ถ้ามีข้อมูลแบบนี้) อีกทั้ง อาุวธของกองทหารประจำชาติ ขึ้นอยู่กับภุมิภาคเช่นกัน อาทิ ทุ่งหญ้า=ม้าธนู-ทหารม้าหนัก,เบา (ที่กว้าง ขี่ยิงกันสบาย) ท่าเรือ เมืองค้าขาย =หน้าไม้ อาวุธหนัก โล่ห์ใหญ่ (อาทิ เจนัว เวนิส ในอิตาลี หรือรัฐอื่นๆในแถบประเทศที่มีภูมิศาสตร์แบบlowlandในยุโรป) หรือแม้แต่บางประเทศที่ภูมิประเทศไม่เเหมาะที่จะเลี้ยงม้า หรือต้องสั่งม้านำเข้าจากรัฐอื่น ซึ่ง"เปลืองงบ"ก็แก้ต่างด้วยการใช้ "กองหอก" ไปเลย คือ ออกแบบหอกให้ยาวกว่าทวนทหารม้า เข้ามาก็จิ้มไส้แตก การจัดก็มีแบบอื่นอีกที่อยากจะแนะนำแลกเลี่ยนครับ ซึ่งเจ้าของกระทู้เป็นรูปแบบการรบของ "ทัพโรมัน" ซึ่งให้ความสนใจกับพลธนู-พลขว้างหอกน้อย เพราะตามประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ชาวโรมันมองว่า ผู้ที่ใช้ธนูเป็นคนป่าเถื่อนและขี้ขลาด (เพราะคนใช้ธนูเก่งๆดันไม่ใช่พวกโรมัน แต่เป็นกลุ่มที่คอยบุกปล้นเมือง เช่น ชาวฮัน ไซเธียน หรือชนเผ่าแถบทุ่งหญ้า) กองธนูจึงถูกละให้แค่เป็นคนที่ทำการเปิดศึก การกองทหารราบทั้ง2ฝ่ายจะห้ำหั่นกัน ถ้าจะดูแบบ ลึกลงไปอีก กองทหารโรมัน จะมีทหารราบแบ่งเป็น3จำพวก คือ Hastati principe และtritarii ซึ่งเป็นกลุ่มทหารที่ฝึกมาน้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด และเรียงตั้งแต่ไพร่ ไปจนถึง ขุนนาง ซึ่งแน่นอนว่า ความเก่งกาจจะต่างกัน กองไพร่แตก กองถัดมาที่ชำนาญจะลุยต่อ ไปจนถึงกองสุดท้ายคือขุนนาง และหลังจากนั้นจะเป็นกองหนุน หรือในแบบอื่นๆ ก่อนอาวุธปืนและหอกยาว จะเกิดและเป็นที่นิยมใช้ อย่างสมัยยุคกลาง(Medieval age)ที่จารีตแนวคิดนักรบอัศวินมีสูงมาก กองทหารม้า(ซึ่งก็คืออัศวิน)จะลุยโด่งก่อนชาวบ้านครับ กองทหารราบให้วิ่งตามไป การชี้ขาดอยู่ที่อัศวินจะรบชนะหรือแพ้ ผู้ที่ถูกบังคับ-เกณฑ์มารบ ซึ่งแน่นอนขวัญกำลังใจจะต่ำที่สุดคือ กลุ่มชาวบ้าน พลเมือง ประชาชน หรือไพร่นั่นเอง (อันนี้คิดว่าคงเป็นทุกยุคนะครับ) หรือการทำสงครามในช่วงต่อมาอาทิ สมัยเรเนซ็องก์ไปจนถึงต้นยุคภูมิธรรม(Enlightenment) กองทหารจะเปลี่ยนเป็นแบบ Pike and shot คือ พลปืนไฟ และหอกยาว(Pike) ใครสนใจช่วงนี้ ผมแนะนำดูคลิปYoutube เสิชว่า battle of rocroi จะมีคลิปสั้นๆการรบแบบชัดเจนให้เห็น โดยพลปืนจะซุ่มอยู่ในกองหอกและคอยออกมายิงสลับกันไปมาๆแบบแถวแรกยิง ถอยกลับไปบรรจุ แถวต่อมาออกมายิง โดยมีพลหอกเป็นกองสี่เหลี่ยมล้อมรอบป้องกันอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในรัฐต่างๆสมัยนั้น ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมองกำลังคนเป็นสำคัญ (ระบบไพร่-มูลนาย) กองทัพจึงนิยม เกณฑ์ชาวบ้านจากเมืองที่ยึดได้และเมืองของตนเองมารบ กองกำลังที่มีจำนวนมากจึงได้เปรียบ ทหารส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านถืออาุวธที่เจ้านายของตนเองมอบให้(ตามที่เงินของเจ้านายจะสามารถหาซื้อได้) ตำแหน่งของเจ้านายจึงมีความสำคัญมาก เช่น รัฐอยุธยา-เจ้ากรมท่าซ้ายคอยดูแลการค้ากับจีน ท่าขวาดูแลพวกแขกและตะวันออกกลาง เป็นพ่อค้า เงินมาก ก็จะมีอาวุธดีๆให้กลุ่มประชาชนที่สังกัดอยู่กับเจ้านายคนนี้ แต่เจ้านายบางคนอยู่ที่กันดารห่างไกล ได้เพียงแต่เก็บภาษี ไม่มีรายได้ ก็อาจจะมีรายได้น้อย เรื่องอาวุธไพร่ก็อาจจะตระเตรียมมาเอง ตั้งแต่เคียวเกี่ยวข้าว ไปจนถึง ดาบ ขวาน มีด พร้า (อาวุธแบบทั่วไป) การสงครามมักเน้นความแข็งแกร่งของผู้นำ(สมมติเทพ)เป็นหลัก สิ่งที่จำเป็นต่อมาสำหรับรัฐที่ถือแนวคิดการปกครองแบบนี้ คือ อาวุธที่ดี เช่น ปืน และ.. กองทหารรับจ้าง(Mercenary) ซึ่งจริงมีทั่วโลก ไม่ว่าจะยุโรป ซึ่งผมไม่ได้อธิบายในตอนต้น ว่า พวกรัฐในอิตาลีที่ชอบหน้าไม้ ก็จ้างกองทหารธนูยาวเหมือนกัน เพราะกองทารเหล่านี้ มีอาชีพอย่างเดียวในชีวิต คือ " รบ เพื่อ เงิน " เงินดี ความจงรักภักดีมา เงินไม่มี ก็อย่าหวังว่าจะมาช่วยรบ ตั้งแต่อยุธยา ไปจนถึง สมัยโรมัน กองทหารรับจ้างเป็นสิ่งเติมเต็มให้กองทัพตลอดครับ เช่น โรมันจ้างพลธนูตะวันออกกลางมาช่วยรบแทนการขาดแคลนพลธนู(แล้วดันหาว่าเขาขี้ขลาด= =) กองทหารอิตาลีจ้างกองพลธนุยาวชาวจากอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสกอต มาช่วยทำสงคราม กองทหารสยามจ้างทหารต่างชาติที่ใช้อาวุธปืน และการรบแบบสมัยใหม่มาช่วยสอน ฝึกทหาร และทำการรบเพื่อเพิ่มอานุภาพ ในส่วนที่คนพื้นที่ของตนเองทำไม่ได้ คนพวกนี้จงรักภักดีอย่างมาก เพราะหากทรยศ แน่นอนครับ ชื่อเสีย ก็ไม่มีใครจ้างและทั้งชีวิตคือการรบ ความสามารถจึงเชื่อถือได้ ยุทธวิธีมีผล ที่ผมพอทราบคงมี การทำสงครามแบบรบยืดเยื้อ ทหารเหนื่อยล้า ถ้ายิ่งเป็นทหารไพร่ กำลังใจยิ่งน้อยลง การทำพิธีเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจก่อนออกรบ ความเชื่อต่อเทพเจ้า มีผลต่อกลุ่มคนในพื้นที่ที่ศรัทธาในความเชื่อให้สู้อย่างไม่กลัวตาย การทำสงครามปิดล้อมเมือง มีผลถึงเสบียงอาหารของทั้งสองฝ่าย การสงครามทำให้รัฐขาดเงิน เพราะเส้นทางการค้าถูกปิดกั้น รัฐจะยิ่งเสียผลประโยชน์ถ้าทำสงครามยาวนานเกินไป ประชาชนอาจไม่พอใจ เท่านี้ละครับที่ผมอยากจะแชร์ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย ผมคิดว่า ความรู้พวกนี้อาจทำให้นิยายของคุณสนุกขึ้น หรือมีความหลากหลายมากขึ้นครับ
4
กำลังโหลด
refairnight Member 17 ธ.ค. 57 17:32 น. 16

หมายเหตุ: สวัสดีครับ พอดีผมเห็น จขกท. สนใจความคิดเห็นของผม แล้วในคอมเม้นผมดันพิมพ์ข้อความซ้ำลงไป(พอดีก๊อบกันหลุด แล้วมันลงข้อความซ้ำ) วันนี้ผมเลยจะมาพิมพ์ใหม่แบบจัดหมวดหมู่ให้ครับ แล้วหารูปภาพมาประกอบให้ด้วย

กองธนูไม่อ่อนด๋อย

ผมคิดว่าไม่เสมอไปครับ กองทหารธนูมีความอ่อนแอ-แข็งแกร่งแตกต่างกัน ตามแต่ละภูมิภาค และรัฐหรืออาณาจักรนั้นๆ กลุ่มอาณาจักรบางกลุ่ม ยึดถือการยิงธนู เป็นจารีต ประเพณี และ"วิถีชีวิต" เช่น รัฐในแถบเอเชียกลาง(อาหรับ)-เอเชียตะวันออก อาทิ เติร์ก จีน เกาหลี รวมถึงชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ อาทิ มองโกล และซงหนู(แมนจู) ครับ นัยหนึ่ง กองกำลังธนูเหล่านี้ มีตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงกลุ่มขุนางและกษัตริย์ (จักรพรรดิ) เพราะ รากฐานวัฒนธรรมลัทธิความเชื่อแบบขงจื๊อ สุภาพบุรุษต้องยิงธนูเป็น = ทำสงครามเป็น กล้าหาญ ออกรบได้(ทำนองนี้ครับ) จนถึงขั้นใช้ฝึกสมาธิ ฝึกจิตวิญญาณ เช่น ญี่ปุ่น และมองศิลปะการยิงธนูเป็นของ "ชนชั้นสูง" ด้วยซ้ำไปครับ 
(ภาพทหารราชสำนักจีน สมัยราชวงศ์หมิง ยิงธนู)


 

  ถามว่า อยู่ในจิตวิญญาณ วัฒนธรรมความเชื่อ แล้วยังไง? ก็ฝึกกันตั้งแต่เด็กเลยครับ 

ผลคือทำให้กลุ่มคนในแถบภูมิภาคนี้ มีความสามารถด้านการยิงธนูสูง ทั้งบนพื้น และบนหลังม้า สังเกตว่า ตั้งแต่ เอเชียกลาง ไปจนถึง สุดเขตญี่ปุีน ล้วนแต่มีทหารธนูบนหลังม้าทั้งสิ้น กองทหารธนูพวกนี้ สวมเกราะที่แน่ที่สุด(หรืออาจไม่ใส่เลย)ไปจนถึงเกราะที่ดีที่สุดของกษัตริย์ ครับ (ภาพด้านล่าง กษัตริย์เฉียนหลง ราชวงศ์ชิง)

จริงๆ สามารถหาภาพเพิ่มเติมได้ตามเนตครับ ลองพิมพ์ชื่อประเทศ เช่น samurai horse archer , korean horse archer , Turk , หรือประเทศที่ได้รัยอิทธิพลจากทุ่งหญ้า เช่น hungary , russia ก็มีเหมือนกันครับแต่ไม่เชิงจะเป็นจารีต

ธนูที่ใช้จะเป็นจำพวกธนูเขาสัวต์ หรือธนูไม้เนื้อแข็ง(เหมือนในรูปทหารม้าธนูโรมันตะวันออกของ จขกท. หรือที่ผมนำมาให้ดูครับ) เพราะเป็นธนูที่ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพในการยิงสูง จากระบบทดแรง(บริเวณปลายคันศร) บวกกับความแข็งของไม้ ธนูเขาสัตว์มองโกลบางชนิด มีความรุนแรงเท่ากับปืน 0.6 มม. (ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ อันนี้ละไว้หาข้อมูล) 

กองธนูในแถบเอเชียจึงสามารถใช้เป็นทั้งกำลังหลักและกำลังรอง สงครามที่เด่นชัด คือ สงครามระหว่างมองโกลกับพวกอัศวินทิวทันนิค (หนังสือมองโกล กองทัพอำมหิต) คือ ทหารม้าธนูที่ไม่สวมเกราะเลย สามารถขี้ม้าหนีอัศวิน แล้วหันหลังยิง หรือ ขี่ล้อมกองทัพอัศวิน(ที่สวมเกราะชั้นดี) จนเละเทะไม่เป็นท่า 

สำคัญที่สุดกองทหารธนูในแถบเอเชีย ยังคงใช้มาถึงยุคที่มีปืนไฟคาบศิลา และหน้าไม้แล้ว เรียกว่าจนถึงต้นยุคเรือกลไฟกันเลยทีเดียวครับ หรือ บางทีกองทหารทั้งปืนและธนูก็lk,ki5ใช้ควบคู่กันในสนามรบได้ด้วยครับ

กองธนูในยุโรปล่ะ?

กองทัพธนูเลื่องชื่อในแถบยุโรป คือ กองธนูยาว(Longbow) ของอังกฤษครับ สงครามที่สำคัญ คือ สงครามที่ทุ่งเครซี่ และ อาจินคอท ในสมัยยุคกลาง(Medieval age) ที่พลธนูชาวนา(ไพร่)สามารถเอาชนะกองทหารม้าอัศวินได้ ซึ่งกองกำลังส่วนใหญ่ของกองทัพเป็นทหารธนูครับ และ1ส่วน6เป็นอัศวินเดินเท้า ปะทะ ทัพอัศวินฝรั่งเศส อยากหาข้อมูลเพิ่ม เสิช Battle of Agincourt ได้เลยครับ และในสมัยพระเจ้า เอ็ดเวิร์ด ลอแช็งก์ ก็ออกกฎหมายบังคับให้วันอาทิตย์หลังจากเข้าโบสถ์ชาวอังกฤษจะต้องมาฝึกการยิงธนู

อีกทั้งกองธนูเหล่านี้ ในยุคต่อมาสมัยยุคเรเนซ็องถึงยุคภูมิธรรม(Enlightenment)ยังเกิดกองทหารประเทศ ถือทั้งหอก ทั้งธนูของอังกฤษ คือ Double armed men ดังภาพครับ ซึ่งยุคนี้ กองทหารในรัฐอื่นรวมถึงอังกฤษเองก็ใช้ปืนคาบชุด(Matchlock)เป็นอาวุธสำคัญๆในกองทัพแล้วเช่นกัน

ชะนั้น ผมมีความเห็นว่า กองทหารธนู ถ้าจะกล่าวโดยรวมอาจจะไม่จำเป็นต้องอ่อนแอ หรือ อู่ในช่วงเปิดศึกเสมอไปครับผม ในบางครั้งอาจขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม แนวคิดของกลุ่มรัฐและภูมิภาคด้วยครับ

ส่วนหน้าไม้..

หน้าไม่มีความสำคัญในทุกภูมิภาคครับ ไม่ว่าจะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเขียตพวันออก หรือยุโรปก็ตาม เหตุผลเพราะ มันฝึกง่ายครับ ชาวบ้านคนไหน ไม่ต้องซ้อมมากก็ฝึกได้ ยิงแม่นได้ ในยุโรป กลุ่มประเทศหรือรัฐที่นิยมใช้หน้าไม้ จะเป็นจำพวกรัฐในเขต Lowlamdหรือที่ราบต่ำครับ อาทิ เจนัว เวนิส มิลาน ในอิตาลี หรือฝรั่งเศส แม้แต่พวกสเปน กลุ่มเหล่านี้รู้ว่าการใช้หน้าไม้เป็นกองทัพหลัก จะต้องมีปัญหาที่สำคัญคือ การขึงสายที่ช้ามากๆ ทำให้นักธนูที่แม่นยำได้เปรียบกว่าในที่โล่ง   จึงพัฒนาโล่ห์ที่เรียกว่า "Pavise" ขึ้นมา เพื่อกำบังเวลาขึงสายตามภาพ

ซึ่งรัฐที่นิยมใช้กลุ่มหน้าไม้มักจะเป็นรัฐการค้าครับ ซึ่งร่ำรวยพอที่จะซื้อเกราะดีๆให้กับพลทหารราบ และจ้างทหารรับจ้างธนูยาวมาใช้เช่นกัน 

ปล.แต่ใช่ว่าอังกฤษจะไม่มีหน้าไม้นะครับ หรือฝรั่งเศส อิตาลีจะไม่มีพลธนู เมื่อถึงยามสงครามอะไรที่ใช้ในสนามรบได้ก็นำมาใช้หมดครับ

หน้าไม้ในเอเชีย

ในเอเชียของเราก็มีกลุ่มที่ใช้หน้าไม้ ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น(แต่หมดความนิยมไแในช่วงหลังยุคเฮอัน) เรียกว่า ใช้มาตั้งแต่ยุคโบราณ แบบ ก่อนจิ๋นซีเลยทีเดียว มีทั้งแบบใหญ่ และพกพาสำหรับทหารม้า เช่น ทหารม้าสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีทั้งม้าธนูและหน้าไม้ครับ

พลทหารกับการปกครอง  จขกท อธิบายเรียบร้อยแล้วครับ ผมจะไม่ขออธิบายมากมาย อาจจะแชร์ความคิดเห็นในหัวข้ออื่นๆที่สัมพันธ์กันนะครับ เช่นที่เขียนคือการปกครอง คือยังงี้ครับ การปกครองของรัฐต่างๆ จะมีผลต่อการทำสงครามด้วย อย่างเช่นภาพที่ จขกท ยกมา เป็นภาพทหารสมัยปลายๆยุคกลางแล้ว ซึ่งมีระบบ"เมือง" และเศรษฐกิจแบบใช้เงินแลกเปลี่ยนแล้วนั่นเอง ทำให้รัฐแต่ละรัฐมีเงินพอที่จะซื้อและขยทรัพยากรมาทำชุดเกราะดีๆให้พลทหารสวม ผมจะขออธิบายไม่ยาวนะฮะ

 แบบฟิวดัล-ศักดินา (นึกไม่ออก นึกหน้าอัศวิน มีขุนนาง เจ้าหญิง ปราสาท ชาวนา จบเบยครับ)

-มีชนชั้นชัดเจน แผ่นดินไม่ได้เป็นของกษัตริย์อย่างแท้จริง ผืนดินถูกตัดแบ่งไปให้ขุนนางแต่ละคน คิงส์ ต้องทำการ"ยืมทหาร"จากขุนนางในการทำสงคราม และคานอำนาจไม่ให้พวกเขาไปสวามิภักดิ์กับคิงส์พระองค์อื่น ในช่วงนี้ชาวนา ไพร่ จะอยู่ในที่ดิน ห้ามออกนอกที่ดินครับ ขุนนางทำหน้าที่เป็นตุลาการ ทั้งดูแลและกดขี่ รีดภาษีหรือเลี้ยงดูไปพร้อมๆกัน ชะนั้น ทรัพยากรในดินจะมีผลกับการทหารเอามากๆ เพราะ ทรัพยากรดี ขุนนางค้าขายได้ ร่ำรวย ก็สามารถจะหาเกราะดีๆให้ทหารของตนเองสวมได้ รวมถึงอาวุธดีๆด้วย แปลว่ากองทัพแต่ละตระกูลขุนนางค่อนข้างจะมีความแตกต่างกัน จากความรวยจน

อัศวิน คือทหารม้าราคาแพง(ตาม จขกท กล่าว) ในจารีตยุคกลาง อัศวินต้องทำการพุ่งทวนเปิดศึกก่อน ส่วนกองกำลังส่วนอื่นจะตามไปสมทบ (เป็นเหตุว่าทำไหมศึกเอจินคอท ฝ่ายฝรั่งเศสถึงแพ้ราบ- -b) แต่ก็เพราะเป็น จารีต และความคิดสมัยนั้นครับ อัศวินถือเกียรติยศ และถือว่าเป็นนักรบชั้นสูง จึงต้องกล้าหาญและออกรบเพื่อประลองกับอัศวินหรือทหารของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งขุนนางต้องเลี้ยงอัศวินเอง ยามสงบก็ต้องให้ข้าว ให้น้ำ หรืออาจมอบที่ดินให้อัศวินผันตัวเป็นขุนนางได้

ฝนยุคนี้ทหารราบจะเป็นแบบ เกณฑ์ชาวบ้านมารบ ไม่มีทหารประจำการตลอดเวลา (ยกเว้นพวกทหารในปราสาท พระราชวัง)

แบบสาธารณรัฐ การปกครองทำนองนี้มักอยู่ในบริเวณรัฐพ่อค้าครับ อย่างที่กล่าวคือ เจนัว มิลาน อิตาลี จะเป็นรัฐเล็กๆเดี่ยวๆ ที่ไม่มีคิงส์ แต่การปกครองจะอยู่ที่กลุ่มคณาธิปไตย หรือกลุ่มพ่อค้าตระกูลดังๆ บริหาร ความร่ำรวยจากการค้าทำให้เมืองพัฒนาได้ไว และเงินที่หลั่งไหลเช้ามาจากการผูกขาดเครื่องเทศน์ ผ้าไหม สินค้าฟุ่มเฟือยจากตะวันออก ทำให้รัฐพวกนี้พัฒนากองทหารได้ดี มีเสื้อเกราะดีๆสวม และมีรูปแบบของทหารประจำการ เป็นกองทัพ

แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คิงส์มีอำนาจเบ็ดเสร็จแบบสิ้นเชิง เกิดขึ้นในยุโรปช่วงที่ยุคฟิวดัลเสื่อมลง ขุนนางเริ่มหมดอำนาจ จากการที่ ปราสาทถูกทำลายด้วยการคิดค้นปืนใหญ่ กลุ่มพ่อค้าในอาณาจักรที่เกลียดขุนนางที่มักเก็บภาษีผ่านด่านในที่ดิน พากันรวมเงินเพื่อซื้อและสร้างกองทัพในกับคิงส์เพื่อคานอำนาจและทำลายขุนนางลง กลุ่มพ่อค้าอาศัยอยู่ในเมือง เมื่อเมืองเจริญ กลุ่มชาวนาที่ถูกขูดรีดมักจะหนีเข้าไปในเมือง เพื่อเข้าสมาคมช่างฝีมือ ซึ่งเมืองเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองโดยกองทัพของคิงส์ ทำให้กองทัพของรัฐค่อนข้างรวมเป็นหนึ่ง ชุดเกราะจะค่อนข้างพัฒนาและเริ่มแข็งแกร่ง กาัตริย์บางพระองค์อาจสร้างกองทัพประจำการได้ เช่น ฝรั่งเศส สเปน

***การรบกับรัฐอื่นๆใกล้เคียงบ่อย ทำให้กองทัพแข็งแกร่งและค่อนข้างพร้อมรบ***

ปืน 

ปืนแบ่งอออกเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ ปืนใหญ่ ปืนมือ(hand gun) ปืนคาบชุด(matchlock) และปืนคาบศิลา(Flinlock) 

ปืนแบบแรกคือปืนมือครับ เป็นปืนประดิษฐ์ง่ายๆมีทั้งจีน เกาหลี ไปจนถึงในยุโรปที่รับการใช้ดินปืนมาอีกทีหนึ่ง ลักษณะปืนไม่แตกต่างกันนัก ตามภาพเป็นทหารปืนมือของรัฐโชซอน(เกาหลีโบราณ) ซึ่งไม่ค่อยแม่นยำนัก และระยะไม่ไกล 

ต่อมาจึงเป็นปืนแบบคาบชุด ในช่วงนี้กองทัพจะเป็นลักษณะ Pike and shot คือทหารสวมเกราะPlate  ใช้ดาบทรงยาว ประเภท rapier และใช้หอกยาว (Pike) และมีพลปืนคาบชุดประจำการในกองหอกเสร็จสับ

ปืนคาบชุดสังเกตคือจะใช้เชือกในการจุดชนวนครับ

  

ส่วนยุคต่อมาเมื่อปืนพัฒนาไปอีกขั้น ถึงยุคของปืนคาบศิลา คือใช้หินเหล็กไฟที่ไกปืนในการสับให้เกิดประกายไฟที่ดินปืนในรางข้างกระบอก ก็หมดยุคที่เสื้อเกราะปกป้องกระสุนได้อีกต่อไปครับ ก็กลายเป็นยุค สงครามสุภาพุรุษ ยืนเรียงแถวประจันหน้ากันไปโลด

แนวคิดของรัฐโบราณ

หลักๆเห็นจะมี2แบบครับ แบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมกวาดต้อนกำลังคน เพื่อมาใช้เป็นแรงงาน และกำลังทหาร ทำให้เมืองอื่นๆสวามิภักดิ์และนำกำลังคนมา เช่น สยาม ที่ใช้กำลังคนจากล้านนา ลาว กัมพูชา มาเป็นทหารในการรบกับกองทัพพม่า ด้วยระบบมูลนา-ไพร่ คล้ายระบบศักดินาฟิวดัล จึงทำให้กองทหารขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้านาย เจ้าเมือง ที่คุมกำลังคนอยู่ เนื่องจากเน้นกำลังคน อาวุธจึงไม่จำเป็นต้องดีมาก ถ้าหากไม่ใช่ของราชสำนัก สิ่งที่กองทัพสามารถหามาใช้ได้คือ ปืนจากต่างชาติ ครับ ไม่ว่าจะจากจีน หรือยุโรป ตำแหน่งขขุนนางที่ดูแลการค้า เช่น กรมท่าซ้าย กลางและขวา ติดต่อกับจีน ตะวันตก และแขก ทำให้ขุนนางมีเงินพอจะซื้ออาวุธให้ทหารในสังกัดตัวเองใช้ ในยามสงบทหารเป็นชาวบ้านทำนา ในยามสงครามก็ออกรบ รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีระบบทหารประจำการ ต้องจ้างทหารรับจ้างที่มีความชำนาญและภักดีมา

แบบยุโรปนิยมห้ำหั่นกันให้ตายไปข้างหนึ่ง เพราะจำนวนคนมาก สิ่งที่ต้องการคือ ที่ดิน และทรัพยากรในดินมากกว่าคน กำลังคนที่เสียไปมากๆจึงต้องการสิ่งที่ดีเพื่อปกป้องตัวเอง

เกราะ

brigandine armor เกราะบุผ้าด้านนอก ด้านในจะเป็นเหล็กหลายๆชิ้นประกบเข้าด้วยกัน มีทั้งยุโรป จีน เกาหลี มองโกล นิยมใช้เนื่องจากแข็งแรงพอที่จะกันลูกธนูเจาะเกราะ กระสุนปืนบางชนิดในระยะไกล และเครื่องตัวง่ายเนื่องจากใช้แผ่นเกราะหลายชิ้น นิยมใช้ในยุคเรเนซ็องก์หรือก่อนไม่มาก จนถึงช่วง c.18(แล้วแต่ประเทศนะครับ เช่น เอเชียยังคงใช้อยู่ ยุโรปอาจเลิกไปแล้ว) เกราะแบบนี้เป็นเกราะที่ภายนอกจะเป็นผ้า แล้วมีหมุด จุดๆเต็มไปหมด

Paded armor เป็นเกราะนวม หรือผ้าหนาๆ นิยมใช้กับพวกทหารราบ พลธนู ที่เป็นกองกำลังชั้นไพร่ เพราะหาง่าย

Lamllelar armor เกราะเกล็ด เป็นเกราะที่นิยมในแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง ไปจนถึงโรมันตะวันออก รัสเซีย และพวกไวกิ้ง เกราะพวกนี้มาพร้อมกับเกราะโซ่ถัก นิยมในทุกยุคสมัยครับ ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็จะมีการดีไซน์แตกต่างกันออกไป

ภาพองครักษ์วาเรนเจี้ยน ของโรมันตะวันออก(ไบแซนไทน์) รักษาพระราชวังในกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลสวมชุดเกราะเกล็ด(ขวา) องครักษ์พวกนี้มีเชื้อสายไวกิ้งครับ(ซ้าย)

เกราะประเภทอื่นๆคงจะหาได้ทั่วไป และคงรู้จักกันแล้วหาได้ไม่ยากนะครับ

ขอโต้แย้ง : อากาศร้อนดูท่าจะมีพลไม่มากเท่าไหร่กับการสวมเกราะครับ เพราะแขกทั้งในตะวันออกกลางตั้งแต่อียิป จรด แอฟริกา ตั้งแต่ยุโบราณ ไม่ว่าจะ เมโสโปเตเมีย คาเทจ หรือช่วงสงครามครูเสดก้สวมเกราะทำสงครามกับอัศวินทั้งสิ้นครับ ผมจึงคิดว่าพวกเขาน่าจะชินกับการสวมเกราะครับ

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนและแชร์ข้อมูลครับผม

0
กำลังโหลด
Theglen Member 18 มี.ค. 60 20:19 น. 17

ประทานโทษ

ทหารม้าไม่ใช่หน่วยทะลวงฟันครับ และไม่มีกองทัพที่ไหนในโลกใช้ทหารม้านำหน้าทหารราบ เพราะพวกนี้ถ้าควบม้าเข้าไปกลางดงศัตรู ม้าก็โดนแทงตายพอดี แถมตกม้าอีกสิ

.

ทหารม้าเป็นหน่วย "เก็บกวาด" ครับ คือพอทหารฝั่งตรงข้ามโดนตีจนเสียกระบวนหรือถอยทัพแล้ว ทหารม้าพวกนี้ก็จะเป็นคนตามไปเก็บกวาดอีกทีครับ กลับกัน หากทหารฝั่งเราเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำเสียเอง ทหารม้าฝั่งเราก็ไร้ประโยชน์เลยครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด