3 เทคนิคดีๆ น่าทำตาม : ‘อ่าน’ แบบ ‘นักเขียน’

 

3 เทคนิคดีๆ น่าทำตาม : ‘อ่าน’ แบบ ‘นักเขียน’
 

สวัสดีชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน เช่นเคย คอลัมน์กลเม็ดเคล็ดลับวันนี้ แอดมินขอมาแนะนำเทคนิคพิเศษที่อยากให้นักเขียนทุกคนทำกัน
 
คิดว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่า... นักเขียนคู่กับคำว่า ‘อ่านหนังสือ’ นั่นแหละค่ะ แอดมินเองก็คิดว่าตัวเองเป็น ‘นักอ่าน’ คนนึงเหมือนกัน และเพราะความชอบและรักในการอ่านนี่แหละ ทำให้แอดมินตัดสินใจเลือกมาเป็นนักเขียน... - - พูดมากกว่านี้จะเล่าประวัติตัวเองหมดแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ การอ่านนั้นจะว่าไปแล้วก็มีหลายแบบ อ่านแบบนักอ่าน ก็คือ อ่านแล้วสนุกสนานไปกับมัน วิจารณ์ได้ อินได้ แต่สำหรับนักเขียนแล้ว การอ่านแบบเรานั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปเล็กน้อยค่ะ
 
ถามว่าแบบไหนยังไง เบื้องต้น เราขอยกคำคมของ สตีเฟ่น คิง นักเขียนคนดัง ที่ครองใจคนอ่านมาได้หลายต่อหลายปี เขาคนนี้บอกว่า “ถ้าคุณไม่มีเวลาอ่าน ก็คงไม่มีเวลาเขียน และคงไม่มีข้อมูลสำหรับใช้เขียนด้วย” นั่นแหละค่ะ สตีเฟ่น คิงพูดได้ถูกที่สุดแล้ว สำหรับนักเขียน การอ่านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด อยากเขียนให้ดีก็ต้องอ่านให้เยอะ คำแนะนำเพิ่มเติมอีกสักนิดคือคำคมของ วิลเลี่ยม ฟอล์กเนอร์ เขาบอกว่า “อยากเป็นนักเขียนต้องอ่านทุกอย่าง ไม่ว่างานเรื่องนั้นจะดีหรือไม่ดี เป็นงานคลาสสิกหรืองานขยะ งานอะไรก็ตาม จงอ่านให้หมดแล้วซึมซับมัน อะไรที่ไม่ชอบ อย่าไปเขียนตาม ส่วนอะไรที่ชอบ ให้เก็บเอาไว้ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ” แน่นอนว่าแอดมินคิดว่า ฟอล์กเนอร์พูดได้ดีมากเช่นกันค่ะ ต่อจากนี้ไป แอดมินจะมาบอกเทคนิคการอ่านแบบนักเขียนให้นะคะ เตรียมตัวฟังได้เลย
 


 

ชอบตรงไหน หาทางทำให้มันเด่น

ฟังแล้วหลายคนอาจจะงง ฟังไม่ผิดค่ะ ถ้ามีหนังสือเล่มโปรดในมืออยู่แล้ว แอดมินแนะนำว่าเปิดอ่านเลย แล้วถ้าเจอตรงไหนที่ชอบ อ่านแล้วโดนใจ อ่านแล้วจี๊ด ดินสอ ไฮไลท์ โพสต์อิท อะไรก็ได้ คั่นเอาไว้ ไฮไลท์ลงไป อย่าให้เราหาได้ยาก หรือถ้าใครกลัวว่าหนังสือจะเสีย แนะนำให้เตรียมสมุดจดดีๆ สักเล่มไว้ แล้วจดลงไป หรือจะพิมพ์ลงในมือถือ หรือตั้งสเตตัสในเฟซบุ๊คก็ได้ค่ะ ทวีตก็ได้ เก๋ๆ ไปอีก
 

สามคำถามสำคัญห้ามพลาด อะไร ทำไม ยังไง

หลังจากได้ประโยคที่ชอบมาแล้ว ต่อจากนี้ ต้องถามตัวเองด้วยสามคำถามสำคัญคือ นั่นคือ “เพราะอะไร” “ทำไม” และ “ยังไง” ถ้ารู้สึกว่าสั้นเกินไป ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แอดมินขอจัดให้เพิ่มเติมด้านล่างแล้วกันนะคะ
 
อะไรที่ทำให้อ่านแล้วโดนใจ
ตอบคำถามแรกนี้ให้ได้ก่อน เพราะอะไรเราอ่านแล้วจึงรู้สึกว่ามันโดนจัง เป็นบทสนทนาหรือเปล่า หรือเป็นบุคลิกของตัวละคร หรือเป็นการกระทำ หรือเป็นการบรรยายฉาก หรือเพราะมันเป็นคำคมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เป็นข้อคิด เป็นความรู้ หรือเป็นอะไร แยกแยะออกมาให้ได้ ถามตัวเองและหาคำตอบให้ได้ เพื่อที่เราจะได้นำมาปรับใช้กับผลงานของเราบ้าง ถ้าเรารู้แล้วว่าเราประทับใจผลงานคนอื่นเพราะอะไร ก็น่าจะเป็นคำตอบสำคัญว่า คนอื่นๆ จะประทับใจผลงานเราได้อย่างไร  
 
ทำไมมันถึงโดนใจเรา
คำถามนี้ยากกว่าข้อที่แล้วหน่อย อาจจะต้องถามตัวเองให้ลึกลงไป และใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อจะได้รู้ชัดว่า... ทำไมมันถึงโดนใจเรา เพราะอะไรมันถึงโดดเด่นกว่าฉากอื่นๆ มีความแตกต่างหรือความโดดเด่นอย่างไรบ้าง ลองหาคำตอบดู ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
 
- ฉากนี้แสดงถึงนิสัยของตัวละคร และมันทำให้เราเปลี่ยนมุมมองในตัวคนคนนั้นไปได้เลย หลังจากที่เราเคยคิดมาตลอดว่าเขาน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ พออ่านฉากนี้เท่านั้นแหละ ความคิดเราเปลี่ยนไปหมดเลย
- มันเป็นทางแก้ไขปัญหา ที่อ่านแล้วทำให้เรารู้สึกได้เลยว่า... เขาทำได้ดีจริงๆ โดนจริงๆ ทางแก้ไขนั้นอาจไม่ได้เหมือนกับที่เราคิดไว้ แต่มันก็เป็นทางที่น่าทึ่งและทำให้เราประทับใจ
- ฉากนี้ บรรยายถึงสถานที่ที่เราไม่เคยไปได้อย่างละเอียด ให้ข้อมูลให้ความรู้ อ่านแล้วเห็นภาพ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนได้อยู่ในที่นั้นๆ จริงๆ เช่น ตัวละครเดินทางไปธิเบต แล้วเขาบรรยายฉากท้องฟ้าอันเงียบสงบ อากาศเย็นสบาย ทำให้เรารู้สึกว่า... เห็นภาพตาม และรู้ว่าตัวละครกำลังเจออะไรอยู่
 
ย้ำว่า ไม่มีใครเห็นคำตอบของคุณ เพราะงั้นอยากเขียนอะไร อยากคิดอะไรคิดได้เลย ไม่ต้องแคร์  คำตอบอาจจะพิลึกพิลั่นแค่ไหนก็ได้ ประหลาดแค่ไหนก็ได้ ขอให้รู้ก็แล้วกันว่า เราชอบผลงานเรื่องที่อ่านเพราะอะไร
 
แล้วประสบความสำเร็จขนาดนี้ได้ยังไง
เอาละ คำถามสุดท้ายแล้ว ถามตัวเองเลยว่า... คิดว่าผลงานเรื่องนี้ประสบความสำเร็จเพราะอะไร ส่วนใหญ่คำตอบมักจะหนีไม่พ้นวิธีการเล่าในสไตล์ที่ไม่เหมือนกัน สำหรับนักเขียนแล้ว ยิ่งน้อยยิ่งดี แสดงให้คนอ่านรู้โดยไม่ต้องบอก นี่แหละทักษะเบื้องต้น แต่เมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากให้คุณลองถามตัวเองดูจริงๆ จังๆ ว่า นิยายเรื่องนี้ประสบความสำเร็จและทำให้คุณชื่นชอบได้อย่างไร คำตอบมีหลายอย่าง ตั้งแต่
 
-เลือกใช้คำที่เหมาะสม
-จังหวะของเรื่องดี
-มุมมองน่าสนใจ
 
เราปิดท้ายอีกนิดด้วยคำคมของ เออร์เนสต์ เฮมมิ่งเวย์ ที่บอกว่า “ถ้านักเขียนมีความรู้ดีพอ และมีวิธีการเล่าเรื่องที่ดีพอ เขาจะสามารถส่งสารถึงคนอ่านได้ และคนอ่านเอง ถ้ารับสารนั้นได้ พวกเขาจะได้รับสิ่งดีๆ จากนักเขียนอย่างมากมายเหลือเชื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ เราอาจจะนำเสนอแบบน้อยแต่มาก... ก็ได้เช่นกัน”
 
สำหรับข้อนี้ เราอยากให้คุณอ่านหนังสืออย่างมีความหมาย ไม่ใช่แค่อ่านเฉยๆ แต่จงอ่านแล้วเรียนรู้ เพื่อที่จะนำสิ่งดีๆ จากผลงานของคนอื่นไปปรับใช้กับนิยายของคุณเอง
 

ใช้นิยายเรื่องโปรดเป็นแรงบันดาลใจ แล้วลองเขียนฉากที่ชอบดู

ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งตกใจ เรารู้หลายๆ คนกำลังคิดหนักเพราะบางครั้งคำว่า ‘แรงบันดาลใจ’ กับ ‘ลอกเลียน’ นั้น ใกล้เคียงกันมากกว่าที่คิด แต่สำหรับในกรณีนี้ เราอยากให้คุณลองเปรียบเทียบตัวเองเป็นนักดนตรี นักกีฬา เชฟ หรือนักเต้น ที่จะเรียนรู้จากความสำเร็จของบุคคลอื่น เชฟคนหนึ่ง ชอบสูตรอาหารของเชฟอีกคน เขาจะทำตามอย่างแน่นอน และสุดท้ายแล้ว เขาก็จะปรับสูตรจนกลายเป็นของเขาเองจนได้ บนโลกนี้ มีนิยายอยู่แค่ไม่กี่พล็อตเท่านั้น หน้าที่ของเราคือ... ปรับจนพล็อตนั้นกลายเป็นผลงานในสไตล์ของเราให้ได้ จะเห็นได้ว่าเราใช้คำว่า แรงบันดาลใจ อันหมายถึงว่า คุณอาจจะเขียนเรื่องคล้ายๆ กับต้นแบบได้ แต่ขณะเดียวกัน คุณต้องมีสไตล์ของตัวเองด้วย จะลอกทั้งหมดเลยนั้นไม่ใช่ เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และไม่สมควรจะทำอย่างที่สุด  
 
สำหรับข้อนี้ คงต้องใช้เวลานานมากหน่อย แต่มันก็จะช่วยให้คุณเขียนงานได้ดีขึ้นแน่ๆ ลองฝึกฝน ลองเขียนฉากที่ชอบดู แต่ ‘ห้าม’ เขียนตามทั้งหมดนะ เราให้เขียนในแบบของคุณเองต่างหาก จำไว้ให้แม่นเลย เรื่องนี้
 
จบกันไปแล้วค่ะ วิธีการอ่านแบบนักเขียน ต่อจากนี้ ถ้าใครอ่านหนังสือ อย่าลืมทำตามที่แอดมินบอกนะคะ เชื่อว่าจะใช้พัฒนาการเขียนได้ดีมากๆ ค่ะ ลองนำไปใช้ดูกันนะ ^_______________^
 
ทีมงานนักเขียนเด็กดี 

  
ทีมงาน writer

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Writer killer Member 22 ก.ค. 59 17:17 น. 1

คือ....เราไม่เขียนในนิยายที่ชอบ (ปกติ) เพราะหาเจออยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง555 เล่มโปรดอ่านซ้ำสองก็สนุก ไม่ต้องเขียนก็ได้นะน่ะ 555 //เรามันบ้านิยาย

0
กำลังโหลด
Calara. Member 22 ก.ค. 59 19:35 น. 2
บทความนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ กำลังคิดอยู่เลยว่าอ่านยังไงถึงจะเอาไปใช้กับงานเขียนตัวเองได้ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ><
0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

Writer killer Member 22 ก.ค. 59 17:17 น. 1

คือ....เราไม่เขียนในนิยายที่ชอบ (ปกติ) เพราะหาเจออยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง555 เล่มโปรดอ่านซ้ำสองก็สนุก ไม่ต้องเขียนก็ได้นะน่ะ 555 //เรามันบ้านิยาย

0
กำลังโหลด
Calara. Member 22 ก.ค. 59 19:35 น. 2
บทความนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ กำลังคิดอยู่เลยว่าอ่านยังไงถึงจะเอาไปใช้กับงานเขียนตัวเองได้ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ><
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด