10 วิธีเขียนหนังสือให้ประทับใจคนอ่าน (ตอนที่ 1)

น้องๆนักเขียนเป็นยังไงกันบ้างจ๊ะงานเขียนคืบหน้าไปถึงไปแล้ว น้องๆหลายคนเมลล์มาบอกพี่นัทว่าเริ่มท้อใจเพราะคนอ่านน้องลงทุกวันๆไม่รู้จะทำอย่างไรดี วันนี้พี่นัทมีวิธีง่ายๆที่น้องๆหลายคนอาจมองข้ามไปจ๊ะ

 

10 วิธีเขียนหนังสือให้ประทับใจคนอ่าน

 

  1. ใช้ภาษาเรียบง่าย

ภาษาเรียบง่ายเป็นภาษาที่มีเสน่ห์ การเขียนหนังสือด้วยถ้อยคำสำนวนง่ายๆ เป็นสิ่งที่ผู้อ่านต้องการมากที่สุด เพราะอ่านแล้วโปร่งสบายใจที่ไม่ต้องขบคิดให้เสียเวลาอีกว่าคำพูดประโยคนั้นหมายถึงอะไร

 

  1. อย่าคิดว่าผู้อื่นรู้เรื่องเดิม

จุดบอดของการเขียนหนังสืออีกประการหนึ่งก็คือ ผู้เขียนมักจะเผลอคิดว่าเรื่องที่ตนนำเสนอไปนั้น ผู้อื่นทราบมาแล้วจึงมักจะเขียนละความบางประโยคหรือบางตอนไป ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจความเป็นมา

การเขียนที่ดีจะต้องบอกกล่าวประเด็นของเรื่องด้วยความกระจ่าง และไม่เบื่อที่จะต้องเพียรเขียน อธิบายสิ่งต่างๆ ให้ผู้อ่านเข้าใจด้วยถ้อยคำกระชับง่ายๆสั้นๆ

ลีลาการเขียนลักษณะนี้คืองานเขียนของ พลตรีหม่อมราชวงศ์คุกฤทธิ์ ปราโมช นับว่าเป็นหนึ่งในแผ่นดิน ข้อเขียนของท่านแต่ละชิ้นมีความชัดเจนให้อารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ ความคิดอยู่ในข้อเขียนอย่างน่าอัศจรรย์

ถ้าผู้เขียนคิดว่าผู้อ่านรู้ความเป็นมาแล้ว ก็จะทำให้การเขียนถูกละเลยละเว้นในบางสิ่งบางอย่าง เป็นการสร้างความหงุดหงิดให้กับผู้อ่าน

 

 

  1. เขียนให้อ่านง่าย

 

การเขียนให้อ่านง่ายกับการใช้ภาษาที่เรียบง่ายนั้นต่างกันภาษาที่เรียบง่ายใช่ว่าจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเสมอไปไม่ เพราะภาษาที่ใช้อาจจะเรียบง่ายจริงแต่ถ้าเนื้อหาที่นะเสนออยากกินการรับรู้ของผู้อ่านแล้วก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด

          ดังนั้นก่อนลงมือเขียนหนังสือจะต้องพิจารณาเนื้อหาที่จะนำเสนอเสียก่อนว่ายากเกินกว่าผู้อ่านจะรับรู้หรือไม่ ถ้าเห็นว่ายากเกินไปก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าที่ยากนั้นยากตรงจุดไหน

          ถ้าค้นพบว่าความยากนั้นอยู่ที่ศัพท์เทคนิคก็ปรับซะใหม่ ศัพท์เทคนิคอาจจะจำเป็นสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ผู้เขียนต้องหาถ้อยคำง่ายๆมาอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจ

          โดยธรรมชาติแล้วการเขียนหนังสือเพื่อสื่อความหมายจะยากกว่าการพูด เพราะการเขียนผู้อ่านจะสัมผัสด้วยสายตา แล้วสรุปเนื้อหาทั้งหลายด้วยประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งผิดกับการพูดที่ผู้ฟังจะรับฟังด้วยหู ถ้าสิ่งไหนสงสัยก็ยังสามารถสอบถามเพื่อความเข้าใจได้ทันที

          การเขียนหนังสือนั้นผู้เขียนจะต้องเสนอแนวคิดอย่างชัดเจน และต้องมั่นใจว่าการเรียงร้อยถ้อยคำที่ออกมานั้นจะต้องสื่อความหมายได้ตรงกับที่ผู้เขียนต้องการจะบอกถึงจะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

 

  1. คิดก่อนเขียน

ก่อนลงมือเขียนหนังสือสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนจะต้องกระทำเป็นอันดับแรกก็คือการคิด

 

คิดอะไร?

ก็คิดเสียก่อนว่าจะเขียนอะไร เสนอแนวคิดอะไร และคิดเพื่อจัดลำดับเนื้อหาถ้อยความที่เป็นเหตุผลสอดคล้องกัน ด้วยรูปแบบเรียบง่าย ไม่ใช่เขียนไปก่อนแล้วจึงย้อนมาคิดภายหลังซึ่งจะทำให้ข้อเขียนวกวน สร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน

          ข้อเขียนที่ถือว่าดีคือ ข้อเขียนที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจนแจ่มแจ้งว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และทำทำไม

          ถ้าเขียนแล้วตอบคำถามเหล่านี้ได้กระจ่างก็นับว่าประสบความสำเร็จ ผู้อ่านจะชื่นชอบ

ดังนั้น ก่อนลงมือจะต้องจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบซะก่อน ลำดับเนื้อหาไว้ให้เป็นขั้นตอน ให้สอดประสานทอดรับอย่างมีจังหวะ ทั้งด้วยเหตุ ด้วยผล และสำนวนภาษาน่าอ่านน่าติดตาม

 

 

  1. เขียนให้ตรงเป้าหมาย

 

การเขียนเรื่องอะไรก็ตาม สิ่งที่พลาดไม่ได้ก็คือ การเขียนให้ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งใจจะเขียนตั้งแต่ทีแรก โดยเขียนให้ถูกประเด็นตามหัวข้อที่ตั้งไว้ เพราะถ้าเขียนวกไปวนมา คนอ่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกรำคาญพอๆกับไปนั่งฟังคนที่พูดอะไรเรื่อยเปื่อยนั่นแหละ

 

อีก 5 ข้อติดไว้ก่อนนะจ๊ะน้องๆ อาทิตย์หน้าจะมาลงต่อให้ อย่าลืมติดตามนะจ๊ะ แวะเข้าไปทักทายพี่นัทได้ที่ MY ID หรือ ส่งเมลล์มาคุยกันตามประสานักเขียนได้ที่ judne@dek-d.com นะจ๊ะ

 

พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

47 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
||-HeDw!g & P!gw!Dgeon-|| Member 17 พ.ค. 51 17:46 น. 11

งานเขียนที่ตัวเองเขียนอยู่ก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรเลย 55+
เขียนรายงานส่งครู
เขียนโครงงาน(แทบอ้วก เพราะมันมีเยอะ)
เขียนบทความ(แปลมาอีกทีน่ะ)
เคยเขียนเรื่องสั้นเรื่องนึง..ไม่ได้คิดหรอกว่ามันจะเปนไง
เขียนตามใจ ไม่มีกฏเกณฑ์ ไม่ตีกรอบ ไม่กำหนดอะไรทั้งนั้น 555+

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด