ตลอดหลายปีที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ถือเป็นคณะยอดฮิตคณะหนึ่งที่เด็กนักเรียน ม.ปลาย หลายคนใฝ่ฝันที่จะได้เข้าเรียน ณ วันนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ถือเป็นคณะในฝันอันดับ 6 จากการสำรวจความเห็นของนักเรียน ม.ปลาย จำนวน 4,500 คนทั่วประเทศทางเว็บไซต์ AdmissionPremium.com ผลปรากฏว่าอันดับหนึ่ง ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ อันดับ 2 คณะเภสัชศาสตร์ อันดับ 3 คณะมนุษยศาสตร์ อันดับ 4 คณะอักษรศาสตร์ อันดับ 5 คณะนิเทศศาสตร์ และอันดับ 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์

 


           เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้วจะมีงานรองรับที่หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าสาขาที่จบเกี่ยวกับอะไร เช่น วิศวกรด้านการสำรวจ วิศวกรด้านเครื่องกล วิศวกรปิโตรเลียม วิศวกรยานยนต์ วิศวกรโยธา วิศวกรอากาศยาน วิศวกรการบินและอวกาศ วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรมโลจิสติกส์ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรการขนส่ง ฯลฯ

           ซึ่งอัตราเงินเดือนของผู้เริ่มต้นทำงานที่จบคณะนี้จะอยู่ระหว่างประมาณ 18,000-25,000 บาท เงินเดือนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลงานและฝีมือ จึงขอแนะนำน้องๆ ระหว่างเรียนให้ทำงานควบคู่ไปพร้อมกับสะสมผลงานเป็นประวัติและประสบการณ์ในการทำงานไปด้วย และควรเสริมทักษะด้านการสื่อสารเน้นในเรื่องภาษาต่างประเทศ ซึ่งถ้ามีความสามารถในด้านภาษาต่างประเทศก็จะเพิ่มความได้เปรียบในการทำงานในสาขานี้ เพราะผู้ที่จบในสาขานี้ส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านการสื่อสาร

 


            รู้หรือไม่ เด็กศิลป์ก็สามารถสอบเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้
            
มีน้องๆ ถามว่าอยู่สายศิลป์จะเรียนวิศวะได้ไหม หรืออยู่สายวิทย์แต่เรียนไม่เก่งจะเรียนไหวไหม?

           คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะที่มีสาขาที่หลากหลายมากที่สุดคณะหนึ่ง ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เช่น สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน สาขาการบิน ฯลฯ

           โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีเปิดสอนในเกือบทุกมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน บวกกับมีผู้ที่จบออกมาแต่ละปีจำนวนมาก ทำให้การจบวิศวะในบางสาขาตอนนี้หางานยากขึ้น ดังนั้นถ้าอยากหางานง่าย น้องๆต้องเลือกเรียนวิศวะสาขาที่สอดคล้องกับเทรนด์งานในอนาคต เช่น วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหการ และ โลจิสติกส์ ซึ่งเป็นสาขาที่ตรงกับเทรนด์อาเซียน เพราะการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้เกิดการค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น ผนวกกับความได้เปรียบของไทยในด้านการเป็นศูนย์กลางการขนส่งของอาเซียน โดยปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มเปิดหลักสูตรนี้ เช่น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต “สาขาวิศวกรรมอุตสาหการโลจิสติกส์” ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งบูรณาการงานด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์เข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถเป็นวิศวกรที่ทำงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการหรือผู้ประกอบการได้ ตรงกับเทรนด์ความต้องการของอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนที่สนับสนุนที่สำคัญคือมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสในการใช้วิชาความรู้ในที่ทำงานจริง อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา โดยเนื้อหาวิชายังเน้นทางด้านการบริหารจัดการซึ่งเป็นโอกาสที่เหมาะสำหรับน้องๆทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ สามารถเข้าเรียนได้

 


            หวังว่าน้องๆ คงได้รับคำตอบแล้วว่าวิศวะยุคใหม่ ถ้าตั้งใจไม่ว่าจะเรียนวิทย์หรือศิลป์ ก็เรียนได้ไม่ยากเกินฝัน สิ่งสำคัญอย่างมากในการเรียนให้สำเร็จ คือ ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และ “เรียนด้วยความอยากรู้ ไม่ใช่เรียนเพียงแค่ให้สอบผ่าน”  

            ปัจจุบัน ทุกหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ซึ่งได้ให้การรับรองปริญญา ทำให้บัณฑิตสามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการได้  

            คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศ ปัจจุบันนับเป็นปีที่ 46 ของการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่ทรงคุณวุฒิ และเป็นวิศวกรมืออาชีพที่มีประสบการณ์จำนวนมาก ในปีหนึ่งๆ คณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ที่มีคุณภาพและเป็นวิศวกรที่มีบทบาทสำตัญในหน่วยงานราชการและเอกชน จำนวนมาก




 
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น