P
คณะวิทยาศาสตร์
                 จุลชีววิทยา
สาขานี้เรียนอะไร?  

       วัสดีค่ะ ต้อนรับกันกับเดือนสุดท้ายแล้วสำหรับปี 2555 อีกไม่ถึงเดือนเราจะไม่ได้หัวเราะกับ พ.ศ.แล้วนะคะ เพราะมันจะเป็นปี (2)556ไม่ใช่ (2)555... อะไรของ พี่แป้ง เนี่ย??? 555+ กลับมาเข้าเรื่องของเราดีกว่า คณะในฝัน ก็ได้เปิดซีรี่ย์ใหม่แล้ว อยากรู้กันไหมคะว่าสาขาใหม่ที่ว่าคราวนี้จะเป็นอะไร ตามมาดูกันเลยค่ะ
.


         จะว่าไปชีวิตของเรานั้นมีทั้งสิ่งมีชีวิตทั้ง ที่มองเห็น และ มองไม่เห็น สำหรับมนุษย์เดินดินอย่างเราสิ่งที่น่ากลัวก็คือสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น ก็เพราะเรามองไม่เห็นนิค่ะ เราเลยไม่รู้ว่ารอบตัวเรามีอะไรบ้าง ดังนั้นคณะในฝันประจำเดือนนี้เลยจะมาเสนอ "สาขาจุลชีววิทยา" ซึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น สาขานี้เรียนอะไรบ้าง น่าสนใจขนาดไหนไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ Let's GO!!!!


สาขานี้เรียนอะไร??

        จุลชีววิทยา (Microbiology) คือ การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่า "จุลินทรีย์" เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา สาหร่าย เป็นต้น สรุปง่าย ๆ คือเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีอยู่มากมายรอบตัวเราที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ รวมทั้งศึกษาสภาวะการเจริญของเชื้อต่างๆ  ลักษณะของสารพันธุกรรม  ลักษณะภายนอกของเชื้อ (morphology) ลักษณะการใช้อาหารและการผลิตสารต่างๆ (Physiology) ดังนั้นการศึกษาทางด้านจุลชีววิทยาสามารถต่อยอดความรู้ไปได้กว้างไกลโดยอยู่บนฐานการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ชอบเรียนในกลุ่มวิชาชีววิทยา จะได้เรียนรู้เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นให้ลึกและลึกลงไปอีก
.
           


        นอกจากนี้แล้วน้อง ๆ จะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องทั่วไป
มันใกล้ตัวจนบางครั้งเราอาจจะไม่ทันได้สังเกตด้วยซ้ำ เช่น การติดหวัด การเกิดสิว การท้องเสีย การทำโยเกิร์ต การทำไวน์ การทำขนมปัง การตรวจคุณภาพน้ำ คุณภาพอาหาร สิ่งเหล่านี้มีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าอยู่ทั้งนั้น โดยสาขาจุลชีววิทยาสามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้


.

  1. สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ ศึกษาหน้าที่ทางชีวเคมี การเจริญเติบโต เมตาบอลิซึม และโครงสร้างของเซลล์ของจุลินทรีย์
  2. พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ของเซลล์ของจุลินทรีย์และการสร้างหรือควบคุมยีน สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับอณูชีววิทยา
  3. จุลชีววิทยาทางการแพทย์ ศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ในโรคของมนุษย์ กระบวนการก่อโรคของจุลินทรีย์ และระบาดวิทยา สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน
  4. จุลชีววิทยาของสิ่งแวดล้อม ศึกษาหน้าที่และความหลากหลายของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมทั้งนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในวัฏจักรสารอาหาร
  5. จุลชีววิทยาของอุตสาหกรรม ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การหมัก การบำบัดน้ำเสีย สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
  6. จุลชีววิทยาของอากาศ ศึกษาจุลินทรีย์ที่อยู่ในอากาศ
  7. จุลชีววิทยาของอาหาร ศึกษาการเน่าเสียของอาหารที่มีสาเหตุจากจุลินทรีย์



        นเรามักมองจุลินทรีย์ในแง่ลบเนื่องจากเกี่ยวข้องกับโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ แต่ว่าจุลินทรีย์บางชนิดก็มีความจำเป็นในกระบวนการที่เป็นประโยชน์ เช่น การหมัก (ใช้ผลิตแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากนม) การผลิตยาปฏิชีวนะ และเป็นสื่อสำหรับโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างเช่นพืช นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในการผลิตเอนไซม์ที่ สำคัญๆด้วยวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ

  
 

 

















         อัยย่ะ!!! ถ้าเรียนภาคจุลชีววิทยาจะรู้ว่า "การเกิดสิว" เกิดอย่างไร!!! สนใจที่สุด ก็แหม! ความสวยความงามความหล่อบนใบหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะไม่ทรมานสายตาคนที่มองเรานี่ค่ะ >< พี่แป้ง เสนอว่าสาขานี้น่าเรียนมากเลยค่ะ เพราะว่าเป็นสาขาที่เราจะได้เห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น บางที....
อาจมีพลังงานบางอย่างซ่อนอยู่ก็ได้นะ ฮ่ะ ๆ ๆ ๆ  



.
 


  

.
2 สาขาล่าสุดใน "คณะในฝัน"













 ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
- http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5b40ccda0617ae10
- http://th.wikipedia.org/wiki/จุลชีววิทยา


พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

2 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
momotaro Member 8 มี.ค. 58 14:06 น. 2

เขิลจุง

พอดีว่าเราสนใจคณะนี้มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกเลยค่ะ

แต่เราอยากรู้ว่าถ้าเรียนในคณะนี้จะต้องใช่ความรู้ทางด้านการคำนวณกล้องจุลทรรศน์รึเปล่าคะ

พอดีว่าเราไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่ แล้วถ้าใช้ความรู้ด้านนี้จะต้องใช่มากมั้ยคะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด