5 ข้อคิด ฉบับวัยรุ่น VS ผู้ใหญ่! จากหนังสือ แม่เล่าให้ฟัง และเจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์



1. ไม่ลืมความชอบ
            เด็กมักเรียกร้องต่อผู้ใหญ่ ว่าอยากทำอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ผู้ใหญ่ก็มักจะห้าม ในขณะที่คิดย้อนไปในอดีตผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ยังคงมีความชอบและความต้องการแบบที่เด็กๆ ต้องการ แต่ทำไมเมื่อโตขึ้น ถึงลืมความต้องการแบบเดียวกันนั้นไปกันนะ 


                แต่ถ้าผู้ใหญ่ ไม่ลืมความชอบตอนเด็กๆ ล่ะคะ แบบอย่างหนึ่งที่เราได้จากหนังสือ "เจ้านานยเล็กๆ - ยุวกษัตริย์" คือ การนำความคิดวัยเด็กของตัวเองมาสร้างสรรค์กิจกรรมต่อได้ (ตามกำลังที่ทำได้) จะทำให้ลูกหลานได้โอกาสเรียนรู้มากขึ้น ในขณะที่วัยรุ่นเอง เมื่อได้ทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะมีโอกาสได้พบสิ่งที่ชอบทำ สิ่งที่ตัวเองถนัด และสามารถฝึกฝนทักษะต่อไปเพื่อเป็นอาชีพในอนาคตได้

วัยรุ่นทั้งหลายก็อย่าโตขึ้นไปแล้วลืมความชอบตัวเองนะคะ

              ซึ่งจากประเด็นนี้เอง ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้อีกว่า ประสบการณ์วัยเด็กนั้นสำคัญ และกิจกรรมที่สมเด็จย่าให้ลูกๆ ทั้งสามได้เล่นนั้น มันคือ การเรียนรู้ที่ดีเป็นการเล่นที่มีประโยชน์ ค่ะ

2. การเล่นที่มีประโยชน์
            เด็กและวัยรุ่น มีหน้าที่เล่าเรียนหนังสือ ดังนั้นจึงควรตั้งใจทำหน้าที่ในส่วนนี้ให้ดี แต่ชีวิตแต่ละช่วงวัยยังต้องการการเรียนรู้ และงานอดิเรกต่างๆ เพื่อทั้งผ่อนคลาย และได้เป็นประสบการณ์อาชีพหรือทักษะติดตัวในอนาคตด้วยค่ะ
 
         
                จากในหนังสือ เราจะเห็นว่าในหลวงทั้งสองพระองค์ และสมเด็จพระพี่นางฯ ได้เล่นได้เรียนรู้กิจกรรม กีฬา ดนตรี และงานต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งสมเด็จย่าท่านอนุญาตให้ได้ลงได้เล่น ได้เลือก และได้เรียนหลายๆ อย่างเลยค่ะ ซึ่งเชื่อว่าส่วนนี้ทำให้ในหลวงของพวกเรามีพระอัจฉริยภาพหลายๆ ด้าน
 
 
          ซึ่งถึงแม้พวกเราอาจจะไม่ได้เก่งทุกด้าน แต่การได้ลองทำ ลองเล่นหลายๆ อาจน่าจะทำให้ตัวเราได้ค้นพบสิ่งที่เราชอบหรือพรสวรรค์ที่ตัวเรามีอยู่ค่ะ อยู่เฉยๆ หน้าคอมพิวเตอร์ ก็อาจทำให้เราพลาดที่จะรู้จักพรสวรรค์ของตัวเราเองได้นะคะ 

เล่นการให้เป็น การทำกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ดีแน่นอนค่ะ 


          นอกจากนี้ เราจะพบว่าในหนังสือสมเด็จย่า ให้ความสำคัญกับ "การเรียนพิเศษ" ค่ะ  แต่มิใช่ลักษณะการกวดวิชา แต่เป็นการเรียนเพื่อให้รู้มากขึ้น ให้แม่นยำขึ้น ดังนั้นวัยรุ่นทั้งหลายลงเรียนพิเศษแค่เรียนตามเพื่อน แต่ไม่ทบทวน ก็ไม่เกิดประโยชน์นะคะ เสียค่าเดินทาง เสียค่าเรียน สู้เอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ชอบทำมากกว่า และตั้งใจเรียนในห้องเรียน ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าอีกค่ะ 


3. ควรพูดคุยก่อนลงโทษ
          ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่สไตล์คนไทย เด็กควรยอมผู้ใหญ่อยู่แล้ว แต่การเคารพอาวุโสเป็นคนละเรื่องกับ "ยอมคน" โดยเฉพาะการถูกยอมโดนโทษ ไม่ว่าจะผิดหรือไม่ผิดจริงก็ตามค่ะ

         
                การลงโทษของพ่อแม่ ครู หรือผู้ใหญ่ต่อเด็ก จึงควรมีการพูดคุยให้เหตุผลกันก่อนว่า ผู้ใหญ่จะลงโทษเด็กทำไม ด้วยสาเหตุอย่างไร และลงโทษสถานไหนดี (ให้โอกาสต่อรองด้วยเหตุผลที่เหมาะสม) ทั้งนี้มิใช่เพียงเพื่อการให้เด็กหลาบจำอย่างเดียวนะคะ แต่เพื่อให้ลูกหลานเข้าใจได้ว่าถูกลงโทษทำไม และได้เรียนรู้จริงๆ ว่า "ตัวฉันนั้นผิดอะไร" ต่อไปจะได้ไม่ทำความผิดแบบนั้นอีก การลงโทษอย่างเหมาะสมจะทำให้ตัววัยรุ่นจดจำได้ว่า "สิ่งที่ถูก สิ่งที่ควรทำ" คืออะไรมากกว่ารู้สึกเจ็บใจเจ็บตัวกันโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ
           
             อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เหมาะสมก็ต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละคน การเลี้ยงดูให้เหมาะสม หรือเลือกปฏฺิบัติต่อบุคคลต่างๆ ก็สำคัญค่ะ...


4. คนแต่ละคนก็มีนิสัยแตกต่างกัน ต้องอบรมตามนิสัย
 
(เป็นบันทึกจดหมายของสมเด็จย่า ที่เขียนถึงสมเด็จพระพันวัสสาฯ)

       ทั้งการอบรมตามนิสัย การใช้เหตุผลในการพูดคุย การปฏิบัติตัวต่อแต่ละคนที่แตกต่างกัน มันคือลักษณะของการโน้วน้าวให้อีกฝ่ายเชื่อและเห็นด้วยกับเราค่ะ บางคนก็พูดตรงๆ ได้ บางคนไม่ชอบการถูกเผชิญหน้า ลักษณะต่างๆ เหล่านี้เราจึงต้องสังเกต และเลือกใช้เทคนิคในการคบหา พูดคุย หรือสั่งสอนที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่เพียงแต่พ่อแม่กับลูก แม้แต่กับเพื่อนๆ เราก็ตามค่ะ 



5. ข้อคิดดีๆ ที่ถูกขีดเส้นใต้ไว้ กับการบันทึกที่ไม่ใช่แค่เพียงเก็บความทรงจำเท่านั้น

             หนังสือเรื่อง "แม่เล่าให้ฟัง" และ "เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์" เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงนิพนธ์ไว้จากความทรงจำ เรื่องเล่า และหลักฐานภาพหรือข้อความต่างๆ ที่สมเด็จย่าเก็บไว้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งท่านทำให้พวกเราทราบเรื่องราวต่างๆ จากบันทึกภาพเหล่านี้ 

            เราจึงเห็นได้ชัดว่า การจดบันทึกความทรงจำต่างๆ ไว้ มันเป็นประโยชน์ เป็นข้อคิด และเป็นคำสอน รวมทั้งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ให้กับคนรุ่นหลังอย่างพวกเรานี้ได้ ยุคนี้เราอาจจะถ่ายภาพได้ง่ายพิมพ์บ่น พิมพ์แชร์อะไรก็สะดวก จนเราอาจเผลอลืมความสำคัญของการเก็บข้อความและภาพเก่าไปแล้วโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น อย่าลืมมันเลยค่ะ เขียนไว้ พิมพ์ไว้ อัดคลิปไว้ หรืออย่างไรก็ได้เท่าที่ตัวเราและเทคโลโนยีเอื้ออำนวย เพื่อที่จะเก็บมันไว้เป็นความทรงจำที่มีคุณค่า และจะเป็นข้อคิดดีๆ ที่ผู้ใหญ่ฝากไว้ให้เราหรือลูกหลานเราในอนาคตเช่นกันค่ะ



            หนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" และ "เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์" ไม่ใช่ตำราเรียน แต่กลับมีข้อคิดข้อสอนใจมากมาย และยังอ่านง่าย แม้จะใช้สำนวนผู้ใหญ่ในอดีต แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความเข้าใจ ยังเป็นภาษาเขียนแบบเล่าสู่กันฟัง มีเรื่องเล่าแบบน่ารักๆ อยู่มาก โดยเฉพาะเรื่อง "เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์" ค่ะ วัยรุ่นชาว Dek-D อ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านสนุกแน่นอนค่ะ เมื่ออ่านจบแล้ว...เราจะได้รู้จักในหลวงของเรามากขึ้น และรู้ว่าทำไมในหลวงของเราและครอบครัวของท่านถึงเป็นที่รักของพวกเราชาวไทยค่ะ 
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

white rabbit Member 22 ต.ค. 59 10:11 น. 1
อยากซื้อหนังสือเจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ มาอ่านบ้างจัง ไม่ทราบว่ามีขายที่ไหนบ้างคะ ปล. จรืงๆไม่ต้องปิดชื่อเจ้านายในภาพก็ได้ค่ะ
3
karin<f>e Community 22 ต.ค. 59 18:20 น. 1-1
ไม่ได้ปิดชื่อเจ้านายค่า เพียงแต่ปิดเนื้อหาส่วนที่ไม่ได้โฟกัส จะได้อ่านเฉพาะส่วนที่เน้นเป็นตัวอย่างค่าาา ส่วนหนังสือพี่ได้จากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ที่ให้ร่วมกิจกรรมในงานหนังสือค่ะ แต่เห็นว่าในงานหนังสือก็มีหลายร้านที่ขายเหมือนกันค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าบูธไหนค่ะ เลยชี้เป้าไม่ถูก ขออภัยจ้า
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด