สวัสดีค่ะ ช่วง 2-3 ปีที่จะเห็นได้ว่าคะแนนของกลุ่มคณะเกษตรเพิ่มขึ้น หลายๆ คนสนใจงานทางด้านเกษตรที่จะนำไปพัฒนาต่อ โดยเฉพาะน้องๆ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ได้นำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ เกิดเป็นการเกษตรยุคใหม่ที่สร้างรายได้ ในครั้งนี้พี่แป้งขอเสนอแนะแนวเส้นทางสอบเข้า TCAS 63 “คณะเกษตร-ประมง-วนศาสตร์” รวมกันในบทความนี้แล้วจ้า

“คณะเกษตร-ประมง-วนศาสตร์” เรียนเกี่ยวกับอะไร
ในกลุ่มคณะเกษตร ก็จะมีรวมคณะประมงและคณะวนศาสตร์ไปด้วย จริงๆ แล้วสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ของบางมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่สังกัดคณะเกษตร/เกษตรศาสตร์นะคะ แต่อาจจะไปอยู่ในคณะอื่น เช่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ, คณะผลิตกรรมการเกษตร, คณะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น ในกลุ่มนี้แต่ละคณะเรียนอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
 

คณะเกษตร/เกษตรศาสตร์
คณะเกษตร หรือ เกษตรศาสตร์ หรือสาขาวิชาการเกษตร เป็นชื่อที่บอกอย่างชัดเจนแล้วว่าเรียนเกี่ยวกับการเกษตร คลอบคลุมทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมทั้งค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีด้านการเกษตรใหม่ๆ ด้วย ในคณะนี้ก็จะมีรายวิชาแบ่งย่อยด้านทรัพยากรต่างๆ  ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะเน้นเป็นสัตว์บกมากกว่า (ส่วนสัตว์น้ำแบบลงลึกต้องยกให้คณะประมง) ในรายวิชาย่อยก็จะได้เรียนเกี่ยวกับ กีฏวิทยา(แมลง), ปฐพีวิทยา, สัตวบาล, พืชไร่นา-สวน, เกษตรกลวิธาน(เทคโนโลยี), การจัดการศัตรูพืช, เคมีการเกษตร เป็นต้น ครอบคลุมศาสตร์ด้านการเกษตร สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ต่อในอนาคตได้

คณะประมง
คณะประมง เป็นคณะที่เรียนในศาสตร์เกี่ยวกับทรัพยากรประมง แหล่งน้ำ ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในน้ำ ความหลากหลายของชีวภาพทางทะเล นิเวศวิทยาทางทะเลและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในทะเลกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการประมง ซึ่งจะแบ่งเป็นวิชาเอกย่อยๆ ที่เจาะลึกแต่ละด้านอีก เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, วิทยาศาสตร์ทางทะเล, ชีววิทยาประมง, ผลิตภัณฑ์ประมง, การจัดการประมง เป็นต้น

คณะวนศาสตร์
คณะวนศาสตร์ เป็นคณะที่เรียนในศาสตร์เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ในด้านต่างๆ รวมถึงการบริหารจัดการ การอนุรักษ์ป่าไม้ การจัดการลุ่มน้ำ ด้วย คณะวนศาสตร์มีเปิดสอนที่เดียวคือ ม.เกษตรศาสตร์ มีวิชาเอกให้เลือก เช่น สาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ สาขาวิศวกรรมป่าไม้ สาขาการจัดการป่าไม้ สาขาวนวัฒนวิทยา สาขาวนศาสตร์ชุมชน สาขาอุทยาน นันทนาการและการท่องเที่ยว สาขาการจัดการสัตว์ป่าและทุ่งหญ้า เป็นต้น

แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับรอบไหนบ้าง

ตัวอย่างที่น่าสนใจในแต่ละรอบ (พร้อมเกณฑ์คะแนน)
รอบที่ 1 Portfolio
1.1 โครงการเด็กดีมีที่เรียน คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : เรียนใน รร. ที่อยู่ใน 20 จังหวัดภาคอีสาน + GPAX > 2.50 + Portfolio

1.2 การรับด้วย Portfolio คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.75 + Portfolio (ด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/เศรษฐศาสตร์/เกษตรศาสตร์)

1.3 โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนดี คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.75 + มี GPA ผ่านเกณฑ์ตามรายวิชาที่กำหนด


รอบที่ 2 โควตา
2.1 โควตา 28 จังหวัด คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ม.ศิลปากร
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : เป็นนร.ใน 28 จังหวัดที่กำหนด + วิชาสามัญ (29, 39, 59, 69)

2.2 โควตา 17 จังหวัดภาคเหนือ สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่ฟ้าหลวง
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : เป็นนร.ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ + GPAX > 2.50 + วิชาสามัญ (29, 39, 49, 59, 69)

2.3 โควตาพื้นที่ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ม.เทคโนโลยีสุรนารี
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.50 + วิชาสามัญ (7 วิชาหลัก)  


รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
3.1 TCAS รอบ 3 สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : ผลสอบ GAT, PAT 1 , PAT 2 + สอบสัมภาษณ์(คิดคะแนนเป็น 20%)

3.2 TCAS รอบ 3 คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
ทดสอบ Icon
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.50 + วิชาสามัญ (29, 39, 49, 59, 69) + ผลสอบ O-NET ภาษาอังกฤษ

3.3 TCAS รอบ 3 คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + ผลสอบ GAT, PAT 1 , PAT 2 + ผลสอบ O-NET


รอบที่ 4 แอดมิชชั่น
ใช้เกณฑ์เดียวกันทุกมหาวิทยาลัย
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX 20% // O-NET 30% // GAT 10% // PAT 1 10% // PAT 2 30%


รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
5.1 TCAS รอบ 5 คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.00 + สอบสัมภาษณ์ (รับสายศิลป์คำนวณ)

5.2 TCAS รอบ 5 คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ม.ทักษิณ
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.00 + สอบสัมภาษณ์ (รับสายศิลป์คำนวณ/ปวช.เกษตรกรรม)

5.3 TCAS รอบ 5 คณะผลิตกรรมการเกษตร ม.แม่โจ้
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.00 (ไม่มีการสอบ)


Q&A คำถามยอดฮิต
Q : ถ้าที่บ้านไม่ได้ทำการเกษตร จะสามารถเรียนกลุ่มคณะเกษตรได้ไหม?
ได้ค่ะ เรียนคณะนี้ไม่ได้มีคุณสมบัติบังคับว่าจะต้องมีครอบครัวเป็นเกษตรกร ถ้าใจรัก อยากเรียน และอยากมีอาชีพทางด้านนี้ก็สามารถเรียนได้เลย บางคนก็ไม่ได้มาจากครอบครัวเกษตร แต่เรียนจบไปเพื่อนำความรู้ด้านการเกษตรไปต่อยอด เช่น ขายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร, พัฒนาเครื่องมือทางการเกษตร เป็นต้น

Q : คณะนี้เรียนกี่ปี และจบมาได้วุฒิอะไร?
กลุ่มคณะนี้เรียนทั้งหมด 4 ปีค่ะ จบมาได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือ วท.บ. นั่นเอง เพราะฉะนั้นน้องๆ ที่จะเรียนในกลุ่มคณะนี้จะต้องเป็นน้องที่จบ ม.ปลาย สายวิทย์ หรือ ศิลป์คำนวณ(บางมหาวิทยาลัย) จะได้เจอวิชาสายวิทยาศาสตร์มาเต็มตั้งแต่ปี 1 เลยค่ะ

Q : ถ้าเลือกเรียนคณะนี้ ส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงจริงหรอ?
ไม่จริงค่ะ กลุ่มคณะนี้เปิดรับทั้งเพศหญิงและชาย และโอกาสที่ได้ไม่เกี่ยวกับเพศ อยู่ที่ความสามารถ จะเห็นได้ว่าตามองค์กรรัฐหรือเอกชน ที่เป็นงานด้านการเกษตรก็มีผู้หญิงที่มีบทบาทมากมาย ส่วนเรื่องสังคมภายในที่จะให้ผู้ชายมากกว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิดเลยค่ะ ทุกคนคือเพื่อนกัน ก็ได้โอกาสเท่าเทียมกันค่ะ

เชื่อว่าหลายคนอยากเรียนคณะกลุ่มนี้แต่ไม่รู้ว่าต้องเตรียมอย่างไร มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง ตอนนี้รู้แล้วก็เตรียมตัวกันได้เลย จริงๆ จบไปแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรกรอย่างเดียวนะคะ ยังมีอาชีพอื่นๆ อีก เช่น นักวิจัย อาจารย์ นักทรัพยากรธรรมชาติ นักอนุรักษ์ป่าไม้ แล้วแต่จะเลือกได้เลย งานมีทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ตกงานแน่นอนค่ะ

 
พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น