เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : มารู้จัก White Balance กันเถอะ!

 

 

 

            สวัสดีครับน้องๆ ชาว Dek-D.com ที่น่ารักทุกๆ คน เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร หยุดยาวนี้ หนีไปเที่ยวที่ไหนกันบ้างครับ? แล้วอย่าลืมถ่ายรูป เก็บความประทับใจ  ความทรงจำดีๆ ผ่านภาพถ่ายของเราแล้วเอามาแบ่งปัน ให้พี่เอมและเพื่อนๆ ชาว Dek-D.com ได้รับชม และมีส่วนร่วม กับความประทับใจนั้นๆ ด้วยกันนะครับ :D

            สำหรับเทคนิคถ่ายภาพที่พี่เอมจะนำมาแนะนำในวันนี้ จะออกแนวทฤษฎีหน่อยๆ แต่รับรองว่าพี่เอมจะไม่อธิบายให้น้องๆ ปวดหัว ปวดตับกันแน่นอนครับ :D 
 

            เคยสงสัยกันไหมครับ? ว่าทำไมรูปภาพที่เราถ่าย โทนสีถึงไม่คล้ายกับสิ่งที่ตาเราเห็น หลายคนก็โทษว่ากล้องไม่ดีบ้าง (เข้าข่ายรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง) หลายคนก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติของกล้องถ่ายรูป แต่จริงๆ สิ่งสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโทนสีของภาพอย่างมากคือ “White Balance” (WB) หรือ “ค่าสมดุลแสงสีขาว” 
             

             น้องๆ หลายคนคงคุ้นหู คุ้นตากับคำว่า “White Balance” (WB) หรือ “ค่าสมดุลแสงสีขาว” กันมาบ้าง เจ้าตัวนี้มันมีอยู่ในกล้องของพวกเราทุกๆคน แต่พี่เอมเชื่อว่า คงมีน้องหลายคน(จริงๆ) ที่ไม่เคยสนใจเจ้าตัวนี้ หรือเคยเห็นแต่ไม่รู้ว่ามันทำอะไรได้ ก็เลยไม่สนใจมันซะเลย (ปรับ Auto อย่างเดียว) ทำให้โทนสีของภาพเราผิดเพี้ยน  เดี๋ยวอมฟ้า เดี๋ยวอมส้มบ้าง ทำให้ภาพที่ควรจะสวย กลับดูธรรมดาไปซะอย่างนั้น  ส่วนวิธีการแก้ไขนั้นง่ายนิดเดียวครับ!

            วันนี้พี่เอมเลยได้ยืมบทความเจ๋งๆ ของพี่ตี๋ CK' โปรใจดี ที่อนุญาตให้พี่เอมเอามาแบ่งปัน น้องๆ ชาวDek-D.com ได้อย่างไม่มีกั๊กเลยละ!     

            ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจ เรื่องแหล่งกำเนิดแสงก่อน ว่า แหล่งกำเนิดแสง แต่ละชนิด มีอุณหภูมิสี ของแสงที่ต่างกัน (ไม่ใช่ อุณหภูมิ ความร้อนนะจ๊ะ :D) เราเรียกหน่วยว่าองศาเคลวิล (Kelvin)

 
           

 

ภาพที่ถ่ายตอนเย็นจะมีสีส้มผสมอยู่มาก

 

ภาพที่ถ่ายตอนเที่ยงๆ บ่ายๆ จะเป็นสีขาว

 

          เข้าใจง่ายๆ ว่า เวลาเราถ่ายภาพตอนเช้าหรือเย็น ภาพที่ได้จะมีโทนสีอุ่นๆ ต่างจากภาพที่ถ่ายตอนเที่ยง ที่จะเป็นแสงสีขาวใช่ไหมครับ? หรือถ่ายในแสงหลอดอ้วน ภาพที่ออกมาก็จะส้มจ๋าเลยนั่นละ เขาเรียกว่าอุณหภูมิสีไม่เท่ากัน

          ทีนี้ ดวงตาของเรานะ  มีความสามารถพิเศษที่จะมองเห็นวัตถุสีขาวให้เป็นสีขาวได้ภาพใต้สภาพแสงต่างๆ แต่กล้องนั้นสามารถทำได้โดยการปรับค่า White Balance เพื่อให้สภาพแสงไม่ผิดเพี้ยน ถ่ายภาพออกมาไม่ให้หน้าส้มไปหรือฟ้าเกินไป โดยการใส่สีที่อยู่ตรงกันข้ามกับสภาพแสงในขณะนั้นเข้าไป เข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าภาพออกโทนอุ่นก็ใส่โทนเย็นเข้าไป หรือถ้าภาพออกโทนเย็นก็ใส่โทนอุ่นเข้าไป ภาพที่ได้ก็จะออกมาพอดีครับ
        

         ถ้าน้องคนไหน งง กับทฤษฎีข้างต้นนะครับ ก็อย่าเพิ่งเครียดมาก จำเอาไว้ว่า สภาพแสงแบบไหน ปรับตามรูปอะไรก็พอแล้วละ!!

 

        ปุ่มที่มีตัวอักษร AWB คือ โหมดอัตโนมัติ ใช้ในสภาพแสงทั่วๆ ไป ตอนเช้า ตอนเย็น ฯลฯ หรือ สภาพแสงที่ผสมกัน หลายอย่าง เช่น มีแสงอาทิตย์ แสงจากแฟลช แสงหลอดไฟ อยู่รวมๆ กัน ก็เลือก AWB ไปเลยครับ

        

 

 

        ปุ่มที่มีรูปพระอาทิตย์ อย่างนี้ใช้ในสภาวะแสงตอนกลางวันที่มีแดดดีๆ เปรี้ยงๆ นะครับ ถ้าแดดมากหมายความว่า มีรังสี UV มาก จะทำให้ภาพมีสีหนักไปทางโทนฟ้า เราก็ต้องใช้โหมดนี้ ที่มีสีแดงอมส้มนะครับ (สามารถใช้โหมด AWB ได้เช่นกัน แต่ถ้าแดดเปรี้ยงมากๆ ใช้ Daylight ดีกว่าครับ)

 

        ปุ่มที่มีรูปเมฆแบบนี้ ใช้ในวันมามากนะครับ หมายถึงเมฆมากนะ :P ภาพของเราก็จะอมฟ้าๆ เราก็ปรับมาใช้โหมดเมฆ จะทำให้เราได้ภาพที่ สีที่ถูกต้อง นะครับ (หรืออมส้มขึ้นมา)

        สำหรับสัปดาห์นี้พี่เอมพอไว้แค่นี้ก่อนดีกว่าครับเดี๋ยวน้องๆ จะหัวโตกันซะก่อนเปล่าๆ :D ลองออกไปถ่ายรูป แล้วลองหัดปรับ White Balance ดูนะครับ วันฝนพรำ เมฆมากแบบนี้ลองปรับ AWB กับ Cloudy แล้วเทียบความแตกต่างดูสิครับ :D แล้วในสัปดาห์หน้าพี่เอมจะเอาวิธีสร้างสรรค์กับ White Balance มาฝากนะ!

ข้อมูลอ้างอิง และภาพประกอบ : ชัยวัฒน์ กลกิจสุวรรณ
http://ckphotographer.multiply.com/

 

 

 

พี่เอม

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

27 ความคิดเห็น

~ ยัยแมวเอ๋อ ~ Member 23 ก.ค. 53 18:14 น. 1
อ่านดูแล้วงงอ่ะค่ะ
เข้าใจมาตลอดว่าแดดเปรี้ยงใช้ Daylight ไม่อย่างนั้นภาพจะสีส้ม
เมฆเยอะใช้ Cloudy ไม่อย่างนั้นภาพจะออกมาสีฟ้า
ปวดหัวจัง (-*-)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
NMM^_^ Member 23 ก.ค. 53 22:22 น. 5
บางทีถ้าถ่ายเล่นๆ ก้อขี้เกียจปรับเหมือนกันยิ่งเวลา
ถ่ายคนกลางเเดดเนี่ย เพื่อนมันจะบ่นแล้วก้อให้ถ่ายเร็วๆ มันร้อนอะค่ะ
แต่ถ้า ตั้งใจจะถ่ายก้อจะปรับแสง แต่บางทีก้อปรับไปทุกโหมด อะค่ะ
(มั่วไปเรื่อยๆนั่นเอง อิอิ)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Pretty Husky Member 24 ก.ค. 53 14:58 น. 7
แล้วข้อมูลของ ทังสเตน กับ ฟลูออเรสเซนท์ ละครับ

สำหรับสัปดาห์นี้พี่เอมพอไว้แค่นี้ก่อนดีกว่าครับเดี๋ยวน้องๆ จะหัวโตกันซะก่อนเปล่าๆ :D 

ไว้มาเพิ่ม WB ให้ครบในสัปดาห์หน้านะครับ

เพราะ 3 ตัวที่นำมาลง สามารถใช้แทนกันได้ แต่ ทังสเตน กับ ฟลูออเรสเซนท์ นั้นจะใช้ในกรณีที่อยู่ภายใต้แสงไฟหรือภายในห้องบางทีก็ใช้กลางแจ้งก้ได้

แล้วก็อีกตัวที่ควรเพิ่มก็คือ WB แบบ Manual ในกรณีที่ใช้แสงอื่นๆแล้ว ยังไม่ได้แสงที่เป็นปกติครับ

ขอบคุณคุณเอม มากครับ ได้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับองศาเคลวินเยอะเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
mepanya Member 26 ก.ค. 53 21:33 น. 11
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
kwangzzphoto Member 31 ก.ค. 53 00:55 น. 18
ผิดมั้ยถ้าจะบอกว่า Auto Whitebalance ให้ค่าที่ไม่ค่อยจะตรง และเพี้ยนง่ายมากมาย ตอนนี้เลยหันมาใช้แบบ ปรับ Kelvin เอาเองตามสภาพแสงเลย ง่ายดี
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด