น้องๆ ชาว Dek-D เคยได้ยินเรื่องรถไฟสายอาเซียนหรือยัง รถไฟจริงๆ นะ ที่วิ่งกันบนพื้นดิน ไม่ใช่ลอยฟ้า และไม่ใช่ใต้ดิน พี่เกียรติอนุญาตให้น้องๆ นั่งนึกถึงภาพรถไฟไทย ได้  3 นาที 
.
..
...
           เป็นไงบ้าง รถไฟไทย พอจะขยับขยายไปเชื่อมต่อกับรถไฟรอบประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในกลุ่มอาเซียนเราได้หรือเปล่า...พี่เกียรติเชื่อว่า น้องๆ พอมีคำตอบอยู่ในใจแล้วใช่ไหม อิอิ ถ้าใครอยากตอบ โปรดพิมพ์ทิ้งไว้ที่ความคิดเห็นด้านล่างของเรื่องได้เลยนะ 




             การขนส่งทางรถไฟ ถือว่าเป็นการขนส่งที่รวดเร็วในระดับหนึ่ง ที่สามารถควบคุมระยะเวลาการเดินทางได้ และสามารถขนสินค้าได้ในจำนวนมากๆ ต่อขบวนตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มได้มาก เมื่อคำนวณต้นทุนแล้ว ก็ถือว่าถูกมากกว่าส่งด้วยยานพาหนะอื่นๆ 


แม่บทความเชื่อมโยงกันในอาเซียน 
Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC
      กลุ่มอาเซียนเองมีแม่บทเรื่อง ความเชื่อมโยงกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC) เพื่อร้อยใจ เอ้ย เชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน เพิ่มการติดต่อถึงกันได้ง่ายขึ้นในภูมิภาคปี 2554 - 2558 ซึ่งผู้นำอาเซียนในการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 17 ที่ประเทศเวียดนามได้ลงนามใน “ปฏิญญาฮานอย” (Ha Noi Declaration) ว่าจะปฏิบัติตามแม่บทเรื่องนี้ด้วยโดยกำหนดให้มีการเชื่อมโยงใน  3 มิติ คือ การเชื่อมโยงทางกายภาพ การเชื่อมโยงองค์กร และการเชื่อมโยงประชาชน


  • การเชื่อมโยงทางกายภาพ ก็คือ การทำให้สามารถเดินทางถึงกันได้ง่ายขึ้น จากเมืองโน้นสู่ประเทศนี้ได้ รวมถึงเรื่องพลังงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่างๆ ด้วย
  • การเชื่อมโยงองค์กร คือ ความร่วมมือกันในองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องหรือจะช่วยเกื้อหนุนกันได้ จะได้ช่วยให้เกิดผลที่ดี  ในเรื่องกฎหมาย กำแพงภาษี กฎระเบียบ หรือประโยชน์อื่นๆ 
  • การเชื่อมโยงประชาชน คือ การทำให้ประชาชนแต่ละประเทศมีการติดต่อสื่อสาร หรือเข้าใจกันในเรื่องความต่างของวัฒนธรรมได้ เน้นเรื่องการศึกษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการรว่มมือที่ดีในยามที่ต้องมาทำงานร่วมกัน

       และการเชื่อมโยงที่น่าจะสามารถทำได้ง่าย ทั้งเกิดผลดีต่อการเชื่อมโยงในด้านอื่นๆ ด้วยก็คือ การเชื่อมโยงทางกายภาพ คือ การสร้างหรือปรับปรุงด้านการคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นช่องทางในการสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและประชาชนอีกด้วย ก็แน่อยู่แล้ว เช่น เทคโนโลยีสื่อสารดี เราก็แชต โทรคุยกับคนในประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายไงล่ะ เชื่อมเราได้เห็นๆ เนอะ
         แล้วเรื่องหนึ่งในการเชื่อมโยงทางกายภาพ และน่าติดตามไม่น้อยก็คือ เรื่อง การเชื่อมโยงทางรถไฟสายอาเซียนนี่แหละ


           

               
อาเซียนเรามีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง (Singapore Kunming Rail Link: SKRL) โดยเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายหลักของ   8 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า และมณฑลยูนนานของจีน คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2558 ในความร่วมมืออื่นๆ อย่างไทย -ลาว ไทย-จีน ไทย-มาเลเซีย ก็มีอยู่แล้วอีกหลายสาย


             แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้รถไฟสามารถเชื่อมต่อกันได้ แต่ละประเทศควรมีมาตรฐานการสร้างรางรถไฟในมาตรฐานเดียวกัน คือควรเป็นระบบรางคู่ (Double track) มีขนาดความกว้างราง 1.435 เมตร  (standard gauge) ซึ่งเป็นคขนาดรางที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก แต่ระบบรถไฟไทย (บนดิน) ส่วนใหญ่ยังคงเป็นรางเดี่ยว คือ ถ้ารถไฟจะสวนกัน ต้องรอให้อีกขบวนไปก่อน และสับรางรถไฟเพื่อไปต่อ ทำให้ต้องเสียเวลาพอดู และใช้รางขนาด 1.000 เมตร (Meter Gauge)  แต่ถึงแม้ขนาดรางจะไม่ใช่สากล แต่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เราก็ใช้ขนาดราง 1.000 เมตร ยกเว้นอินโดนีเซียที่ใช้รางกว้าง 1.067 เมตร (Caps Gauge)




           การประชุมด้านคมนาคมกลุ่ม ASEAN ได้เสนอให้ใช้ระบบรางร่วม (Dual Gauge) เพื่อรองรับได้ทั้งรถไฟระบบรางแคบ และรางมาตรฐาน  เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีข่าวคืบหน้าการพัฒนารถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนมิถุนายนมีข่าวกระทรวงคมนาคมเตรียมขยายเส้นทางรถไฟสายใต้ เชื่อมถึงมาเลเซียเป็นระบบรางคู่เช่นกัน ซึ่งทางมาเลเซียเองก็มีการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ที่เชื่อว่าจะทันต่อการเปิดประชาคมอาเซียน ในปี 2558 และพร้อมจะเชื่อมต่อทางรถไฟกับไทยได้ทันที แต่อันที่จริงแล้ว แผนการพัฒนารถไฟรางคู่ทั้งสองเส้นทางที่มีข่าวนี้ ก็อยู่ในกรอบพัฒนารถไฟ และการปรับปรุงรางทั่วประเทศ ระยะเร่งด่วน ระหว่างปี 2553-2557 โดยกระทรวงคมนาคมอยู่แล้ว เพียงแต่เท่าที่ผ่านมาดูล่าช้าจนภาคเอกชนหลายส่วนต้องออกมาผลักดัน

                                                          ภาพ: virtualtour.railway.co.th


          เป็นอันว่าเรื่องรถไฟเชื่อมต่อกันทั้งหมดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีโอกาสเป็นจริงในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว เรื่องภาษี การเดินทาง การขนส่งสินค้า สะดวกมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมคือ ไทยเราก็ต้องสร้างทางคมนาคมให้ได้มาตรฐานในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟบนดิน ใต้ดิน หรือลอยฟ้า เรือ เครื่องบิน และการสื่อสารไร้สายต่างๆ 

       
        ที่สำคัญตอนนี้หลายๆ ชาติในกลุ่มอาเซียนเริ่มมีการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับวิศวกรรมขนส่งระบบรางมากขึ้น ประเทศไทยเราเองก็เพิ่งมีข่าวว่า การรถไฟจะร่วมมือกันเปิดหลักสูตรการเดินรถ มีการอบรมวิศวกรรมระบบราง และมีการเตรียมจัดทำหลักสูตรนี้กันอีกหลายสถาบัน ใครที่ชอบรถไฟอยู่แล้ว เตรียมเรียนสาขานี้หรือเรียนในสาขาที่จะประยุกต์ใช้ได้ก็น่าจะดีไม่น้อยนะคะ  


       ปู๊น ปู๊น ต่อไปเราอาจจะมีการเดินทางไปโรงเรียนแบบไป - กลับทุกวัน เวียงจันทน์ - หนองคาย หรือปัตตานี - กัวลาลัมเปอร์ กันเลยก็ได้นะ (หรือมีใครทำแล้วหรือเปล่านะ?) แบบนี้คงน่าสนุกไม่น้อยเลยทีเดียว 
แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ:
    - http://www.aseansec.org/documents/MPAC.pdf
    - http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/465777
    - http://news.thaipbs.or.th/content/กระทรวงคมนาคม-เตรียมขยายทางรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน-รองรับอาเซียน
    - http://chineseinfo.boi.go.th/CIC/document/Private/WhatNews/3273787_1234.pdf
    - http://spatialpolicymakers.blogspot.com/2011/12/blog-post_8108.html
    - en.wikipedia.org/wiki/File:Kunming-Singapore.png
    - en.wikipedia.org/wiki/File:Ga_Mương_Mán,_Bình_Thuận.JPG

พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

min'Woon >DW< Member 22 ส.ค. 55 17:14 น. 19
ช่วยเปลี่ยนรถไฟก่อนจะดีกว่า  เข้าใจแล้วว่าทำไมสิงคโปถึงได้พร้อมที่จะเป็นประเทศอาเซียนประเทศเดียว =   =
0
กำลังโหลด

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
เทพมั่ว 17 ส.ค. 55 20:05 น. 5
ใช้เมตรก็ถูกแล้วไม่ใช่หรือ คห.1
ไม่ได้บอกว่ารางกว้าง 1,000 มิลิเมตรสักหน่อยนี่ เขาบอกว่า 1.000 เมตร นี่
เคยเรียนมาปะ 10 มิลิเมตร เป็น 1 เซนติเมตร
100 เซนติเมตร เป็น 1 เมตร
ดังนั้น 1000 มิลิเมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร และเท่ากับ 1 เมตร

ก็ถูกนี่หว่า ก๊ากกก หรือข้ามั่วเองวะ
0
กำลังโหลด

31 ความคิดเห็น

Tsusaka Member 17 ส.ค. 55 19:01 น. 1
ขอบคุณค่า เมื่อเช้าครูที่โรงเรียนก็พูดถึงเรื่องนี้ด้วย
เอ่อ ขอแก้เรื่องรางรถไฟหน่อยค่ะ หน่วยเป็น"มิลิเมตร"ค่ะไม่ไช่เมตร
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เทพมั่ว 17 ส.ค. 55 20:05 น. 5
ใช้เมตรก็ถูกแล้วไม่ใช่หรือ คห.1
ไม่ได้บอกว่ารางกว้าง 1,000 มิลิเมตรสักหน่อยนี่ เขาบอกว่า 1.000 เมตร นี่
เคยเรียนมาปะ 10 มิลิเมตร เป็น 1 เซนติเมตร
100 เซนติเมตร เป็น 1 เมตร
ดังนั้น 1000 มิลิเมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร และเท่ากับ 1 เมตร

ก็ถูกนี่หว่า ก๊ากกก หรือข้ามั่วเองวะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Gunner Member 19 ส.ค. 55 20:58 น. 9
เหอะ... รถไฟไทย แต่ก็นะ แต่ก่อนรถไฟไทยก้าวหน้ามาก
พอเวลาผ่านมาเรากลับกลายเป็นประเทศที่ล้าหลังไปซะงั้น
ไม่เป็นไรเราเป็นเยาวชนคิดใหม่ทำใหม่ไม่สายนี่เนอะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ก็รู้อ่ะ 22 ส.ค. 55 10:40 น. 15
ที่กั้นรถไฟ...คนที่ทำต้องเป็นเจ้าของถนนที่ตัดผ่าน ไม่ใช่ความดูแลของ รฟท.

แล้วถามว่า ทำไมคนตัดถนน ไม่ทำ???
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Nocebo-[D] Member 22 ส.ค. 55 14:10 น. 17
วันก่อนครับ
นั่งรถไฟ จากหาดใหญไปเชียงใหม่ครับ

หาดใหญ่-กรุงเทพฯ รถออก 14.45 กำหนดถึง 09.00 ครับ
แต่ออกจริง 16.00 ถึงจริง 12.10 !!

กรุงเทพ-เชียงใหม่ รถออก 12.45 กำหนดถึง 04.05 ครับ
ออกจริง 12.50 ถึงจริง 08.00 ครับ !!

คิดดูนะครับ ผมต้องต้องชีวิตบนรถไฟโสโครก เกือบ 2 วันเต็ม -*- 
เข็ดและหลาบเลยครับ กับ รฟท 115 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการพัฒนา มีแต่ถอยหลังเรื่อย ๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
min'Woon >DW< Member 22 ส.ค. 55 17:14 น. 19
ช่วยเปลี่ยนรถไฟก่อนจะดีกว่า  เข้าใจแล้วว่าทำไมสิงคโปถึงได้พร้อมที่จะเป็นประเทศอาเซียนประเทศเดียว =   =
0
กำลังโหลด
Railzory Leotraino Member 22 ส.ค. 55 18:56 น. 20
ผมคนนึงที่อยู่ในกลุ่มคนรักรถไฟที่มีมากกว่า1000คน (แต่ถูกย่อยปลีกออกมาหลายกลุ่มและก็มีแบบสันโดษอยู่) รถไฟเป็นสิ่งที่ผมชอบมาตั้งแต่เด็กๆ ใช้ชีวิตกับรถไฟมาแต่เด็กๆ เกิดในจังหวัดที่มีทางรถไฟที่เป็นชื่อเสียงระดับโลก นั่นก็คือกาญจนบุรี ผูกพันกับรถไฟมากๆ

ว่ากันถึงเรื่องรางรถไฟมาตรฐาน รางรถไฟมาตรฐานนั้นไม่ได้วัดกันที่ความกว้างของราง แต่วันที่ขนาดของราง กล่าวคือราง1.425ม.ไม่ได้เป็นรางมาตรฐานของทางรถไฟทั่วโลก แต่เป็นรางมาตรฐานของแต่ละประเทศตามสภาพภูมิศาสตร์และปัจจัยต่างๆของแต่ละประเทศ เช่นกันรางมาตรฐานของอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และทางตอนใต้ของจีน)คือราง1.000ม. รางมาตรฐานของญี่ปุ่นคือ1.067ม. รางมาตรฐานของจีนคือ1.435ม. ฯลฯ แต่มาตรฐานของรางทั่วโลกอยู่ที่ขนาดของรางคือรางที่มีขนาดมากกว่า100ปอนด์นั่นคือรางมาตรฐานทั่วโลก สิ่งที่ควรพัฒนาของรถไฟตอนนี้ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่การนำรถไฟความเร็วสูงมาวิ่งและขยายรางเป็น1.425ม. แต่เป็นการนำรถจักร+ตู้โดยสาร+ราง+สิ่งต่างๆในการรถไฟมาทำใหม่ ทำให้ดีกว่าเดิม ซื้อใหม่ และควรที่จะอนุรักษ์พวกสถานีรถไฟที่สร้างมาเป็น100ปี คงวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ ถ้าทำแบบนี้ลูกหลานของเราก็จะได้เรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่นเรา อย่านึกถึงแต่ความทันสมัยตามโลกตะวันตกตามต่างประเทศจนนึกถึงลูกๆหลานๆของเรา เรามีรูปที่ทางรถไฟของจังหวัดกาญจนบุรีหรือทางรถไฟสายมรณะมาให้ดู  


ผมของฝากกระทู้ดีๆเกี่ยวกับความรู้ของเรื่องรถไฟในเว๊ปพันทิปของพี่ๆที่ชอบรถไฟเหมือนผมด้วยครับ
http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2012/04/E11967420/E11967420.html
ตอนที่1
http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2012/04/E11972781/E11972781.html 
ตอนที่2
http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2012/04/E11987268/E11987268.html
ตอนที่3


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด