1. ฟิลิปปินส์
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 1
Image: pinned on Pinterset.com 
           
      อย่างที่พวกเราทราบกันว่า สเปนได้ปกครองฟิลิปปินส์กว่า 300 ปี นับได้ว่าได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์อย่างมาก   ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางชาวฟิลิปปินส์นิยมส่งลูกหลานไปเรียนในสเปนและอื่นๆ ปีค.ศ.1898 สหรัฐอเมริกาและสเปนเกิดความขัดแย้งกันขึ้นเรียกว่า Spanish-American war จนกระทั่งปี ค.ศ. 1899 สหรัฐฯ เข้ายึดครองฟิลิปปินส์แทนที่สเปน ในช่วงแรกๆ ก็มีชาวฟิลิปปินส์ต่อต้านสหรัฐ กลายเป็นสงครามที่เรียกว่า Philippine-American War ยาวนานถึง 14 ปี จนกระทั่งฟิลิปปินส์มีสถานะเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพของสหรัฐฯ มีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองฟิลิปปินส์และรูปนี้ก็คือสตรีชาวฟิลิปินส์ในช่วงเวลานั้น ดังจะเห็นว่าแม้อยู่ในช่วงญี่ปุ่นปกครอง แต่ก็ยังนิยมแต่งกายสไตล์ยุโรปที่ฝังรากมานานเช่นเดิม   จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลให้ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญสงครามในขณะนั้น  และได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1946 
 
2. สิงคโปร์
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 2
Image: The Straits Times, newspapers.nl.sg
           
       เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1961 เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สิงคโปร์ บริเวณ Bukit Ho Swee ตั้งแต่ช่วง Kampong Tiong Bahru, Bukit Ho Swee และ Delta Road กินพื้นที่ถึง 60 เอเคอร์ ภาพนี้มาจากภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ไฟไหม้ครั้งนี้มีคนสูญเสียบ้านถึง 16,000 คน เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 80 คน

 
3. อินโดนีเซีย
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 3
Image: pinned on Pinterset.com, Lithograph: Parker & Coward, Britain 
           
      การระเบิดภูเขาไฟครั้งรุนแรงที่สุดในกลุ่มภูเขาไฟยุคใหม่! ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatau) ระหว่างเกาะชวาและเกาะสุมาตราในอินโดนีเซียเกิดการระเบิด   เมื่อวันที่ 26-27 สิงหาคม ปีค.ศ. 1883 เสียงจากการระเบิดได้ยินไปไกลกว่า 4,800 กิโลเมตร หรือประมาณกรุงเทพฯ - โตเกียว เสียงดังถึง 180 dBSPL (หน่วยวัดความดังของเสียงเป็นเดซิเบลอ้างอิงกับแรงกดดันเสียงในอากาศ) เกิดคลื่นสึนามิที่สูง 40 เมตร พุ่งเข้าถล่มชาวบ้านใกล้เคียงจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 34,000 คน มีหมู่บ้าน 165 แห่ง ถูกทำลายราบเรียบ สึนามิพาแพจากบริเวณเกิดเหตุไหลไปไกลถึงฝั่งของประเทศแซนซิบาร์(Zanzibar) ในแอฟริกาตะวันออก การระเบิดครั้งนี้ส่งผลต่อทั้งโลก อุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดต่ำกว่าปกติเป็นเวลา 5 ปี หลังการระเบิดปริมาตร 2 ใน 3 ของภูเขาไฟกรากะตัวได้จมน้ำหายไป เมื่อเวลาผ่านไปก็เกิดเป็นเกาะต่างๆ ใกล้เคียง อีกส่วนกลับมาตั้งสันฐานเป็นภูเขาเหมือนเดิม และยังคงมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และโบราณคดีเข้าไปสืบเสาะวิจัยธรณี บรรพชีวิน และสภาพต่างๆ ที่ส่งผลต่อโลกต่อไป
 
4. เมียนมาร์
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
      สตรีชาวพม่า (เมียนมาร์) ในอดีตมีบทบาทในสังคม จากการศึกษาของ Daw Mya Sein พบว่าสตรีชาวพม่าในอดีตนั้น แม้ว่าจะมีอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดูเป็นกรอบการประพฤติและปฏิบัติตัวอยู่ก็ตาม แต่สตรีชาวพม่านั้นก็ยังมีอิสระสูงทางพฤติกรรมและความคิด รู้จักสิทธิและสถานะทางฐานะและสังคมของพวกเขาได้อย่างดี ดูจากในรูปนี้ ทั้งสายตา ท่าทาง ก็รู้สึกได้ถึงความเป็นผู้หญิงมั่นไม่น้อยทีเดียวค่ะ 

ภาพ 4
Image: pinned on Pinterset.com
 
 
5. มาเลเซีย
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 5
Image: pinned on Pinterest.com (ข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง)
           
      ภาพประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1957 นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ได้กล่าวคำประกาศอิสรภาพ ที่จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันนั้นเขาได้ตะโกนก้องคำว่า  "Merdeka!" ที่แปลว่าอิสรภาพ 7 ครั้ง ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นมาเลเซียโฉมใหม่อันยิ่งใหญ่  
 
6. เวียดนาม
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 6
Image: VIETNAM History in Pictures (up to 1954), flickr.com
           
       ภาพกองกำลังหญิงลัทธิฮหว่าหาว (หรือฮัวเหา) Hoa Hao แห่งเวียดนาม ในการฝึกการรบด้วยดาบสมัยที่ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีน ในช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 (ที่ฝรั่งเศสเรียกว่าสงครามอินโดจีน แต่ในเวียดนามเรียกว่าสงครามฝรั่งเศส) ลัทธิฮหว่าหาวมีศาสนาพุทธเป็นพื้นฐาน ก่อตั้งโดย ฮหวิ่ญ ฟู้ โส (Huỳnh Phú Sổ) เป็นชาวบ้านหมู่บ้านฮหว่าหาวในเวียดนามใต้ ใกล้ชายแดนกัมพูชา ซึ่งลัทธินี้มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ฮหวิ่ญ ฟู้ โสได้ตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันยังมีผู้นับถือศรัทธาลัทธินี้อยู่

 
7. กัมพูชา
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 7
Image: Claude Juvenal, AFP / getty image
           
       ภาพนักรบเขมรแดงฉลองชัยชนะที่ได้มาถึงพนมเปญ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 1975  เป็นเหตุการณ์หนึ่งในสงครามกลางเมืองที่นับได้ว่าเป็นการปูทางให้ พลพต ผู้ก่อตั้งและผู้นำเขมรแดงได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรี  เป็นการนับศักราชหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของกัมพูชา ที่จารึกด้วยมือของผู้นำประเทศชื่อ พลพต

 
8. ลาว
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 8
Image: asiapacific.anu.edu.au
           
       หนังสือพิมพ์ภาษาลาวฉบับแรก ปีแรกของกิจการหนังสือนี้พิมพ์ เอ้ย เขียนด้วยมือทั้งหมดเลยนะ! ลาวใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการสนับสนุนของรัฐฝรั่งเศส (Vichy France: รัฐเฉพาะกาลฝรั่งเศส สนับสนุนนาซีเยอรมนี) เป็นหนังสือแจ้งข่าวต่างๆ ของชาติลาว และความพยายามที่จะสร้าง "ภาษาลาว" ให้เป็นมาตรฐานภายใต้การควบคุมทางการเมือง

 
9. บรูไน
 
เด็กดีดอทคอม :: เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ภาพ 9
Image: bruneiresources.blogspot.com
           
       ภาพนี้แสดงถึงความลำบากในการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กๆ ชาวบรูไนในช่วงทศวรรตที่ 1950  ภาพนี้แสดงถึงความลำบากในการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กๆ ชาวบรูไนในช่วงทศวรรษที่ 1950 ที่รัฐบาลของบรูไนพยายามสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน เด็กๆ ต้องนั่งอัดนั่งเบียดกันในเรือลำเล็ก พอจะขึ้นฝั่งมือหนึ่งก็ถือรองเท้า มือหนึ่งถือหนังสือที่ห่อถุงพลาสติกกันเปียกกันมา พี่เกียรติคิดว่าการเดินทางไปเรียนของเด็กไทยเราในยุคก่อนที่บ้านเรายังมีแม่น้ำลำคลองอยู่มาก ก็คงไม่แตกต่างไปจากรูปนี้ของบรูไนเท่าไหร่หรอกเนอะ
 


               น้องๆ ชาว Dek-D ทราบไหมเอ่ย? ว่าไม่มีเรื่องเล่าจากภาพเก่าของประเทศไหนในกลุ่มอาเซียน ให้เวลาคิดห้าจุด . . . . . คำตอบคือ ประเทศไทยบ้านเรานี่แหละจ้า พี่เกียรติขอเว้นไว้ในฐานที่เข้าใจกันเนอะ ก็พี่เกียรติไม่รู้จะเลือกภาพไหนมาจริงๆ นี่คะ ถ้าน้องๆ ไปเที่ยวที่ไหนในอาเซียนมา (ไทยบ้านเราก็ได้นะ) นำภาพสวยๆ ที่ถ่ายไว้มาแปะอวดกันได้ที่กล่องความคิดเห็นด้านล่างเลยจ้า
 


 
แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ:
- asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2008/07/17/lao-nhay/ 
- asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2008/07/lyai5_41.pdf (ภาพ 8)
- bruneiresources.blogspot.com/2011/05/going-to-school.html (ภาพ 9) 
- content.time.com/time/photogallery/0,29307,1880529_1848702,00.html (ภาพ 7)
- en.wikipedia.org/wiki/H?a_H?o
- eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_825_2004-12-30.html 
- en.wikipedia.org/wiki/File:Krakatoa_eruption_lithograph.jpg (ภาพ 3.2)
- flickr.com/photos/34015100@N02/3174850869/ (ภาพ 6)
- newspapers.nl.sg/Digitised/Article/straitstimes19610526.2.122.aspx (ภาพ 2)
- pinterest.com/pin/263249540689160438/ (ภาพ 1)
pinterest.com/pin/342273640399698569/ (ภาพ 4)
- pracob.blogspot.com/2009/04/blog-post_30.html
- superwanderfull.com/wander-malaysia/brief-history/ (ภาพ 5)
- suteraharbour.com/blogs/merdeka-launching-celebration/ 
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
Chanyanuch Member 5 เม.ย. 57 17:04 น. 1

มองหาตั้งนานว่ามีไทยเหรอเปล่า เสียใจ

ละครไทยเก่าๆแนวพีเรียดย้อนยุคก็มีนะ  

บางที่ในกทม.ก็ยังเก็บรักษาบรรยากาศเก่าๆอยู่  อนุรักษ์บ้านเก่าๆ

0
กำลังโหลด
Undernetwork Member 8 เม.ย. 57 13:17 น. 3

เห็นภาพของบรูไนแล้วนึกถึงที่แม่เคยเล่า สมัยที่แม่ยังเด็กต้องถือกระดานชนวนข้ามคันนาไปโรงเรียนที่ไกลเกือบ 10 กิโล ระหว่างทางก็ลื่นล้มตกคันนาบ้าง อะไรบ้าง กระดานชนวนที่ถือไปก็พากันแตกหักให้เสียดายของ กว่าจะไปถึงโรงเรียนก็ทำเอามอมแมมไปหมด

ตลกจัง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

9 ความคิดเห็น

Chanyanuch Member 5 เม.ย. 57 17:04 น. 1

มองหาตั้งนานว่ามีไทยเหรอเปล่า เสียใจ

ละครไทยเก่าๆแนวพีเรียดย้อนยุคก็มีนะ  

บางที่ในกทม.ก็ยังเก็บรักษาบรรยากาศเก่าๆอยู่  อนุรักษ์บ้านเก่าๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Undernetwork Member 8 เม.ย. 57 13:17 น. 3

เห็นภาพของบรูไนแล้วนึกถึงที่แม่เคยเล่า สมัยที่แม่ยังเด็กต้องถือกระดานชนวนข้ามคันนาไปโรงเรียนที่ไกลเกือบ 10 กิโล ระหว่างทางก็ลื่นล้มตกคันนาบ้าง อะไรบ้าง กระดานชนวนที่ถือไปก็พากันแตกหักให้เสียดายของ กว่าจะไปถึงโรงเรียนก็ทำเอามอมแมมไปหมด

ตลกจัง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด