ช่วงนี้น้องๆ ชาว Dek-D ส่วนใหญ่คงจะปิดเทอมกันอยู่ใช่ไหมคะ พี่เกียรติเชื่อว่ามีน้องๆ หลายๆ คนต้องนอนดึกแน่ๆ เลยใช่ไหมล่ะ พี่เกียรติก็นอนดึกเพราะพยายามดูซีรีส์ข้ามคืนเหมือนกัน (ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ฮ่าๆ) แต่เจ้ากรรมสังขารไม่ยอม! พี่หลับไปโดยไม่รู้ตัวแทบทุกคืน ก็เพราะร่างกายคนเราต้องการพักผ่อน สมองก็สั่งการให้ร่างกายหยุดพักทันที! ง่วงก็หลับเลย!


           
          แล้วทำไมเราถึงรู้สึกง่วงล่ะ? ส่วนหนึ่งก็เพราะในสมองของเรามีการสร้างสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ชื่อ "เมลาโทนิน" (Melatonin)  เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดภาวะต้องการการนอนหลับ เกิดจากอะมิโน ทริปโตฟิน (tryptophan) ที่ได้จากการกินพืชผัก และอาหารที่มีโปรตีนอย่างนมเป็นต้น ดังนั้นจึงมีนมบางยี่ห้อที่บอกว่ามีเมลาโทนินสูงกว่านมทั่วไป ดื่มแล้วนอนหลับสบาย หลับง่ายขึ้น แต่เรื่องว่าจะหลับง่ายจริงหรือไม่พี่เกียรติก็ยังไม่เห็นงานวิจัยยืนยันและยังไม่ได้ลองดื่มนะคะ

 
               นอกจากนี้ ความมืด ความสว่าง ก็เป็นปัจจัยให้กระตุ้นการสร้างเมลาโทนินด้วย พบว่าความมืดจะช่วยสร้างเมลาโทนินมากขึ้น ดังนั้นเมื่อคนเราอยู่ในที่มืดที่สลัวๆ จึงมักเกิดอาการง่วงนอนโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เราจึงควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางคืน เพราะเดี๋ยวจะเผลอหลับจนเกิดอุบัติเหตุได้ ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณสี่ทุ่มถึงตีสาม และก็จะลงลดในช่วงเช้ามืดของวันใหม่ 


       และจากช่วงเวลาการหลั่งของเมลาโทนินนี่เอง สำหรับใครที่ชอบอ่านหนังสือตอนกลางคืน พี่เกียรติขอแนะนำว่าควรเข้านอนแต่หัวค่ำ แล้วค่อยตื่นมาอ่านหนังสือตอนเช้ามืดสักตีสี่ดีกว่าค่ะ เพราะถ้าพยายามฝืนอ่านหนังสือแต่กลางคืนตะลุยยาวไปเลยทั้งคืน เราก็ต้องต้องสู้กับเมลาโทนินชวนง่วงชวนหลับ อีกทั้งความหิว เกม และอื่นๆ จนอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องก็ได้ค่ะ 
 
          เมลาโทนินจึงเป็นฮอร์โมนช่วยปรับนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) หรือการที่ร่างกายเรารับรู้เวลาหลับ เวลาตื่นตัวได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องไปกับเวลาธรรมชาติ รวมถึงการปรับอุณหภูมิร่างกาย ความดันเลือด และการเต้นของหัวใจ  เมลาโทนินจึงเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญมาก หากร่างกายสมดุลดีก็จะชะลอความแก่ได้ด้วยนะ


     ภาพ 1 - แสดงระบบการทำงานของระบบนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) เริ่มต้นจากตารับรู้แสงกลางวัน/กลางคืนส่งผลไปสู่ต่อมไพเนียล ต่อมไพเนียลก็สร้างเมลาโทนิน เมลาโทนินไปกระตุ้น SCN (Suprachiasmatic Nuclei: กลุ่มเซลล์ควบคุมกลไกสิ่งมีชีวิต) และไปส่งผลต่อสภาวะร่างกาย อุณหภูมิ ความดันเลือด การเต้นหัวใจ  และวงจรการหลับ-ตื่น /Image: seco-project.eu
               
       
ภาพ 2 - Image: michael_reuter, flickr.com 


          เมื่อเรามีอายุมากขึ้น การสร้างเมลาโทนินของร่างกายเราก็จะเริ่มเสื่อมลงเรื่อยๆ  ดังนั้นเด็กๆ ที่มีสุขภาพดีจึงมีระบบการสร้างเมลาทนินที่ดีกว่าผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่จึงพบปัญหาหลับยากมากกว่าเด็กๆ ซึ่งในต่างประเทศก็มีอาหารเสริมประเภทเมลาโทนินเม็ด สำหรับคนที่มีปัญหาการนอนหลับ หรือคนที่ต้องทำงานเป็นกะ เดินทางไกลข้ามเขตเวลา จนมีปัญหา Jet lag แต่พี่เกียรติว่าสำหรับบ้านเราที่ส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจเรื่องอาหารเสริมสุขภาพมากนัก เราจึงควรต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนไปหามารับประทานเองดีกว่าค่ะ
           
        ถ้าถึงเวลากลางคืนแล้ว ถ้าน้องๆ ชาว Dek-D  ไม่มีภารกิจจำเป็น อย่ามัวแต่ฝืนความง่วงเลยนะคะ ไม่ต้องรีบจ้า เพราะเดี๋ยวพอเราโตขึ้นก็จะได้รู้เองว่า "อยากนอน..ก็นอนไม่ได้" นั้นเป็นอย่างไรแน่นอนค่ะ เชื่อพี่เกียรติสิ!  ฮ่าๆ เพราะฉะนั้นพวกเรามาวางแผนแบ่งเวลาเรียน  เวลาเล่น เวลาอ่านหนังสือ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้เจ้าเมลาโทนินได้ทำหน้าที่เต็มที่ เราก็มีสุขภาพดี สมองแจ่มใสด้วยจ้า 




แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ: 
- il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter6/pineal_gland.htm
- oknation.net/blog/print.php?id=663606
- flickr.com/photos/michaelreuter/4568203319/  (ภาพ 2)
- seco-project.eu/dev/labo/teams/physiopathology-of-circadian-rhythms.html  (ภาพ 1)



 
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปลาดุกบิ๊กอุย 25 มี.ค. 57 18:33 น. 3
แล้วเมลาโทนินของแต่ละคนจะหลั่งที่ 4 ทุ่ม ถึงตี 3 เท่ากันเลยเหรอครับ? ผมเคยอ่านงานวิจัยนานละบอกว่า คนสมัยนี้มีการกลายพันธุ์ไปแล้ว การหลั่งโกรทฮอร์โมนจะเหลทไปจากปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเมลาโทนินมันจะเหลทตามไหมเอ่ย เพราะ 4 ทุ่มผมยังไม่ง่วงเลย 555+
2
karin<f>e Community 26 มี.ค. 57 09:44 น. 3-1
จริงๆ ขึ้นอยู่กับระบบนาฬิกาชีวิต กิจวัตรแต่ละคนด้วย และก็ช่วงเวลาของฤดูกาลด้วยจ้า ช่วงนี้เป็นค่าเฉลี่ยๆ ที่ในข้อมูลบอกไว้ค่าาา 4 ทุ่มพี่ก็ยังไม่ง่วงนะ พี่ทำงานดึก กว่าจะทำเสร็จก็ห้าหกทุ่มเป็นต้นไป ดังนั้นพอเที่ยงคืนปั๊บ พี่จะง่วงปุ๊บทุกวันเลย แต่ถ้าถ่างตาไว้ จนพ้นตีสามได้ พี่หายง่วงอยู่ยันเช้าได้เลยนะ ดังนั้นพี่ว่าเมลาโทนินของพี่น่าจะทำงานระหว่างช่วงนั้นแหละ //วิจัยตัวเอง 5555
0
กำลังโหลด
funrainbow Member 30 ก.ค. 57 11:04 น. 27

เขิลจุง ถ้ากินอิ่มแล้วหนังท้องตึง หนังตาเริ่มหย่อน เกี่ยวกับฮอร์โมนหรือเปล่าค่ะ ^^

ในกรณีที่เคยเป็น คือพรุ่งนี้สอบ คืนนี้โหมอ่านหนังสือข้ามคืน ไม่มีความรู้สึกง่วงเลย แต่พอเข้าห้องสอบเท่านั้นแหละ สมองเบลอ จับต้นชนปลายไม่ถูกเลย สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรเลย เสียสุขภาพอีกต่างหาย แนะนำให้หลับพักสมองดีกว่าโหมแบบไม่รักษาสุขภาพนะจร้า

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

27 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปลาดุกบิ๊กอุย 25 มี.ค. 57 18:33 น. 3
แล้วเมลาโทนินของแต่ละคนจะหลั่งที่ 4 ทุ่ม ถึงตี 3 เท่ากันเลยเหรอครับ? ผมเคยอ่านงานวิจัยนานละบอกว่า คนสมัยนี้มีการกลายพันธุ์ไปแล้ว การหลั่งโกรทฮอร์โมนจะเหลทไปจากปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเมลาโทนินมันจะเหลทตามไหมเอ่ย เพราะ 4 ทุ่มผมยังไม่ง่วงเลย 555+
2
karin<f>e Community 26 มี.ค. 57 09:44 น. 3-1
จริงๆ ขึ้นอยู่กับระบบนาฬิกาชีวิต กิจวัตรแต่ละคนด้วย และก็ช่วงเวลาของฤดูกาลด้วยจ้า ช่วงนี้เป็นค่าเฉลี่ยๆ ที่ในข้อมูลบอกไว้ค่าาา 4 ทุ่มพี่ก็ยังไม่ง่วงนะ พี่ทำงานดึก กว่าจะทำเสร็จก็ห้าหกทุ่มเป็นต้นไป ดังนั้นพอเที่ยงคืนปั๊บ พี่จะง่วงปุ๊บทุกวันเลย แต่ถ้าถ่างตาไว้ จนพ้นตีสามได้ พี่หายง่วงอยู่ยันเช้าได้เลยนะ ดังนั้นพี่ว่าเมลาโทนินของพี่น่าจะทำงานระหว่างช่วงนั้นแหละ //วิจัยตัวเอง 5555
0
กำลังโหลด
noobarak Member 25 มี.ค. 57 18:50 น. 4

เคยได้ยินมาว่า  ถ้าง่วงนอนตอนบ่าย มันเหมือนกับว่า เมลาโทนินหลั่งผิดเวลาค่ะ เนื่องจากว่า เมลาโทนินหลั่งได้ดีในตอนกลางคืน แต่ถ้าสมมติว่าเรานอนผิดเวลาเมื่อไหร่ เมลาโทนินก็จะหลั่งผิดปกติ :)

เย้

1
Guh2o Member 28 มี.ค. 57 20:35 น. 4-1
ง่วงตอนบ่ายเพราะพึ่งกินอิ่มมากกว่า เลือดไปเลี้ยงท้องหมด ไปเลี้ยงสมองน้อยลงเลยง่วง เอาจริงคือตอนเช้าตอนไหนก้ง่วงได้ถ้าคนสอนกาก 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Memmo 25 มี.ค. 57 19:51 น. 6
เราว่าที่เราง่วงตอนบ่ายอาจเป็นเพราะว่าตอนกลางวันเราทานเข้าเที่ยง แล้วกระเพาะก็จะย่อยอาหารใช่ป่าวคะ เลือดก็จะไปทำงานในระบบย่อยอาหารเยอะ ทำให้เลือดในสมองเราน้อยลง เราก็เลยง่วง ไม่แน่ใจอ่ะ 5555555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Poonpun 25 มี.ค. 57 22:43 น. 10
ยอมรับเลย ตอบพิมพ์นี่พึ่งตื่นนะ นอนตั้งแต่ 5 โมงถึง 4 ทุ่มกว่าๆ ข้าวเย็นไม่ต้องกินด้วย ดี ไม่อ้วน555 เป็นอย่างนี้มาหลายวันละ กว่าจะนอนอีกทีก็ประมาณ 8-9 โมงเช้า
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
JiemM Let's GO Member 26 มี.ค. 57 13:27 น. 13

แหงะ ของเรานะ 

เราอ่านหนังสือตอนกลางคืนเข้ากว่าอ่านตอนเช้าหรือกลางวัน แล้วอีกอย่างนะ อันนี้ไม่เข้าใจจริงๆ เรานอนดึกประมาณตีสามตีสี่แล้วตื่นเช้า(ก่อนแปดโมงอ่ะ)จะรู้สึกสดชื่นมาก สดชื่นทั้งวันเลย แต่ถ้านอนเช้าตื่นเช้าหรือนอนดึกตื่นสายก็จะง่วง งัวเงียทั้งวัน ไม่เข้าใจจริงๆตกใจ

0
กำลังโหลด
Salapaosung Member 26 มี.ค. 57 13:34 น. 14

คุณครูสุขศึกษาร.ร.หนูก็เคยเล่าเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ เรื่องแบบนี้ดีต่อเราและดีต่อสุขภาพด้วยน่ะค่่ะ>0<XกดLIKE

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด