ราชาแห่งนิยายสืบสวน "เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์"

        วันที่ 22 พฤษภาคมนี้จะเป็นวันคล้ายวันเกิดของเซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนผู้สร้างชื่อจาก "เชอร์ล็อก โฮล์มส์" นิยายรหัสคดีที่กลายเป็นต้นแบบนิยายสืบสวนแต่นั้นมา วันนี้พี่น้องไม่ได้จะพานักเขียนมาให้พบปะ แต่จะเอาเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่แฟนคลับน้อยคนนักจะรู้เกี่ยวกับนักเขียนคนนี้มาฝากกันค่ะ
        ถ้าเป็นคนทั่วไปพอได้ยินชื่อก็คงรู้แค่ว่า เซอร์อาเธอร์นั้นเขียนนิยายสืบสวน เป็นคนให้กำเนิดเชอร์ล็อก โฮล์มส์ แค่นั้นใช่มั้ยคะ ถ้าเป็นแฟนขึ้นมาหน่อยอาจจะพอรู้บ้างว่าจริงๆ แล้วเซอร์อาเธอร์ไม่ได้เขียนแค่นิยายสืบสวนอย่างเดียว อันที่จริงเชอร์ล็อก โฮล์มส์เป็นผลงานที่เขาค่อนข้างเสียใจด้วยซ้ำที่มันเผยแพร่ออกไป
        เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่ายังมีอะไรอีกที่เราไม่รู้เกี่ยวกับนักเขียนคนนี้
 
ภาพ: victorianweb.org

1. เซอร์อาเธอร์ไม่ใช่คนอังกฤษ

        จริงๆ แล้วเขาเกิดที่สก็อตแลนด์ (ก็ไม่ต่างอะไรกับอังกฤษมากเนอะ) แต่สืบเชื้อสายไอริช
 

2. โคนันไม่ใช่นามสกุล

        หลายคนเรียกว่า "เซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์" ก็อาจเข้าใจว่า โคนัน ดอยล์ คือนามสกุลเขา แต่จริงๆ แล้ว โคนัน เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชื่อกลางเท่านั้นค่ะ ชื่อเต็มๆ คือ "อาเธอร์ อิกเนเทียส โคนัน ดอยล์" แต่พอเรียนมัธยมจบ เขาก็ใช้ โคนัน ในฐานะ "นามสกุล" ไปด้วย เท่ากับว่านามสกุลของเขาคือ "โคนัน ดอยล์" ไม่ใช่ "ดอยล์" อย่างเดียวนะ
 

3. ยศ 'เซอร์' ไม่ได้พระราชทานเพราะนิยาย


ภาพ: topappreviews101.com
        เซอร์อาเธอร์ได้รับพระราชทานยศอัศวินจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 ไม่ใช่เพราะนิยายเชอร์ล็อก โฮล์มส์ของเขานะคะ แต่เขาได้ยศจากการจัดพิมพ์แผ่นพับที่เขียนขึ้นเพื่อต่อต้านคนที่โจมตีอังกฤษในสงครามแอฟริกาใต้หรือ Boer War
        การกระทำของเซอร์อาเธอร์ทำให้กองทัพอังกฤษชื่นชมเขามาก แต่เขาปฏิเสธยศ เพราะคิดว่าเขียนไปตามที่ตัวเองเห็นว่าถูกต้องเท่านั้น ไม่ได้ต้องการปกป้องอังกฤษเพราะเป็นบ้านเกิด แต่ญาติพี่น้องของเขาก็กล่อมให้รับยศไว้เถอะ ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า 'เซอร์' ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเชอร์ล็อก โฮล์มส์อย่างที่บางคนเข้าใจกันเลยจ้า
 

4. เขาไม่ได้เขียนนิยายสืบสวนอย่างเดียว

        งานของเซอร์อาเธอร์หลากหลายมาก แนวสืบสวนนี่ถือเป็นหนึ่งในนั้น เขายังเขียนแนวประวัติศาสตร์ แฟนตาซี ไซไฟ ผจญภัย บทความวิชาการ หรือแม้แต่กลอน เขาเขียนนิยายมากว่า 20 เรื่อง เรื่องสั้นอีกกว่า 150 เรื่อง
 

4. เซอร์อาเธอร์เป็นเพื่อนกับนักเขียนดังๆ หลายคนมาก

        คนแรกคือ เจ เอ็ม บาร์รี ผู้เขียนเรื่อง "Peter Pan" ทั้งคู่ยังเคยร่วมงานกันเขียนบทละครโอเปร่าด้วย นอกจากนี้เซอร์อาเธอร์ยังเป็นเพื่อนกับ บราม สโตกเกอร์ ผู้เขียนเรื่อง "Dracula" กับ โรเบิร์ต สตีเวนสัน ผู้เขียนเรื่อง "Treasure Island"
 

5. จัตุรัสที่ตั้งชื่อตามยอดนักเขียน


ภาพ: telegraph.co.uk
        ในเชอร์ล็อก โฮล์มส์ตอนสุดท้าย The Adventure of the Final Problem ที่เซอร์อาเธอร์เขียนใช้เมืองเมอริเงน ใน สวิตเซอร์แลนด์เป็นฉากหลัง ซึ่งตอนนี้เป็นตอนที่เซอร์อาเธอร์ตัดสินใจฆ่าเชอร์ล็อก โฮล์มส์ หลังจากนั้นจึงมีคนสร้างรูปปั้นเชอร์ล็อก โฮล์มส์ไว้เป็นอนุสรณ์ในเมืองนี้ และตั้งชื่อจัตุรัสของเมืองว่า Conan Doyle Place
 

6. เซอร์อาเธอร์เคยคลี่คลายคดีจริงด้วย


ภาพ: gutenburg.net.au
        คนที่คลี่คลายคดีของออสการ์ สเลเตอร์ ที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่านางมาเรียน กิลไครส์ทคือเซอร์อาเธอร์นี่เอง โดยเขาเริ่มคลี่คลายคดีโดยใช้วิธีเดียวกับโฮล์มส์ นั่นคือรวบรวมหลักฐานวัตถุและหลักฐานแวดล้อมเพื่อหาข้อสรุป และแก้ต่างให้ออสการ์ สเลเตอร์ซึ่งกลายเป็นแพะในคดีนี้ เซอร์อาเธอร์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลให้พิจารณาคดีใหม่ แต่ถูกเจ้าหน้าที่สก๊อตเพิกเฉย เขาเลยเข้าหาแรมซี่ แมกโดนัลด์ นักการเมืองผู้หนึ่ง และจ่ายเงินเพื่อให้ช่วยแทรกแซงคดีนี้ (ภายหลังแมกโดนัลด์ก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษที่มาจากพรรคแรงงาน)
        แม้สเลเตอร์จะพ้นผิด และได้รับการปล่อยตัวพร้อมเงินชดเชยถึง 6,000 ปอนด์ แต่เขาก็ไม่ได้แบ่งเงินให้คนที่ช่วยเขาเลยสักกระผีก
 

7. เห็นเขียนนิยายวิทยาศาสตร์แต่ก็มีความเชื่อ


ภาพ: philipcoppens.com
        ถึงแม้เชอร์ล็อก โฮล์มส์จะเป็นชายที่ยึดมั่นในหลักการและเหตุผลที่รองรับได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่เซอร์อาเธอร์ไม่ได้เป็นแบบนั้น ในปี 1917 เซอร์อาเธอร์ปักใจเชื่อภาพถ่ายแฟร์รี่ของสาวน้อย เอลซี่ ไรท์ ถึงขนาดเขียนหนังสือเกี่ยวกับแฟร์รี่ออกมาแถมยังเสียเงินเป็นล้านๆ เพื่อโปรโมทเกี่ยวกับแฟร์รี่จนภาพนี้โด่งดังและนำไปสู่การพิสูจน์ว่าเป็นของเก๊
 

8. เป็นหมอที่ไม่มีคนมาให้รักษา

        ในสงครามที่แอฟริกาใต้ เซอร์อาเธอร์ไม่ได้ถูกเกณฑ์เป็นทหาร (บ้างก็ว่าเขาแก่ไป บ้างก็ว่าเขาอ้วนไป) แต่ที่แน่ๆ เขาได้ไปเป็นหมออาสาสมัครในสงครามแทน และหลังจากเขียนเชอร์ล็อก โฮล์มส์ไปได้ในระยะแรก หนังสือไม่ได้ขายดีมากนัก เขาจึงตัดสินใจไปเรียนหมอที่ออสเตรีย แล้วกลับมาเปิดคลินิกจักษุแพทย์ที่ลอนดอน แต่ไม่มีคนไข้มาให้รักษาเลย โชคดีที่ทำให้เขามีเวลาว่างมากพอเขียนซีรี่ส์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ต่อ
 

9. การตายของพ่อ


ภาพ: shrineodreams.wordpress.com
        พ่อของเซอร์อาเธอร์เป็นนักวาดภาพที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง และเป็นคนแรกที่วาดรูปเชอร์ล็อก โฮล์มส์ออกมา แต่โรคติดสุราเรื้อรังทำให้ร่างกายของเขาอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนเคยถึงขั้นกินน้ำยาเช็ดเครื่องเรือนเข้าไป ว่ากันว่าการตายของพ่อ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซอร์อาเธอร์ตัดสินใจปิดฉากนักสืบชื่อดังเชอร์ล็อก โฮล์มส์ไปพร้อมๆ กัน
 

10. นักเขียนชื่อดังโดนตลบหลังเสียเอง

        ใครจะไปรู้ว่าเซอร์อาเธอร์จะเคยโดนคนขับแท็กซี่ใช้ทริคเดียวกับตัวละครของเขา วันหนึ่ง เขาขึ้นแท็กซี่ที่บอสตัน (อเมริกา) แล้วคนขับเอ่ยชื่อเขา ทำให้เซอร์อาเธอร์แปลกใจว่ารู้ได้ไง คนขับแท็กซี่เลยอธิบายให้ฟังว่าเขาดูจากรอยยับตรงเสื้อ ทรงผม หมวก รองเท้าขวา ฯลฯ จนสุดท้ายเขาสรุปว่า จริงๆ แล้วเขาเห็นคำว่า Conan Doyle บนกระเป๋าของเซอร์อาเธอร์แค่นั้นเอง
 

11. ร้านหนังสือที่ไม่มีเชอร์ล็อก โฮล์มส์

        เซอร์อาเธอร์เคยเปิดร้านหนังสือในกรุงลอนดอน แต่อย่าคิดนะว่าในร้านนั้นจะมีเชอร์ล็อก โฮล์มส์ของเขา เขาบอกว่ามันเป็นร้านหนังสือทางจิตวิญญาณ ขายแต่หนังสือที่พูดถึงจิตวิญญาณเท่านั้น ซึ่งตรงกับช่วงปลายชีวิตของเขาที่เริ่มหันมาสนใจเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
 

12. นักสืบแห่งสงครามโลก

        เซอร์อาเธอร์ยังเคยรับบทเป็นสายลับไปสืบข้อมูลให้กับอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 การสังเกตจากหน้าด่านสมรภูมิของเขาทำให้กองทัพอังกฤษเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อรองรับการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามได้
 

13. ผลงานที่อิ่มตัว

        แม้เชอร์ล็อก โฮล์มส์จะเป็นผลงานที่ทำให้เซอร์อาเธอร์เป็นที่รู้จักและกลายเป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้ แถมยังช่วยให้เขามีเงินพอเลี้ยงครอบครัว แต่เขาก็เริ่มเต็มอิ่มกับชื่อเสียงที่เขาได้รับ เขาถึงกับเปรยว่าเสียใจที่สร้างตัวละครตัวนี้ขึ้นมา เพราะมันทำให้ทุกคนจดจำเขาในฐานะนักเขียนรหัสคดี ซึ่งในวงการวรรณกรรมจะไม่ค่อยให้คุณค่ากับนวนิยายแนวนี้เท่าใดนัก
        เซอร์อาเธอร์เขียนจดหมายเล่าให้แม่เขาฟังว่าเขาจะจบเรื่องของโฮล์มส์ไว้ที่เรื่องสั้นตอนหก แต่แม่ของเขาขอเอาไว้ จนท้ายที่สุด เขาทนไม่ไหวอีกต่อไป มันเหมือนกินอาหารเดิมซ้ำๆ และเขาเริ่มเบื่อ แม้แต่ได้ยินชื่อก็ยังท้องไส้ปั่นป่วน เขาจึงเขียนตอนสุดท้ายของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ออกมา
        แน่นอนว่าแฟนคลับต่างไม่พอใจและไม่ยอมรับการตายของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ แต่ก็อีกหลายปีทีเดียวกว่าเซอร์อาเธอร์จะทำใจเขียนตอนต่อไปเพื่อชุบชีวิตนักสืบชื่อก้องโลกคนนี้กลับคืนมาได้
ภาพ: goodreads.com
 

ถึงแม้เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ อาจจะไม่ได้ภาคภูมิใจกับ
ยอดนักสืบของเขานัก แต่อย่างน้อยงานของเขาก็สร้าง
ความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการนิยายสืบสวนมาจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.westminsteronline.org/conandoyle/Military.html
www.telegraph.co.uk/culture/tvandradio/10561577/Arthur-Conan-Doyle-19-things-you-didnt-know.html
courttheatre.org.nz/10-unusual-facts-about-sir-arthur-conan-doyle/
httpswww.lib.umn.edu/scrbm/arthur-conan-doyle

 
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

~( ํ -_- ํ )~ Member 20 พ.ค. 58 17:09 น. 2

ชอบและชื่อชมในตัวเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์มากค่ะ ถึงแม้ส่วนตัวจะไม่ใช่คนเขียนนิยายแนวสืบสวน แต่ก็ชื่นชอบและติดตามผลงานเรื่องเชอร์ล็อก โฮล์มส์ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบนวนิยาย หรือภาพยนตร์ ขอบคุณบทความดีๆนะคะ ได้รู้ในเรื่องที่ไม่เคยรู้พอสมควรเลย โดยเฉพาะเรื่องแฟรี่

0
กำลังโหลด

7 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
~( ํ -_- ํ )~ Member 20 พ.ค. 58 17:09 น. 2

ชอบและชื่อชมในตัวเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์มากค่ะ ถึงแม้ส่วนตัวจะไม่ใช่คนเขียนนิยายแนวสืบสวน แต่ก็ชื่นชอบและติดตามผลงานเรื่องเชอร์ล็อก โฮล์มส์ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบนวนิยาย หรือภาพยนตร์ ขอบคุณบทความดีๆนะคะ ได้รู้ในเรื่องที่ไม่เคยรู้พอสมควรเลย โดยเฉพาะเรื่องแฟรี่

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
มัณทนา[งดรับฝากโฆษณากับร้านค้า] Member 20 พ.ค. 58 20:01 น. 5

บราม สโตกเกอร์เป็นเพื่อนกับออสการ์ ไวลด์ ผู้เขียน The Picture of Dorian Gray สุดอื้อฉาว

แต่ไม่รู้ว่าเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์จะรู้จักกับออสการ์ ไวลด์เหรอเปล่านะงงจัง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
คนๆหนึ่ง 15 พ.ย. 60 19:03 น. 7

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ชอบนักเขียนท่านี้มากๆและชอบตัวละครเชอร์ล็อก โฮมส์ของเขามากๆด้วย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด